HR Management and Self Leadership
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
31 พฤษภาคม 2554

เป้าหมายขององค์กร กับเป้าหมายของพนักงานไม่ได้ไปด้วยกัน

วันนี้มาต่อกันอีกเรื่องหนึ่งในประเด็นของการประเมินผลงานก็คือ เรื่องของเป้าหมาย หรือตัวชี้วัดผลงานของพนักงานและขององค์กรนั้นควรจะไปด้วยกันหรือไม่ ผมเคยเขียนประเด็นนี้ไปบ้างในบทความเก่าๆ ที่ผ่านมา แต่ก็ยังได้พบได้เห็นระบบประเมินผลงานของหลายๆ องค์กรที่แยกกันระหว่างตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กร กับตัวชี้วัดความสำเร็จของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่ง

โดยปกติแล้วองค์กรทุกองค์กรย่อมต้องการความสำเร็จ ซึ่งก็อยู่ที่ว่าแต่ละองค์กรจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ซึ่งอาจจะเป็น ผลกำไร หรือ ยอดขาย หรือ มูลค่าหุ้น หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ฯลฯ ซึ่งผลสำเร็จขององค์กรนั้นจะสำเร็จได้หรือไม่นั้น ก็ล้วนมาจากผลงานของพนักงานแต่ละคนที่รับผิดชอบในงานของตนเอง และแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน และแต่ละตำแหน่งงาน

องค์กรหลายแห่งที่ตั้งผลประกอบการไว้ ว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง แต่พอถึงเวลาตั้งเป้าหมายหรือตัวชี้วัดของพนักงานกลับกลายเป็นว่า พนักงานต่างคนต่างตั้ง โดยไม่สนใจว่าเป้าหมายขององค์กรคืออะไร และเป้าหมายของพนักงานและขององค์กรนั้นไปด้วยกันหรือไม่

สิ่งที่สำคัญเวลาจะกำหนดตัวชี้วัดผลงานให้กับพนักงานในแต่ละตำแหน่งนั้น ประเด็นสำคัญก็คือจะต้องถามว่า ตำแหน่งงานนั้นๆ มีหน้าที่และความรับชอบอะไร มีส่วนตรงไหนในการที่ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายหลักได้ เราจะนำคำตอบนั้นมากำหนดเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของงานในตำแหน่งงานนั้นๆ

วิธีการตรวจสอบตัวชี้วัดผลงานที่ดีก็คือ ตัวชี้วัดที่ตั้งออกมาแล้วนั้น ถ้าทำสำเร็จแล้ว จะมีส่วนที่ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่มีส่วนใดๆ เลย ก็ควรจะปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดผลงานนั้นให้เหมาะสมครับ

ตัวอย่างเช่น องค์กรต้องการทำกำไรสูงสุด การกำหนดตัวชี้วัดของแต่ละหน่วยงานจะต้องพิจารณาว่า งานของตนนั้นไปมีส่วนตรงไหนที่จะทำให้องค์กรได้กำไรตามที่กำหนดไว้ เช่นงานขาย ก็ต้องไปเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นในแต่ละสินค้าที่รับผิดชอบ งานการตลาดก็ต้องรับผิดชอบในการทำอย่างไรให้คนสนใจมาซื้อสินค้าของตน

ส่วนหน่วยงานที่ดูแลเรื่องของต้นทุน เช่น งานจัดซื้อ งานบุคคล หรืองานบัญชีและการเงิน ก็ต้องทำหน้าที่ในการบริหารต้นทุนของบริษัทให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่กำหนด และได้ผลงานที่ดีที่สุด

ผมเคยเห็นฝ่ายการตลาดบางบริษัทกำหนดตัวชี้วัดของตนว่า ทำรายงานการตลาดส่งตรงตามเวลา และ สรุปรายงานผลการขายได้ถูกต้อง ในการตรวจสอบว่าตัวชี้วัดที่กำหนดนี้เป็นตัวชี้วัดที่ดีหรือไม่นั้น ก็ใช้คำถามว่า “ถ้าเราทำรายงานส่งตรงตามเวลาแล้วนั้น องค์กรจะได้กำไรตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

หรือฝ่ายผลิตที่ต้องทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าเพื่อไปขาย แต่กลับกำหนดตัวชี้วัดผลงานว่า สรุปยอดการผลิตส่งได้ถูกต้องและตรงเวลา ผมก็มักจะถามว่า ถ้าทำรายงานการผลิตส่งตรงถามเวลา และถูกต้องแล้ว บริษัทจะสามารถได้กำไรตามที่กำหนดไว้หรือไม่

กล่าวโดยสรุปแล้ว ตัวชี้วัดของผู้จัดการฝ่ายในแต่ละหน่วยงานนั้นจะต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดขององค์กร และตัวชี้วัดของแต่ละตำแหน่งงาน ก็ต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดของหน่วยงานที่ตำแหน่งงานนั้นสังกัดอยู่ด้วยครับ เมื่อทำได้แบบนี้แล้ว ความสำเร็จขององค์กรจะมาจากความสำเร็จของพนักงานแต่ละคนด้วย


Create Date : 31 พฤษภาคม 2554
Last Update : 31 พฤษภาคม 2554 6:13:40 น. 0 comments
Counter : 1668 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]