HR Management and Self Leadership
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
7 มิถุนายน 2554

มุมมองที่ตรงกันข้ามระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง

เวลาที่ผมบรรยายเรื่องของการเป็นหัวหน้างานที่ดีว่าจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรนั้น ผู้เข้าสัมมนาก็มักจะนึกไปถึงหัวหน้าของตนเองว่า ทำไมไม่เห็นเป็นแบบที่บรรยายเลย ผมก็เลยลองถามว่า ปัจจุบันนี้ท่านรู้สึกว่าหัวหน้างานของท่านเป็นหัวหน้างานที่ดีหรือไม่ เชื่อมั้ยครับ คำตอบที่ได้นั้นมากกว่า 80% ตอบว่า หัวหน้าของตนเองเป็นหัวหน้างานที่ไม่ดี ซึ่งก็มีเหตุผลแตกต่างกันออกไปในแต่ละคนว่าไม่ดีเรื่องอะไรบ้าง

ยิ่งไปกว่านั้น ผมถามต่อไปว่า แล้วตัวท่านเองเป็นหัวหน้างานที่ดีหรือไม่ คำตอบที่ได้ออกมามากกว่า 70% มองตัวเองว่าเป็นหัวหน้างานที่ดี ไม่มีที่ติ นอกนั้นก็มีที่ติบ้างในบางเรื่อง (เขาประเมินตนเองนะครับ)

จากนั้นก็เลยลองไปสอบถามลูกน้องของเหล่าบรรดาหัวหน้างานที่เข้าอบรมกลุ่มนี้ว่า หัวหน้าของตนเองนั้นเป็นอย่างไร คำตอบที่ได้ก็ไม่แตกต่างจากกลุ่มแรกครับ คือ 80% บอกว่า เป็นหัวหน้างานที่ยังไม่ดี และยังมีปัญหาต่างๆ มากมายในการเป็นหัวหน้า

จากผลการทำ Poll เล็กๆ นี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า คนเรามักมองตัวเองว่าดีกว่าคนอื่น เราจะไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองเป็นอย่างไร บางครั้งเรากล่าวโทษหัวหน้าว่า ลำเอียง เลือกที่รักมักที่ชัง แต่ตัวหัวหน้าเองกลับมองตัวเองว่า ตนเองเป็นหัวหน้าที่ยุติธรรม ไม่เคยลำเอียงเลย แบบนี้แล้วใครผิดใครถูก

สิ่งที่เราควรจะรับฟังก็คือ ความคิดเห็นของลูกน้องของเราเองนี่แหละครับ ถ้าไม่มีเหตุ ผลก็ไม่เกิดหรอกครับ แสดงว่าต้องมีเหตุบางอย่างที่ทำให้ลูกน้องของเรามองเราแบบนั้น สิ่งที่เราในฐานะหัวหน้าจะต้องมีก็คือ เปิดใจให้กว้างและรับฟังว่าลูกน้องมองเราอย่างไร จากนั้นเมื่อเข้าใจในสิ่งที่เขามองแล้ว เราจะได้ปรับปรุงตัวเอง ไม่ใช่แค่กล่าวโทษหัวหน้าของเราเอง แต่ตัวเองไม่ยอมปรับปรุงตัว

อย่าลืมว่าถ้าเรากล่าวโทษหัวหน้าเราได้ ลูกน้องเราก็กล่าวโทษเราได้เช่นกันนะครับ มีกรณีจริงอยู่กรณีหนึ่ง ที่ลูกน้องกล่าวโทษว่าหัวหน้าลำเอียง ลูกน้องบอกว่า เวลาจะกลับบ้าน ก็ไปส่งกลางทาง ไม่เห็นจะไปส่งเราบ้าง หรือเวลากลางวันก็มีการสอบถามลูกน้องสุดที่รักว่าจะกินอะไร แต่กับตนเองไม่เห็นถาม แบบนี้ไม่เรียกว่าลำเอียงแล้วจะเรียกว่าอะไร

พอเรียกหัวหน้ามาคุย หัวหน้าก็ตอบว่า ปฏิบัติกับทุกคนเหมือนกัน ที่ไปส่งเพราะบ้านอยู่ทางเดียวกัน จะได้ประหยัด เพราะยึดนโยบาย Car pool แต่อีกคนบ้านอยู่คนละทางก็ไปส่งไม่สะดวก ส่วนเรื่องของการกินข้าวกลางวันนั้น ที่ถามก็เพราะวันนั้นพนักงานไม่ค่อยสบาย ก็เลยถามดูว่าจะฝากซื้ออะไรหรือเปล่า

เมื่อทราบเหตุผลแบบนี้แล้ว ตกลงใครผิดใครถูกครับ

ผมมองว่ามุมมองแตกต่างกันครับ ลูกน้องมักจะมองแล้วก็คิดไปได้เรื่อยๆ สิ่งที่หัวหน้าที่ดีจะต้องระวังก็คือ ไม่ปฏิบัติตนในลักษณะที่เข้าข่ายเลือกปฏิบัติครับ เราเองอาจจะมองว่าไม่ลำเอียง แต่คนอื่นอาจจะมองว่าลำเอียงก็ได้ ดังนั้นสิ่งที่จะต้องทำก็คือ การสื่อสารซึ่งกันและกัน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ว่าที่ทำไปนั้นมีเหตุผลมาจากอะไร เพื่อให้ทุกคนในทีมงานเข้าใจกันมากที่สุด สุดท้าย ถ้ามีคำถามแบบนี้กับใคร ก็ต้องถามทุกคนที่อยู่ในทีมงานด้วย ไม่ใช่ถามคนเดียวแต่อีกคนปล่อยให้รู้เอง แบบนี้พนักงานก็มองว่าเราลำเอียงแน่นอนครับ

นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวในมุมมองของลูกน้องที่มีต่อหัวหน้านะครับ ยังมีอีกมากมายครับ ดังนั้น เราไม่ควรจะมองหัวหน้าเราแล้วกล่าวโทษว่าหัวหน้าไม่ดีแบบนั้นไม่ดีแบบนี้ แต่เราควรจะหันกลับมามองตัวเองมากกว่า เพราะเราเป็นนายของตนเอง การที่เราจะเป็นหัวหน้างานที่ดีได้นั้น อยู่ที่ตัวเราเองครับ ไม่ได้อยู่ที่การกล่าวโทษคนอื่น แล้วเราจะได้ดีครับ


Create Date : 07 มิถุนายน 2554
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 7:42:31 น. 2 comments
Counter : 1169 Pageviews.  

 
ขอบคุณครับ...


โดย: chanchac วันที่: 7 มิถุนายน 2554 เวลา:7:59:34 น.  

 
มันเป็นธรรมดาครับ


โดย: milkywayi วันที่: 7 มิถุนายน 2554 เวลา:8:09:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]