HR Management and Self Leadership
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
9 สิงหาคม 2554

พนักงานรายเดือน ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง 300 บาทจริงหรือ


หลังจากที่ได้เขียนเรื่องราวของผลกระทบในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนั้น ก็มี Feedback มากันอย่างมากมายทีเดียว แต่ก็มีบางองค์กรก็ยืนยันมาว่า บริษัทเขาไม่น่าจะได้รับผลกระทบในการปรับเป็น 300 บาทต่อวัน เพราะบริษัทไม่ได้จ้างพนักงานรายวันเลย มีแต่รายเดือน แต่จริงๆ แล้วพนักงานรายเดือนก็ได้รับผลกระทบครับ


ลองนึกถึงทุกครั้งที่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสิครับ พนักงานรายเดือนที่มีผลกระทบกับอัตราที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลังๆ นี้ก็คือ พนักงานรายเดือนในระดับ ปวช. ปวส. ที่เรารับเข้ามาทำงานเป็นพนักงานรายเดือน ในช่วงปีที่ผ่านมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 215 บาทต่อวัน คิดเป็นรายเดือนก็คือ 6,450 บาท และเดิมทีเราเคยจ้างระดับ ปวช. จบใหม่ที่ 6,200 ซึ่งเมื่อหาร 30 (เพราะเป็นพนักงานรายเดือน) จะเท่ากับ 207 บาทต่อวัน ซึ่งจะเห็นว่าน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ 215 บาท ดังนั้นพนักงานรายเดือนที่ระดับ ปวช. นี้ก็ถูกปรับขึ้นมาเพื่อหนี อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่ประกาศออกมา


แล้วในกรณี 300 บาทต่อวัน คิดเป็นรายเดือนก็คือ 9,000 บาทต่อเดือน แปลว่าในอนาคตเราต้องจ้างพนักงานเริ่มต้นที่ 9,000 บาทต่อเดือนกันเลยทีเดียว เนื่องจากถูกกำหนดมาแล้วว่าห้ามต่ำกว่า 300 บาทต่อวัน แปลว่า พนักงานรายเดือนของเราที่เราจ้างกันอยู่ที่ต่ำกว่า 9,000 บาทนั้น จะต้องถูกปรับให้สูงขึ้น เนื่องจากขั้นต่ำใหม่ไล่มาแล้ว ถ้าเราจ้างเท่าเดิม ก็จะทำให้พนักงานในระดับล่างได้รับค่าจ้างต่อวันที่สูงกว่ารายเดือน ถามว่า แล้วพนักงานรายเดือนเหล่านั้นจะยอมหรือครับ


พอพนักงานระดับ ปวช. ปวส. ได้รับการปรับ มันก็จะกระทบมาโดนพนักงานในระดับปริญญาตรีอีกระลอกหนึ่ง บริษัทก็ต้องปรับหนีกันออกไปอีก เพราะไม่เช่นนั้น เงินเดือนพนักงานก็จะใกล้กันมาก ทั้งๆ ที่งานมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน เรียกว่ามีผลกระทบกันเป็นลูกโซ่เลยครับ


ดังนั้นบางบริษัทที่คิดว่า เราจ้างแต่พนักงานรายเดือน แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบนั้น อาจจะต้องคิดใหม่ให้ดี จะมีบ้างในบางบริษัทที่ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากจ้างเป็นรายเดือน และอัตราค่าจ้างก็สูงกว่า 20,000 บาทต่อเดือนไปแล้ว ก็อาจจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก


แต่ถามว่าจะมีสักกี่บริษัทที่เข้าในกรณีข้างต้น จากการที่ผมได้ทำการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนมาทุกปี และได้เห็นตัวเลขค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทต่างๆ มากว่า 500 บริษัท ผมบอกได้เลยว่า กว่า 95% ของบริษัทเหล่านั้น ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแน่นอนครับ ไม่ว่าบริษัทเราจะจ้างแต่รายเดือนก็ตามครับ


ดังนั้นสิ่งที่ HR จะต้องรีบดำเนินการในช่วงนี้ก็คือ คำนวณเงินงบประมาณที่จะต้องใช้อย่างรอบคอบ ทั้งรายวัน รายเดือน ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนั้นก็ต้องรีบหามาตรการที่จะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดให้ได้ ในภาวะที่ต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้นโดยที่ไม่มีผลผลิตที่สูงขึ้นตามไปด้วยนี้


ผมเชื่อว่านายจ้างไม่ค่อยจะงกกันหรอกนะครับ เพียงแต่อัตราที่ปรับนั้นมันแรงมาก ปรับทีเดียววันละ 85 บาท (อัตราในกทม.) ก็เลยทำให้ต้นทุนสูงขึ้นทันที โดยที่ไม่ได้มีผลผลิต หรือ Productivity ที่สูงขึ้นตามมาด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างสูงขึ้น โดยที่ไม่ได้มีผลงานที่มีมูลค่าเพิ่มมาจากพนักงานเลย


ผมเชื่อว่า นายจ้างส่วนใหญ่ตอนนี้ก็คงจะกำลังหาวิธีการที่จะได้มูลค่าเพิ่ม จากการที่ค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้นในครั้งนี้ หรือไม่ก็ทำให้ต้นทุนอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้เหมือนเดิม


ทางหนึ่งที่อาจจะช่วยได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาหน่อยก็คือ การพัฒนาพนักงานให้สามารถทำงานได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยให้ค่าจ้างที่สูงขึ้น และจ้างพนักงานให้น้อยลงกว่าเดิม ผมเชื่อว่าถ้ารัฐปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจริงๆ ก็จะมีส่วนทำให้การวางแผนกำลังคน และว่าจ้างพนักงานของแต่ละบริษัทเกิดความรัดกุมยิ่งขึ้นกว่าเดิม


จากเดิมอาจจะเคยจ้างกันโดยไม่ค่อยดูอะไรมาก แต่ในอนาคตอันใกล้นี้คงจะมีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะต้องคำนึงถึง Productivity ที่ออกมาของพนักงานแต่ละคนด้วย






Free TextEditor


Create Date : 09 สิงหาคม 2554
Last Update : 9 สิงหาคม 2554 6:03:41 น. 1 comments
Counter : 1512 Pageviews.  

 


โดย: papisong วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:7:21:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]