Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
23 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 4)

วันนี้ต่อด้วยตอนที่ 4 เลยครับ หลังจากเริ่มต้นจากชุมทางบางซื่อ - สามเหลี่ยมยมราช - ฉะเชิงเทรา - ศูนย์อุตสาหกรรมบริษัท อิตัลไทย อ.วิหารแดง - ชุมทางแก่งคอย



หลังจากได้รับเสบียงขึ้นรถแล้ว ล้อเริ่มหมุนออกจากชุมทางแก่งคอยล่ะครับ สำหรับเส้นทางแยกด้านขวาภาพ จะเป็นเส้นทางสายชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่ หากใครที่เคยนั่งรถไฟไปเที่ยวทุ่งทานตะวัน อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และทุ่งดอกกระเจียวล่ะก็ ไปตามเส้นทางสายนี้แหละ



น่าเสียดายตรงที่ขณะนี้ เส้นทางสายลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่ ถูกปิดเพื่อปรับปรุงทางชนิดที่รื้อรางเดิมออก ปรับปรุงพื้นคันทางแล้ววางรางกันใหม่ ขบวนรถไฟยังไม่สามารถแล่นผ่านได้ ต้องอดใจรอจนกว่าถึงถึงปลายปีหน้านั่นแหละครับ เส้นทางถึงจะเปิดใช้งานเป็นปกติ



จากชุมทางแก่งคอย เส้นทางรถไฟสายอีสานจะเริ่มไต่เขาเข้าสู่ดงพญาเย็นไปยังแผ่นดินอีสานที่คนโบราณกล่าวกันว่าสูงกว่าภาคกลางถึงเจ็ดชั่วลำตาลทีเดียว

ด้วยความชันของเส้นทางที่ค่อนข้างมาก ทำให้การเดินรถไฟสมัยก่อนที่ใช้รถจักรไอน้ำที่มีกำลังแรงม้าไม่สูงมากเช่นรถจักรยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องตัดขบวนรถออกเป็นช่วงสั้นๆ ที่ชุมทางแก่งคอย แล้วทยอยทำขบวนไต่ขึ้นเขาไปจนถึงสถานีปากช่อง ก่อนที่จะรวมเป็นขบวนเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ออกเดินทางต่อไปยังสถานีปลายทาง

ขบวนรถกำลังแล่นผ่านอดีตสถานีทับกวาง ซึ่งยุบเลิกไปหลังจากก่อสร้างสถานีมาบกะเบาซึ่งตั้งอยู่บนเขาดงพญาเย็นแล้วเสร็จ



ผ่านสถานีมาบกะเบาครับ สถานีแห่งนี้ก่อสร้างเพื่อเป็นต้นทางการขนส่งปูนซิเมนต์ผงทางรถไฟจากโรงงานบรษัทปูนซีเมนต์นครหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน ส่งไปยังคลังต่างๆ บนเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ



บริเวณย่านสถานี ยังมีอดีตรถดีเซลรางของ JR - West มอบให้การรถไฟฯ และถูกใช้งานจนหมดอายุ ก่อนที่จะแจกจายกลายเป็นที่พักพนักงานฝ่ายการโยธาตามแขวงต่างๆ ต่อไป



และเส้นทางคู่ของทางรถไฟสายอีสาน จากชุมทางบ้านภาชี มาสิ้นสุดที่สถานีมาบกะเบาแห่งนี้ด้วยครับ



ถึงแม้ว่าจะกลายเป็นเส้นทางเดี่ยวก็ตาม แต่ขบวนรถจัเฉพาะยังแล่นคดเคี้ยวไต่ขึ้นเขาไปเรื่อยๆ และหยุดลงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกทัวร์ได้ลงไปเที่ยวชมสถานที่และบันทึกภาพกันไว้เป็นที่ระลึกว่า ได้เดินทางมาถึง "ผาเสด็จ" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว



จากลายพระหัตถ์ จปร และ สผ ที่จารึกไว้ ทำให้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพักยังสถานที่แห่งนี้ เมื่อคราวตรวจงานก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนครราชสีมา เมื่อปี ร.ศ.115 นับว่าเป็นระยะเวลาที่นานมากๆ ทีเดียว



บริเวณศาลดั้งเดิม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งอยู่ใต้ผาเสด็จครับ



อีกศาลที่ใหญ่กว่า สร้างโดยอดีตเจ้าของโรงปูนซีเมนต์ TPI ครับ



แต่แล้ว มีเสียงโทรโข่งจากผู้จัดดังขัดจังหวะว่า จะเคลื่อนขบวนรถไปเข้าหลีกขบวนรถขาล่องที่สถานีผาเสด็จ หากใครที่ยังไม่รีบ ขอให้เดินตามไปขึ้นรถที่สถานีก็แล้วกัน

บังเอิญที่ผมเป็นคนขี้เกียจด้วยสิ เลยติดรถไปที่สถานีผาเสด็จด้วย

แต่ไม่ต้องห่วงว่าจะเดินไกลครับ เพราะมีทางลาดยางจากถนนมิตรภาพมาขนานกับทางรถไฟลงไปที่ผาเสด็จที่โค้งข้างหน้า ด้วยระยะห่างจากสถานีเพียง 400 เมตรเท่านั้น

ช่วงปีที่ผมเคยมาเที่ยวผาเสด็จครั้งแรกนั้น ยังเป็นทางลูกรังอยู่เลยครับ



บรรดาลูกทัวร์ที่ติดรถมารอยังสถานีผาเสด็จนั้น ไม่ผิดหวังเลยครับ เพราะได้ภาพขบวนรถโดยสารสุรินทร์ - กรุงเทพ ซึ่งมาจอดรับส่งผู้โดยสารที่นี่ด้วย

รถโดยสารขบวนนี้ ผมมักเจอตอนวิ่งแข่งกับขบวนรถโดยสารพิษณุโลก - กรุงเทพฯ บนเส้นทางสาม ช่วงสถานีอยุธยา - บางปะอิน แทบทุกเที่ยวครับ



แถมยังได้กำไรกับภาพขบวนรถด่วนดีเซลราง ศีขรภูมิ - กรุงเทพ ที่ตามหลังมาติดๆ อีกหนึ่งขบวนด้วย สงสัยคงไปแซงกันที่ชุมทางแก่งคอย



หลังจากบรรดาลูกทัวร์พากันเดินตามหลังมาขึ้นรถครบถ้วนกันดีแล้ว ล้อเริ่มหมุนออกจากสถานีผาเสด็จ เข้าโค้งเหนือสถานีอันลือชื่อว่าสวยที่สุดบนเส้นทางสายอีสาน ก่อนเข้าสู่สถานีหินลับ ต่อไป

เส้นทางช่วงนี้ จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่า เคยเป็นสถานที่สับประยุทธ์ระหว่างกองกำลังฝ่ายรัฐบาลนำโดยหลวงพิบูลสงคราม กับกองทหารหัวเมืองของพระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อปี พ.ศ.2476 ก่อนที่ฝ่ายหลังจะแตกพ่ายฝ่ายรัฐบาลในเวลาต่อมา



ผ่านขบวนรถบรรทุกก๊าซ บางละมุง - สำราญ ที่สถานีหินลับ

และย่านสถานีแห่งนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นขบวนรถบรรทุกปูนผงจากบริษัท TPI ซึ่ง9yh'อยู่ด้านใต้สถานีราวๆ 1 กม.ไปยังคลังปูนผงของบริษัทฯ ตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย



ขบวนรถถึงสถานีมวกเหล็กยามค่อนบ่าย

แต่วันนี้ เต็มไปด้วยบรรดาลูกเสือที่รอเดินทางไปกับขบวนรถเดินทางไปเข้าค่ายที่ใดสักแห่งครับ



ข้างย่านสถานีมวกเหล็ก เป็นหลุมฝังศพ ที่พักพิงแห่งสุดท้ายของนายราเบค วิศวกรชาวเดนมาร์ก ที่มาคุมงานก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา ซึ่งมาเสียชีวิตด้วยไข้ป่าที่นี่

เสียอยู่นิดเดียว ไม่มีผู้สนใจดูแลเรื่องความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่บ้างเลย



จากสถานีมวกเหล็ก รถไฟแล่นข้ามสะพานข้ามห้วยมวกเหล็ก ซึ่งถือเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครราชสีมา

เรากำลังข้ามเข้าสู่แผ่นดินอีสาน เมืองหลานย่าโมด้วยครับ


(รอติดตามตอนที่ 5 นะครับ)




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2555 23:34:26 น. 2 comments
Counter : 5182 Pageviews.

 



โดย: Kavanich96 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:8:31:18 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ


โดย: owl2 วันที่: 12 ตุลาคม 2560 เวลา:11:04:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add owl2's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.