HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
22 ธันวาคม 2554

แนวทางในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท


ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับคำถามเกี่ยวกับเรื่องของวิธีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 300 บาทที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2555 ที่จะถึงนี้ บางคนก็อยากได้สูตรที่จะใช้ในการปรับครั้งนี้ เพราะว่าในการปรับครั้งนี้ ไม่ง่ายเหมือนหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นการปรับในอัตราที่สูงมากทีเดียวครับ คือ 40% จากอัตราขั้นต่ำเดิมที่ใช้อยู่ หลายๆ คนก็เลยสงสัยว่าจะมีวิธีการอย่างไรในการปรับ ปรับแล้วจะต้องพิจารณาผลกระทบกับพนักงานคนอื่นในลักษณะใดบ้าง


ในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ครั้งนี้ เป็นการปรับที่เพิ่มต้นทุนอย่างมหาศาลให้กับเหล่าบรรดานายจ้าง เพราะต้องเพิ่มค่าจ้างให้กับพนักงานในระดับปฏิบัติการ รวมถึงพนักงานอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบด้วย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานในระดับปวช. ปวส. หรือแม้กระทั่งปริญญาตรี


ผมเคยได้ให้สูตรวิธีการปรับไว้ ก็ขอให้ไว้อีกครั้งนะครับ ดังนี้


จำนวนเงินปรับ = (ค่าจ้างพนักงาน – ขั้นต่ำเดิม) x 0.7 + ขั้นต่ำใหม่ – ค่าจ้างพนักงาน


อธิบายได้ดังนี้ครับ



  • ค่าจ้างพนักงาน ก็คือ อัตราค่าจ้างปัจจุบันที่พนักงานแต่ละคนได้รับอยู่

  • ขั้นต่ำเดิม ก็คือ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิมที่ใช้อยู่ ซึ่งในกรณีก็คือ 215 บาท (เขต กทม และปริมณฑล ใครที่อยู่เขตอื่นก็แทนค่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำในเขตของตนนะครับ)

  • 0.7 (หรืออาจจะใช้ 0.6 หรือ 0.8 ฯลฯ) เป็นตัวคูณในการปรับผลกระทบในกรณีที่เราไม่ต้องการปรับค่าจ้างให้ทุกคนในองค์กร จริงๆ แล้วก็ไม่ควรปรับให้ทุกคน เนื่องจากผลกระทบของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้ไม่น่าจะมีผลต่อกลุ่มหัวหน้าแผนก หรือผู้จัดการ หรือพนักงานในระดับสูงๆ และตัวคูณนี้ก็ใช้ในการปรับลดหรือเพิ่มในกรณีที่บริษัทมีการกำหนดงบประมาณในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ด้วย ยิ่งใช้ตัวเลขมากขึ้น เราจะยิ่งต้องใช้งบประมาณในการปรับมากขึ้นไปด้วย และจะมีพนักงานที่ได้รับการปรับมากขึ้นด้วยครับ แต่ถ้าใช้ตัวเลขน้อยลง ก็จะเป็นไปในทางตรงกันข้ามครับ ตัวคูณนี้หลายๆ คนสงสัยมากว่ามันคืออะไร ผมแนะนำให้ทดลองผูกสูตรใน excel ดู แล้วให้ลองเปลี่ยนตัวคูณตัวนี้เล่นดูก็ได้ครับ แล้วจะเข้าใจมากขึ้นว่ามันคืออะไรครับ

  • ขั้นต่ำใหม่ ก็คือ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่จะใช้ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ 300 บาท (ในเขต กทม. และอีก 7 จังหวัด)


ผลของการคำนวณจากสูตรนี้ก็คือ จำนวนเงินที่จะปรับให้กับพนักงานแต่ละคนครับ มีข้อแม้นิดนึงก็คือ ถ้าผลการคำนวณติดลบ ก็แปลว่าพนักงานคนนั้นจะไม่ได้รับการปรับผลกระทบในครั้งนี้ครับ มาลองดูตัวอย่างกันนะครับ


นาย ก ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 215 บาท/วัน


นาย ข ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 230 บาท/วัน


นาย ค ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 250 บาท/วัน


นาย ง ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 300 บาท/วัน


นาย จ. ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 350 บาท/วัน


นาย ฉ. ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 400 บาท/วัน


นาย ช. ได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 500 บาท/วัน


เข้าสูตรในการคำนวณได้ดังนี้ครับ


นาย ก . (215 – 215) x 0.7 + 300 – 215 = 85 บาท ค่าจ้างใหม่คือ 300


นาย ข . (230 – 215) x 0.7 + 300 – 230 = 80.5 บาท ค่าจ้างใหม่คือ 310.5


นาย ค . (250 – 215) x 0.7 + 300 – 250 = 74.5 บาท ค่าจ้างใหม่คือ 324.5


นาย ง . (300 – 215) x 0.7 + 300 – 300 = 59.5 บาท ค่าจ้างใหม่คือ 359.5


นาย จ . (350 – 215) x 0.7 + 300 – 350 = 44.5 บาท ค่าจ้างใหม่คือ 394.5


นาย ฉ . (400 – 215) x 0.7 + 300 – 400 = 29.5 บาท ค่าจ้างใหม่คือ 429.5


นาย ช . (500 – 215) x 0.7 + 300 – 500 = -0.5 บาท ไม่ได้รับการปรับ เพราะผลการคำนวณติดลบ


ข้างต้นเป็นตัวอย่างในการคำนวณนะครับ ลองเอาค่าจ้างของพนักงานเข้าสูตรตามตัวอย่างโดยใช้ Excel แล้วจะเห็นเลยว่าแต่ละคนจะได้รับการปรับเงินค่าจ้างใหม่ โดยที่เงินที่ปรับใหม่นั้น ใครที่เคยได้รับค่าจ้างที่สูงกว่า ก็จะยังคงได้สูงกว่า เพียงแต่ความต่างของค่าจ้างจะแคบลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวคูณที่เราใช้ว่าใช้เท่าไหร่ ยิ่งใช้น้อยมากเท่าไรอัตราความต่างของค่าจ้างพนักงานหลังปรับก็จะยิ่งต่างกันน้อยลงเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่า พอปรับแล้ว ค่าจ้างของคนที่เข้าทำงานทีหลังเรา เริ่มเข้าใกล้เรามากขึ้น ก็คงต้องเลือกใช้ตัวคูณที่เหมาะสมสำหรับบริษัทของเรานะครับ แต่ถ้าถามผมว่าตัวไหนเหมาะที่สุด ผมก็จะตอบว่า 0.7 นี่แหละครับ เหมาะที่สุดแล้ว


หลังจากปรับพนักงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแล้ว สิ่งถัดไปที่จะต้องปรับก็คือ กลุ่มพนักงานที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น พนักงานในระดับ ปวช. ที่เราเพิ่งจ้างเข้ามา ปวส. และปริญญาตรี ก็ต้องโดนผลกระทบไล่ปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการปรับตรงนี้ก็สามารถใช้สูตรเดียวกันที่ให้ไว้ได้ครับ เพียงแต่เปลี่ยนตัวเลขเงินเดือนพนักงาน ขั้นต่ำเดิม กับขั้นต่ำใหม่ ให้สอดคล้องกับกลุ่มพนักงานที่เราจะปรับเท่านั้นเองครับ


ลองใช้สูตรนี้ลองปรับกันดูนะครับ ย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าใครสงสัยว่า ตัวคูณ 0.7 นั้นมันมีผลอะไรบ้างก็ให้ลองเปลี่ยนตัวเลขเป็น 0.6 หรือ 0.8 บ้าง แล้วสังเกตผลลัพท์ที่ออกมา ผมเชื่อว่าเราจะเห็นความแตกต่าง และจะเข้าใจมันมากขึ้นครับ ลองดูนะครับ



Free TextEditor


Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 22 ธันวาคม 2554 6:20:02 น. 0 comments
Counter : 1582 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]