HR Management and Self Leadership
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
4 สิงหาคม 2554

ผลงานไม่ดี ควรได้รับการขึ้นเงินเดือนหรือไม่

เรื่องราวในวันนี้เป็นเรื่องของการขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงาน
ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการขึ้นเงินเดือนก็คือ
ขึ้นเงินเดือนตามผลงานของพนักงานในแต่ละปี
ข้อจำกัดของการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานในปัจจุบันก็คือ
งบประมาณที่ใช้ในการขึ้นเงินเดือนนั้นมันเริ่มที่จะคงที่เอามากๆ
ในแต่ละปีที่ผ่านมาอัตราการขึ้นเงินเดือนประจำปีเฉลี่ยวทั่วไปของตลาดวิ่ง
อยู่ในระหว่าง 5.5 -6% เท่านั้น ไม่ได้มีตัวเลขอะไรหวือหวาเลย


ผมมีตัวเลขของทางผลการสำรวจเรื่องของการขึ้นเงินเดือนของอเมริกา
ที่สำรวจโดย WorldatWork ที่ได้ทำนายตัวเลขการขึ้นเงินเดือนในปี 2012
ของอเมริกาไว้ดังนี้



  • High performers หรือพวกผลงานดีมาก: 4.0% increase

  • Middle performers หรือผลงานปานกลางเข้ามาตรฐาน: 2.7% increase

  • Low performers หรือผลงานแย่: 0.7% increase


สิ่งที่หลายๆ บริษัทสอบถามกันมาเยอะก็คือ พนักงานที่มีผลงานแย่ๆ
เราควรจะขึ้นเงินเดือนให้กับเขาหรือไม่ ถ้าดูจากผลการสำรวจของทางอเมริกา
ก็จะเห็นว่า ขึ้นให้แต่ขึ้นให้ในอัตราที่ต่ำมาก
และบางบริษัทก็มีนโยบายที่ชัดเจนมาก ว่า พนักงานที่มีผลงานไม่ดีนั้น
จะไม่มีการขึ้นเงินเดือนให้ โดยไม่สนใจว่าค่าครองชีพจะเป็นอย่างไร


ผมคิดว่าแนวทางของทางตะวันตกเรื่องของการขึ้นเงินเดือนนั้นมีความชัดเจน
และตรงไปตรงมามากๆ ก็คือ ถ้าผลงานไม่ดีจริงๆ เขาก็จะไม่ขึ้นเงินเดือนให้เลย
เน้นไปที่ผลงานของพนักงานจริงๆ


ส่วนในประเทศไทยนั้นจากประสบการณ์ของผมที่ทำเรื่องนี้มา
และจากผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนประจำปีที่ผ่านๆ มานั้น จะแยกออกเป็น 2
ลักษณะก็คือ



  • พนักงานที่มีผลงานไม่ดี จะไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน
    วิธีนี้จะใช้ผลงานของพนักงานเป็นหลักเลย โดยพิจารณาถึงระดับผลงานของพนักงาน
    พนักงานที่ได้ผลงานในระดับแย่สุด เช่น ระดับ 1 หรือ E
    จะไม่ได้รับการปรับเงินเดือนใดๆ เลย



  • พนักงานที่มีผลงานไม่ดี
    จะได้รับการขึ้นเงินเดือนเท่ากับอัตราค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปีนั้น
    กล่าวคือ พนักงานที่มีผลงานแย่สุดๆ ก็ยังได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปี
    เพียงแต่ขึ้นในอัตราที่เท่ากับค่าครองชีพในปีนั้นๆ ที่ขยับขึ้นไป เช่น
    ถ้าปีนี้ค่าครองชีพอยู่ที่ 4%
    ก็เท่ากับว่าพนักงานที่มีผลงานไม่ดีก็ได้ขึ้นที่ 4%


จากสองวิธีที่กล่าวมานั้น ไม่มีวิธีไหนที่ผิด หรือถูกนะครับ อยู่ที่ความเชื่อของแต่ละบริษัทมากกว่า


สำหรับแนวทางแรกนั้น ไม่ได้แปลว่าบริษัทไม่สนใจค่าครองชีพนะครับ
เพียงแต่เขานำเอาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีนั้น
เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดงบประมาณในการขึ้นเงินเดือนในปีนั้นๆ
ไว้แล้วครับ เช่น ค่าครองชีพขึ้น 3% แต่บริษัทตั้งงบประมาณไว้ 6%
นั่นก็แปลว่า บริษัทขึ้นเงินเดือนตามผลงานจริงๆ 3% และช่วยค่าครองชีพอีก 3%
นั่นเองครับ เพียงแต่วิธีนี้เป็นการเน้นไปที่ผลงานของพนักงานมากกว่า


แต่ในแนวทางที่สองนั้น
บริษัทจะเน้นไปที่เรื่องของความเป็นอยู่ของพนักงานมากกว่า กล่าวคือ
บริษัทกลุ่มนี้จะมีความเชื่อว่าการที่พนักงานไม่ได้รับการขึ้นเดือนเลยนั้น
จะไม่ยุติธรรมกับการใช้ชีวิตของพนักงานเอง
เพราะราคาสินค้าในตลาดก็สูงขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นขั้นต่ำสุดที่น่าจะขึ้นเงินเดือนให้สำหรับพนักงานที่มีผลงานไม่ดีก็
คือ เท่ากับอัตราค่าครองชีพของตลาดในช่วงเวลานั้นนั่นเองครับ


แล้วบริษัทท่านเอง พนักงานที่ได้ผลงานแย่สุด ได้รับการขึ้นเงินเดือนหรือไม่ครับ






Free TextEditor


Create Date : 04 สิงหาคม 2554
Last Update : 4 สิงหาคม 2554 6:19:04 น. 2 comments
Counter : 1329 Pageviews.  

 
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ


โดย: nangjai1 วันที่: 4 สิงหาคม 2554 เวลา:9:05:27 น.  

 
ประเทศไทย ยังไม่ความยุติธรรมเรื่องการตัดสินผลงานค่ะ

ความคิดเห็นส่วนตัวนะค่ะ


โดย: Linda-Poo วันที่: 4 สิงหาคม 2554 เวลา:20:02:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]