HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
31 มีนาคม 2554

Compa-Ratio คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร (ตอนจบ)


มีหลายองค์กรที่พยายามเชื่อมระบบการจ่ายเงินเดือนให้เข้ากับระบบ Competency ของพนักงานในการทำงาน โดยพยายามจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานตามความสามารถของพนักงานแต่ละคน ซึ่งระบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในองค์กรใหญ่ๆ ที่มีวิธีการประเมิน Competency ที่ชัดเจน มีเครื่องมือให้กับเหล่าบรรดาผู้จัดการใช้ในการบอกว่า พนักงานแต่ละคนนั้นมีความรู้ความสามารถ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับงานอย่างไรบ้าง


จากนั้นก็พยายามนำเอา Competency ที่ว่านี้มาเชื่อมกับระบบการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานโดยผูกเอาความสามารถเป็นตัวบอกด้วยว่าพนักงานควรจะได้รับเงินเดือนในระดับในของกระบอกเงินเดือน ซึ่งวิธีนี้ก็มีการนำเอา Comparatio มาใช้งานอีกเช่นกัน เพื่อเป็นเป้าหมายในการบอกเราว่า พนักงานที่มี Competency ในแต่ละดับนั้นควรจะได้รับเงินเดือนในระดับใดบ้าง


วิธีการจ่ายเงินเดือนในรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่จะออกแบบโครงสร้างเงินเดือนให้กว้างมากๆ เป็นแบบที่เราเรียกว่า Broadband นั่นเองครับ โดยปกติความกว้างของช่วงเงินเดือนแบบนี้จะอยู่ที่ประมาณ 300 – 400% ซึ่งเรียกได้ว่ากว้างมากทีเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับความสามารถของพนักงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นเองครับ ซึ่งระบบนี้จะไม่ค่อยพิจารณาในเรื่องของค่างานสักเท่าไรนัก กล่าวคือ คนทำงานในตำแหน่งเดียวกัน แต่อาจจะได้รับเงินเดือนที่แตกต่างกันได้มากมายขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของพนักงานคนนั้นๆ


ลองดูตัวอย่างโครงสร้างเงินเดือนแบบนี้กันนะครับ



จากตัวอย่างข้างต้น เราสามารถจ่ายเงินเดือนให้พนักงานตามความสามารถของพนักงานได้โดยอาศัย Compa-Ratio มาเป็นเครื่องมือ วิธีการในการบริหารก็คือ ถ้าพนักงานคนหนึ่งเพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ๆ ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร และจะต้องเรียนรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ยังไม่สามารถทำงานได้เอง จะต้องรับคำสั่ง และทำตามที่บอก ถ้าพนักงานเป็นแบบนี้ การให้เงินเดือนก็จะอยู่ในช่วงที่ Compa-Ratio ต่ำกว่า 0.75 นั่นเองครับ


เพื่อไรที่พนักงานสามารถทำงานได้เอง โดยที่อาศัยความรู้ ทักษะความสามารถของตนโดยที่หัวหน้างานไม่ต้องเข้ามาดูแลอะไรมากมาย และสามารถทำงานได้ตามมาตรฐานของตำแหน่งงานเป๊ะ ด้วยระบบบริหารเงินเดือนข้างต้นจะต้องเร่งเงินเดือนพนักงานให้เข้าสู่ Compa-Ratio ในอัตรา 0.9 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของ Performer นั่นเองครับ


และถ้าพนักงานสามารถแสดงทักษะและฝีมือในการทำงานให้เราเห็นอย่างดี และสามารถที่จะสอนงานคนใหม่ หรือถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานนั้นๆ อย่างมาก ในการบริหารเงินเดือนพนักงานคนนี้ก็จะต้องเร่งเงินเดือนให้เข้าสู่ระดับ compa-ratio ที่ 1.25 ขึ้นไป


จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าวิธีนี้เราจะบริหารเงินเดือนพนักงานตามความสามารถจริงๆ ใครเก่ง และพิสูจน์ได้ว่าเก่งจริงๆ มีฝีมือดีมากๆ องค์กรก็จะเร่งเงินเดือนให้ไปสู่ระดับเป้าหมายของโครงสร้างเงินเดือนนั้นๆ เพื่อเป็นการตอบแทนฝีมือของพนักงานตาม Competency นั่นเองครับ


นี่ก็คือวิธีใช้ compa-ratio อีกวิธีหนึ่งครับ ถึงตรงผมคิดว่าท่านผู้อ่านน่าจะพอมองเห็นภาพของ Compa-Ratio ว่าใช้งานอะไรได้บ้าง และเวลาที่คุยกันในแวดวงของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนก็น่าจะมองเห็นภาพที่ใกล้เคียงกันมากขึ้นนะครับ






Free TextEditor


Create Date : 31 มีนาคม 2554
Last Update : 31 มีนาคม 2554 6:12:01 น. 0 comments
Counter : 2891 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]