HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
8 มีนาคม 2553

Reward Management Series: เงินได้อื่น นอกเหนือจากเงินเดือนและโบนัส



เราได้คุยกันใน เรื่องของโบนัสมาหลายตอน ซึ่งทุกตอนนั้น เป็นการให้รางวัลแก่พนักงานโดยใช้ผลงานของพนักงานหรือขององค์กรเป็นพื้นฐาน ในการจ่าย การให้ผลตอบแทนตามผลงานในลักษณะดังกล่าว เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น เรื่อยๆ ทุกองค์กรทางธุรกิจ ต้องการแสวงหากำไร เพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนลง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ธุรกิจเกิดการขยายตัว หรือต้องการการอยู่รอดในตลาดต่อไปเรื่อยๆ และการที่จะทำให้ได้ผลดังกล่าว พนักงานของบริษัทมีส่วนอย่างมากในการสร้างผลงานให้กับองค์กร ดังนั้นค่าตอบแทนจูงใจในระยะสั้น เช่น โบนัสตามผลงานจึงเกิดขึ้น และนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการกระตุ้นและจูงใจให้พนักงานสร้างผลงานให้กับบริษัท และบริษัทก็จะตอบแทนเป็นเงินรางวัลตามผลงานที่ทำได้คืนให้กับพนักงาน


แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่มีการจ่ายเงินได้อื่นให้กับพนักงานนอกเหนือ จากเงินเดือนและโบนัสตามผลงาน อาทิ ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ ค่าระดับงาน ค่าครองชีพ ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ เงินได้อื่นเหล่านี้ เราถือว่าเป็นค่าจ้าง เพื่อตอบแทนการทำงานทั้งสิ้น แต่ที่นายจ้างไม่จ่ายรวมเข้าไปในเงินเดือน ก็เพื่อจะได้ทำให้เงินเดือนมูลฐานของพนักงานไม่สูงนัก เวลามีการขึ้นเงินเดือน หรือจ่ายโบนัสให้พนักงาน ก็จะได้ไม่ต้องจ่ายในอัตราที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ต้นทุนในการบริหารงานสูงขึ้นไปอีก


ผมอยากถามว่า วิธีการที่กล่าวไปนั้น มันถูกต้องในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่ ในความเห็นผม ผมคิดว่าการจ่ายในลักษณะให้เงินได้อื่นเยอะๆ แล้วให้เงินเดือนน้อยหน่อยนั้น เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างทางอ้อมเหมือนกัน แต่นายจ้างอาจจะไม่คิดแบบนั้นก็เป็นได้


เงินได้อื่นที่เราให้กับพนักงานนั้น เราจะต้องถามตัวเองก่อนว่า ที่ให้นั้น ให้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ให้แล้วพนักงานสร้างผลงานอะไรให้กับองค์กรบ้าง เช่น ค่าตำแหน่ง ที่หลายๆ องค์กรให้กับพนักงานระดับบังคับบัญชาขึ้นไป จะมีค่าตำแหน่งให้ เคยลองถามตัวเองมั้ยครับ ว่าค่าตำแหน่งที่ให้นั้น ให้เพื่ออะไร ทำไมต้องให้ด้วย ให้แล้วไป Reward พนักงาน ณ จุดใด


จากผลการสำรวจที่ผมได้เคยทำนั้น ตอบได้อย่างชัดเจนเลยว่า ค่าตำแหน่งที่เราให้กับพนักงานนั้น เป็นการให้เพื่อให้เงินเดือนมูลฐานของพนักงานระดับบังคับบัญชาจะได้ไม่สูงจน เกินไป เวลาขึ้นเงินเดือน หรือจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน ก็จะทำให้บริษัทไม่ต้องแบกรับภาระในเงินก้อนนี้มากเกินไป


ผมมองว่าเราไม่ควรคิดในเรื่องของต้นทุนในลักษณะนี้ในการบริหารคน เราลงทุนในการรับพนักงานเข้ามา พัฒนาเขาจนสามารถทำงานได้ ผมถามว่า ค่าตำแหน่งที่ให้นั้น ช่วยให้เขาสร้างผลงานให้ดีขึ้นจริงหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่เลย ถ้าเราปรับเปลี่ยนมาเป็นการให้โบนัสตามผลงานจริงๆ โดยเชื่อมโยงผลงานของพนักงานให้เขากับเงินรางวัลที่เขาควรจะได้รับ เมื่อสามารถสร้างผลงานตามที่ตกลงกันไว้ การจ่ายในลักษณะนี้ จะเป็นการจ่ายที่จูงใจ และกระตุ้นให้พนักงานสร้างผลงานให้กับบริษัทได้มากกว่า


ส่วนเงินเดือนพนักงานก็ให้ตามอัตราตลาดที่เขาให้กัน เพื่อจะได้สามารถดึงดูดและรักษาพนักงานให้ทำงานกับบริษัทได้นานที่สุด นอกนั้นก็กระตุ้นผลงานของพนักงานด้วย เงินโบนัสตามผลงาน ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ เงินส่วนเพิ่มที่จ่ายให้กับพนักงานนั้นจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงกับผลงานของ พนักงานอย่างชัดเจน


หรือกรณีที่ต้องการจะจ่ายเงินได้อื่นๆ ให้กับพนักงานนั้น เราต้องถามว่า ในการจ่ายเงินได้อื่นก้อนนี้นั้น เราจ่ายเพื่ออะไร ให้ไปเพื่อตอบแทนผลงานด้านไหน ถ้าตอบไม่ได้ ผมคิดว่า เราก็ไม่ควรจะสร้างเงินได้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากเงินเดือนขึ้นมาให้มันมากเกินไป บางบริษัทนอกจากเงินเดือนแล้วยังมี โบนัสตามผลงาน มีค่าตำแหน่ง มีค่าระดับงาน มีค่าน้ำมันรถ ค่าครองชีพ ค่าวิชาชีพ ค่าทักษะ ค่าความสามารถพิเศษ ค่า Talent เยอะไปหมด เชื่อมั้ยครับ บางแห่งมีให้เงินค่าต่างๆ แก่พนักงานมากมาย แต่พอนำเอาเงินได้รวมทั้งหมดที่ให้นั้นมาเปรียบเทียบกับตลาด กลับปรากฎว่า เงินรายได้รวมของพนักงานยังต่ำกว่าตลาดมากมาย


ดังนั้นการที่เราจะสร้างวิธีการจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานนั้น เราคงต้องพิจารณาถึงส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน และเป็นส่วนผสมที่ให้แล้ว พนักงานเกิดแรงจูงใจในการทำงาน และสร้างผลงานให้กับองค์กร


ผมเคยเห็นบางบริษัทมีแค่ เงินเดือน และโบนัสตามผลงานเท่านั้น แต่พนักงานกลับขยันขันแข็งในการทำงาน และพยายามสร้างผลงานให้กับบริษัทอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้ก็เพราะเขารู้ว่า ถ้าเขาทำผลงานได้ดี บริษัทก็จะตอบแทนผลงานของพนักงานอย่างเหมาะสม


แต่อย่างไรก็ดี การที่เราจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ่ายค่าจ้างนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะกฎหมายของบ้านเรากำหนดไว้ว่า ให้มากกว่ากฎหมายได้ แต่ถ้าให้มากกว่าแล้ว ก็ลดลงไม่ได้ เพราะไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ดังนั้นการที่เราจะออกแบบรูปแบบการจ่ายค่าจ้างของบริษัทใหม่นั้น ถามว่าทำได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ทำได้แต่ต้องไม่ให้ขัดกับกฎหมายครับ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ พนักงานต้องได้รับค่าตอบแทนไม่น้อยไปกว่าเดิมที่ได้รับอยู่ครับ


กฎหมายแรงงานบ้านเราทำให้การบริหารเงินเดือนค่าจ้างยากขึ้นอีกนิดหน่อยครับ



Create Date : 08 มีนาคม 2553
Last Update : 8 มีนาคม 2553 5:53:48 น. 0 comments
Counter : 1305 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]