|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
Xinchao Vietnam ( 13 )
วันนี้ กลับเมืองไทยแล้วครับ...

ลูกทัวร์ตื่นตามสบาย และจากเมืองฮาติ่งห์ (Ha tinh) ตียาวข้าม สปป.ลาว มายัง จ.ขอนแก่น
เพิ่งทราบว่า โรงแรมนี้ ตั้งอยู่ชั้นบนของห้างสรรพสินค้าใหญ่ของเมือง แถมมีธนาคารด้วย มิน่า ลูกทัวร์หลายๆ ท่าน ลงไปทิ้งเงินด่อง (Dong) ก่อนกลับบ้านกันหลายคน

ธกส.ของเวียตนาม ผมเห็นมีอยู่แทบทุกเมืองที่ผ่านมา ตัวอาคารอันใหญ่โดแสดงว่า มีมานานกว่าบ้านเรา

จากเมืองฮาติ่งห์ (Ha tinh) ก็ออกทางหลวงหมายเลข 3 มายังชายแดนเวียตนาม - สปป.ลาว เลยครับ แต่หนทางนั้นยังยาวไกลอยู่

เส้นทางหลวงสายนี้ มีรถวิ่งไม่มากเท่าสาย 1 เอ ครับ แต่เป็นทางหลวงในอนาคตที่ขนสินค้าจาก สปป.ลาว ไปยังท่าเรือน้ำลึกหวุงอ่าง (Vung ang) ที่รัฐบาล สปป.ลาว ร่วมทุนด้วยครับ ใกล้กว่าท่าเรือแหลมฉบังบ้านเราเป็นไหนๆ

คราวนี้ได้เห็นชาวบ้านเวียตนามจริงๆ ล่ะครับ จากตลาดนัดริมทาง

แต่วิ่งไปได้ไม่นานครับ ก็ถึงช่วงปรับปรุงทาง ถ้าเป็นรถไม่ติดแอร์ล่ะก็ เป็นต้องดมฝุ่นไปพลางๆ

และก็พบเส้นทางรถไฟจากเมืองวิงห์ (Vinh) ซึ่งหลบทะเล ลัดเขาผ่านป่าล่องไปไซ่ง่อน (Saigon)ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางสายโฮจิมินห์ (Ha Chi Minh Trail)
ไกด์เล่าว่า เส้นทางสายโฮจิมินห์ เกิดขึ้นเพราะเส้นทางสาย 1 เอ เส้นทางสายหลักของเวียตนาม ถูกฝูงบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ทำลายสะพานบนเส้นทางจนราบคาบ จึงต้องตัดเส้นทางสายใหม่ เพื่อลำเลียงสรรพาวุธผ่านป่าเขา โดยมีการพรางตานักบินสหรัฐฯ เป็นอย่างดี
หลังจากเสร็จสงครามรวมชาติแล้ว จึงได้มีการปรับปรุงทางให้สามารถเดินทางได้สะดวกสบายอย่างที่เห็น

เป็นภาพสุดท้ายของเส้นทางรถไฟเวียตนามที่ขนานไปกับเส้นทางสายโฮจิมินห์ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปจนลับสายตา

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ขณะผ่านเขื่อนกั้นแม่น้ำหงานเซา (Song Ngan sau)

เส้นทางจะลัดเลาะไปตามเขา มีลำน้ำอยู่ข้างสายทางครับ

และก็มาถึงสามแยกแคแว (Khe Ve) ทางไกด์ได้จอดพักให้คณะทัวร์ได้ทำธุระส่วนตัวทั้งหนักเบาตามอัธยาศัย ที่ปั๊มน้ำมันตรงสามแยก
ชัยภูมิดีครับ แต่ไม่มีบ้านเรือนตั้งอยู่เลย

สามแยกแคแว (Khe Ve) มองจากปั๊มน้ำมัน
เส้นทางโฮจิมินห์ จะล่องใต้ต่อไป และแบ่งเป็นสองสาย สายด้านบนจะไปที่เมืองเคซานห์ (Khe sanh) คงจำชื่อเมืองนี้ได้นะครับ เพราะโด่งดังมากในสงครามเวียตนาม ส่วนสายล่างจะไปยังเมืองดองฮา (Dong ha)
ส่วนจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายนี้ อยู่ที่กรุงฮานอย (Hanoi)

ส่วนเส้นทางหลวงที่แยกจากเส้นทางสายโฮจิมินห์ที่สามแยกแคแว (Khe Ve) จะเป็นทางหลวงหมายเลข 12 ลัดเลาะไปตามเทือกเขาอันหนัม สู่ชายแดน สปป.ลาว และมีชนกลุ่มน้อยวันเกี่ยว อาศัยในพื้นที่แห่งนี้
แนวเส้นทางสายเก่า รวมถึงเส้นทางที่ตัดผ่านในหมู่บ้าน แนวเส้นทางใหม่จะเลี่ยงหมด ไม่มีเว้น

จากสภาพเส้นทางคดเคี้ยว ไต่เขาขึ้นไปเรื่อยๆ ผมนับถือในฝีมือเห็นการขับรถบรรทุกขนาด 18 - 20 ล้อ ลัดเลาะไปตามภูเขาแห่งนี้ครับ คงจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ีทางการเวียตนามมิให้รถบรรทุกจากลาวและไทยเข้าไปในเวียตนาม
และเราก็ถึงด้านจอลอ (Cha lo) ของเวียตนาม ซึ่งมีลานขนถ่ายสินค้าระหว่างรถบรรทุกจากลาวและไทย กับเวียตนาม
ส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้จากเมืองไทย ส่วนของลาวก็มี ยิปซั่ม หรือ "หินกาว" และถ่านหิน ไปส่งที่เวียตนาม โดยใช้รถบรรทุกของเวียตนามเลยครับ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านการขนถ่ายดังกล่าว
ระหว่างที่ไกด์ดำเนินการด้านขาออกจากเวียตนามนั้น ลูกทัวร์เลยถือโอกาสรับประทานอาหารกลางวันที่นี่ด้วย

มีรถประจำทางระหว่างประเทศของ สปป.ลาว จากเมืองวิงห์ (Vinh) มายังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน รอกรรมวิธีผ่านด่านด้วยครับ

ตัวอาคารตรวจคนเข้าเมือง และสินค้า ของด่านจอลอ (Cha Lo)

ลานขนถ่ายสินค้า มองจากร้านอาหาร มีขนาดใหญ่โตมากทีเดียว

หลังจากท้องอิ่มหนำ และกระบวนการแจ้งออกเมืองแล้วเสร็จ ล้อเริ่มหมุนอำลาจากแผ่นดินเวียตนาม ผ่าน No man's land เข้าสู่แผ่นดินของ สปป.ลาว โดยมิชักช้า
Create Date : 15 กันยายน 2556 |
Last Update : 16 กันยายน 2556 9:48:07 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1716 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|