Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 5)



จากเส้นทางหลวงสาย 23 ย้อนกลับมาได้พักหนึ่ง ก็เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหลวงสาย 20 ซึ่งไปยังแขวงสาละวัน และอุทยานน้ำตกผาส่วม

น้องเหลือง ไกด์ลาวอธิบายว่า คำว่า "ส่วม"(อ่านตามสำเนียงลาว แปลว่าห้องนอนผู้สาว แต่ถ้าคำว่า "ส้วม" ตามภาษาไทย จะอ่านสำเนียงลาวว่า "ซ่วม") ผมจึงเขียนคำว่า "ส่วม" ตามสำเนียงลาวครับ




จากสามแยกเข้าสู่ทางหลวงสาย 20 ในระหว่างทาง จะเห็นสวนยางพาราเรียงรายสุดลูกหูลูกตา ทราบว่าเป็นของบริษัทร่วมทุนระหว่างเวียตนาม - ลาว

ซึ่งอีกไม่นาน เราจะมีคู่แข่งด้านส่งออกยางพาราสู่ตลาดโลกกันบ้างล่ะ




สำนักงานบริษัทสวนยางพาราของเวียตนาม-ลาว

อีกด้านหนึ่งของทางหลวง จะเป็นบ้านพักของพนักงานบริษัท




ถัดจากทีทำการปกครองเมืองบาเจียงจะเลินสุกไปไม่นานนัก ก็ถึงทางแยกซ้ายเข้าสู่อุทยานน้ำตกบาเจียงจำปาสักล่ะครับ

เป็นถนน "ลาดยางหมด" ตลอดสาย




ผ่านสะพานข้าม "ห้วยจำปี" ซึ่งเป็นสะพานเบลีย์ ตั้งแต่ยุคฝรั่งเศสเป็นเจ้าปกครองอาณานิคมกระมัง ?



และแล้ว ไกด์ลาวประจำรถทั้งสองคัน ต่างลงไปประสานงานซื้อปี้เข้าชม "อุทยานบาเจียงจำปาสัก" ตามธรรมเนียม



หลังจากจอดรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บรรดาลูกทัวร์ต่างลงเดินเท้าไปอีกเล็กน้อย สู่ตัวน้ำตกและร้านอาหาร โดยมีฝูงช้างรอต้อนรับข้างหน้า

ลองเคาะตัวช้างดูแล้ว ปรากฎว่าเป็นช้างหล่อด้วยไฟเบอร์ครับ และมีป้ายเตือนมิให้ขึ้นไปขี่ช้างเล่น พร้อมอัตราค่าเสียหายที่ต้องชำระ หากมีการฝ่าฝืน ในราคาร่วม 1 ล้านกีบทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่

คงเป็นค่าหล่อช้างกันใหม่นั่นแหละ




แผนผังแสดงพื้นที่อุทยานน้ำตกผาส่วม ซึ่งบริษัทของคนไทยเป็นผู้ได้รับสัมปทานครับ และเคยมีการให้สัมภาษณ์ผ่านรายการของ คุณวู้ดดี้ มาแล้ว ซึ่งเจ้าของบริษัทประสบปัญหาด้านสายตาที่มืดสนิท เนื่องจากพิษของเชื้อมาเลเรียอย่างแรงที่มีอยู่ชุกชุมในพื้นที่นี้มาก่อน

แต่ชาวบ้านนั้น กลับเชื่อว่ามาจากการไม่เซ่นไหว้เจ้าป่าเจ้าเขาขณะเริ่มก่อสร้างโครงการมากกว่า

ก็ว่ากันไป...




ตัวสะพานสลิงข้ามไปยังร้านอาหารครับ หากเป็นแถวบ้านผมจะเรียกว่า "สะพานดิงดอง" ซึ่งเรียกตามสภาพแกว่งไกวไปมานั่นแหละ

สะพานนี้ ทางผู้จัดทัวร์ถึงกับลงทุนยืนกำชับลูกทัวร์ให้เดินข้ามครั้งละ 10 คน

หากมากกว่านั้น เกรงจะเดือดร้อนเจ้าหน้าที่ทางบริษัทต้องโดดลงไปช่วยงมตัวในน้ำ ถึงแม้จะเป็นกระแสน้ำที่ไหลไม่ค่อยแรงนักก็เถอะ

หากใครที่ใจไม่กล้า จะเดินอ้อมไปข้ามสะพานเบลีย์ซึ่งสร้างไว้ให้รถยนต์ข้าม ที่อยู่ไม่ไกลกันนักก็ได้ครับ เรียกว่าอำนวยความสะดวกให้ข้ามกันตามใจชอบล่ะ




ลักษณะหินริมตลิ่งดูแปลกตา เป็นรูปหกเหลี่ยม มีคำศัพท์ทางธรณีวิทยาว่า"เสาหินบะซอลต์" ครับ แสดงว่าบริเวณแห่งนี้ เคยเป็นแหล่งภูเขาไฟมาก่อน



ขอประเดิมเก็บภาพที่ละนึกกับน้ำตกผาส่วมกันก่อน หลังข้ามสะพานดิงดอง



ข้ามมาที่ฝั่งร้านอาหารกันเรียบร้อยแล้วครับ อย่างแรกที่ลูกค้าต้องทำ คือ "ถอดเกิบ" ก่อนเข้าร้าน



เหตุที่ขอให้ "ถอดเกิบ" นั้น เนื้องจากพื้นร้านเป็นไม้กระดานแผ่นใหญ่ๆ ครับ และเจาะช่องใต้โต๊ะอาหารสำหรับลูกค้าสามารถวางเท้า สามารถนั่งเหมือนอยู่บนเก้าอี้ เข้าใจว่าคงอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เป็นฝรั่งที่นั่งขัดสมาธิไม่เป็น

สภาพภายในร้าน ดูผาดๆ เหมือนนั่งขัดสมาธิทานข้าว แต่บรรยากาศในร้านดูทึมๆ ทำให้ผมคิดถึงฉากในหนังเรื่อง Apocalypse Now ขึ้นมาตะหงิดๆ




ระหว่างที่รับประทานมื้อเที่ยง แถมด้วยกาแฟเย็นหลังอาหารด้วยนั้น

ขอเชิญชวนให้อ่านใบปลิวจากเจ้าของบริษัทไปพลางๆ ก่อนนะครับ




หลังจากที่ทุกคนอิ่มท้อง และออกตระเวนชมน้ำตกและหมู่บ้านชนเผ่าต่างๆ กันแล้ว

สองคนพี่น้องก็ออกเดินย่อยอาหารกันบ้าง โดยตรงไปที่สะพานเบลี่ย์ยุคอาณานิคมก่อนเพื่อน

จริงๆ แล้ว ตัวสะพานนั้นไม่แปลก แต่น่าสนใจตรงที่อายุของตัวสะพาน ยืนยาวมากกว่าผมอีกนะครับ




บนสะพานเบลี่ย์ สามารถมองเห็นสะพานดิงดอง และน้ำตกผาส่วมที่อยู่ห่างๆ



กลับมาวนเวียนเก็บภาพนางแบบเฉพาะกิจที่น้ำตกผาส่วม หากไม่มีภาพล่ะก็ เป็นเรื่องแน่ๆ



และบนสะพานดิงดองครับ



หลังจากนั้น ผมได้เดินตระเวนดูหมู่บ้านชนเผ่าต่างๆ ในลาวตอนใต้ รวม 18 เผ่า แต่ผมจำชื่อชนเผ่าไม่หมดหรอกครับ หาดูตามป้ายก็ไม่มีให้เห็นเช่นกัน

เข้าใจว่า ทางผู้ดูแลคงไม่มีนโยบายปักป้ายไว้ที่หน้ากระท่อม ซึ่งเป็นการบ่งชี้จนเกินไป และทำลายสภาพชีวิตตามปกติของสมาชิกชนเผ่าอีกด้วย




เส้นทางเดินเข้าหมู่บ้าน ดูแล้วนึกย้อนเวลาไปถึงสมัยเด็กๆ จังเลย



คงจะไม่เจาะลงไปว่าเป็นเรือนของชนเผ่าใด ติดตามดูจากภาพไปเรื่อยๆ ก็แล้วกันนะครับ



ลวดลายประดับฝาบ้าน ซึ่งบรรพบุรุษของชนเผ่าเขาคิดสร้างสรรค์กันมาตั้งแต่ยุคโบราณ แต่ยังร่วมสมัยอยู่เลย



เฮือนบนต้นไม้ที่รีสอร์ทในบ้านเรากำลังฮิต ชนเผ่ายุคโบราณเขาก็สร้างเหมือนกันครับ



อาจเป็นภาพที่ไม่คุ้นสายตานัก หากเทียบกับบ้านเรือนชนเผ่าในเมืองไทยที่เราคุ้นเคย



อยู่ภายใต้ร่มเงาไม้อันร่มทึบ เยือกเย็น คงสงบจากสภาพวุ่นวายของสังคมภายนอกอยู่ไม่น้อยนะครับ

ดูแปลกๆ ตากับบันไดซึ่งเป็นไม้ท่อนเดียว มาบากเป็นซี่บันไดหรือตัดจากลำไผ่โดยทิ้งแง่กิ่งไว้เป็นบันไดเพื่อไต่ขึ้นบ้าน แต่สะดวกตอนยกเก็บไว้บนชานเรือน เพื่อกันสัตว์ร้ายในป่าที่อาจมารบกวนก็ได้




ที่เรียกความสนใจ เห็นจะเป็นศาลากลางหมู่บ้าน ให้เด็กๆ ชนเผ่าต่างๆ ได้มาเล่นสนุกด้วยกันนี่แหละ




ส่งท้ายก่อนที่จะกลับออกจากอุทยานน้ำตกบาเจียงจำปาสัก กับซุ้มที่นั่งพักทำจากตอไม้อันใหญ่โต ที่หาดูได้ยากจริงๆ ครับ

จบตอนที่ห้า...


Create Date : 05 กรกฎาคม 2555
Last Update : 6 กรกฎาคม 2555 22:30:28 น. 0 comments
Counter : 3530 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add owl2's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.