HR Management and Self Leadership
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
2 กุมภาพันธ์ 2554

ผู้น้อยต้องผิดเสมอหรือ??

วันนี้ผมจะเอาประสบการณ์ที่ได้พบเจอมากับบริษัทบางแห่ง ที่พยายามาจะลดการบริหารงานแบบระบบอาวุโสลง และนำเอาระบบผลงานเข้ามาใช้แทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีนะครับ แต่อย่างไรก็ดีสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั้น คงจะยากที่จะลดระบบอาวุโสลงได้แบบทั้งหมด เพราะด้วยวัฒนธรรมไทยๆ ก็ยังคงเป็นพี่ๆ น้องๆ กันอยู่

แต่อย่างไรก็ดี ด้วยวัฒนธรรมไทยๆ นี้เองที่อาจจทำให้การบริหารงานในบริษัทเกิดปัญหาขึ้นมาได้เช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นไทยแท้ๆ มาแต่โบราญ วัฒนธรรมก็จะเป็นลักษณะที่ว่า นายเป็นผู้สูงส่งมาก บางคนที่แตะแทบไม่ได้เลย ส่วนลูกน้องก็ถือว่าเป็นผู้น้อย ที่จะต้องคอยทำตามที่ผู้ใหญ่สั่งมา ห้ามมีปากเสียงใดๆ ทั้งสิ้น ลักษณะแบบนี้บางครั้งนายเองตัดสินใจในสิ่งที่ผิด และไม่เหมาะสม แต่ด้วยความไม่รู้ และด้วยความที่ถือตัวว่าเราเองเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อยไม่มีสิทธิมาออกเสียงใดๆ ผลก็เลยเกิดปัญหาในการบริหารตามมามากมาย ก็ด้วยผู้ใหญ่และผู้น้อยนี่แหละครับ

บางครั้งในที่ประชุม ผู้ใหญ่ก็พูดไปเรื่อย ผู้น้อยก็ “ครับท่าน” ตลอดเวลา โดยในบางกรณีก็ต้อง “ครับท่าน” ไปกับสิ่งที่ไม่ค่อยถูกต้องเท่าไร แต่แย้งไม่ได้ เพราะแย้งไป ก็มักจะโดนตอกกลับมาว่า “คุณจะไปรู้อะไร ผมประสบการณ์มากกว่าคุณเยอะแยะ” แต่พอหลังจากที่ตัดสินใจกันไปแล้ว ผลปรากฎว่าไม่ได้ตามที่วางแผนไว้ เพราะความเห็นของผู้บริหารท่านนั้นมันไม่ถูกต้อง เหตุผลที่มาคุยกันต่อก็คือ “ความคิดเห็นของผมนั้นมันถูกต้องอยู่แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเลยทำให้มีปัญหา คุณเองก็รู้เรื่องนี้ดีกว่าผม ทำไมไม่เสนอความเห็นเลยล่ะ” ผู้น้อยก็ต้องตอบว่า “ขอโทษครับท่าน (ผมผิดอีกแล้วครับท่าน)”

แต่ถ้าสมมุตว่า ผู้ใหญ่เกิดฟังสิ่งที่เราแสดงความเห็น และตัดสินใจไปตามที่เราบอกไป และผลออกมาไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ เชื่อมั้ยครับ เขาจะไม่พูดประโยคข้างบนให้ได้ยินเลย สิ่งที่จะพูดก็คือ “สิ่งที่คุณคิดมันผิดตั้งแต่ต้นแล้ว ดีนะที่ผมไม่ได้เชื่อคุณทั้งหมด” (ซะงั้น) ผู้น้อยก็ต้องตอบว่า “ขอโทษครับท่าน (ผมผิดอีกตามเคยครับท่าน)”

ดูๆ แล้วผู้ใหญ่บางคน (เน้นว่าบางคน) ก็เป็นในลักษณะนั้นจริงๆ อาจจะเพราะสาเหตุว่าด้วยความเป็นผู้ใหญ่กว่า ก็เลยผิดไม่ได้เดี๋ยวเสียหน้า ผู้ใหญ่เลยไม่เคยผิด ตัวอย่างอีกเรื่องที่เกิดกับตัวผมเองในสมัยเด็กๆ ผมยังจำได้ติดตาติดหูเลยว่า เวลาเล่นของเล่นอะไร แล้ววางทิ้งไว้เกลื่อนกลาดกลางบ้าน คุณแม่เดินมาเตะเข้า สิ่งที่ผมโดนก็คือ คำตำหนิ “บอกแล้วว่าเล่นเสร็จก็ให้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย สอนไม่รู้จักจำ!!” ผมผิดเอง

แต่ในทางตรงกันข้าม บางครั้งคุณแม่ลืมวางของไว้ขวางทางเช่นกัน ผมเองเดินไปชนจนของนั้นล้ม เพราะไม่เห็นจริงๆ สิ่งที่ผมโดนก็คือ “เดินยังไง ไม่ดูตาม้าตาเรือ เห็นๆ อยู่ว่าวางของอยู่ยังเดินชนมาได้!!” ผมผิดอีก

สิ่งที่ผมเขียนมานั้นไม่ได้จะบอกว่าใครถูกใครผิดนะครับ เพียงแต่อยากจะสะท้อนวัฒนธรรมเกี่ยวกับผู้ใหญ่และผู้น้อยในบ้านเราให้เห็น เพราะสิ่งเหล่านี้ถ้ามีมากๆ ในองค์กร จะเป็นตัวขัดขวางความสำเร็จขององค์กรอย่างแรงมาก เพราะแค่คำว่า “ครับนาย” นี่แหละครับ ทำให้คนที่เป็นผู้น้อยคิดไม่เป็น คิดไม่ออก สุดท้ายก็ไม่คิด

จะทำอย่างไรให้คนในองค์กรเปลี่ยนจากคำว่า “ครับนาย” มาเป็น “นายครับ….” ก็คือเริ่มที่จะเสนอสิ่งต่างๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิม นายเองก็ต้องเปิดใจยอมรับในสิ่งที่ตนเองผิดพลาดอย่างยืดอกเลย เพราะนี่เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกน้องนับถือเรามากขึ้นไปอีกนะครับ และถ้าทำได้ ผลงานขององค์กรโดยเฉพาะในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นอีกมากมายเลยครับ


Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2554 6:02:45 น. 0 comments
Counter : 1225 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]