HR Management and Self Leadership
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
12 กรกฏาคม 2555

คำชมที่ไม่ใช่คำชมที่แท้จริง

ในการเป็นหัวหน้างานที่ดีนั้น สิ่งหนึ่งที่หัวหน้าจะต้องทำกับลูกน้องเสมอก็คือ การสื่อความในเรื่องของ ผลงาน ในยุคปัจจุบันที่เขาใช้คำว่าบริหารผลงานนั้น การให้ Feedback จากหัวหน้าไปสู่ลูกน้อง ถือว่า มีความสำคัญมาก ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้พนักงานรับทราบได้ว่า ผลงานและความคืบหน้าของงานที่เขาทำ นั้นเป็นอย่างไร ดี หรือไม่ดี และต้องปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร

Feedback ที่เป็นแง่บวก ก็คือ คำชม ที่หัวหน้างานให้กับลูกน้อง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการ บริหารพนักงาน จากประสบการณ์ในการทำงานของผม ถ้ามองไปในอดีตสัก สิบปีให้หลัง สิ่งที่มักจะพบ เจอบ่อยๆ ก็คือ เวลาที่ลูกน้องทำงานได้ดี หัวหน้าก็ถือว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น การที่จะเรียกลูกน้องเข้ามาชม เรียกได้ว่าหาได้ยากมาก หัวหน้าน้อยคนมากครับที่ใช้คำชมให้เป็นประโยชน์

ในทางตรงกันข้าม เมื่อไหร่ที่พนักงานทำงานผิดพลาด สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ คำตำหนิ และไม่ใช่ ตำหนิแบบเกรงใจนะครับ ส่วนใหญ่จะเป็นการให้แบบชุดใหญ่ จัดเต็มกันไปเลย

ก็เลยทำให้หัวหน้างานในยุคนั้นไม่ค่อยเห็นความสำคัญของคำชมมากนัก ผิดกับในยุคปัจจุบันที่เรามักจะ ได้รับการเรียนรู้และอบรมกันมาว่า การสร้างแรงจูงใจที่ดีให้กับพนักงานด้วยวิธีที่่ง่ายๆ และไม่ต้องลงทุน ในเรื่องเงินเลย ก็คือ การที่หัวหน้าให้คำชมแก่พนักงานที่ทำงานได้ดีนั่นเอง ผลการวิจัยพิสูจน์มาแล้วว่า การชื่มชมผลงานลูกน้องอย่างจริงใจนั้น ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกผูกพันต่อการทำงาน ต่อหัวหน้างาน และต่อองค์กรมากกว่าการที่ไม่เคยชื่มชมอะไรเลย

แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า คำชม จะให้ทั้งที ยังให้ยากเลยครับ เพราะถ้าเราไม่มีเทคนิคในการชมที่ถูกต้องแล้ว คำชมที่เราตั้งใจจะให้กับพนักงานจะกลายเป็นคำพูดที่ทำร้ายพนักงานอย่างแรงได้เลย คำชมแบบไหนที่ เราไม่ควรจะใช้ ลองมาดูกันนะครับ

  • ชมแล้วต่อด้วย “แต่” หัวหน้างานส่วนใหญ่เท่าที่ผมสังเกตมาจากประสบการณ์ มักจะให้คำชมแก่ พนักงานแล้วมักจะต่อด้วยคำว่า “แต่” เช่น “คุณทำงานได้เยียมมากเลย แต่งานผิดพลาดเยอะไปหน่อย” ตกลงจะชมหรือจะตำหนิกันแน่หรือ “คุณสามารถจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้าได้ดีมาก แต่ผมว่าคุณพูดเร็วไปหน่อย ลูกค้าอาจจะฟังไม่ทัน” การให้คำชมในลักษณะนี้ พนักงานจะสับสนมากกว่า ว่าตกลงแล้ว นายกำลังชม หรือกำลังตำหนิเรากันแน่ วิธีการที่ถูกต้องก็คือ เราควรจะแยกคำชมกับคำวิพากษ์ วิจารณ์หรือตำหนิ ออกจากคำชม หรือถ้าแยกไม่ได้ ให้พยายามใช้คำว่า “และ” แทนคำว่า “แต่” เช่น “คุณสามารถจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้าได้อย่างดีมากเลย และถ้าคราวหน้าเกิดกรณี แบบนี้อีกผมแนะนำว่าถ้าคุณพูดให้ช้าลงและเน้นจังหวะในการพูดที่ชัดเจนขึ้นจะทำให้ลูกค้าเกิด ความประทับใจได้มากขึ้นอีกอย่างแน่นอน”
  • ชมแล้ววกเข้าหาตัวเอง หัวหน้าหลายคนมีวิธีการชมลูกน้องแบบแยบยลมาก คือชมลูกน้อง แบบที่ให้ความรู้สึกว่ากำลังชมตัวเองอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน ชมเสร็จแล้วยังพยายามทำให้ตัว เองดูเด่นกว่าลูกน้อง ซึ่งวิธีแบบนี้ไม่ได้ทำให้ลูกน้องเกิดความประทับใจในคำชมของหัวหน้าเลย ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้ลูกน้องรู้สึกแย่มากกว่าเดิม ตัวอย่างของคำชมแบบนี้ก็เช่น “คุณทำงานนี้ออกมาได้ดีมากเลย นี่แหละคือวิธีการที่ผมไว้อยู่แล้วถือว่าคุณทำได้ตามที่ผมคิดไว้เลย” หรือ “เห็นมั้ยว่าเมื่อคุณทำตามที่ผมบอก ผลที่ออกมาก็เลยออกมาดีกว่าที่ควรจะเป็น” ถ้าท่านได้ ยินคำชมลักษณะนี้จะรู้สึกอย่างไรครับ ถ้าเป็นผม ผมคงไม่รู้สึกเลยว่านายกำลังชมผมอยู่ แต่จะ รู้สึกว่า นายกำลังข่มผมอยู่มากกว่า
  • ชมเพื่อที่จะใช้งานต่อ คำชมแบบนี้เป็นคำชมที่มีสิ่งแอบแฝงอยู่ ก็คือ นายจะชมก็ต่อเมื่อจะมี การมอบหมายงานใหม่ให้ทำต่อ ไม่ใช่ชมเพราะผลงานออกมาดีจริงๆ แบบนี้เป็นคำชมที่ไม่ค่อย จะจริงใจสักเท่าไหร่ เช่น “โอ้โห ผมว่าแล้วว่างานชิ้นนี้ของคุณจะต้องออกมาดีมาก คุณเป็นที่พึ่งให้ผมได้จริงๆ เลย ตอนนี้ผมกำลังมีปัญหาในงานโครงการ A อยู่ก็เลยอยากให้ คุณช่วยรับงานนี้เพิ่มไปหน่อย เพราะคุณเป็นที่พึ่งให้ผมได้จริงๆ” ได้ยินแบบนี้เหมือนจะรู้สึกดี นะครับ แต่สุดท้ายแล้วถ้าลองมาคิดดีๆ นายชมก็เพื่อที่จะทำให้เรารู้สึกดี เพื่อจะได้รับงานที่นาย อาจจะไม่อยากทำด้วยตนเอง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าคำชมที่นายให้นั้น ไม่ใช่คำชมที่จริงใจ เลย

คำชมที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นลักษณะคำชมที่ควรจะหลีกเลี่ยง ไม่ควรจำมาใช้กับลูกน้องของเรา ถ้าเราจะชม ควรจะชมอย่างจริงใจ โดยไม่มีอะไรแอบแฝง และอย่าชมแล้วต่อด้วยคำว่า “แต่” อย่างเด็ด ขาดนะครับ เพราะผมเองเคยเผลอชมลูกน้องแล้วต่อด้วย “แต่” ลูกน้องก็ถามสวนกลับมาว่า ที่พูดมาทั้ง หมดทั้งต้องการจะชม หรือต้องการจะตำหนิกันแน่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต้องแยกคำชมออกจากคำตำหนิ โดยใช้คำว่า “และ” อย่างที่แนะนำไป เพื่อทำให้พนักงานเห็นว่าเรากำลังสอนงานเขามากกว่าที่จะตำหนิ เขา และที่สำคัญก็คือ พนักงานจะรู้สึกว่า หัวหน้าชมแล้ว ยังสอนงานเขาเพื่อให้เขามีผลงานที่ดีขึ้นไปอีก ในอนาคตอีกด้วย

เรียกว่ากระสุนนัดเดียวยิงนกได้สองตัวเลยครับ




Create Date : 12 กรกฎาคม 2555
Last Update : 12 กรกฎาคม 2555 6:24:45 น. 0 comments
Counter : 1918 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]