Group Blog
OWL2's blog
<<
กุมภาพันธ์ 2555
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
21 กุมภาพันธ์ 2555
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 2)
All Blogs
น่าน น้าน นาน (ตอนจบ)
น่าน น้าน นาน (4)
น่าน น้าน นาน (3)
น่าน น้าน นาน (2)
น่าน น้าน นาน (1)
Konnichiwa Nihon no densha (14)
Konnichiwa Nihon no densha (ตอนจบ)
Konnichiwa Nihon no densha (24)
Konnichiwa Nihon no densha (23)
Konnichiwa Nihon no densha (22)
Konnichiwa Nihon no densha (21)
Konnichiwa Nihon no densha (20)
Konnichiwa Nihon no densha (19)
Konnichiwa Nihon no densha (18)
Konnichiwa Nihon no densha (17)
Konnichiwa Nihon no densha (16)
Konnichiwa Nihon no densha (15)
Konnichiwa Nihon no densha (13)
Konnichiwa Nihon no densha (12)
Konnichiwa Nihon no densha (11)
Konnichiwa Nihon no densha (10)
Konnichiwa Nihon no densha (9)
Konnichiwa Nihon no densha (8)
Konnichiwa Nihon no densha (7)
Konnichiwa Nihon no densha (6)
Konnichiwa Nihon no densha (5)
Konnichiwa Nihon no densha (4)
Konnichiwa Nihon no densha (3)
Konnichiwa Nihon no densha (2)
Konnichiwa Nihon no densha (1)
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( ตอนจบ )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 12 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 11 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 10 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 9 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 8 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 7 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 6 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 5 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 4 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 3 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 2 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 1 )
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (ตอนจบ)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (5)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (4)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (3)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (2)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (1)
ล่องใค้ ไปอีสาน (ตอนสุดท้าย)
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๑ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๐ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๙ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๘ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๗ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๖ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๕ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๔ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๓ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑ )
ทานตะวัน Express (2)
ทานตะวัน Express (1)
xinchao Vietnam (ตอนจบ)
Xinchao Vietnam ( 13 )
Xinchao Vietnam ( 12 )
Xinchao Vietnam ( 11 )
Xinchao Vietnam ( 10 )
Xinchao Vietnam ( 9 )
Xinchao Vietnam ( 8 )
Xinchao Vietnam ( 7 )
Xinchao Vietnam ( 6 )
Xinchao Vietnam ( 5 )
Xinchao Vietnam ( 4 )
Xinchao Vietnam ( 3 )
Xinchao Vietnam ( 2 )
Xinchao Vietnam ( 1 )
Meeting สุดชายแดนบูรพา (ตอนสุดท้าย)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (4)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (3)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (2)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (1)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนสุดท้าย)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 5)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 4)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 3)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 2)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 1)
กุลวาขาว แมคคิลวารี
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนสุดท้าย)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 6)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 5)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 4)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 3)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 2)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 1)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 3 (ส่งท้าย)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 2
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 1
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 6 (สุดท้าย)
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 5
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 4
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 3
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 2
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 1
ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต
เรื่องราวในอดีตของถนนมิตรภาพ : กรุงเทพฯ - หนองคาย ใน 8 ชั่วโมง
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (12)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (11)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (10)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (9)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (8)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (7)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (6)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (5)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (4)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (3)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (2)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (1)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 2)
ในช่วงตอนแรก ผมได้กล่าวถึงการเดินทางโดยรถไฟจัดเฉพาะช่วงชุมทางบางซื่อ ผ่านสามเหลี่ยมยมราช มาจนถึงชุมทางฉะเชิงเทราครับ วันนี้เราเข้าสู่ในตอนที่ 2 กันค่อไป
จากชุมทางฉะเชิงเทรา ผ่านที่หยุดรถโพรงอากาศ แต่ยุคก่อนเคยรุ่งเรืองถึงระดับเป็นสถานีทีเดียว
เส้นทางรถไฟช่วงนี้ ถูกปรับปรุงให้สามารถรับขบวนรถไฟที่มีน้ำหนักมากจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังชุมทางแก่งคอย รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูง ไม่โคลงเคลงด้วยล่ะ
ตอนนี้ ฝ่ายเสบียงเริ่มนำน้ำขวดมาแจกแก่ลูกทัวร์เป็นการเกริ่นกระเพาะ ก่อนเข้ามื้อเที่ยงที่ชุมทางแก่งคอย
ห้อตะบึงมาได้สักพัก ขบวนรถก็ลดความเร็วผ่านประแจเข้ารางหลีกที่สถานีบางน้ำเปรี้ยว เพื่อรอสวนกับขบวนรถโดยสารขาล่อง กบินทร์บุรี - กรุงเทพ
ทำเอาบรรดาลูกทัวร์ต่างเร่งกระจายตัวลงจากรถ หามุมเหมาะๆ ลองอาวุธทั้งหนักเบา เพื่อเก็บภาพเหยื่อยามเช้ากันล่ะ
มองไปรอบๆ สถานีแห่งนี้ก็ออกแนวแปลกอีกนั่นแหละครับ เพราะตัวอาคารสถานีเดิมอยู่ในสภาพทรุดโทรม ต้องรื้อถอนพร้อมสร้างใหม่ แถมอยู่ห่างเส้นทางรถไฟด้วยสิ
ต้องรอโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางแก่งคอย ก่อสร้างนั่นแหละครับ ถึงจะกลับเข้าสู่สภาพเช่นปกติ
เหยื่อมาแล้วครับ ถ้าเป็นอาวุธจริง คงตัวพรุน ตายสนิท ไม่เหลือรอดกลับไปแน่ๆ
หลังจากขบวนรถจากกบินทร์บุรี ออกพ้นสถานีบางน้ำเปรี้ยวไปแล้ว นายสถานียกธงเขียวปล่อยขบวนรถจัดเฉพาะเพื่อท่องเที่ยวออกจากสถานีโดยมิชักช้า
และแล้ว ขบวนรถจัดเฉพาะเข้าจอดบนเส้นทางแยกจากสายตะวันออก ที่สถานีชุมทางคลองสิบเก้า ก่อนมุ่งหน้าไปยังชุมทางแก่งคอยต่อไป
ถึงตอนนี้ ชาวคณะผู้จัดได้มอบของที่ระลึกแก่นายสถานีบนเส้นทางสายนี้ รวม 4 สถานีด้วยกัน ระหว่างดำเนินการอยู่นั้น บรรดาลูกทัวร์ต่างพากันแยกย้ายกันบันทึกภาพเป็นที่ระลึกตามอัธยาศัย
ขนาดถ่ายรูป ต้องให้ติดภาพรถไฟเลยครับ ไม่เช่นนั้นเวลากลับมาบ้าน ถึงกับนอนไม่หลับ ฝันร้ายทีเดียว
บางรายที่มากับแฟน ก็จะเป็นอย่างนี้แหละ หวานแหววจนน่าอิจฉา...
รายนี้ไม่มีคนรัก มีแต่ของรัก ก็หาวิธีแสดงออกกับของรักของชอบจนได้นั่นแหละ
หลังจากเสร็จพิธีมอบของที่ระลึกให้แก่นายสถานีชุมทางคลองสิบเก้าแล้ว ทางสถานีได้ปล่อยขบวนรถแล่นเข้าสู่เส้นทางสายคลองสิบเก้า - แก่งคอย ซึ่งมีสถานีบนเส้นทางเพียง 4 แห่งเท่านั้น
สำหรับบ้านคลองสิบเก้า ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวสถานีนั้น จะเป็นชาวมุสลิมเกือบทั้งหมด ซึ่งผิดแผกไปจากหมู่บ้านแห่งอื่นที่เป็นชาวพุทธครับ และหมู่บ้านแห่งนี้ ขึ้นกับ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
หากเป็นผู้ที่ช่างสังเกตแล้ว จะสงสัยว่าเส้นทางรถไฟสายนี้ดูผิดแปลกกว่าสายอื่นๆ ตรงที่ไม่มีเสาโทรเลขริมทางครับ แล้วเขาจะติดต่อสื่อสารกันอย่างไร ?
คำตอบอยู่ที่รางร้อยสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่อยู่ข้างทางรถไฟนั่นแหละครับ ซึ่งสายเคเบิลนี้เคยถูกโจรลักตัดไปขายมาหลายครั้ง แต่พอไปขายที่ร้านรับซื้อของเก่า เจ้าของร้านกลับส่ายหัว ใส่คืนซาเล้งเหมือนเดิม เพราะไม่มีเส้นลวดทองแดงเช่นสายโทรเลข สายไฟฟ้าทั่วๆ ไปครับ
เส้นทางรถไฟสายนี้ จาก อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา จะเข้าสู่ อ.องครักษ์ และ อ.บ้านนา จ.นครนายก อ.วิหารแดง และ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยมีจุดใกล้กรุงเทพฯ ที่สุดตรงปลายคลองรังสิต อ.องครักษ์ จ.นครนายก
ตรงจุดนี้ จะเป็นสะพานรถไฟยาวเหยียดข้ามทั้งปลายคลองรังสิตและถนนสายรังสิต - องครักษ์ ก่อนเข้าสู่สถานีองครักษ์ ซึ่งอยู่เหนือชุมชน อ.องครักษ์ไปราว 2 กม.เศษ
ภาพที่เห็นจนเจนตาของชาวคณะทัวร์ชุดนี้ก็คือ พอขบวนรถจอดสนิท จะมีบรรดาลูกทัวร์วิ่งกันลงรถไปถ่ายรูปตามมุมโปรดของแต่ละคน ทุกสถานีเลยล่ะ
ระหว่างรอทีมงานผู้จัดทัวร์ มอบของที่ระลึกแก่นายสถานีองครักษ์ครับ
จากสถานีองครักษ์ ขบวนรถวิ่งยาวผ่านท้องทุ่งรังสิตตอนเหนือ เข้าสู่เขต อ.วิหารแดง จ.สระบุรี แล้วมาหยุดรถด้านใต้สถานีวิหารแดงราว 1 กม.
เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่บริษัท อิตัลไทย สับรางให้ขบวนรถแล่นเข้าย่านซ่อมบำรุงรถไฟของบริษัทฯ ต่อไป
พอเข้ามาถึงภายในรั้วโรงงาน ก็เห็นรถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์ Henschel คันนี้ ซึ่งถูกตัดบัญชีใช้งานของการรถไฟฯ ไปแล้ว และทางบริษัทฯ ได้ประมูลซื้อมาซ่อมแบบยุบกินตัวเพื่อใช้งานได้ถึง 4 คันทีเดียว
แถมมีให้การรถไฟฯ ยืมมาทำขบวนรถโดยสารช่วยเหลือประชาชน ลุยน้ำท่วมใหญ่ระหว่างสถานีดอนเมือง - อยุธยา วันละ 6 เที่ยวด้วยครับ เนื่องจากสามารถลุยน้ำท่วมในระดับที่สูงกว่ารถจักรดีเซลไฟฟ้าซึ่งเป็นม้างานหลักของการรถไฟฯ ที่มีอยู่นั้น จะทำได้
หลังลงจากรถ ต่างพากันเดินตามเสียงโทรโข่งเชิญชวนเข้าที่ร่มในอาคารสนาม เพื่อรับน้ำเย็นๆ และของว่างจากพนักงานบริษัทอิตาเลียนไทย ก่อนเข้ารับฟังสรุปบรรยายภารกิจ
หลังจากคลายร้อน อิ่มขนมเสร็จสรรพดีแล้ว ทางผู้จัดทัวร์ ได้แนะนำวิทยากรและขอเชิญให้บรรยายสรุปภารกิจให้แก่ชาวคณะได้รับฟังกันครับ
แถมยังได้ขอปัน power point มาเผยแพร่ซ้ำในเว็บไซต์ และผมขอ copy มาสรุปเฉพาะงานที่เข้าไปเยี่ยมชมอีกครั้งหนึ่งครับ
............................
เครดิต : ITALTHAI Wihan daeng Industrial Complex
เข้าเรื่องภารกิจใน Compound "D" ที่ไปเยี่ยมชม
และลำดับขั้นตอนดำเนินการปรับปรุงรถไฟทั้งของการรถไฟ และบริษัทเอกชน ที่รับมาทำครับ
ผังแสดงขั้นตอนดำเนินการโดยย่อ เป็นลำดับสุดท้าย
หลังจากเสร็จการบรรยาย ทางผู้จัดทัวร์ได้มอบของที่ระลึกให้กับวิทยากรบริษัท โดยเป็นรูปขบวนรถงานของบริษัทฯ ที่ปฏิบัติงานปรับปรุงทางรถไฟช่วงชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่ในขณะนี้
หลังจากนั้นแล้ว ทางผุ้จัดทัวร์ได้ปล่อยให้บรรดาลูกทัวร์ได้ไปชมงานต่างๆ ในบริเวณ compound "D" ตามอัธยาศัย โดยมีบรรดาพนักงานของบริษัทคอยชี้แจงข้อซักถามต่างๆ จนกระทั่งได้เวลาเรียกรวมพลเพื่อออกเดินทางกันต่อไป
..............
ขอขอบคุณ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ศูนย์อุตสาหกรรมวิหารแดง จังหวัดสระบุรี และพนักงานทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
(รอติดตามชมตอนที่ 3 กันต่อไปนะครับ)
Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2555 23:18:04 น.
2 comments
Counter : 3372 Pageviews.
Share
Tweet
โดย:
Kavanich96
วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:10:10:01 น.
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
โดย:
owl2
วันที่: 12 ตุลาคม 2560 เวลา:11:02:56 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [
?
]
Friends' blogs
Webmaster - BlogGang
[Add owl2's blog to your web]
Links
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.