Group Blog
OWL2's blog
<<
กุมภาพันธ์ 2555
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
20 กุมภาพันธ์ 2555
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 1)
All Blogs
น่าน น้าน นาน (ตอนจบ)
น่าน น้าน นาน (4)
น่าน น้าน นาน (3)
น่าน น้าน นาน (2)
น่าน น้าน นาน (1)
Konnichiwa Nihon no densha (14)
Konnichiwa Nihon no densha (ตอนจบ)
Konnichiwa Nihon no densha (24)
Konnichiwa Nihon no densha (23)
Konnichiwa Nihon no densha (22)
Konnichiwa Nihon no densha (21)
Konnichiwa Nihon no densha (20)
Konnichiwa Nihon no densha (19)
Konnichiwa Nihon no densha (18)
Konnichiwa Nihon no densha (17)
Konnichiwa Nihon no densha (16)
Konnichiwa Nihon no densha (15)
Konnichiwa Nihon no densha (13)
Konnichiwa Nihon no densha (12)
Konnichiwa Nihon no densha (11)
Konnichiwa Nihon no densha (10)
Konnichiwa Nihon no densha (9)
Konnichiwa Nihon no densha (8)
Konnichiwa Nihon no densha (7)
Konnichiwa Nihon no densha (6)
Konnichiwa Nihon no densha (5)
Konnichiwa Nihon no densha (4)
Konnichiwa Nihon no densha (3)
Konnichiwa Nihon no densha (2)
Konnichiwa Nihon no densha (1)
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( ตอนจบ )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 12 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 11 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 10 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 9 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 8 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 7 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 6 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 5 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 4 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 3 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 2 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 1 )
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (ตอนจบ)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (5)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (4)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (3)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (2)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (1)
ล่องใค้ ไปอีสาน (ตอนสุดท้าย)
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๑ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๐ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๙ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๘ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๗ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๖ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๕ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๔ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๓ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑ )
ทานตะวัน Express (2)
ทานตะวัน Express (1)
xinchao Vietnam (ตอนจบ)
Xinchao Vietnam ( 13 )
Xinchao Vietnam ( 12 )
Xinchao Vietnam ( 11 )
Xinchao Vietnam ( 10 )
Xinchao Vietnam ( 9 )
Xinchao Vietnam ( 8 )
Xinchao Vietnam ( 7 )
Xinchao Vietnam ( 6 )
Xinchao Vietnam ( 5 )
Xinchao Vietnam ( 4 )
Xinchao Vietnam ( 3 )
Xinchao Vietnam ( 2 )
Xinchao Vietnam ( 1 )
Meeting สุดชายแดนบูรพา (ตอนสุดท้าย)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (4)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (3)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (2)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (1)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนสุดท้าย)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 5)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 4)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 3)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 2)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 1)
กุลวาขาว แมคคิลวารี
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนสุดท้าย)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 6)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 5)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 4)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 3)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 2)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 1)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 3 (ส่งท้าย)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 2
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 1
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 6 (สุดท้าย)
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 5
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 4
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 3
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 2
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 1
ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต
เรื่องราวในอดีตของถนนมิตรภาพ : กรุงเทพฯ - หนองคาย ใน 8 ชั่วโมง
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (12)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (11)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (10)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (9)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (8)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (7)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (6)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (5)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (4)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (3)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (2)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (1)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 1)
สวัสดีรับบรรยากาศตรุษจีนครับ...
ช่วงเวลาดังกล่าว ทางผมมีกิจกรรมร่วมทัวร์กับชาวคณะซึ่งเลื่อนหนีภัยน้ำท่วมใหญ่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2554 มาลงตัวพอดีกับช่วงวันตรุษจีนพอดี เป็นเหตุให้สมาชิกหลายรายติดภารกิจดังกล่าวจนไม่อาจไปร่วมทัวร์ครั้งนี้ได้
แต่...ไม่เป็นไรครับ สำหรับรายการทัวร์ทางรถไฟที่เพื่อนผมร่วมกันจัดนั้น เป็นการจัดรถไฟท่องเที่ยวแก่บรรดาสมาชิกเว็บไซต์ Rotfaithai.Com โดยมีเส้นทางระหว่างสถานีชุมทางบางซื่อ - ชุมทางแก่งคอย - คลองไผ่ - กรุงเทพ จึงได้ตั้งชื่อรายการทัวร์นี้ว่า
Circular Train
จะลองติดตามกันไปเที่ยว ดีไหมครับ ?
หลังจากเวลาได้ล่วงถึง 05.45 น. ขบวนรถดีเซลรางที่จะนำคณะทัวร์ Circular Train แล่นมาถึงสถานีชุมทางบางซื่อ 1 คณะทัวร์ต่างมะรุมมะตุ้ม ขนข้าวขนของขึ้นบนขบวนรถกันอุตลุต แค่ไม่กี่อึดใจ ก็เรียบร้อย รวมถึงจัดการเปลี่ยนป้ายรถจัดเฉพาะที่ติดขบวนรถมาเอาจัดเก็บ แล้วนำป้ายชื่อเว็บไซต์ลงสวมใส่แทน
เหตุผลเพื่อกันผู้โดยสารที่ไม่ทราบเรื่องจะขึ้นรถติดไปด้วยสิครับ แถมด้วยความเก๋ไก๋เป็นการส่วนตัวด้วย
สำหรับบรรดาเสบียงในรถที่เตรียมแจกให้กับลูกทัวร์นั้น มีน้ำเปล่าคนละ 1 ขวด อาหารกล่องคนละ 1 กล่อง จากร้านอาหารชื่อดังในตลาดแก่งคอย ซึ่งไปรับขึ้นรถที่สถานีชุมทางแก่งคอย
ที่เหลือนอกนั้นเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล และของขบเคี้ยวต่างๆ ซึ่งตั้งใจนำไปขายเพื่อหาเงินเข้าพรรค เอ๊ย !! เก็บไว้เป็นทุนกองกลางบริหารกิจกรรมครับ
ครั้นได้เวลา 06.30 น. ขบวนรถไฟพิเศษ
Circular Train
นี้ ก็ชักหวูด ออกเดินทางจากชุมทางบางซื่อโดยมิชักช้า แต่แปลกกว่าขบวนรถไฟนำเที่ยวอื่นๆ ตรงที่แล่นมาทางทิศเข้าหัวลำโพงนี่แหละ
เมื่อรถเคลื่อนขบวน ฝ่ายนายทะเบียนเริ่มต้นเช็ครายชื่อลูกทัวร์ พร้อมแจกป้ายคล้องคอให้สวมใส่เพื่อเป็นสื่อทำความรู้จักกัน และเก็บไว้เป็นที่ระลึกด้วย
สถานีถัดไปที่ขบวนรถจะหยุดรับลูกทัวร์ คือสถานีสามเสน
ถึงตอนนี้ อาจมีหลายท่านสงสัยว่า จะไปชุมทางแก่งคอยนี่นา แต่ทำไมถึงวิ่งลงใต้ล่ะ ?
ต้องขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งครับว่า ทางผู้จัดได้สมคบคิด เอ๊ย !! ได้วางแผนกันไว้ว่า เพื่อเป็นการสนองความต้องการของบรรดาคณะทัวร์ ที่จะผ่านเส้นทางสายตะวันออก ซึ่งปัจจุบันนี้ได้เชื่อมต่อกับสายอีสานแล้ว และได้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางคราวน้ำท่วมใหญ่ที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ นี้เอง โดยการรถไฟฯ ได้จัดให้ขบวนรถไฟสายอีสาน ใช้เส้นทางสายตะวันออก แล้วต่อเชื่อมกับสายอีสานที่ชุมทางแก่งคอยก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางปกติ ไปยังปลายทางต่อไป
นั่นทำให้รถไฟสายอีสานไม่ต้องหยุดการเดินรถเช่นสายเหนือ จนกระทั่งน้ำลดเป็นปกติครับ
สำหรับเส้นทางสายเหนือที่ไปเชื่อมกับสายตะวันออกนั้น จะผ่านเส้นทางช่วงสามเหลี่ยมยมราชด้านเหนือ และตรงกับความต้องการของเหล่าสมาชิกลูกทัวร์ ที่ไม่เคยนั่งรถไฟผ่านเส้นทางช่วงนี้ จึงเป็นการเรียกตลาดสร้างความสนใจใน
Circular Train
อยู่ไม่น้อย
ขบวนรถไฟพิเศษเริ่มเข้ารางแยกจากเส้นทางสายเหนือ ผ่านสถานีรถไฟจิตรลดา ยามเช้าตรู่ ก่อนเข้าสู่ย่านเสาวนีย์ และเส้นทางสามเหลี่ยมยมราชด้านเหนือครับ
ซึ่งปกติจะมีเพียงขบวนรถชานเมืองยามเช้าตรู่เพียงขบวนเดียวเท่านั้นที่ผ่านเส้นทางสายนี้ คือขบวนรถชานเมืองสาย รังสิต - หัวตะเข้ นอกเหนือจากขบวนรถสินค้าจากท่าเรือคลองเตย ไปยังย่านสินค้าพหลโยธิน
เข้าทางแยกสามเหลี่ยมยมราชด้านเหนือแล้วครับ และก็เป็นครั้งแรกสำหรับผม ที่นั่งรถไฟผ่านเส้นทางช่วงนี้ด้วย
เส้นทางช่วงสามเหลี่ยมยมราช ก่อสร้างในสมัยสมเด็จกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ขบวนรถสินค้าไปยังท่าเรือคลองเตย และยังใช้ขอพ่วงแบบ เอบีซี. ซึ่งเป็นขอสับ แตกต่างจากทุกวันนี้ ทำให้ไม่ต้องไปสับเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีกรุงเทพ
ถึงแม้ว่ารถไฟไทยในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาใช้ขอพ่วงแบบปัจจุบันนี้ก็ตาม แต่ยังมีบางขบวนที่อาศัยประโยชน์จากเส้นทางช่วงสามเหลี่ยมยมราช คือขบวนรถท่องเที่ยวพิเศษ
Eastern Orient Express
(กรุงเทพฯ - สิงคโปร์) ซึ่งมีโบกี้ชมทิวทัศน์อยู่ด้านท้ายขบวน ต้องมากลับรถที่นี่ เพื่อให้โบกี้ชมทิวทัศน์ได้อยู่ด้านท้ายขบวนตลอดครับ ไม่เช่นนั้นจะต้องนำไปเข้าแท่นกลับรถจักร ซึ่งสถานีกรุงเทพไม่มีใช้งาน
บริเวณภายในสามเหลี่ยมยมราชแห่งนี้ เป็นนิคมรถไฟให้พนักงานการรถไฟฯ และครอบครัวตั้งอยู่ด้วยครับ และยังมีสระเก็บน้ำรูปทรงกลมขุดเอาไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ด้วย
บ้านพักรถไฟที่นี่ ยังเป็นที่เกิดของอดีตพระเอกหนังไทยรุ่นอาวุโส คือคุณสมบัติ เมทะนี ด้วยครับ
มองจากหน้าต่างรถไฟขณะแล่นผ่าน จะเห็นบรรยากาศเงียบสงบ ผิดแผกจากบรรยากาศภายนอกเหมือนขาวกับดำ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นท้องนากลางกรุงก็ยังได้
พักเดียว เส้นทางรถไฟจะแล่นขนานกับเส้นทางช่วงสามเหลี่ยมยมราชด้านใต้ที่มาจากสถานีกรุงเทพ
สภาพสองข้างทางเริ่มกลายเป็นชุมชนหนาแน่นอยู่ประชิดราง จนผู้โดยสารนั้น ห้ามชะโงกศรีษะ หรือยื่นแขนขาออกนอกตัวรถโดยเด็ดขาด
ไม่เช่นนั้น จะโดนสังสะสีมุงหลังคาบ้านที่ปลูกประชิดริมทาง บาดเอาสิครับ
ออกมาสู่ความศิวิไลซ์ บริเวณหลังอาคารสูงย่านถนนศรีอยุธยาครับ
ตอนนี้ด้านซ้ายทาง จะมีแนวเส้นทางรถไฟฟ้า
Airport Rail Link
จากสถานีพญาไท แล่นขนานกันจะกว่าจะถึงสถานีบ้านทับช้าง และแยกเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ
เลยสถานีรถไฟฟ้า
Airport Rail Link
ราชปรารภ อีกเล็กน้อย จะมีเส้นทางแยกไปยังสถานีรถไฟแม่น้ำ ท่าเรือคลองเตย และโรงกลั่นน้ำมันบางจากครับ
เสียงพนักงานสถานีมักกะสันออกประกาศว่า ขบวนรถไฟพิเศษนี้ไม่ใช่ขบวนรถรับส่งผู้โดยสารตามปกติ และเตือนมิให้ผู้โดยสารอย่าขึ้นไปบนขบวนรถ ขณะจอดรอสัญญาณออกเดินทางต่อไป
แต่ยังมีลูกทัวร์อีกสองสามราย วิ่งกระหืดกระหอบขึ้นรถทันจนได้ เรียกเสียงเฮฮาได้ทั้งขบวน
สถานที่สำคัญตั้งอยู่ใกล้ๆ บริเวณนี้ ก็คือ โรงงานมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั่นเอง นอกเหนือจากสถานีรถไฟฟ้า ARL มักกะสัน และโรงพยาบาลบุรฉัตร หรือโรงพยาบาลรถไฟ(เดิม) นั่นแหละครับ
ผ่านที่หยุดรถไฟอโศก ใกล้ๆ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เพชรบุรี และสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ARL มักกะสัน
บริเวณติดๆ กัน แต่เรียกกันหลายชื่อนะครับ
รอรับใบผ่านทาง ที่สถานีคลองตัน
เดี๋ยวจะหาว่าจืดชืดเกินไป
แถมให้สักภาพนะครับ กับนักเรียนสาวรอขึ้นรถไฟไปโรงเรียน ที่สถานีหัวหมาก
ออกจากสถานีหัวหมาก ช่วงนี้เริ่มเข้าเส้นทางคู่สายตะวันออก ยาวไปจนถึงสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา
กับมุมสบายๆ ตลอดเส้นทางของแฟนรถไฟไทยตัวยงรายหนึ่ง บนรถไฟจัดเฉพาะขบวนนี้ครับ
ชีวิตยามเช้าของผู้คนขณะไปทำงาน เป็นอีกมุมมองที่น่าสนใจยิ่งสำหรับผม ถึงแม้ว่าจะแตกต่างไปบ้างทั้งตัวผู้คน ภาษา การแต่งกาย และยานพาหนะก็ตาม
ปกติ สถานีรถไฟมักจะตั้งอยู่ริมเส้นทาง ยกเว้นสถานีบางแห่งที่แตกต่างออกไป เช่น สถานีแม่น้ำ ที่มีถนนเชื้อเพลิงตัดขวางอยู่ระหว่างอาคารสถานีกับย่านรถไฟ
และอีกแห่งที่ค่อนข้างพิสดารก็คือ สถานีบ้านทับช้าง เนื่องจากมีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง Airport Rail Link ตัดผ่านพื้นที่ตั้งของสถานี ตัวอาคารสถานีจึงต้องขึ้นไปอยู่ระดับเหนือทางรถไฟดังที่เห็น
ขอปรับโหมดกล้องเป็นแสงปกติครับ ทันเก็บภาพขบวนรถชานเมืองสายตะวันออก แล่นเข้ากรุงเทพฯ ขบวนแรก ผ่านไปอย่างรวดเร็ว
ตามมาติดๆ เป็นขบวนรถสินค้าขนตู้คอนเทนเนอร์จากท่าเรือแหลมฉบัง เข้าสู่ลานสินค้าบรรจุกล่อง (ลาน ICD) ลาดกระบัง ได้แล่นผ่านไปโดยเร็วเช่นกัน
แต่มาแปลกตรงที่รถสินค้าขบวนนี้ แล่นบนเส้นทางเดิมที่ยังไม่ได้ถูกรื้อทิ้ง จึงกลายเป็นรางที่สามของทางรถไฟสายตะวันออก ช่วงระหว่างสถานีหัวตะเข้ - ชุมทางฉะเชิงเทรา ด้วยครับ
ท้องนาข้างกรุง ช่วงสถานีเปรง ใกล้ชุมทางฉะเชิงเทราเข้ามาทุกขณะ
หากไม่บอกไว้ก่อน หลายๆ ท่านอาจคิดว่าคงเป็นเส้นทางรถไฟสายเหนือ แถวๆ จ.พระนครศรีอยุธยา กระมัง ?
ถึงชุมทางฉะเชิงเทราแล้วครับ ด้วยระยะทางประมาณ 60 กม.จากสถานีกรุงเทพ ทำให้ฉะเชิงเทราทุกวันนี้ อยู่ใกล้กรุงเทพมหานครแทบคาดไม่ถึง
แถมด้วยขบวนรถชานเมืองมีวิ่งบริการระหว่าง ฉะเชิงเทรา - กรุงเทพฯ ตลอดทั้งวันนั้น ช่างแสนสะดวกดายจริงๆ ครับ
บางส่วนของย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ที่สามารถรองรับขบวนรถสินค้าจากกรุงเทพฯ และภาคอีสาน เข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังถึงวันละเกือบ 20 ขบวนทีเดียว
ยิ่งเส้นทางรถไฟทางคู่ระหว่างชุมทางฉะเชิงเทรา - ท่าเรือแหลมฉบัง ที่สร้างแล้วเสร็จและรอเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่วันข้างหน้าด้วยแล้ว ปริมาณขบวนรถสินค้าคงจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
ขณะที่จอดรอทางอยู่นั้น มีขบวนรถสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง แล่นเข้าเทียบชานชาลาสถานีพอดี
ก่อนที่จะออกเดินทางต่อไปยังลาน ICD ลาดกระบัง ในอีกไม่กี่นาทีต่อมา
ขอเก็บรูปบรรดาพ่อค้าแม่ขายบริเวณสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา มาฝากให้ชมด้วยครับ
ครั้นได้เวลา ขบวนรถจัดเฉพาะ Circular Train เริ่มเคลื่อนขบวนออกเดินทางต่อไปยังชุมทางคลองสิบเก้า มุ่งหน้าสู่เส้นทางสายอีสานกันต่อไป
(ติดตาม เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train ตอนที่ 2 กันต่อไปนะครับ)
Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2555 23:03:32 น.
4 comments
Counter : 5850 Pageviews.
Share
Tweet
โดย:
Kavanich96
วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:8:06:12 น.
ขอบคุณที่มาแวะชมครับ ผมยังทำต้นฉบับตอนที่ 2 อยู่ เดี๋ยวค่อยเปิดตัว แฮ่ะๆ
โดย:
owl2
วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:9:52:42 น.
รถไฟ ปู๊นๆๆ มาแล้ว...
ชอบภาพวาด บนสุด นะคะ
น่ารักจัง...
โดย:
phuketian
วันที่: 2 มีนาคม 2555 เวลา:20:07:58 น.
เป็นฝีมือของสมาชิกเว็บไซต์ Rotfaithai.Com และเป็นผู้หญิงด้วยครับ
โดย:
owl2
วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:20:23:46 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [
?
]
Friends' blogs
Webmaster - BlogGang
[Add owl2's blog to your web]
Links
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.