HR Management and Self Leadership
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
15 สิงหาคม 2554

Feedback ผลงานพนักงานตอนไหนดี


ณ วันนี้ท่านทราบหรือไม่ว่าผลงานของท่านขณะนี้เป็นอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดี หรือต้องปรับปรุง และผลงานที่ออกมานั้นเข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงใด


ผมเชื่อว่ามีพนักงานเกินครึ่งหนึ่งในองค์กรที่ไม่เคยรู้เลยว่า ขณะนี้ผลงานของตนเองเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรบ้างที่ทำได้ดีมาก อะไรบ้างที่อยู่ในเกณฑ์ดี และมีอะไรบ้างที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง


และถ้าเราไม่เคยรู้เลยว่าผลงานในขณะนี้เป็นอย่างไร เพราะนายไม่เคยบอกเลย จะทำให้เราสามารถทำงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่


คำตอบก็คือ ยากครับที่จะทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย ยกเว้นว่าเรามีข้อมูลการทำงานของเราเอง และสามารถประเมินตนเองได้อย่างแม่นยำ


ในปัจจุบันนี้ ผมเชื่อว่าไม่ค่อยมีใครไม่รู้จักคำว่า KPI แล้วจริงมั้ยครับ คำนี้เป็นคำที่นิยมมากในหลายๆ บริษัท เนื่องจากนำมาใช้เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผลงานของพนักงานได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น เพราะอาศัยข้อเท็จจริงของผลงานของพนักงานที่ทำได้ในแต่ละปีมาเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ตอนต้นปี


ประเด็นก็คือ ถ้าระหว่างปี ไม่มีใครบอกเราเลยว่า ผลงานของเราในขณะนี้นั้น เป็นอย่างไร มีอะไรที่ดี และอะไรที่ต้องปรับปรุงบ้าง แล้วเราจะทราบมั้ยครับว่า เรากำลังห่างจากเป้าหมายผลงานที่เรากำหนดไว้ตอนต้นปีสักเพียงใด


ผมเชื่อว่าทุกคนที่ทำงานอยากรู้ว่าผลงานของตนเองเมื่อเทียบกับเป้าหมายแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ก็คือ อยากได้ Feedback จากหัวหน้านั่นเองครับ


แต่ในทางปฏิบัติหัวหน้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะให้ Feedback ลูกน้องตนเองสักเท่าไร หรือบางคนก็ให้ Feedback เฉพาะเรื่องที่ไม่ดี หรือให้เฉพาะตอนที่เกิดปัญหาขึ้นมาแล้วเท่านั้น ซึ่งบางครั้งมันก็สายเกินไปในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลงาน ยิ่งไปกว่านั้น หัวหน้างานบางคนให้ Feedback ผลงานพนักงานแค่ปีละครั้งเท่านั้น ก็คือตอนปลายปีที่ผลงานของพนักงานถูกประเมินออกมา


ผลก็คือ ระหว่างปีพนักงานไม่มีโอกาสได้รับรู้เลยว่าผลงานของตนเองนั้นเข้าตาหัวหน้าสักแค่ไหน และมีอะไรที่ต้องรีบปรับปรุงแก้ไขก่อนที่ผลงานจะแย่ไปกว่านี้ ซึ่งผมคิดว่านี่คือสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะทำให้พนักงานสร้างผลงานที่ดี และตรงตาม KPI ที่เรากำหนดไว้ร่วมกัน


ในปัจจุบันนี้ องค์กรมากมายพยายามที่จะสร้างระบบการให้ Feedback ขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือในการบอก และติดตามความก้าวหน้าของผลงานพนักงานแต่ละคน ทั้งนี้ ไม่ใช่มีขึ้นเพื่อจับผิด หรือ ตำหนิพนักงาน แต่จริงๆ แล้ว Feedback นั้นมีขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้พนักงานทำงานได้ถูกต้องมากขึ้น


เคยขับรถไปตามถนนที่ไม่มีเส้นแบ่งช่องเดินรถหรือเปล่าครับ เราขับรถเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย แต่ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเลนรถ เราก็จะขับยากขึ้น และไม่รู้ว่าขณะนี้เราบังคับรถของเราได้ตรงเลนหรือเปล่า เช่นกันครับ ถ้าพนักงานไม่ได้รับ Feedback ทางด้านผลงานจากหัวหน้า ก็เหมือนกับเขาทำงานโดยมองไม่เห็นว่าตัวเองทำงานออกมาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง พนักงานเองก็อาจจะออกนอกลู่นอกทางไปได้ และอาจจะทำให้ผลงานพนักงานกู่ไม่กลับได้เลยด้วยซ้ำไป


ดังนั้น การให้ Feedback จึงเป็นการช่วยบอกพนักงานว่าขณะนี้ผลงานของเขานั้นไปถึงไหนแล้ว


คำถามถัดมาก็คือ แล้วเราจะให้ Feedback พนักงานตอนไหนดี


คำตอบก็คือ ให้เมื่อไหร่ก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับผลงานพนักงาน ถ้าผลงานออกมาดีก็สามารถบอกเขาได้เลยว่า เรื่องนั้นทำได้ดีมากอย่างไร เพื่อให้เขารู้ว่า นี่คือสิ่งที่เขาจะต้องรักษาความดีนี้ไว้ให้ได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีผลงานที่ไม่ดีออกมา ก็ต้องรีบบอกเลย เพื่อที่พนักงานจะได้ไม่ทำผิดซ้ำอีก


อย่าลืมนะครับ ถ้าอยากให้ผลงานพนักงานออกมาไม่หลุดจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน หัวหน้างานจะต้องทำหน้าที่ให้ Feedback แก่พนักงานด้วย และที่สำคัญ Feedback ให้ได้ทั้งคำชม และสิ่งที่ต้องปรับปรุงนะครับ


อย่าเข้าใจผิดว่า จะต้องให้ Feedback เฉพาะตอนที่งานมีปัญหาหนักๆ อย่างเดียว และต้องเป็นการให้เฉพาะเรื่องการตำหนิอย่างเดียวเท่านั้น


การที่เราหมั่นพูดคุยในเรื่องผลงานกับพนักงานของเรา จะยิ่งทำให้ปลายปีเราจะประเมินผลงานพนักงานได้ง่ายขึ้น และพนักงานเองก็ยอมรับในผลการประเมินได้ง่ายขึ้นด้วยนะครับ เพราะเราคุยกันมาตลอดนั่นเองครับ






Free TextEditor


Create Date : 15 สิงหาคม 2554
Last Update : 15 สิงหาคม 2554 7:38:44 น. 0 comments
Counter : 1304 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]