"ถนนสายนี้...มีตะพาบ" โจทย์ประจำหลักก.ม.ที่ 128 "พายุของเจ้านุ้ง"
"ถนนสายนี้...มีตะพาบ" โจทย์ประจำหลักก.ม.ที่ 128 "พายุของเจ้านุ้ง" ก่อนจะไปต่อไปทั้งเรื่องสาระและไร้สาระ ขออนุญาตนำแม่ตัวดีนุ้งมาฟ้องสักหน่อย เรื่องของเรื่องคือพักนี้จะพามาโชว์ตัวไม่ค่อยได้ เพราะแม่กำลังพยายามเล็มขนให้ แต่นุ้งยังไม่ค่อยยอมร่วมมือ ไม่เหมือนเจ้าปู่ป๋องที่พอรู้ว่าจะซอยขน เป็นรีบมานอนคอย นอกจากนี้ เจ้านุ้งพักนี้ถ้าได้อาหารชิ้นโตไปหน่อย จะเอาไปฝังตามใต้ตันไม้รกๆ ใช้เท้าหน้าขุด ฝังแสร็จแล้วก็เอาปากจมูกดุนๆดินไปกลบ หน้าตาก็เลยเป็นเช่นนี้ละค่ะ ทั้งเนื้อทั้งตัวดูไม่ได้สักอย่าง ตอนที่ไปรับโจทย์มา คิดว่าคราวนี้ไปไม่รอดแน่แล้ว เห็นทีจะต้องเล่น แนวบล็อกตัดแปะ แต่พอมาเห็นพฤติกรรมบางอย่างของเจ้านุ้ง เออนิ นินทาสาวเจ้าเสียอีกน่าจะดีกว่า แต่เพื่อไม่ให้เสียความตั้งใจ ก็เลย ตัดบทความจากวิกิพีเดีย เรื่อง พายุหมุนเขตร้อน มาแปะให้อ่าน กันบ้าง เพราะจขบ.เองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไรทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ ตัวที่ควรจะรู้ แต่ถ้าท่านรู้แล้วหรือไม่อยากรู้ก็ข้ามไปโลดเด้อค่ะพายุหมุนเขตร้อน เก็บความบางส่วนมาจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ขอขอบคุณ พายุหมุนเขตร้อน คือ พายุที่พัฒนามาจากหย่อมความกดอากาศต่ำซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น หรือไซโคลน ขึ้นกับสถานที่เกิด พายุหมุนเขตร้อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง และเป็นบริเวณกว้างมีลักษณะเด่น คือ มีศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า ตาพายุ เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อยล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งปรากฏฝนตกหนักและพายุลมแรง ลมแรงพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะ ปรากฏลมแรง ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก ชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อน ดูบทความหลักที่: การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนเริ่มต้นการก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำทะเล ในบริเวณเขตร้อนและเป็นบริเวณที่กลุ่มเมฆจำนวนมากรวมตัวกันอยู่โดยไม่ปรากฏการหมุนเวียนของลม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงนี้ เมื่ออยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป จนปรากฏระบบหมุนเวียนของลมอย่างชัดเจน ในซีกโลกเหนือทิศของลมเวียนเป็นวนทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ พายุหมุนในแต่ละช่วงของความรุนแรงจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม ความเร็วลมในระบบหมุนเวียนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นลำดับ กล่าวคือ ในขณะเป็นพายุดีเปรสชันความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าไม่เกิน 34 นอต ในขณะที่เป็นพายุโซนร้อนความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าอยู่ระหว่าง 34 64 นอต และในขณะเป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือไต้ฝุ่น ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางจะมีค่าตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป ดังนั้นสามารถแบ่งชนิดของพายุเขตร้อนได้ดังนี้ พายุดีเปรสชัน (Depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 34 นอต (17 เมตร/วินาที) (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนเขตร้อนในระยะเริ่มก่อตัวหรือกำลังอ่อนกำลังลง[1] พายุโซนร้อน (Tropical Storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 34-64 นอต (17-32 เมตร/วินาที) (63-117 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงกว่าดีเปรสชัน[2] พายุหมุนเขตร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางสูงสุด 64-129 นอต (17 เมตร/วินาที) (118-239 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นพายุหมุนที่มีกำลังสูงสุด การกระจายตัวของพายุหมุนเขตร้อนของโลกระหว่าง พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2548 พายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและมีความแรงของลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 33 นอต จะเริ่มมีการกำหนดชื่อเรียก โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้จัดรายชื่อเพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้เป็นสากล เพื่อทุกประเทศในบริเวณนี้ใช้เพื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวขึ้น โดยเรียงตามลำดับให้เหมือนกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศสมาชิกในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนและแถบทะเลจีนใต้ 14 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย โดยนำชื่อมาเรียงเป็น 5 สดมภ์ เริ่มจากกัมพูชาจนถึงเวียดนามในสดมภ์ที่ 1 เมื่อหมดแล้วให้เริ่มขึ้นสดมภ์ที่ 2 ถึง 5 แล้วจึงเวียนมาเริ่มที่สดมภ์ 1 อีกครั้ง จนกว่าจะมีการกำหนดชื่อพายุครั้งใหม่อีก ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก พายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า ไซโคลน แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล ลักษณะเฉพาะ พายุไซโคลนหรือพายุหมุนเขตร้อนซึ่งจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (32 เมตร/วินาที , 74 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป และมักจะมี ตา ซึ่งเป็นบริเวณที่ลมค่อนข้างสงบและมีความกดอากาศค่อนข้างต่ำอยู่กลางวงหมุน ตาพายุนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นวงกลมเล็กที่ไม่มีเมฆ รอบตาจะมีกำแพงล้อมที่มีขนาดกว้างประมาณ 16-80 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีพายุฝนและลมหมุนที่รุนแรงมากหมุนวนรอบๆ ตาท่านที่สนใจบทความทั้งหมด ติดตามได้ที่นี่ค่ะ แต่เจ้านุ้งของเรา ไม่เชื่อว่าพายุจะเป็นอะไรเหมือนที่กล่าวมาเลยค่ะ ส่วนมากถ้าจะสอนให้ระวังตัวเรื่องอะไร แม่จะต้องเอะอะให้นุ้งค่อยๆเรียนรู้ที่จะกลัวเรื่องนั้น เช่นเวลาใครจะเอารถออก แม่จะไม่ให้นุ้งออกไปนัวเนีย กลัวรถจะทับแบน แม่ก็จะเอะอะเรียกนุ้งให้กลับมาหาแล้วกอดไว้ ทำหลายๆครั้งพอรถจะออกแล้วแม่เรียกแค่เบาๆ นุ้งก็จะรีบวิ่งมาให้แม่กอดไว้ แต่ถ้าแม่ไม่อยู่ก็จะวิ่งไปนั่งข้างใครก็ได้ นั่งนิ่งๆจนรถไปแล้ว นุ้งจึงจะลุกไปไหนๆได้ เราไม่ได้ส่งนุ้งไปเข้าโรงเรียน เพราะแม่สุขภาพไม่อำนวยให้ทำได้ เลยต้องใช้วิธีสอนแบบให้เรียนรู้ไปเอง เรื่องพายุก็เหมือนกัน แม่คุ้นกับพายุฝนแรงๆที่บ้านป่า จากการที่ต้องทำงานกลางแจ้งในสวนป่าของเรามานาน ยิ่งในช่วงแรกๆที่เรายังไม่มีต้นไม้ใหญ่บังพายุให้บ้าง แม่สังเกตว่า พอมีเค้าฝนทะมึนมา แม่จะได้ยินเสียงพายุและฝนข้ามเขาเข้ามาในหุบเขาที่เราอยู่ พอได้ยินเช่นนี้ แม่จะรีบวิ่งขึ้นบ้าน เพราะทั้งพายุและฝนจะพัดกระหน่ำในเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที เมื่อมีนุ้งซึ่งเป็นลูกหมาขนาดเล็กมาก แม่จะต้องคอยระวังมากเวลาพายุฝนจะมา ด้วยการเรียกย้ำๆอย่างเร่งเร้าให้นุ้งขึ้นบ้าน นุ้งจะได้ยินคำว่า พายุ จากแม่บ่อยมาก จนน่าจะคิดว่า พายุที่แม่พูดถึงก็คือลมและฝนแรงๆซึ่งถ้านุ้งไม่ขึ้นบ้าน ตัวนุ้งจะเปียก นุ้งไม่ชอบให้ตัวเปียก เป็นอันว่า ที่บ้านป่านั้น แม่สอนให้นุ้งรู้จักพายุฝนได้ในระดับหนึ้ง แต่ที่บ้านกรุงเทพฯนั้น บริเวณบ้านไม่มาก เวลาพายุฝนมา เราก็แค่ปิดประตูหน้าต่างบางบาน แล้วก็นั่งทำอะไรๆไปตามปกติ แต่ส่วนหนึ่งของบ้านที่อาจโดนละอองฝนได้บ้างคือครัวนอกบ้านและลานซักล้าง ซึ่งนุ้งจะชอบมานอนข้างเสาต้นนี้ มองออกไปในลานซักล้างแม้เมื่อฝนตกก็ไม่หนี แต่แม่ก็จะไล่เวลาพายุแรงๆ และแม่ก็ใช้คำว่า พายุ บ่อยๆ คิดว่านุ้งก็น่าจะเข้าใจว่าพายุที่บ้านป่ากับบ้านกรุงเทพฯนั้นเหมือนกัน แต่เพราะตรงลานซักล้างนี้มีพื้นที่ไม่มาก รั้วห่างจากครัวเพียงสองเมตร เพื่อนบ้านด้านนี้ก็มีอัธยาศัยดีมากและไม่เคยทำให้เราเดือดร้อนรำคาญเรื่องใดเลย แต่พอเราต่อเติมบ้านเสร็จ เขาก็อยากเพิ่มรั้วขึ้นไปอีกสูงพอดู ก็ไม่ว่ากัน หยวนๆ สิริรวมแล้ว รั้วโลกส่วนตัวนี้สูงมากจริงๆ สี่เมตรเลยน่อ ที่แรกยืนมองแล้วก็งงๆ ทำไมต้องบังกันขนาดนี้ แต่พออยู่ๆไป ทางลมไม่ได้มาทางที่เขาบัง โอเชระดับหนึ่ง แล้วพอหน้าฝน ได้พบว่า ความสูงของรั้วเขา ทำให้ฝนไม่สาดครัวเรา เลยโอเชสุดซู้ดดดด แล้วเราก็เป็นเพื่อนกันมายาวนานเพราะมีโลกส่วนตัวสูงพอกัน ขนาดว่า ห้าปีที่ผ่านไป ไม่ได้ทักกันเลยสักคำ อิอิ แล้วห้าปีที่ผ่านไปนั้น เจ้ารั้วไม้เชอร่าสูงปรี๊ดนั้นก็คงกำลังจะหมดอายุการใช้งาน และแล้วเมื่อหลายวันก่อนก็มีพายุฝนรุนแรงมาก นุ้งออกไปนอนดูสายฝนตามเคย แม่ก็ไล่หลายหน "เข้าบ้านนะนุ้ง พายุมา ไม่เห็นเหรอ" นุ้งก็ฟังแบบไม่ใส่ใจ ยังคงนอนมองสายฝนและสายน้ำที่เริ่มขังนองอยู่บนลานซักล้าง และเมื่อคลื่นพายุสุดท้ายผ่านมาปะทะรั้วสูงสี่เมตรนั้น กิ่งส้มสูกลูกไม้หักกระเด็นเยอะแยะ พร้อมทั้งเสียงดังโครมใหญ แม่ซึ่งกำลังทำกับข้าว ตกใจร้องลั่น หันไปมองก็พบกองไม้เชอร่าหักกระจายอยู่บนพื้น (ไม่ได้ถ่ายภาพตอนที่เกิดเหตุเพราะไม่ได้คิดว่าจะมาเขียนเรื่องนี้) แต่ละชิ้นนั้น ตกใส่หัวใครก็ได้เย็บหลายเข็มแน่ แม่เงยหน้าขึ้นมอง นั่นงัย พายุพัดแผ่นไม้เชอร่าหักตกลงมาหนึ่งแผ่น แม่ตกใจหันกลับมาเอ็ดตะโรไล่นุ้งอีก "ยังไม่ไปอีก ไม่เห็นหรือ พายุแรงขนาดนี้ ยังไม่ไปอีก".. บลา บลา นุ้งมองหน้าแม่ที มองกองไม้ที กลับไปกลับมา คงเริ่มสับสนว่า ทำไมพายุที่บ้านป่ามีแต่ลมและฝนให้ตัวเปียกได้ แต่พายุบ้านกรุงเทพฯแหมะลงมาโครมใหญ่ เป็นกองไม้อะไรก็ไม่รู้ เสียงกระทบพื้นดังสนั่นอีกต่างหาก แม่เอะอะจนเหนื่อยแล้วหันไปคว้าไม้จะขู่นุ้ง นุ้งเลยเดินกลับเข้าไปข้างในแบบหงอยๆ แล้วเมื่อไร นุ้งจะรู้ว่า พายุคืออะไรกันแน่น้อ วันนี้ขอพานุ้งลาไปก่อนค่ะ เล็มขนกันเรียบร้อยแล้ว ค่อยพามาใหม่ ขอให้มีความสุขทุกท่านนะคะ เสียงนกร้องในป่า Special thanks to uploader: Rahas31เอนทรี่นี้อยู่ในหมวด สัตว์เลี้ยง (PET)
Create Date : 18 เมษายน 2558
44 comments
Last Update : 21 เมษายน 2558 0:10:13 น.
Counter : 3096 Pageviews.
โหวตและไลค์ส่งกำลังใจไปให้คุณภาวิดาครับ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
คนบ้านป่า Pet Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น