HR Management and Self Leadership
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
23 พฤษภาคม 2554

ผู้จัดการกับการบริหารค่าจ้างเงินเดือน


ผมได้รับอีเมล์สอบถามเกี่ยวกับเรื่องของบทบาทของผู้จัดการสายงาน (Line Manager) ว่าจะมีบทบาทในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของพนักงานอย่างไร ผู้ถามได้บอกมาว่า ที่บริษัทปล่อยให้ผู้จัดการแต่ละคนสามารถกำหนดเงินเดือนพนักงานที่ตนเองรับเข้ามาทำงานได้โดยอิสระ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างมากมาย เลยอยากทราบว่าจริงๆ แล้วในเรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนพนักงานนั้น ตัวผู้จัดการตามสายงานนั้นจะมีบทบาทหน้าที่อย่างไรบ้าง


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายๆ คนก็สงสัยกันมาก ว่าในเรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนพนักงานนั้น ใครควรจะมีหน้าที่ และมีอำนาจอย่างไรกันบ้าง ถ้าเราใช้วิธีการที่ให้ผู้จัดการแต่ละคนสามารถที่จะกำหนดอัตราเงินเดือนให้กับพนักงานที่เรารับเข้ามาทำงานได้เองโดยไม่ต้องมีกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานใดๆ เลย สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ บริษัทนั้นจะเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการจ่ายเงินเดือนพนักงาน เนื่องจากใครอยากจะให้เท่าไรก็กำหนดกันตามใจ ถามว่าแล้วฝ่ายบุคคลทำอะไรอยู่ คำตอบก็คือ ฝ่ายบุคคลแค่รับคำสั่งจากฝ่ายต่างๆ มาว่า “ผมรับคนนี้แล้วนะ ตกลงเงินเดือนกันเรียบร้อย คุณช่วยดำเนินการต่อด้วย”


แต่พอมีปัญหาด้านการบริหารเงินเดือนตามมา ว่าพนักงานได้รับความไม่เป็นธรรมในเรื่องของค่าจ้างเงินเดือนที่ได้รับ เหล่าบรรดาผู้จัดการเหล่านี้ก็จะโยนความผิดมาที่ฝ่ายบุคคลทันที ว่านี่คือหน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายบุคคลที่ต้องแก้ไข ผมถามว่า ฝ่ายบุคคลจะแก้ไขได้อย่างไรในเมื่อคนที่ก่อให้เกิดปัญหาค่าจ้างเงินเดือนนั้นก็คือ เหล่าบรรดาผู้จัดการทุกคนที่กำหนดเงินเดือนพนักงานกันตามอำเภอใจ


หน้าที่ของผู้จัดการในการบริหารเงินเดือนพนักงานในหน่วยงานของตนมีดังนี้



  • เป็นผู้คัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน แต่ไม่ใช้ผู้กำหนดอัตราเงินเดือนให้พนักงาน หรือถ้าจะกำหนดอัตราเงินเดือนก็ต้องกำหนดในอัตรามาตรฐานที่บริษัทได้กำหนดไว้แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่น และไม่เป็นธรรมในการว่าจ้างพนักงาน



  • ต้องบริหารค่าจ้างเงินเดือนตามแนวทางและนโยบายที่บริษัทกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด จะไม่มีการกำหนดนโยบายของฝ่ายของตนต่างหาก หรือตั้งกฎเกณฑ์กันเองภายในหน่วยงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนภายในบริษัท



  • เป็นผู้พิจารณาผลงานพนักงาน และเป็นผู้ให้คุณให้โทษพนักงาน โดยใช้ระบบการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน ผู้จัดการจะต้องเป็นผู้ประเมินผลงานพนักงาน และจะต้องเป็นผู้กระจายเงินขึ้นตามผลงานให้กับพนักงานแต่ละคนตามผลงาน และสิ่งสำคัญก็คือ ผู้จัดการจะต้องเป็นผู้อธิบายให้กับพนักงานแต่ละคนได้เข้าใจว่าทำไมถึงได้เท่านั้นเท่านี้ เพราะเรื่องนี้ มักจะมีการปฏิบัติที่ไม่ค่อยถูกต้องก็คือ ผู้จัดการเป็นคนประเมิน แต่คนขึ้นเงินเดือนกลับกลายเป็นฝ่ายบุคคล ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ประเมินก็ต้องเป็นผู้ที่ให้เงินเดือนขึ้นด้วย เพียงแต่ในแต่ละฝ่ายจะได้รับงบประมาณในการขึ้นเงินเดือนซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณที่ชัดเจน และผู้จัดการก็นำเอางบประมาณนี้ไปจัดสรรให้กับพนักงานตามผลงานที่แต่ละคนทำได้



  • เป็นผู้พิจารณาเรื่องของการเลื่อนตำแหน่งพนักงาน เรื่องการเลื่อนตำแหน่งนี้ ไม่ใช่ฝ่ายบุคคลเป็นคนเสนอนะครับ ผู้จัดการฝ่ายจะต้องเป็นผู้เสนอชื่อพนักงานพร้อมกับคุณสมบัติต่างๆ ที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนด โดยต้องพร้อมที่จะให้คำตอบแก่คณะกรรมการที่สอบถามถึงเหตุผลว่าทำไมคนนี้ถึงควรจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง พร้อมทั้งมีหลักฐานประกอบอย่างชัดเจน


นี่คือหน้าที่หลักๆ ของผู้จัดการที่จะต้องทำหน้าที่บริหารค่าจ้างเงินเดือนพนักงาน สิ่งที่สำคัญก็คือ ฝ่ายบุคคลและผู้บริหารจะต้องกำหนดนโยบายในการบริหารเงินเดือนที่ชัดเจน มีโครงสร้างเงินเดือน มีแนวทางในการขึ้นเงินเดือน และการเลื่อนตำแหน่งที่ชัดเจนและอธิบายได้ เพื่อที่จะให้เป็นเครื่องมือแก่ผู้จัดการในการบริหารเงินเดือนพนักงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของตน


แต่ในทางปฏิบัติจริง หลายๆ บริษัทไม่ค่อยปล่อยเรื่องการบริหารเงินเดือนให้กับผู้จัดการสักเท่าไร เนื่องจากว่าปล่อยแล้วกลัวจะเกิดความโกลาหล ทั้งนี้ก็เพราะว่า ผู้บริหารระดับสูงยังไม่ค่อยมั่นใจกับความเข้าใจในเรื่องนี้ของผู้จัดการแต่ละคนเท่าไรนัก ก็เลยต้องรวบอำนาจเรื่องนี้ไว้เพียงผู้เดียวก่อน


และจากนั้นก็ค่อยๆ ให้ความรู้แก่ผู้จัดการทั้งหลายเกี่ยวกับ หลักการในการบริหารค่าจ้างเงินเดือน และบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการในการบริหารเงินเดือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเป็นผู้สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นให้ได้ภายในบริษัท


ไม่ใช่เป็นผู้จัดการที่ค่อยยุแยงให้แต่ละฝ่ายเกิดความขัดแย้งกันเอง หรือเป็นคนที่สร้างเงินเงื่อนไขในการบริหารเงินเดือนต่างๆ ขึ้นมามากมาย เรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนนั้น เราจะไปสร้างเงื่อนไขเยอะมากไม่ได้เลยครับ ถ้าเรายอมให้ฝ่ายนี้ไป อย่าคิดว่าฝ่ายอื่นจะไม่รู้นะครับ เดี๋ยวเราก็ต้องให้หมด เพราะไม่มีเหตุผลมาโต้แย้งได้เลย เคยได้ยินมั้ยครับประโยคนี้


“ทีฝ่ายนั้นยังได้ค่า…..เลย แล้วทำไมฝ่ายเราถึงไม่ได้ เราก็ทำงานไม่ได้ต่างไปจากฝ่ายนั้นเลยนะครับ”






Free TextEditor


Create Date : 23 พฤษภาคม 2554
Last Update : 23 พฤษภาคม 2554 6:21:21 น. 4 comments
Counter : 1478 Pageviews.  

 
บาง บ.ลงทุนว่าจ้าง บ.มาำทำการประเมินฐานเงินเดืนของ พนง.
พอได้ผลลัพท์ ก็ปรับเงินเดือนขึ้นตามที่ บ.ประเมินแนะนำ
งานนั้นถึงขั้น พนง.ตบเท้าเดินเข้าไปขอปรับเงินเดือนต่อเจ้านายโดยตรงเลย

เจ้านายก็...บลาๆ ยกนู้นยกนี่มาอ้างอิง

ผมมองอย่างนี้นะครับ
บ.ที่ทำการประเมินนั้น อ้างอิงจาก บ.อื่นๆตามท้องตลาด
เค้าก็เข้ามาดูในเวลาทำงานของเค้า พอเลิกงานคนมาประเมินก็กลับ

แต่งานบางด้านในความเป็นจริง ต้องดิวงานกับ บ.ที่อยู่ตปท.
แน่นนอนว่าเวลาแต่ละประเทศนั้นไม่ตรงกัน
ทำใ้้ห้บางงานต้องอยู่รอสวิทช์งานกับ ตปท.จนดึกๆ (OT ไม่มี)
ตรงนี้แหละที่ บ.ประเมิน ไม่ได้นำมาเป็นข้อมูลในการประเมิน

ล่าสุด..บอกจ้านายว่า ถ้าเจ้านายเชื่อ บ.ที่มาประเมินฐานเงินเดือน
ก็ให้เจ้านายไปจ้างไอ้คนประเมินมาทำงานเองล่ะกัน...(ฮา)

เล่าสู่ักันฟังนะครับ ขำๆ

ปล.ขอบคุณครับสำรับข้อมูล

ปล.2 แปลกดีนะ บ.เองแท้ๆยังใ้ห้ใครก็ไม่รู้ มากำหนดฐานเงินเดือนใ้ห้
ปล.3 (พึ่งนึกออก) ล่าสุดไปจ้าง บ.ทางด้านปรับปรุงบุคลิกภาพ มาอีกแร๊ะ! มันถูกซ่ะที่ไหนกันล่ะ


โดย: merf1970 วันที่: 23 พฤษภาคม 2554 เวลา:12:54:06 น.  

 
บอกข้อมูล ไม่ครบ

หัวหน้างาน ประเมินผลงานของ พนง.คนนั้นได้ 98%
แต่ตอนปรับเงินเดือน ปรับ(ตั้ง) 8% (1ปี ปรับครั้งเดียว)
ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ...ที่แน่ๆ พนง.คนนั้นเริ่มมีการมองหา
"เจ้านายใหม่ที่ใจถึงกว่า"


โดย: merf1970 วันที่: 23 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:15:10 น.  

 
ขออนุญาตแอด คุณประคัลภ์ เป็น friend's blog นะคะ
จะได้ติดตามบล็อกของคุณได้สะดวกขึ้นคะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ด้าน HR ค่ะ


โดย: someone watching over me วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:0:53:35 น.  

 
สิ่งที่บริษัทภายนอกกำหนดได้ก็คือ เขามีข้อมูลของตลาดว่าค่าจ้างในตลาดนั้นจ่ายกันอยู่เท่าไรกันบ้าง เพื่อจะได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้มากำหนดเป็นโครงสร้างเงินเดือนครับ แต่สิ่งที่บริษัทภายนอกไม่สามารถทำให้เราได้ ก็คือ การเพิ่มหรือลดเงินเดือนพนักงานนะครับ เพราะเขาไม่รู้จักพนักงานสักคนเลย ผลงานเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ

ถ้าเราให้บริษัทภายนอกเข้ามาปรับเงินเดือนพนักงานให้ด้วยแล้ว ผมคิดว่าอันตรายมากนะครับ เพราะคนที่รู้ดีที่สุดว่าเหมาะหรือไม่เหมาะก็คือ ผู้บริหารของบริษัทมากกว่าครับ

สิ่งที่เราจะได้จากบริษัทที่ปรึกษาภายนอกก็คือ แนวทางใหม่ๆ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเดิมๆ และแนวทางในการพัฒนาระบบค่าจ้าง เพื่อจะได้เป็นระบบมากขึ้น และเป็นธรรมมากขึ้นครับ


โดย: singhip วันที่: 25 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:41:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]