HR Management and Self Leadership
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
19 มกราคม 2554

แรงจูงใจพนักงานกับการสร้างผลงานที่ดี – Love and Belonging

เมื่อวานนี้ได้เขียนถึงปัจจัยพื้นฐานตัวแรกในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน สร้างผลงานที่ดี ซึ่งก็คือ Survival เป็นการทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาทำงานที่นี่แล้วเขาสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ อย่างปกติสุข วันนี้จะต่อในปัจจัยที่สองที่จะเป็นตัวสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้ก็คือ Love and Belonging ครับ

คนเรานั้นนอกจากต้องการมีชีวิตอยู่รอดแล้ว ก็ยังต้องการความรัก และความรู้สึกเป็นเจ้าของด้วย การที่พนักงานเข้ามาทำงานแล้วไม่ได้รับการใส่ใจจากหัวหน้างานและเพื่อนร่วม งานเลย ถ้าเป็นท่าน ท่านจะสามารถทนทำงานอยู่ได้นานสักเท่าไหร่ครับ สมมุตินะครับว่า ได้รับเงินเดือนสูงกว่าที่เราอยากได้ นั่นแปลว่า เราสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้อย่างปกติ แต่ถ้าเราไม่ได้รับการยอมรับ ไม่ได้รับความรักความเอาใจใส่ทั้งจากหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานเลย เช้ามาก็ไม่มีใครคุยด้วย กลางวันก็ไม่มีใครอยากไปกินข้าวด้วย ทำงานก็ไม่ค่อยจะมีคนมาพูดคุย หรือคุยก็แบบขอไปที แบบนี้เราจะทนทำงานได้สักเท่าไรกัน

คนเราทุกคนต้องการความรักจากคนรอบข้างทั้งสิ้น ดังนั้นการทำงานในองค์กร องค์กรก็จะต้องให้ความรักแก่พนักงานโดยผ่านเหล่าบรรดาผู้จัดการและหัวหน้า งานในแต่ระดับนี่แหละครับ จะต้องให้ความรัก และความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องของตนเอง เพราะเขาพิสูจน์กันมาแล้วว่า ถ้าหัวหน้ากับลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักและความเข้าใจกันแล้ว ตัวพนักงานจะเกิดแรงจูงใจในการทำงาน และอยากทำงานให้ดีขึ้น หรือสำเร็จมากขึ้น โดยที่หัวหน้าแทบจะไม่ต้องนั่งควบคุมอย่างใกล้ชิดเลย ยิ่งไปกว่านั้นเวลาที่ลูกน้องทำงานผิดพลาด และต้องว่ากล่าวตักเตือน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จะทำให้การว่ากล่าวตักเตือนนั้นเป็นไปแบบพี่ๆ น้องๆ และพนักงานเองก็ยอมรับได้เพราะหัวหน้าไม่ได้มีเจตนาจะว่าเพื่อความสะใจ แต่ตักเตือนด้วยความหวังดีมากกว่า

พลังแห่งความรักนี้เป็นพลังที่มีอิทธิพลต่อผลงานของพนักงานมาก หัวหน้างานบางคนไม่เคยคิดด้วยซ้ำกว่าความรักและความเอาใจใส่พนักงานนี้จะมี พลังมหาศาล ก็เลยไม่เคยที่จะชื่นชมพนักงานเลย พนักงานทำงานดี ทุ่มเทมากมาย แต่หัวหน้ากลับเฉยๆ ไม่แสดงอาการรับรู้อะไรเลย แบบนี้พนักงานที่ไหนจะอยากทำงานให้อีกในครั้งต่อไป ผิดจากหัวหน้างานที่ใส่ใจ รับรู้ว่าพนักงานเหนื่อย เข้าใจความรู้สึกของพนักงาน (แต่ไม่ใช่ตามใจนะครับ) และพูดชมเชยพนักงานเวลาทำงานได้ดี รวมทั้งให้กำลังใจเวลาที่พนักงานเหนื่อย หรือท้อ แบบนี้รับรองว่าได้ใจลูกน้องไปครองแน่นอน แล้วแรงจูงใจของพนักงานก็จะตามมาครับ

การที่จะทำให้พนักงานได้รับสิ่งที่เรียกว่า Love and Belonging นั้น หัวหน้างานจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องของตนเองทุกคน โดยใส่ใจในเรื่องต่างๆ ของพนักงานมากขึ้น ความสัมพันธ์ที่ดีนี้จะนำเราไปสู่ความรู้สึกถึงความรักและความเอาใจใส่ ที่ลูกน้องสามารถรู้สึกได้ทันที และความสัมพันธ์ที่ดีก็จะนำมาสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และนำไปสู่ความเชื่อใจกัน เมื่อเรามีความเชื่อใจซึ่งกันและกันแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็จะเป็นไปด้วยดี ไม่ว่างานนั้นจะเป็นอย่างไร พนักงานก็จะมีแรงจูงใจในการทำงานและสร้างผลงานให้กับหน่วยงานและองค์กรด้วย ความเต็มใจ

ลองพิจารณาเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในการทำงานที่ว่า พนักงานลาออกจากบริษัท ก็เพราะไม่ได้รับการดูแลจากหัวหน้างาน หรือไม่ก็เพราะหัวหน้างานลำเอียง เห็นมั้ยครับ นี่คืออิทธิพลของความรักทั้งสิ้น

ยิ่งไปกว่านั้น คนบางคน ยังยอมที่จะไม่มีชีวิตอยู่อีกต่อไป เพียงเพราะว่าขาดความรักจากคนที่รักเรานั่นเอง เห็นแบบนี้แล้วก็อย่าลืมให้ความรักแก่พนักงานทุกคนที่คุณดูแลนะครับ มิฉะนั้นแล้วคุณอาจจะเสียพนักงานมือดีไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้ครับ


Create Date : 19 มกราคม 2554
Last Update : 19 มกราคม 2554 6:45:28 น. 3 comments
Counter : 1236 Pageviews.  

 
ภาษาพุทธเรียก ฉันทะ นั่นเองนะคะ

ขอบคุณค่ะ


โดย: ดวงลดา วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:15:25:22 น.  

 
ปล. ฉันทะ คือพนง. รักในสิ่งที่ทำ

แต่หัวหน้างานที่รักลูกน้อง คงต้องเรียกว่า เมตตาธรรม นะคะ


โดย: ดวงลดา วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:15:26:22 น.  

 
ฉันทะ


โดย: ก้อย (lonelygirlzaza ) วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:18:23:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]