HR Management and Self Leadership
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
18 สิงหาคม 2554

ต้นทุนพนักงานเขาคิดกันอย่างไร

ระยะนี้ผมสงสัยว่าทำไมถึงมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของการคิดต้นทุนพนักงานเข้ามาเยอะมาก บางท่านถามมาตรงๆ เลยว่าต้นทุนของพนักงานแต่ละคนนั้นคิดกันอย่างไร บางท่านก็ถามแบบอ้อมๆ มาว่า หัวหน้ามักจะพูดกับเราว่า “ทำงานไม่คุ้ม” ก็เลยสงสัยว่า คุ้ม หรือไม่คุ้มนั้นเขาคิดกันอย่างไร

โดยปกติแล้วต้นทุนของพนักงานแต่ละคนนั้น ก็จะถูกแบ่งออกเป็นต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม เหมือนกับต้นทุนในการบริหารองค์กรครับ

ต้นทุนทางตรงคือ ต้นทุนที่บริษัทจ่าย เพื่อให้พนักงานเข้ามาทำงานตามที่มอบหมาย ซึ่งประกอบไปด้วย

- เงินเดือนพนักงาน และค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ตอบแทนการจ้างงาน เช่น โบนัส commission incentive ค่าตำแหน่ง ค่าครองชีพ ฯลฯ

- สวัสดิการที่พนักงานได้รับ ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล วันหยุด วันลา รถรับส่ง เครื่องแบบ ฯลฯ

ต้นทุนทางอ้อม ก็คือเงิน หรือสิ่งของที่เราให้กับพนักงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดผลงาน อันนี้จะมีเยอะครับ

- ต้นทุนการสรรหาพนักงานเข้ามาตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นค่าประกาศรับสมัครงานในช่องทางต่างๆ ต้นทุนของผู้จัดการที่มาสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน

- ต้นทุนทางด้านการฝึกอบรมและพัฒนา ถ้าจะคิดกันจริงๆ ก็มีตั้งแต่ ค่าใช้จ่ายในการการปฐมนิเทศน์ ค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานไปฝึกอบรมและพัฒนา ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้


แต่โดยทั่วไปบริษัทมักจะมองในแง่ของเงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานมากกว่า เพราะนั่นคือต้นทุนที่เรามองเห็นชัดเจนมาก และก็มักจะเกิดคำพูดที่ว่า ทำงานไม่คุ้มกับเงินเดือนที่ให้ไป ดังนั้นคำพูดนี้จะจริง หรือไม่จริงนั้นเราสามารถวัดได้ แต่เราจะต้องนำเอาผลงานของพนักงานมาตีเป็นตัวเงินให้ได้เสียก่อนครับ มิฉะนั้นเราจะไม่สามารถบอกได้ว่าคุ้มจริง หรือไม่คุ้มกับเงินเดือนที่จ่ายไป

ผลงานของพนักงานที่สามารถวัดได้จริงๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหน่วยงานในสายงานหลักขององค์กรเช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฯลฯ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้เราสามารถที่จะเก็บตัวเลขผลงานของพนักงานแต่ละคนออกมาได้จริงๆ

วิธีคิดความคุ้มง่ายๆ ก็คือ เอาผลงานพนักงานตั้ง แล้วหารด้วยต้นทุนพนักงาน (จะเป็นทางตรงอย่างเดียว หรือจะรวมเอาทางอ้อมไว้ด้วยก็ได้ แต่ต้องคิดเป็นต่อคนนะครับ) ถ้าผลออกมามากกว่า 1 ก็แปลว่า พนักงานทำงานได้คุ้มค่ากับต้นทุนที่บริษัทจ่ายไปนั่นเองครับ และผลตัวนี้เราก็สามารถใช้เป็น base line เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพของผลงานในปีถัดไปว่าดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมานี้หรือไม่

ส่วนพนักงานในฝ่ายสนับสนุนนั้น จะวัดตัวเลขผลงานออกมาได้ค่อนข้างจะยากหน่อยนะครับ เพราะผลงานไม่ได้ออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจน ส่วนมากก็จะใช้มูลค่าในภาพรวมขององค์กร เทียบกับต้นทุนของพนักงานสายสนับสนุนเพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานพนักงานในภาพรวมเช่นกัน

เช่น เอามูลค่าผลงานขององค์กรตั้ง แล้วก็หารด้วยค่าใช้จ่ายพนักงานทั้งหมดในแต่ละปี หรือหารด้วยค่าใช้จ่ายของพนักงานในส่วนสนับสนุน เพื่อดูอัตราส่วนว่าประสิทธิภาพผลงานของพนักงานต่อคนนั้นออกมาดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาหรือไม่

อย่างไรก็ดี คน มีความแตกต่างกับเครื่องจักรครับ เราจะมาวัดแบบนี้ก็ไม่ค่อยถูกต้องนัก เนื่องจากเครื่องจักรเรายังสามารถคิดต้นทุนได้ชัดเจนมาก และวัดผลงานของเครื่องได้อย่างชัดเจนเช่นกัน แต่สิ่งที่ต่างก็คือ เครื่องจักรนับวันจะเสื่อมค่าลง (เราคิดค่าเสื่อมราคาได้) แต่ คน นั้น ถ้าเราลงทุกพัฒนาเขาได้ถูกทาง เขาจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทอย่างคิดมูลค่าไม่ได้เลย อีกทั้งเราก็ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาของพนักงาน เพราะเราเชื่อว่า คนพัฒนาได้ การที่คนอยู่ทำงานกับเราไปนานๆ เราก็ยังเชื่อว่า มูลค่าเพิ่มของคนๆ นั้นจะเพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งมูลค่าเพิ่มตรงนี้เองที่มันเป็นสิ่งที่ทำให้ทรัพยากรบุคคลแตกต่างกับทรัพยากรด้านอื่นๆ ที่นับวันจะมีแต่เสื่อมลงครับ (แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะมีพนักงานบางคนที่นับวันจะเสื่อมมูลค่าลงก็ตาม)

ดังนั้นการคิดต้นทุนพนักงานก็เป็นเพียงการคิดเพื่อให้เห็นภาพของประสิทธิภาพในการทำงานในภาพรวมมากกว่าที่จะคิดออกมาเป็นรายบุคคล และโดยมากก็จะคิดเพื่อที่จะหาทางเพิ่มมูลค่าของคนที่ทำงาน มากกว่าคิดเพื่อที่จะปลดระวางพนักงานครับ




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2554
0 comments
Last Update : 18 สิงหาคม 2554 7:56:59 น.
Counter : 2433 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]