Group Blog
OWL2's blog
<<
มีนาคม 2554
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
26 มีนาคม 2554
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 2
All Blogs
น่าน น้าน นาน (ตอนจบ)
น่าน น้าน นาน (4)
น่าน น้าน นาน (3)
น่าน น้าน นาน (2)
น่าน น้าน นาน (1)
Konnichiwa Nihon no densha (14)
Konnichiwa Nihon no densha (ตอนจบ)
Konnichiwa Nihon no densha (24)
Konnichiwa Nihon no densha (23)
Konnichiwa Nihon no densha (22)
Konnichiwa Nihon no densha (21)
Konnichiwa Nihon no densha (20)
Konnichiwa Nihon no densha (19)
Konnichiwa Nihon no densha (18)
Konnichiwa Nihon no densha (17)
Konnichiwa Nihon no densha (16)
Konnichiwa Nihon no densha (15)
Konnichiwa Nihon no densha (13)
Konnichiwa Nihon no densha (12)
Konnichiwa Nihon no densha (11)
Konnichiwa Nihon no densha (10)
Konnichiwa Nihon no densha (9)
Konnichiwa Nihon no densha (8)
Konnichiwa Nihon no densha (7)
Konnichiwa Nihon no densha (6)
Konnichiwa Nihon no densha (5)
Konnichiwa Nihon no densha (4)
Konnichiwa Nihon no densha (3)
Konnichiwa Nihon no densha (2)
Konnichiwa Nihon no densha (1)
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( ตอนจบ )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 12 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 11 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 10 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 9 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 8 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 7 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 6 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 5 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 4 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 3 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 2 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 1 )
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (ตอนจบ)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (5)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (4)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (3)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (2)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (1)
ล่องใค้ ไปอีสาน (ตอนสุดท้าย)
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๑ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๐ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๙ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๘ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๗ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๖ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๕ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๔ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๓ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑ )
ทานตะวัน Express (2)
ทานตะวัน Express (1)
xinchao Vietnam (ตอนจบ)
Xinchao Vietnam ( 13 )
Xinchao Vietnam ( 12 )
Xinchao Vietnam ( 11 )
Xinchao Vietnam ( 10 )
Xinchao Vietnam ( 9 )
Xinchao Vietnam ( 8 )
Xinchao Vietnam ( 7 )
Xinchao Vietnam ( 6 )
Xinchao Vietnam ( 5 )
Xinchao Vietnam ( 4 )
Xinchao Vietnam ( 3 )
Xinchao Vietnam ( 2 )
Xinchao Vietnam ( 1 )
Meeting สุดชายแดนบูรพา (ตอนสุดท้าย)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (4)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (3)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (2)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (1)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนสุดท้าย)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 5)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 4)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 3)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 2)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 1)
กุลวาขาว แมคคิลวารี
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนสุดท้าย)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 6)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 5)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 4)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 3)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 2)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 1)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 3 (ส่งท้าย)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 2
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 1
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 6 (สุดท้าย)
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 5
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 4
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 3
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 2
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 1
ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต
เรื่องราวในอดีตของถนนมิตรภาพ : กรุงเทพฯ - หนองคาย ใน 8 ชั่วโมง
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (12)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (11)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (10)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (9)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (8)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (7)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (6)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (5)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (4)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (3)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (2)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (1)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 2
จากกระทู้ตอนแรก มีหลายๆ ท่านให้ความสนใจและสอบถามว่า เมืองสุพรรณบุรีมีรถไฟไปถึงด้วยหรือ ?
จากข้อมูลสั้นๆ ในหนังสือ
"รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์"
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน 2534 กล่าวไว้ว่า
...........
ทางแยกสายหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี
ทางสายนี้แต่เดิม วางแผนจะสร้างจากหนองปลาดุก ผ่านสุพรรณบุรี แล้วต่อไปบรรจบทางสายเหนือที่สถานีบ้านป่าหวาย จังหวัดลพบุรี เพื่อเป็นทางติดต่อตรงระหว่างสายเหนือกับสายใต้โดยไม่ผ่านกรุงเทพฯ และในระยะยาว ก็วางแผนจะสร้างทางแยกจากสุพรรณบุรีไปทางตะวันตกเฉียงเหนือผ่าน กำแพงเพชร ตาก ไปสุดพรมแดนที่แม่สอด แต่ได้รับงบประมาณให้สร้างเพียงแค่สุพรรณบุรี งานส่วนที่เหลือจึงได้ระงับไปนับแต่นั้นมา
สำหรับทางตอนหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี นี้ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2493 แล้วเสร็จเปิดการเดินรถได้ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2506 เป็นระยะทางทั้งสิ้น 78 กิโลเมตร สิ้นค่าก่อสร้างรวม 58,069,153 บาท
.......................
พอได้เวลา นายสถานีชุมทางหนองปลาดุก ยกธงเขียวให้สัญญาณปล่อยขบวนรถพิเศษออกจากย่านสถานี และเจ้าหน้าที่สถานี มีการโบกมือส่งให้กับขบวนรถไฟไปสุพรรณบุรีเที่ยวกลางวันนี้ด้วย
ขบวนรถแล่นผ่านประแจเข้าสู่รางประธาน และผ่านประแจรางแยกเข้าเส้นทางสายสุพรรณบุรี ส่วนประแจทางแยกไปสายกาญจนบุรีนั้น จะเห็นอยู่ข้างหน้าครับ
ป้ายบอกระยะทางแจ้งไว้ว่า สุพรรณบุรี 78 กิโลเมตร
นั่นหมายความว่า สถานีแห่งต่อไปบนเส้นทางสายนี้จะอยู่ห่างกันถึง 78 กม.ทีเดียวครับ จะไม่มีสถานีใดๆ ตั้งอยู่ระหว่างทางอีกเลย นอกจากที่หยุดรถต่างๆ เท่านั้น
นับว่าเป็นระยะทางระหว่างสถานีที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
ด้วยระยะทางระหว่างสถานีที่ตั้งอยู่ห่างกันแบบนี้ ทำให้การเดินรถไฟบนเส้นทางช่วงนี้ จะไม่มีขบวนรถใดๆ มาวิ่งร่วมทางอีก เพราะไม่มีประแจให้หลีกกันระหว่างทางเลย
หากจะมีรถไฟขบวนใดรอเข้าเส้นทางไปสุพรรณบุรีอีก ต้องรอให้ขบวนที่วิ่งอยู่นั้นออกมาถึงชุมทางหนองปลาดุกก่อน ถึงจะแล่นเข้าไปได้
นั่นเป็นข้อกำหนดที่ขบวนรถไฟพิเศษขบวนนี้ ต้องเร่งออกจากเส้นทางสายสุพรรณบุรี ก่อนเวลาขบวนรถปกติจะเข้าสู่เส้นทางสายนี้ในช่วงเย็นครับ
นอกจากนั้น ด้วยสภาพทางที่ไม่ค่อยจะได้รับการบำรุงรักษาเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณ ทำให้ขบวนรถที่วิ่งบนเส้นทาง สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 50 กม./ชม. แถมบางแห่งยังมีป้ายกำหนดความเร็วไว้ไม่เกิน 30 กม./ชม.อีกด้วย
ลองทายกันสิครับว่า รถด่วนขุนแผนขบวนนี้ออกจากชุมทางหนองปลาดุกเวลาประมาณ 09.30 น. ไปถึงสถานีสุพรรณบุรีประมาณกี่โมง ?
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ เส้นทางสายนี้มีจุดตัดหลายแห่ง ซึ่งไม่มีเครื่องกั้นทาง เนื่องจากมีเพียงขบวนรถไฟผ่านเพียงช่วงเช้ากับช่วงเย็นเท่านั้น จึงเป็นความเคยชินของชาวบ้านที่คิดว่าไม่มีรถไฟวิ่งผ่านอีกตลอดทั้งวัน
ดังนั้น พอมีขบวนรถพิเศษวิ่งไปบนเส้นทางช่วงนอกเวลาปกติ จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ครับ และรถไฟคันหนึ่ง ราคานับสิบล้านบาท
ปัญหานี้ ทำให้ทีมผู้จัดรายการทัวร์ต้องรวมหัวกันคิดหาวิธีแก้ไข และได้ผลเป็นที่พอใจ โล่งใจเมื่อรายการทัวร์สิ้นสุด
การประกันความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุนั้น ทางผู้จัดรายการของบริษัท ไปดำเนินการประกันภัยกลุ่มให้กับสมาชิกที่สำรองที่นั่งและชำระเงินแล้วทุกคน นั่นเป็นส่วนที่ลดภาวะความเสี่ยงในกรณีเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดฝัน
ส่วนผู้ร่วมจัดอีกรายนั้น ลงทุนสำรวจพื้นที่จริงล่วงหน้าตามข้อมูลแผนที่ระบบ GIS ระบุ เก็บภาพมาหารือ แล้วขอความช่วยเหลือจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง มาช่วยดูแลจุดตัดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ อยู่ประจำ โดยอาศัยความสัมพันธ์อันดีจากสมาชิกก๊วนที่รู้จักผู้รับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าว ผลก็ปรากฎในวันเดินทางจริงแบบนี้ครับ
สร้างความฮือฮากับลูกทัวร์ที่ไม่ทราบเบื้องหลังการเตรียมการแบบนี้ ถึงกับปรบมือกันเกรียวกราว
แต่ละจุดที่คาดว่ามีความเสี่ยงสูง และมีเจ้าหน้าที่คอยอยู่ดูแล ประสานงานโดยทาง ว.ทั้งขาไปขากลับ ก็อดไม่ได้ที่จะฝากน้ำใจแก้เหนื่อยแก่น้องๆ อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยเหล่านี้ล่ะ
แต่เจ้าของรถที่ถูกกักเอาไว้ คงบ่นกันพึมพำ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้
กูรูเรื่องทางที่นั่งไปด้วย บอกว่า เส้นทางสายสุพรรณบุรี ใช้รางที่รื้อมาจากเส้นทางรถไฟสายมรณะช่วงสถานีนิเถะ ใกล้ด่านพระเจดีย์สามองค์ ลงมาถึงสถานีน้ำตก หลังจากกองกำลังสัมพันธมิตรได้ตกลงขายเส้นทางรถไฟสายไทย - พม่า ในส่วนที่อยู่ประเทศไทย พร้อมรถจักรและล้อเลื่อนในราคา 50 ล้านบาทไทยในสมัยนั้น และกรมรถไฟ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีสภาพชำรุดมาก เนื่องจากก่อสร้างอย่างเร่งด่วนเพื่อการสงคราม คันทางทรุด สะพาน ไม้หมอนถูกไฟป่าไหม้เสียหาย ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ
รางที่รื้อออกเนื่องจากไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถนี้ นอกจากจะนำไปซ่อมเส้นทางสายต่างๆ ที่ชำรุดด้วยฝีมือทิ้งระเบิดจากเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว ยังมีเหลือนำไปก่อสร้างเส้นทางสายสุพรรณบุรี และเส้นทางสายท่าข้าม - ท่าขนอน ไปยังเกาะภูเก็ต (ท่าขนอน เป็นชื่อเดิมของ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี)
แต่โชคไม่มา วาสนาไม่ถึง รัฐบาลชุดต่อมา ได้ตัดงบประมาณก่อสร้างเส้นทางรถไฟทั้งสองสายนี้ลง เพื่อนำไปใช้ด้านอื่นที่จำเป็นกว่า ความฝันนั่งรถไฟข้ามทะเลไปยังเกาะภูเก็ต และต่อจากสุพรรณบุรีไปลพบุรี เลยค้างเติ่งจนถึงทุกวันนี้
สองข้างทางนั้น น่าสนใจครับ ในช่วงแรกๆ จะเป็นไร่อ้อย สลับกับสวนผักที่ส่งไปจำหน่ายยังเมืองกรุง อาจหลุดไปอยู่ร้านอาหารไทยในต่างประเทศบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ ?
ช่วงนี้หน้าหีบอ้อยด้วยสิ ไม่ทราบว่าน้ำตาลแพงได้อย่างไร ?
สวนกล้วยก็มีหลายขนัดทีเดียว ดินดีจริงๆ ครับ เหอๆๆๆ
ดั้นด้นผ่านสวน ผ่านไร่ชาวบ้านได้สักพัก เราก็ผ่านอดีตสถานีแรกบนเส้นทางสายนี้ ปัจจุบันกลายเป็นที่หยุดรถครับ ชื่อว่า ยางประสาท
ติดตามด้วยอดีตสถานี ดอนขุนวิเศษ ที่ผมไม่แน่ใจว่าจะมีใครโบกมือยาวเกินมนุษย์มนา รอขึ้นรถไฟตรงที่นี่หรือเปล่า ?
โดยเฉพาะยามค่ำหรือเช้ามืดน่ะครับ
เริ่มเฉียดชุมชนเมืองครับ อดีตสถานีรถไฟกำแพงแสน ที่ค่อนข้างทำใจยากสักหน่อย เมื่อทิ้งร้างไป แต่รถไฟยังจอดรับ หากมีผู้โดยสารรอโบกขึ้นรถ
ที่หยุดรถดอนขุนวิเศษ ก็ทำนองเดียวกัน แต่ที่พิเศษไม่เหมือนใครสำหรับเส้นทางสายสุพรรณบุรี ก็คือ ผู้โดยสารรอโบกขึ้น-ลงรถตามรายทางได้ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นริมทางตัดรถไฟนั่นแหละ โล่ง สะดวกหน่อย เพราะรถไฟวิ่งด้วยความเร็วแค่ 50 กม./ชม.เท่านั้นเอง หยุดได้ค่อนข้างสะดวก
ภาพแปลงเพาะชำไม้ดอกเล็กๆ ริมทางรถไฟ รอผู้สนใจซื้อนำไปประดับสวนในบ้าน ที่ อ.กำแพงแสน
ที่หยุดรถ ทุ่งฟัก ชื่อสถานที่ใกล้เคียงเนินประหลาดด้านขวามือ ที่มีลักษณะ "ภูเพียง" ไม่เล็กไม่ใหญ่ ผุดขึ้นกลางทุ่งราบ พอตอบได้ไหมครับว่าเป็นเนินอะไร ?
ด้านซ้ายทางก็มีเหมือนกันครับ
ขอเฉลยมิให้คาใจตอนกลับกรุงเทพฯ ว่า เป็นบ่อขยะฝังกลบของบริษัท กลุ่ม 79 จำกัด รับขยะที่ผ่านการคัดแยกวัสดุเพื่อทำ recycle ไปแล้ว นำมาฝังกลบที่นี่ ซึ่งมีระบบป้องกันรั่วซึมตามหลักวิชาการ และมีระบายความร้อนจากขยะนำไปใช้กับไฟฟ้าขนาดเล็กได้อีกด้วย
นานเข้า...ดินแต่ละชั้นที่กลบบรรดาขยะเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น "ภูเพียง" ดังกล่าว
ถ้ารักษ์กรุงเทพฯ ช่วยกันลดปริมาณขยะกันด้วยนะครับ
มาถึงที่หยุดรถอีกแห่งหนึ่งล่ะครับ ชื่อว่า ทุ่งบัว
นอกจากจะอยู่ใกล้ชุมชนแล้ว ยังอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อีกด้วย
และที่หยุดรถอีกแห่งหนึ่ง ท่าทางภูมิฐานกว่าแห่งอื่น เพราะสร้างทีหลังเพื่อนครับ เรียกกันในฐานที่เข้าใจตามประสาคนท้องถิ่นว่า โรงเรียนการบินกำแพงแสน
จากโรงเรียนการบินกำแพงแสน เส้นทางรถไฟจะเริ่มโค้งออกไปทางขวามือ เข้าสู่ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
จุดตัดอีกแห่งหนึ่งที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ คือทางเข้าบางลี่ หรือ อ.สองพี่น้อง นั่นเองครับ เป็นเส้นทาง คสล.ขนาด 6 เลนกว้างขวาง แต่ไม่มีเครื่องกั้นทางให้เห็นเลย
ขนาดหน่วยงานราชการยังคิดเหมือนๆ กับชาวบ้านเลยว่า รถไฟมาเพียงวันละ 2 ขบวน เช้ามืดกับค่ำสนิท สร้างเครื่องกั้นทางทำไมให้เปลืองเงิน ?
อะโห... น่าน้อยใจแทนรถไฟจริงๆ
พักสายตากับทุ่งนาปรังยามสายสักภาพนะครับ เป็นที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับชื่อเสียงของเมืองสุพรรณบุรี คือปลูกข้าวเป็นปริมาณมากที่สุดในประเทศไทย
คงจะจริง เพราะสุพรรณบุรีมีท้องนากว้างขวางสุดลูกตา ทำนากันจนจำกันไม่ได้ว่าเป็นนาปรังหรือนาปีเลยล่ะ
เป็นแบบนี้ ใครที่ออกข้อสอบกับเด็กนักเรียนอย่าเอาไปตั้งคำถามเชียวว่าชาวนา ทำนาปีละกี่ครั้ง ?
เพราะเด็กสมัยนี้จะตอบไม่ถูกครับ
มาถึงอดีตสถานีประจำอำเภอสองพี่น้องแล้วล่ะ
สถานีศรีสำราญ
และยุบลงเป็นที่หยุดรถ ด้วยเหตุรถไฟวิ่งบริการไม่ตรงเวลาที่ชาวบ้านเขาต้องการนั่นแหละ
จากศรีสำราญ บ้านเรือนผู้คนเริ่มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ ปล่อยให้ลูกทัวร์ที่นั่งรถผ่านไป ถามกันเล่นๆ ในกลุ่มว่า บ้านนี้เขาทำอาชีพอะไร ?
บ้านริมคลองสองพี่น้อง อันแสนสุข
นาบัว
ที่หยุดรถดอนสงวน ที่รับกับบรรยากาศพื้นบ้านจริงๆ
เส้นทางรถไฟเริ่มโค้งไปทางขวาอีก เข้าสู่เขต ต.มะขามล้ม อ.บางปลาม้า ละครับ
ที่นี่มีฝูงนกหนีหนาวจากไซบีเรีย มาอาศัยอยู่เยอะแยะครับ มีมากนกระทั่งเจ้าของบ่อปลา ต้องลุงทุนซื้อตาข่ายมาคลุมบ่อปลาเลยทีเดียว
และแล้วเราก็ได้เห็น หอบรรหาร-แจ่มใส เอ๊ย !!! หอชมเมืองสุพรรณบุรี เริ่มโผล่จากขอบฟ้ามาทักทายอยู่ลิบๆ แสดงว่าใกล้ถึงปลายทางเข้ามาทุกขณะ
ผ่านทางตัดเลี่ยงเมืองสุพรรณบุรี แต่งานนี้ ไม่ต้องถึงมืออาสาสมัครฯ หรอกครับ เพราะมีพนักงานประจำเครื่องกั้นอยู่แล้ว
ใกล้เข้าไปทุกขณะ แล้วย่านสถานีสุพรรณบุรี เริ่มโผล่มาให้เห็น
ครั้นถึงเวลา 11.45 น. ขบวนรถพิเศษแล่นเข้าเทียบชานชาลาสถานีสุพรรณบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่ของ ททท.ที่ได้รับการแจ้งประสานงานล่วงหน้า มารอรับพร้อมกับรถทัวร์คันใหญ่จอดรออยู่หลังสถานี
บรรดาผู้โดยสารที่เป็นลูกทัวร์ของบริษัทนำเที่ยว จำต้องสละยานที่นี่ ลงไปต่อรถทัวร์ซึ่งจะพาไปเที่ยวตามรายการที่จัดเอาไว้ รวมถึงเลี้ยงมื้อกลางวันด้วยครับ
ทราบว่า เส้นทางจะไปเที่ยวตลาดเก้าห้อง หอบรรหาร-แจ่มใส ชมเมืองสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์ เยี่ยมชมมังกรทองและพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ก่อนกลับมาสมทบกันอีกครั้งหนึ่งในช่วงบ่าย
ส่วนก๊วนที่ผมร่วมทางนั้น ยังครับ... ยังไม่ถึงปลายทาง
เดี๋ยวเสียชื่อว่านั่งรถไฟไปสุพรรณบุรีไม่สุดสาย
หลังจากบรรดาลูกทัวร์ต่างลงต่อรถทัวร์กันเรียบร้อยแล้ว นายสถานีสุพรรณบุรี ให้สัญญาณธงเขียวปล่อยรถอีกครั้งหนึ่ง ไปยังที่หยุดรถมาลัยแมนซึ่งเป็นปลายทาง
คราวนี้ได้ชื่อว่าไปสุดเส้นทางสายสุพรรณบุรีจริงๆ ล่ะครับ เพราะสุดปลายที่กั้นรางนั้นก็คือ ถนนมาลัยแมน ซึ่งเป็นปลายทางของขบวนรถปกติกรุงเทพ - สุพรรณบุรี ด้วย
คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนสุพรรณบุรีไม่นิยมขึ้นรถไฟ หากคิดว่าต้องไปซื้อตั๋วที่สถานีสุพรรณบุรี ที่อยู่ห่างจากถนนมาลัยแมนเป็นระยะไกลร่วมกิโลเมตร ในเวลาตีสี่
ขนาดรถไฟต้องปรับตัว ออกมารอรับถึงริมถนนมาลัยแมน ก็ไม่อยากจะขึ้นอีกนั่นแหละ กว่าจะไปถึงกรุงเทพฯ เกือบสามโมงเช้า นั่งรถตู้สบายกว่าเป็นไหนๆ
คราวนี้ไม่ลง ก็ต้องลงรถไฟล่ะ เพราะขบวนรถไฟจะกลับไปจอดพักรอทำขบวนเที่ยวกลับที่สถานีสุพรรณบุรี จนถึงกำหนดนัด จึงจะออกมารับกันที่นี่อีกครั้งหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง คือ ท้องเริ่มร้องอุทธรณ์แล้วสิครับ ทำให้เจ้าภาพผู้คุ้นทาง พาชาวคณะออกมาถนนใหญ่ หาร้านอาหารกันโดยด่วน ซึ่งก็ไม่ไกลนัก ตรงข้ามวัดป่าเลไลยก์ที่อยู่ใกล้ๆ กันนั่นเอง
ฝั่งตรงข้ามตรงที่หยุดรถมาลัยแมนนั้น คือโรงเรียนกรรณสูตรศึกษาลัย โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรีนั่นเองครับ คิดว่าหลายๆ ท่านที่ติดตามมา คงได้ทราบพิกัดแล้วว่า ทางรถไฟสายสุพรรณบุรีนั้นมีปลายสายอยู่ตรงที่ใด ?
ขอพักยกไปทานข้าวกลางวันก่อน คิดว่ายังพอมีเนื้อหาเสนอได้อีกสักตอนส่งท้ายครับ
( จบตอนที่ 2 )
Create Date : 26 มีนาคม 2554
Last Update : 30 มีนาคม 2554 15:14:36 น.
4 comments
Counter : 5374 Pageviews.
Share
Tweet
มาเจิม บลอค ครับผม
โดย:
Kavanich96
วันที่: 28 มีนาคม 2554 เวลา:8:16:22 น.
ขอบคุณที่มาแวะชมครับ...
โดย:
owl2
วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:15:06:31 น.
ตามมาเที่ยวสุ 1000 ด้วยค่ะ...
โดย:
phuketian
วันที่: 22 ธันวาคม 2554 เวลา:19:01:52 น.
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ ต้องขออภัยที่ตอบช้าสุดๆ เลย
โดย:
owl2
วันที่: 12 ตุลาคม 2560 เวลา:11:01:12 น.
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [
?
]
Friends' blogs
Webmaster - BlogGang
[Add owl2's blog to your web]
Links
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.