Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
25 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 6)

ในตอนที่แล้ว ผมพานั่งรถไฟจัดเฉพาะ Circular Train จากชุมทางบางซื่อ ผ่านชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางคลองสิบเก้า ชุมทางแก่งคอย และเข้าสู่แผ่นดินอีสานจนถึงสถานีจันทึก วันนี้เราไปกันต่อนะครับ



จากสถานีจันทึก เส้นทางจะเลาะเขาริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง

ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นหินผุปนกับดินลูกรัง มักเกิดปัญหาดินข้างทางพังสู่ทางรถไฟสายนี้ในช่วงฝนที่ผ่านมา จนปิดเส้นทางเพื่อซ่อมหลายหน แม้แต่เสาโทรเลขริมทางยังไม่พ้นภัยนี้



ผ่านสถานีคลองขนานจิตร ซึ่งเป็นหนึ่งในสองแห่งที่ก่อสร้างใหม่พร้อมแนวทางรถไฟที่ย้ายหนีน้ำขึ้นมาจากบริเวณอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่ผู้คนในสมัยนี้ มักจะไม่ทราบกันนัก

ช่วงขาไป ขบวนรถยังไม่ได้แวะจอดสถานีนี้ครับ



สภาพหินข้างทางที่ร่วงมาทับเส้นทางรถไฟ ที่ถูกงัดออกไปพ้นทางแล้ว

สังเกตเสาโทรเลขข้างทางด้วยนะครับ ที่ยังใช้เสาชั่วคราวรองรับสายแทนเสาเดิมซึ่งทำจากเหล็กรางรถไฟเก่า ก่อนถูกดินข้างทางพัดหายไป



ตอนนี้ขบวนรถได้แล่นเข้าใกล้สถานีคลองไผ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเขื่อนลำตะคอง และนิคมสร้างตนเองลำตะคองด้วยครับ

หากใครที่เคยนั่งรถยนต์ไปเที่ยวเขื่อนลำตะคอง คงจะเห็นภาพได้ชัดเจนกว่ามาตามเส้นทางรถไฟ



แล้วรถไฟจัดเฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว Circular Train ได้นำคณะทัวร์เข้าสู่สถานีคลองไผ่ซึ่งเป็นสถานีปลายทางโดยสวัสดิภาพ และจอดให้บรรดาลูกทัวร์เดินถ่ายรูปตามสถานีรถไฟเป็นเวลา 20 นาที

ช่วงที่เดินทางมาถึงสถานีคลองไผ่ ก้มมองดูนาฬิกา บอกเวลา 15.30 น.แล้วครับ

ชักเป็นห่วงแล้วสิว่า จะกลับเข้าถึงกรุงเทพฯ สักกี่ทุ่มหนอ ?



ไหนๆ ดั้นด้นเดินทางมาไกลถึงสถานีคลองไผ่แล้ว ถือโอกาสลงเดินสำรวจบริเวณรอบๆ สถานีกันหน่อยล่ะครับ



สังเกตจากสีที่ทาอาคารจนเป็นสีเอกลักษณ์ของการรถไฟฯ นั้น ช่างดูคลาสสิกจริงๆ



รวมถึงรูปทรงอาคารบ้านพักนายสถานีด้วยครับ ซึ่งสมัยนี้ได้กลายเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนไปหมดแล้ว



กลับไปทางย่านสถานี เจอหลัก "ศิลาลิขิต" แล้วสิครับ ไปดูกันหน่อยว่าเขียนไว้อย่างไรบ้าง

ที่ผมไม่เรียกว่าศิลาจารึกนั้นเพราะไม่ได้สลักไว้ครับ ใช้พู่กันจุ่มสีเขียนเป็นตัวอักษรเท่านั้น



ต้องใช้สายตาถึงสามคู่ และเค้นพลังสมองกันนานพอสมควร จึงแกะลายมือเขียนไว้ว่า

"ก.ม.288+180.90

จุดเริ่มต้น
ทางรถไฟเลียบ
อ่างลำตะคอง

1 ธ.ค.10"


ถ้าผิดพลาดประการใด ขอได้อภัยด้วยครับ น่าเสียดายหลักฐานประวัติเส้นทางช่วงนี้จริงๆ ที่ควรจะรับการดูแลให้ดีกว่านี้



ผู้ร่วมแกะ "ศิลาลิขิต" ท่านนี้ คงจะภูมิใจกับหลักฐานชิ้นนี้มาก จึงขอให้ผมบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วย

หน้าตาอาจภูมิฐานไปสักนิด แต่อาชีพหลักของท่านนั้นเป็นถึงผู้พิพากษาทีเดียว



ได้เวลาเสียงโทรโข่งจากผู้จัดเริ่มดังเรียกคณะทัวร์กลับขึ้นรถล่ะครับ

เพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำลำตะคองที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด บริเวณสถานีคลองขนานจิตร



และแล้ว ขบวนรถจัดเฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว ได้เวลาออกเดินทางกลับจากสถานีคลองไผ่



หากท่านใดที่นั่งรถทัวร์สายอีสานผ่านศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ลำตะคอง ของกรมทางหลวง และสวนน้าชาติ ที่เขายายเที่ยง ถ้ามองไปยังอีกฟากหนึ่งของอ่างเก็บน้ำ จะเห็นทางรถไฟสายอีสาน และสถานีเล็กๆอยู่แห่งหนึ่ง คือสถานีคลองขนานจิตร นั่นเอง

คราวนี้ เรามองจากฝั่งสถานี มองไปยังศูนย์บริการทางหลวงกันบ้างล่ะ



สำหรับนักท่องเที่ยวสองรายนี้ ค่อนข้างจะ Happy เป็นพิเศษ ขณะช่วยกันบันทึกภาพจากมุมมองที่ไม่เคยเยือนมาก่อน



ลองซูมจนสุดกำลังกล้อง ได้ภาพมาแค่นี้เองครับ



เฮฮาบันทึกภาพกันได้ไม่นาน ต้องมานั่งเงียบเหงาทั้งบนรถไฟและอาคารสถานีเป็นทิวแถว เพราะฝนชะช่อมะม่วงดินแดนอีสาน เทลงมาพอดี



นี่ก็อีกกลุ่มหนึ่ง ที่กำลังเซ็งกับบรรยากาศยามนั้นครับ



เวลาผ่านไปราว 15 นาที สายฝนจึงค่อยสร่างซาลง พร้อมๆ กับได้เวลาออกเดินทางต่อพอดี



นายสถานีคลองขนานจิตร โบกธงเขียวปล่อยขบวนรถล่ะครับ

สถานีแห่งนี้ ไม่มีถนนใดๆ ผ่าน แถมประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอีกด้วย ทางหน่วยงานที่แก่งคอยจึงจัดรถ บทน. (โบกี้บรรทุกน้ำ) มาจอดให้บริการน้ำสะอาดแก่บรรดาพนักงานได้ใช้สอยทุกเดือน มิได้ขาด

น่าจะมีเบี้ยกันดารแถมให้ด้วยนะ...

(รอติดตามตอนสุดท้ายด้วยนะครับ)


Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2555 0:01:53 น. 0 comments
Counter : 3124 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add owl2's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.