HR Management and Self Leadership
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
25 เมษายน 2555

สอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักจำ

ผมเชื่อว่าท่านที่เป็นหัวหน้างานหลายๆ ท่าน คงได้เคยพูดประโยคที่ว่านี้ หรืออาจจะเป็นประโยคที่คล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น “สอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักจำ” “สอนไปก็ไม่เคยรู้เรื่อง แล้วจะสอนไปทำไม” “อุตสาห์สอนงานให้ แต่พูดอะไรไป ก็เหมือนเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา” ฯลฯ จริงๆ แล้วเคยวิเคราะห์หาสาเหตุกันหรือไม่ว่า ทำไมพนักงานที่เราสอนงานบางคนถึงสอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยรู้เรื่องสักที

พูดถึงเรื่องของการสอนงานนั้น หลายๆ คนที่เป็นหัวหน้าอาจจะมองว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่พอสอนเข้าจริงๆ กลับไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะไม่ใช่แค่สอนอย่างเดียวแล้วจบ หัวหน้างานยังต้องคาดหวังผลงานที่ดีขึ้นจากการสอนงานอีกด้วย ซึ่งหลายคนก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า สอนไปเท่าไหร่ ก็ไม่เห็นผลงานของพนักงานจะดีขึ้นเลย จนหมดแรงสอนแล้ว บางคนก็เลิกสอนไปเลยก็มีนะครับ ปล่อยให้พนักงานทำงานกันไปตามยถากรรม ใครอยากทำอะไรก็ทำกันไป ผลงานก็ยิ่งออกมาไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดเข้าไปอีก

คำว่า “สอนงาน” หรือ coaching ในภาษาอังกฤษนั้น หัวหน้างานส่วนใหญ่พอได้ยินคำนี้ก็มักจะมองภาพไปที่ห้องเรียนที่มีนักเรียนนักศึกษานั่งเรียนกันเรียบร้อย และมีครูหรืออาจารย์ผู้สอนยืนพูดบรรยายไปเรื่อยๆ ใครที่มองภาพของการสอนงานเป็นภาพนี้ ก็คงต้องเปลี่ยนภาพใหม่ เพราะสิ่งที่เรากำลังมองเห็นภาพอยู่นั้นเราเรียกว่า Teaching ไม่ใช่ Coaching ครับ

การ Coaching นั้น ผลที่ได้จะต้องเกิดผลงานที่ดีขึ้น อะไรที่เคยผิด ก็ต้องไม่ผิด อะไรที่เคยทำไม่ได้ ก็ต้องทำได้หลังจากที่เราได้ Coaching กันไปแล้ว ดังนั้นการ Coach จึงลึกกว่าการบรรยายหน้าชั้นแน่นอน และการที่หัวหน้าสอนงานแต่ไม่ค่อยได้ผล ก็เพราะหัวหน้าแค่ Teaching เท่านั้น ไม่ได้ Coaching นั่นเองครับ

การสอนงาน หรือ coaching ที่ดีนั้น คนที่เป็น Coach จะต้องเข้าใจสไตล์การเรียนรู้ของคนที่เราจะสอนด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ พนักงานแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันในวิธีการเรียนรู้ ดังนั้น Coach ที่ดี จะต้องมีวิธีการสอนที่เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของพนักงาน เพื่อจะได้ให้เกิดการเรียนรู้ขั้นนั่นเองครับ

สไตล์การเรียนรู้ของคนเราปกติจะมีอยู่ 3 สไตล์หลักๆ (Learning Style) ดังนี้ครับ

  • Visual หรือ เรียนรู้ผ่านทางสายตา บางคนถนัดที่จะใช้ตา หรือการมองเห็นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คนประเภทที่ถนัดทางด้าน Visual นั้น โดยส่วนใหญ่ก็คือ คนที่ชอบอ่านหนังสือ หรือดูภาพ หรือ ดูวิดีโอ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถที่จะทำความเข้าใจเรื่องราวที่กำลังเรียนรู้ได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าพนักงานบางคนนั้น ถ้าเรามอบหมายให้ไปอ่านหนังสือสักเล่ม แล้วมาสรุปให้ฟังว่าจะเอาอะไรมาประยุกต์ในการทำงานได้บ้าง คนที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบ Visual นั้นจะชอบมาก และจะสามารถเรียนรู้ได้เร็ว และผลที่ได้ก็จะอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจอย่างมาก
  • Auditory หรือ เรียนรู้ผ่านทางหู เป็นสไตล์การเรียนรู้โดยใช้ทักษะการฟังเป็นหลัก สังเกตว่าบางคนจะชอบเปิดเป็น Audio book แทนที่จะอ่านเอา ก็ใช้การฟังเป็นหลัก ผมเคยเห็นในการฝึกอบรมบางครั้งผู้เข้าอบรมบางคนไม่ต้องเปิดหนังสือเลย นั่งฟัง แล้วก็จดเป็นระยะๆ เขากลับเรียนรู้ได้ดีกว่า
  • Tactile หรือ การเรียนรู้ผ่านทางการลงมือทำ เป็นสไตล์การเรียนรู้ที่ต้องมีการลงมือลองปฏิบัติ หรือลองทำจริงๆ จึงจะเข้าใจ แค่ฟังหรืออ่าน คนแบบนี้จะไม่มีทางเข้าใจได้เลย

พอเราทราบแบบนี้แล้ว หัวหน้างานก็คงต้องสังเกตพนักงานแต่ละคนว่า เขามีสไตล์การเรียนรู้แบบใด ก็เลือกสอนงานให้ถูกต้องและตรงกับสไตล์ของลูกน้องคนนั้น ลูกน้องที่ถนัดในการใช้สายตาในการเรียนรู้ แต่จับมานั่งฟังหัวหน้าพูดปาวๆ รับรองว่า เขาจะเข้าใจยากมาก เพราะไม่ถนัด เช่นกัน ถ้าลูกน้องถนัดที่จะให้หัวหน้าเล่าให้ฟัง แต่หัวหน้าบอกว่า เอาคู่มือนี้ไปอ่าน เขาอ่านไปก็คงจะงงไป เพราะสไตล์การเรียนรู้ต่างกัน หรือลูกน้องบางคนดู และฟัง ก็ยังงง ต้องมีการลงมือลองทำด้วยถึงจะเข้าใจอย่างถ่องแท้

ถ้าเราปรับเปลี่ยนการสอนงานให้ตรงกับสไตล์การเรียนรู้ของลูกน้องได้ จะทำให้คนสอนไม่ต้องเหนื่อยสอนหลายครั้ง และไม่ต้องมานั่งบ่นเหมือนประโยคต่างๆ ตอนต้นเรื่องครับ และที่สำคัญก็คือ ผลงานและพัฒนาการของพนักงานก็จะดีขึ้นด้วยครับ




Create Date : 25 เมษายน 2555
Last Update : 25 เมษายน 2555 6:29:27 น. 0 comments
Counter : 1602 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]