HR Management and Self Leadership
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
25 กุมภาพันธ์ 2553

Reward Management Series: รูปแบบโบนัส – Profit Sharing



ผมได้เขียนเรื่อง ราวของ Variable Pay ไปในเรื่องของโบนัสเพื่อจูงใจผลงาน ในครั้งนี้ผมจะพูดถึงโบนัสตัวแรกที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้ เพื่อจ่ายตอบแทนให้กับพนักงาน โดยพิจารณาจากผลกำไรของบริษัทที่ได้ในแต่ละปี เราเรียกรูปแบบการจ่ายโบนัสในลักษณะนี้ว่า Profit Sharing Bonus


คำว่า Profit Sharing ก็บอกในตัวของมันเองแล้วว่า เงินโบนัสที่จ่ายให้กับพนักงานทุกบาทมาจากกำไรที่ได้จากการดำเนินงานของ บริษัท ดังนั้นการให้โบนัสแบบ Profit Sharing นั้นจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายการทำกำไรของบริษัท และเมื่อบริษัทมีกำไร ก็จะมีการตัดจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน


ด้วยวิธีการนี้ ผู้บริหารระดับสูงสามารถที่จะกำหนดเป้าหมายและอัตราโบนัสตั้งแต่ต้นปีได้เลย เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับพนักงาน เมื่อช่วยกันทำงานให้ได้กำไรตามเป้าหมายที่กำหนดกันไว้ในตอนปลายปี


ในการที่ผู้บริหารจะกำหนดอัตราโบนัสว่าจะตัดจ่ายให้กับพนักงานสักกี่ เดือนนั้น โดยทั่วไปเราจะเปรียบเทียบกับตลาดที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันว่า เขาจ่ายกันเฉลี่ยที่กี่เดือน เนื่องจากธุรกิจลักษณะเดียวกันนั้น โครงสร้างของต้นทุน และโครงสร้างที่มาของรายได้และกำไรจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก จึงพิจารณาจากจุดนี้เป็นจุดแรก จุดที่สองที่พิจารณาก็คือ ความสามารถในการจ่ายของบริษัทว่ามีสักเท่าไร จากนั้นผู้บริหารก็จะกำหนดตัวเลขโบนัสเฉลี่ยออกมาให้กับพนักงาน


การที่พนักงานจะได้รับโบนัสเท่าไรนั้น ปกติจะมีวิธีการจ่ายอยู่ดังนี้ครับ

* จ่ายตามอายุงานที่ทำงานกับบริษัท พนักงานคนใดที่อายุงานมากก็จะได้โบนัสมากกว่า วิธีการจ่ายแบบนี้เน้นไปที่เรื่องของความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีของ พนักงานต่อบริษัท แต่วิธีนี้ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครกันแล้ว เพราะมันไม่ได้บอกถึงผลงานเลย อายุงานนาน ไม่ได้แปลว่าเขาจะสร้างผลงานที่ดีให้กับบริษัท ส่วนใหญ่บริษัทที่จ่ายในลักษณะนี้ก็จะเป็นบริษัทคนจีน ที่ชอบเลี้ยงดูพนักงานให้อยู่นานๆ และใช้ระบบอาวุโส

* จ่ายเท่ากันทุกคน วิธีการจ่ายแบบนี้ ก็ยังคงมีอยู่บ้างในหลายบริษัท เพราะเป็นการจ่ายที่ไม่ยาก และเท่าเทียมกันดี ก็คือ พนักงานทุกคนจะได้รับโบนัสในอัตราเท่ากันทุกคน ถือว่าเป็นเงินรางวัลตอบแทนพนักงานที่ช่วยกันสร้างผลงาน ในฐานะที่ทุกคนมีส่วนทำให้เกิดผลกำไรกับบริษัท

* จ่ายตามผลงานของพนักงานแต่ละคน วิธีนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะรู้สึกว่ามีความยุติธรรมดี ใครที่เหนื่อยมากหน่อย ผลงานดีกว่า ก็จะได้รับโบนัสที่เยอะกว่าคนที่ผลงานด้อยกว่า


การจ่ายในแต่ละวิธีนั้น ไม่มีผิดไม่มีถูกนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าความเชื่อของผู้บริหารของบริษัทนั้นๆ เชื่ออย่างไร แต่อย่างไรก็ดี การที่จะจ่ายโบนัสก็ยังคงต้องดูจากวิธีการจ่ายของตลาดที่อยู่ในธุรกิจเดียว กันด้วยเช่นกัน เพราะมิฉะนั้นพนักงานที่รู้สึกว่าไม่เป็นธรรมก็อาจจะเปลี่ยนไปทำงานกับ บริษัทคู่แข่งของเราก็เป็นได้นะครับ


ในปัจจุบัน Profit Sharing นั้นเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรื่องของกำไรนั้นวัดได้ชัดเจนมาก และถ้าบริษัทเองมีกำไร ผู้บริหารก็ยินดีที่จะตัดส่วนกำไรนั้นจ่ายคืนให้กับพนักงานเพื่อตอบแทนที่ เหนื่อยมาด้วยกัน ดีกว่าที่จะต้องเอากำไรนั้นไปเสียภาษีให้กับรัฐมากขึ้น ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรกับการบริหารพนักงานเลย การที่ตัดโบนัสเยอะหน่อย บริษัทก็สามารถเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปตัดออกจากกำไร ทำให้กำไรน้อยลง และเสียภาษีน้อยลงด้วย แถมยังได้กำลังใจจากพนักงานในการสร้างผลงานในปีถัดไปอีกด้วยครับ



Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2553 7:14:38 น. 0 comments
Counter : 3573 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]