HR Management and Self Leadership
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
13 กันยายน 2554

หัวหน้าในฝัน


เมื่อวานนี้ได้เขียนเกี่ยวกับลูกน้องในฝันของเหล่าบรรดาหัวหน้ากันไปแล้ว วันนี้ขอเขียนให้อ่านเกี่ยวกับหัวหน้าในฝันกันบ้างนะครับ ว่าเหล่าบรรดาลูกน้องทั้งหลายนั้นเขาต้องการหัวหน้าแบบไหนกันบ้าง


ในกลุ่มผู้เข้าสัมมนาที่ผมได้เคยบรรยายเรื่องของหลักการในการเป็นหัวหน้างานที่ดีนั้น ทุกคนล้วนมี 2 บทบาทในคนเดียวก็คือ เป็นหัวหน้าของลูกน้อง และขณะเดียวกันก็เป็นลูกน้องของหัวหน้าด้วยในคราวเดียวกัน ก็เลยสอบถามว่า ถ้าเป็นไปได้ อยากได้หัวหน้าแบบไหน แล้วก็ได้คำตอบดังต่อไปนี้ครับ



  • มีความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบในที่นี้ ลูกน้องจะมองหัวหน้าในมุมของการทำงานแล้วจะต้องร่วมรับผิดในการทำงานด้วย หัวหน้างานบางคนถึงเวลามีความชอบก็รับเอาเองทั้งหมด แต่พอเมื่อไหร่ที่มีงานผิดพลาด ก็โยนเอาความผิดพลาดให้กับลูกน้องตาดำๆ



  • ทำในสิ่งที่พูด หัวหน้าที่ดีนั้นจะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี กล่าวคือ ถ้าอยากให้ลูกน้องไม่มาทำงานสาย ตัวหัวหน้าเองก็จะต้องไม่มาทำงานสายเช่นกัน อยากให้ลูกน้องมีความรอบคอบในการทำงาน ตัวหัวหน้าเองก็จะต้องมีความรอบคอบให้ลูกน้องเห็นเช่นกัน อีกนัยหนึ่งก็คือ เวลาที่สัญญาอะไรไว้กับพนักงานแล้ว ก็ต้องทำตามสัญญาที่พูดไว้ด้วย ไม่ใช่พูดอย่าง ทำอย่าง แบบนี้ลูกน้องก็ไม่เชื่อถือ



  • ไม่เลือกปฏิบัติ พนักงานส่วนใหญ่อยากให้หัวหน้าปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนเท่าๆ กัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติพิเศษต่อพนักงานที่ตนเองชอบใจเป็นพิเศษ หัวหน้างานบางคนชอบใจพนักงานคนใดเป็นพิเศษ ก็จะมีอะไรๆ ที่พิเศษๆ ให้ ไม่ว่าจะเป็นของฝาก การพูดจาที่ดี ตรงกันข้ามกับพนักงานที่หัวหน้าไม่ค่อยชอบขี้หน้า ก็จะปฏิบัติแบบตรงกันข้ามกันเลยทีเดียว



  • มีความเป็นผู้นำ สามารถที่จะนำลูกทีมไปสู่ความสำเร็จได้ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ต่อพนักงานในทีม และมีความมุ่งมั่น และสามารถที่จะสร้างความมุ่งมั่นให้กับสมาชิกในทีมให้เกิดความฮึกเหิม และกระตือรือร้นในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย



  • กล้าตัดสินใจ พนักงานจะเกิดความเชื่อมั่นในหัวหน้าที่กล้าตัดสินใจ ไม่ใช่ลอยไปลอยมา ถามอะไรก็ตอบว่า ยังไม่รู้ หรือ ขอศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อน ถึงเวลาตัดสินใจก็ไม่กล้าที่จะตัดสินใจให้เด็ดขาด กั๊กๆ อยู่ตลอดเวลา แบบนี้ลูกน้องก็จะไม่เกิดความเชื่อมั่นและไม่อยากจะเป็นผู้ตามที่ดี


ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น เป็นผลจากการสอบถามจากผู้เข้าสัมมนา ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีอีกหลายคุณสมบัตินะครับ เพียงแต่ 5 ตัวนี้เป็นลำดับแรกๆ ที่พนักงานมักจะกล่าวถึงเสมอ ถ้าท่านผู้อ่านจะมีอะไรเพิ่มเติมก็ยินดีนะครับ ลองแลกเปลี่ยนกันได้ครับ


การที่เราเข้าไปทำงานในบริษัท เราเองไม่สามารถที่จะเลือกหัวหน้าได้เลย ดังนั้น หัวหน้าของเราอาจจะเป็น หรือไม่เป็นอย่างคุณสมบัติข้างต้น สิ่งที่เราในฐานะพนักงานทำได้ก็คือ ทำงานให้ดีที่สุด และอาจจะต้องมีการบริหารจัดการหัวหน้าเราเองด้วยซ้ำไป (Manage your boss) ในที่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องบริหารหัวหน้านะครับ แต่หมายความว่า เราในฐานะลูกน้องจะต้องมีศิลปะในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของหัวหน้าของเราเอง เพื่อจะได้ทำงานด้วยกันอย่างราบรื่นนั่นเองครับ


ตัวอย่างหนึ่งของการบริหารจัดการหัวหน้าก็คือ เวลาที่หัวหน้าโมโห และตำหนิเราอย่างรุนแรง โดยไม่ฟังอะไรเลย การที่เราจะบริหารอารมณ์ของหัวหน้าให้เบาลงได้นั้นก็คือ การกล่าวคำว่า “ขอโทษ” อย่างจริงใจ เช่น “ผมต้องขอโทษหัวหน้าจริงๆ นะครับ ในเรื่องนี้ ผมผิดเองครับ” 95% ของหัวหน้าจะเริ่มเบาลง และจะเริ่มคุยกันด้วยเหตุผลมากขึ้น


แต่ถ้าเราแรงกลับไป เขาก็จะแรงกลับมา คราวนี้ก็จะทะเลาะกัน ผลก็คือมีแต่เสียกับเสีย ไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นเลยครับ ดังนั้น ในบางครั้งที่เราพอที่จะควบคุมตนเองในบางเรื่องได้ เราก็น่าจะทำเพื่อที่จะสามารถบริหารหัวหน้าของตนเองได้ดีขึ้น เราเองก็จะได้ทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้นด้วยครับ


แต่สุดท้ายถ้าเราทนไม่ได้จริงๆ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ ออกไปหาหัวหน้าใหม่ที่ดีกว่าเดิม (หรือเปล่า)






Free TextEditor


Create Date : 13 กันยายน 2554
Last Update : 13 กันยายน 2554 6:15:57 น. 1 comments
Counter : 1404 Pageviews.  

 
กลัวมันเป็นเพียงในฝันจริง ๆ กลัวไม่มีคนจริงนะสิ.. 555


โดย: blackhawk34 วันที่: 13 กันยายน 2554 เวลา:7:28:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]