HR Management and Self Leadership
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
13 กุมภาพันธ์ 2556

ค่านิยม และความเชื่อในการทำงาน ที่ไม่ค่อยน่าเชื่อ

ในการทำงานทุกองค์กรล้วนแล้วแต่มีค่านิยม ความเชื่อ รวมไปถึงวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางความเชื่อและค่านิยม ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ควร บางความเชื่อก็ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป บางความเชื่อก็ไม่ควรจะมีอีกแล้วในการทำงานยุคปัจจุบัน วันนี้เราลองมาดูค่านิยมและความเชื่อในการทำงานแปลกๆ กันหน่อยนะครับ

  • เชื่อว่าพนักงานที่มีผลงานดี คือพนักงานที่ใช้ชั่วโมงการทำงานในบริษัทนานกว่าคนอื่น ความเชื่อนี้ยังมีอยู่ในองค์กรบ้านเราครับ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นายมักจะมองพนักงานที่อยู่ทำงานดึกๆ ดื่นๆ ว่าเป็นพนักงานที่มีความทุ่มเทต่อองค์กร และมักจะให้ผลงานพนักงานกลุ่มนี้ในเกณฑ์ดีเสมอ ประเด็นคือ ยิ่งอยู่ดึก แปลว่าพนักงานทุ่มเทจริงๆ หรือ หรือจริงๆ ก็คือ พนักงานคนนั้นทำงานไม่เป็น เลยต้องเสียเวลาทำใหม่อยู่เรื่อยไป สุดท้ายก็เลยต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น
  • ชื่อว่าพนักงานที่มาทำงานตรงเวลา และกลับบ้านตรงเวลาเป๊ะนั้น แปลว่าไม่มีความทุ่มเทต่อการทำงาน ความเชื่อนี้ เป็นผลมาจากความเชื่อแรกครับ นายบางคนชอบพนักงานที่มาทำงานแต่เช้าตรู่ มาตอกบัตรแต่เช้ามืด และถ้ายิ่งอยู่บริษัทดึกๆ ยิ่งดี นายกลุ่มนี้จะไม่ชอบพนักงานที่มาทำงานตรงเวลา และกลับตรงเวลา เพราะเขารู้สึกว่า ไม่มีความทุ่มเทใดๆ ให้กับองค์กรเลย
  • เชื่อว่าพนักงานที่ดีคือ พนักงานที่เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้า นายและหัวหน้าชอบความเชื่อนี้มาก เพราะถ้ามีลูกน้องที่เชื่อฟัง ก็จะทำให้การทำงานราบรื่นดี สั่งอะไรก็ได้ไปหมด และหัวหน้าส่วนใหญ่ก็จะรักลูกน้องแบบนี้มากกว่า ลูกน้องที่ชอบคิดและเถียงในการทำงาน เถียงในที่นี้ก็คือ มีข้อเสนอแนะแปลกๆ ใหม่ๆ เพื่อทำให้งานดีขึ้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า หัวหน้าบางส่วนไม่ชอบลูกน้องแบบนี้เลย เขาอ้างว่าบริหารยาก ไม่เชื่อฟัง สั่งอะไรก็ยากไปหมด ทั้งๆ ที่ลูกน้องเองมองว่าตนเองพยายามที่จะทำให้งานดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น อะไรที่ทำแล้วไม่ดี ก็พยายามคิดที่จะเปลี่ยนแปลง
  • เชื่อว่าพนักงานยิ่งอยู่นาน ยิ่งรักองค์กร ความเชื่อนี้เกิดขึ้นกับเถ้าแก่ในหลายๆ องค์กรในอดีต เนื่องจากยังไม่มีการทำตัวชี้วัดผลงานชัดเจน ดังนั้น สิ่งที่เถ้าแก่เชื่อก็คือ พนักงานคนไหนที่อยู่กับองค์กรนานๆ นั้นแปลว่าเขารักองค์กร และจะต้องตอบแทนและเลี้ยงดูพนักงานกลุ่มนี้ให้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พนักงานอยู่นานๆ ไม่ได้แปลว่า รักองค์กรเสมอไปจริงมั้ยครับ บางคนอยู่นานเพราะไม่มีที่จะไป ก็เลยต้องอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นบางคนยิ่งอยู่นานยิ่งขี้เกียจ ผลงานไม่ออกเลยก็มี แต่คนที่อยู่นานและรักองค์กร ทุ่มเททำงานให้องค์กรก็มีนะครับ ไม่ใช่ไม่มี

ความเชื่อเหล่านี้ ยังคงฝังรากลึกอยู่ในหลายองค์กรในบ้านเรา ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่บางครั้ง ความเชื่อเหล่านี้ ก็เปลี่ยนแปลงได้ยากมากครับ เช่นเรื่องเวลาทำงาน ผมยังเห็นหลายองค์กรเชื่อเรื่องของ การทำงานแบบมี Productivity ก็คือ ทำงานนานๆ ใช้เวลาในองค์กรนานกว่าคนอื่น ซึ่งโดยส่วนตัวผมเอง ไม่ค่อยเชื่อแบบนั้น คนที่มี Productivity จริงๆ คือคนที่ทำงาน 1 ชิ้นได้สำเร็จ โดยใช้เวลาน้อยกว่าคนอื่น ซึ่งถ้าเขาทำได้ดีๆ เขาก็น่าจะมีเวลาว่างเพื่อพัฒนางาน หรือพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้

แต่ก็อีกครับ บางคนเห็นลูกน้องนั่งอ่านหนังสือ ก็ไม่ถามให้ชัดเจนเสียก่อน ตำหนิทันทีว่า “ไม่มีงานทำหรือไง ว่างมากหรือ” ซึ่งจริงๆ แล้วพนักงานคนนั้นอาจจะทำงานเสร็จไปนานแล้วก็ได้




Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2556 7:21:39 น. 0 comments
Counter : 1626 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]