HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
18 พฤศจิกายน 2554

แบบทดสอบในการคัดเลือกพนักงานเชื่อถือได้แค่ไหน


มีบริษัทใดบ้างที่ใช้แบบทดสอบต่างๆ ในการคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงานบ้างครับ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แบบทดสอบเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือสักเพียงใด และเวลาที่เราตัดสินใจในการรับพนักงานนั้น เราเชื่อผลจากแบบทดสอบสักแค่ไหน


มีบริษัทจำนวนมากที่ HR ไปหาซื้อแบบทดสอบราคาแพงมาจากต่างประเทศ ซึ่งคุยว่า เป็นแบบทดสอบที่สามารถบอกได้ทุกอย่างว่าพนักงานเป็นอย่างไร เหมาะสมกับบริษัทเราหรือไม่ และหลังจากนั้น HR ก็เชื่อแบบทดสอบนี้อย่างหมดใจ ไม่สนใจว่าผลการสัมภาษณ์ และความเห็นของบุคคลอื่นที่สัมภาษณ์จะเป็นอย่างไร แต่ถ้าผลการทดสอบออกมาอยู่ในเกณฑ์ดี ก็จะถือว่าผ่าน แม้ว่าจะมีผู้สัมภาษณ์อีก 1-2 คนบอกว่าไม่ผ่านก็ตาม


คำถามก็คือ ในฐานะที่ท่านทำงานในสายงานบริหารงานบุคคล ท่านเองเชื่อแบบทดสอบเหล่านี้มากแค่ไหน


โดยทั่วไปแบบทดสอบในการสรรหาและคัดเลือกมักจะแบ่งเป็น



  • แบบทดสอบเชาว์ปัญญา

  • แบบทดสอบความถนัด

  • แบบทดสอบทัศนคติ

  • แบบทดสอบบุคลิกภาพ

  • แบบทดสอบภาวะผู้นำ

  • แบบทดสอบความรู้เฉพาะทางในด้านต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ

  • ฯลฯ


แบบทดสอบเหล่านี้มักจะถูกออกแบบโดยนักจิตวิทยา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ แต่ในการออกแบบนั้น นักวิชาการจะมีเงื่อนไขการใช้งานของแบบทดสอบเสมอ เช่น ความน่าเชื่อถือเป็นเท่าไร ความแม่นยำเป็นอย่างไร และเงื่อนไขอื่นๆ ที่จะทำให้ผลงานทดสอบแม่นยำยิ่งขึ้นไปอีก โดยที่ผู้ใช้ก็ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย


จากประสบการณ์ของผมเองในฐานะที่เป็น HR คนหนึ่ง ก็เคยใช้แบบทดสอบต่างๆ มาก็เยอะ ผมบอกได้คำเดียวว่า ผมไม่เชื่อผลการทดสอบที่ได้ออกมา ผมใช้มันเป็นเพียงแค่ข้อมูลอ้างอิง เพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น


สิ่งที่ผมจะใช้ในการตัดสินใจเยอะหน่อยก็คือ จากการสัมภาษณ์ ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อคน ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงความคิด ทัศนคติ และความเชื่อต่างๆ ของผู้สมัครได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดี คนสัมภาษณ์เองก็ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ คำถามที่จะใช้ โครงสร้างในการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราได้ข้อมูลจากผู้สมัครที่ตรง และไม่บิดเบือน


นั่นเป็นสิ่งที่ผมเชื่อ แต่แม้ว่าเราจะเชื่อการสัมภาษณ์ แต่การสัมภาษณ์เองก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดเช่นกันครับ ดังนั้นเวลาเราคัดเลือกพนักงาน เราคงต้องอาศัยเครื่องมือทุกอย่างเพื่อทำให้เราได้เห็นตัวตนของผู้สมัครที่ชัดเจนที่สุด เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับองค์กรของเรามากที่สุด


ผมเคยพบกับผู้สมัครคนหนึ่ง ทำคะแนนแบบทดสอบทุกตัวได้สูงมาก อีกทั้งยังทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจแบบสุดๆ จนเราตอบรับเข้าทำงาน แต่กลับกลายเป็นว่าเขาไม่ผ่านทดลองงาน เพราะผลงานจริงที่ออกมาไม่เข้าตา ยิ่งไปกว่านั้นไเขาไม่สามารถทำงานเข้ากับคนอื่นในทีมงานได้เลย


ดังนั้นเมื่อเราได้คนที่คิดว่าเหมาะสมมาแล้วจากการคัดเลือก สิ่งถัดไปที่จะต้องทำโดยขาดไม่ได้เลย ก็คือ ใช้เวลาทดลองงานให้เป็นประโยชน์มากที่สุดในการที่จะคัดเลือกตัวจริงให้เจอครับ






Free TextEditor


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2554 7:56:58 น. 2 comments
Counter : 1054 Pageviews.  

 
แวะมาเยี่ยมชม ขอบคุณค่ะ.....................


โดย: tadatul วันที่: 18 พฤศจิกายน 2554 เวลา:10:04:45 น.  

 
Yes! Right


อ่านแล้วนึกถึงคนงานพม่าที่ถูกโปรแกรมมาว่า ทำได้ค่ะ ทำเป็นค่ะ ทำได้ทุกอย่างค่ะ ได้ค่ะ ได้ค่ะ ได้ค่ะ ผลออกมา....ไม่อยากจะเหลา กลัวแหลม


โดย: deco_mom วันที่: 18 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:34:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]