All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
2 พฤศจิกายน 2564
 
All Blogs
 
*** ร่างทรง *** ความเหมือนของ "กรรม" และ "อำนาจ"

*** ร่างทรง ***






+++ เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ +++

+++ ใครยังไม่ได้ดูไม่ควรอ่านด้วยประการทั้งปวง +++



หมายเหตุ: เป็นการตีความส่วนตัว เนื่องจากไม่อาจทราบแน่ชัดได้ว่าตัวหนังตั้งใจนำเสนอประเด็นเหล่านี้อย่างจงใจหรือไม่



************
HIGHLIGHT
************



ร่างทรงมี 2 ประเด็นที่น่าสนใจ



1. มันว่าด้วยการที่คนรุ่นใหม่ต้องรับกรรมจากคนรุ่นก่อนหน้า ทั้งที่ไม่ได้ก่อไว้
เหมือนสิ่งที่รุ่นต้นตระกูล “ยะสันเทียะ” ได้ก่อกรรมทำไว้ ส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างมิ้ง ที่ต้องมารับกรรมที่เธอไม่ได้เป็นผู้ก่อ

ซึ่งมันเป็นประเด็นสากลที่เข้าใจได้ไม่ยาก เช่น คนรุ่นเก่าทำลายสิ่งแวดล้อม คนรุ่นใหม่ก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมอันย่ำแย่จากน้ำมือคนรุ่นเก่า



2. ประเด็นว่าด้วย “ค่านิยมการสืบทอดอำนาจผ่านทางสายเลือด”
การเป็นร่างทรงของย่าบาหยัน ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ถือเป็นอำนาจมหาศาลที่ผู้เป็นร่างทรงจะได้รับทั้งในแง่การเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน รวมถึงพลังอำนาจพิเศษบางประการที่เหนือมนุษย์

แต่อำนาจนี้กลับถูกส่งผ่านทางสายเลือดเท่านั้น โดยไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติอื่นๆที่เหมาะสม

เราจะพบว่า มิ้ง คือตัวเลือกในการสืบทอดร่างทรงย่าบาหยัน ทั้งที่คุณสมบัติของเธอดูแล้วไม่เหมาะสม

ไม่ว่าจะเป็นการผิดผีได้เสียกับพี่ชายตัวเอง ที่สำคัญก็คือ เธอไม่ศรัทธาในย่าบาหยันแม้แต่น้อย





จากสองประเด็นข้างบนคือสิ่งที่หนังบอกเราว่า


“กรรม” และ “อำนาจ” คือสิ่งที่สามารถถ่ายทอดทางสายเลือดได้



ซึ่งนี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง พบเห็นได้ง่าย และไม่มีใครสามารถปฏิเสธการมีอยู่ของมันได้



คำถามคือ มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่


มันเหมาะสมหรือไม่ที่คนที่ไม่ได้กระทำต้องมารับกรรมที่คนอื่นก่อไว้

มันเหมาะสมหรือไม่ที่อำนาจถูกส่งต่อผ่านสายเลือด





แม้ร่างทรงจะมีจุดด้อยที่ทำให้หนังไปได้ไม่สุดอย่างที่ควรจะเป็น

แต่แค่นี้หนังก็เป็นความระทึกขวัญที่น่าประทับใจ ในแบบที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ
ซึ่งจุดแข็งมาจากทีมนักแสดงที่มอบการแสดงอันยอดเยี่ยม

รวมถึงการเล่าเรื่องที่ค่อยๆไต่ระดับความระทึกก่อนจะระเบิดความบ้าคลั่งในช่วงสุดท้าย
นั่นทำให้ “ร่างทรง” เป็นหนังที่มอบประสบการณ์ที่น่าจดจำได้อย่างดีมากเรื่องหนึ่ง






************
บทความเต็ม
************



จากพล็อตเรื่องที่ลงรายละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบไว้แล้วของผู้กำกับ Na Hong-jin แต่เขาตัดสินใจที่จะไม่เอามาทำเป็นหนัง เนื่องจากมีคล้ายคลึงกับผลงานก่อนหน้านี้ของตัวเองอย่าง The Wailing อยู่มากพอสมควร

บทหนังเรื่องนี้จึงถูกส่งมาให้ ผู้กำกับ บรรจง ปิสัญธนะกูล เพื่อนำมาดัดแปลงให้เข้ากับบริบทของไทย จนกลายเป็นหนังเรื่องร่างทรงในที่สุด



ร่างทรงคือหนัง Mockumentary (เรื่องแต่งที่พยายามทำตัวเป็นสารคดี) โดยเล่าเรื่องผ่าน footage ของทีมสารคดีทีมหนึ่ง ที่เข้าไปตามติดชีวิตของ นิ่ม (สวนีย์ อุทุมมา) ร่างทรงย่าบาหยัน ก่อนจะเปลี่ยนไปตามติดชีวิต มิ้ง (นริลญา กุลมงคลเพชร) หลานสาวของนิ่ม เนื่องจากมีสัญญาณว่า เธอกำลังจะถูกถ่ายทอดการเป็นร่างทรงย่าบาหยันต่อจากนิ่ม

แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นอย่างที่ทุกคนคิด





มาสรุปเรื่องราวกันก่อน

ย่าบาหยันคือจิตวิญญาณบรรพบุรุษที่คอยดูแลชาวบ้านแถบนี้มาช้านาน โดยย่าบาหยันจะอาศัย “ร่างทรง” เพื่อเป็นตัวกลางในการปฏิบัติ “ภารกิจ” ดูแลลูกหลาน

นิ่ม คือ ร่างทรงของย่าบาหยันคนปัจจุบัน ซึ่งอันที่จริงแล้วตำแหน่งนี้ต้องเป็นของ น้อย (ศิราณี ญาณกิตติกานต์) พี่สาวของเธอ แต่น้อยปฏิเสธย่าบาหยันและหนีไปนับถือศาสนาคริสต์ ย่าบาหยันเลยต้องใช้ร่างของนิ่มแทน

มิ้ง คือลูกสาวของน้อยกับวิโรจน์แห่งตระกูล “ยะสันเทียะ”

มิ้งมีอาการประหลาดเหมือนกำลังจะถูกเข้าสิง เริ่มแรกทุกคนคิดว่าอาจจะเป็นย่าบาหยันที่กำลังจะเปลี่ยนถ่าย “ร่างทรง” จากร่างของนิ่มมาเป็นร่างของมิ้ง

แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่เข้ามายึดร่างมิ้งคือบรรดาวิญญาณคนตายที่มีความแค้นต่อตระกูลยะสันเทียะ เนื่องจากต้นตระกูลยะสันเทียะมีอาชีพเป็นเพชฌฆาต รวมถึงวิญญาณของสุนัขอีกจำนวนมากเนื่องจากบ้านของน้อยและมิ้งทำธุรกิจขายเนื้อสุนัข

ครอบครัวของมิ้งต้องหันไปพึ่ง หมอผีสันติ (บุญส่ง นาคภู่) ให้เข้ามาช่วยไล่วิญญาณร้ายออกจากร่างของมิ้ง

แต่ก็ไม่เป็นผล สุดท้ายตระกูลยะสันเทียะถูกทำลายลงจนย่อยยับ







หนังมี 2 ประเด็นใหญ่ๆที่น่าสนใจ เรามาพิจารณากัน



1.

แม้จุดขายของหนังคือการขายความระทึกไปกับการค้นหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับมิ้งกันแน่ และขายความน่ากลัวผ่านบรรยากาศที่ดูจริงและภาพชวนขนลุกทั้งหลาย
แต่ประเด็นหลักของหนังคือการบอกกับผู้ชมว่า



“ผลกรรมหรือผลของการกระทำที่คนรุ่นก่อนได้สร้างไว้ ย่อมส่งผลต่อคนรุ่นใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

[สิ่งที่รุ่นต้นตระกูลยะสันเทียะได้ทำไว้ ส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างมิ้ง ทั้งที่เธอไม่ได้เป็นผู้กระทำ]



จะว่าไปอันนี้คือประเด็นสากลที่เข้าใจได้ไม่ยาก เช่น คนรุ่นเก่าทำลายสิ่งแวดล้อม คนรุ่นใหม่ก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมอันย่ำแย่ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อม



หนังยังแสดงให้เห็นว่าผลของการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วไม่มีทางยุติลงได้ จนกว่าจะไม่มีคนรุ่นใหม่อีกต่อไป

[ตระกูลยะสันเทียะถูกตามเล่นงานมาตั้งแต่ รุ่นปู่ที่ถูกคนงานเอาหินขว้างตาย, พ่อของวิโรจน์ที่ฆ่าตัวตาย, วิโรจน์เองเป็นมะเร็งตาย, แมคลูกชายตายจากอุบัติเหตุ จนสุดท้ายน้อยที่เป็นภรรยาและมิ้งที่เป็นลูกสาวก็ไม่รอด]





มองในเชิงโครงสร้าง

การกระทำในอดีตของบรรพบุรุษ ยังคงไม่หายไปไหนแม้จะมองไม่เห็น แม้พวกเขาจะตายไปแล้วแต่ผลของการกระทำนั้นยังคงอยู่ นั่นคือความหมายเชิงอุปมาอุปไมยของ “วิญญาณ” หรือ “ผี” ในอีกแง่มุมหนึ่ง



ผลของการกระทำ = ผี, วิญญาณ



และผลของการกระทำของคนรุ่นก่อน ต่างก็มีผลกระทบต่อคนรุ่นถัดไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราวกับเป็นวิญญาณที่ถ่ายทอดสิ่งสู่จากรุ่นสู่รุ่น



ซึ่งจากสิ่งที่นำเสนอให้เห็นในหนังเราสามารถพูดได้ว่า

คนรุ่นถัดไปก็คือ “ร่างทรง” ของผลกรรมเหล่านั้น และมันจะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ
ซึงเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยได้ว่า



ร่างทรง = คนรุ่นปัจจุบันที่ต้องรับผลของการกระทำจากอดีต






2.

หนังยังมีประเด็นว่าด้วย “ค่านิยมการสืบทอดอำนาจผ่านทางสายเลือด”



ย่าบาหยัน คืออำนาจของการเป็นศูนย์รวมจิตใจที่ชาวบ้านเคารพศรัทธา
การสืบทอดการเป็นร่างทรงของย่าบาหยันถูกสงวนสิทธิ์เฉพาะตระกูลของนิ่ม (และเพศของผู้สืบทอดก็กำหนดไว้เพียงเพศเดียวเท่านั้น)

และเราจะพบว่ามันมีมีกฎกติกากำหนดลำดับความสำคัญไว้ชัดเจน
เช่น เมื่อ "น้อย" ในฐานะ “พี่” ปฏิเสธตำแหน่งร่างทรง ตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ "นิ่ม" ผู้เป็น “น้อง”

จากลำดับขั้นแล้ว ร่างทรงคนต่อไปก็คือ มิ้ง



คำถามก็คือ แล้วความเหมาะสมของคนที่จะเป็นร่างทรงคนต่อไปตามกฎการถ่ายทอดอำนาจทางสายเลือดอย่างมิ้ง จำเป็นต้องพิจารณาความประพฤติด้านอื่นด้วยหรือไม่

เพราะมิ้งมีความสัมพันธ์กับแมคที่เป็นพี่ชายแท้ๆของตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมตามค่านิยมในสังคม

รวมถึงความจริงที่ว่า มิ้งไม่เคยศรัทธาในย่าบาหยันแม้แต่น้อย



มิ้ง ยังสมควรได้เป็นร่างทรงของย่าบาหยันหรือไม่ ?



และกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับมิ้งในหนัง ก็เป็นคำถามที่น่าสนใจอีกข้อว่า แล้วเราจะมั่นใจว่าได้อย่างไรว่า “วิญญาณ” ที่เข้ามาสิงใน “ร่างทรง” จะเป็นวิญญาณของย่าบาหยันจริงๆ เพราะมีวิญญาณอื่นๆอีกมากมายต่างก็ต้องการเข้ามาหาประโยชน์ผ่านร่างทรง เหมือนกับที่มิ้งต้องเผชิญในเรื่อง



นี่คือจุดด้อยของ “ค่านิยมการสืบทอดอำนาจผ่านทางสายเลือด”

ทั้งเรื่องการคัดเลือก “ร่างทรง” ที่เหมาะสมนั้นไม่สามารถทำได้นอกเหนือจากตัวเลือกที่กำหนดไว้ทางสายเลือด

รวมถึงการตรวจสอบ “วิญญาณ” ที่เข้ามาอยู่ในร่างทรงนั้นทำได้ไม่ง่ายเลย ถ้าไม่มีพลังอำนาจที่ทัดเทียมกัน






เมื่อสรุปรวมสองประเด็น เราจะพบว่า



“กรรม” และ “อำนาจ” ถูกถ่ายทอดผ่านทางสายเลือด



ซึ่งนี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง พบเห็นได้ง่าย และไม่มีใครสามารถปฏิเสธการมีอยู่ของมันได้





แต่คำถามที่น่าสนใจกว่า หลังจากที่หนังนำเสนอชะตากรรมอันน่าสงสารของตัวละครทั้งหลายในเรื่อง ก็คือ



มันเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือไม่ที่คนรุ่นใหม่ต้องรับกรรมที่คนรุ่นก่อนหน้าได้ก่อไว้

เช่นเดียวกัน มันเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือไม่ที่อำนาจถูกส่งต่อผ่านสายเลือด






มาในส่วนของการวิจารณ์กันบ้าง



ความยอดเยี่ยมของหนังคือ การที่มันค่อยๆไล่ระดับความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ก่อนจะระเบิดความบ้าคลั่งในช่วงสุดท้าย


ต้องชมไปที่การแสดงของทีมนักแสดงหลักของเรื่องที่แสดงได้อย่างน่าเชื่อและดึงอารมณ์ร่วมของผู้ชมให้จดจ่อไปกับเรื่องราวได้ตลอด โดยเฉพาะบท นิ่ม ที่ได้ยอดฝีมือจากวงการละครเวทีอย่าง สวนีย์ อุทุมมา มารับบทนี้


น่าเสียดายแทน นริลญา กุลมงคลเพชร ที่รับบทเป็นมิ้ง ซึ่งเราเห็นพัฒนาการมาตลอดตั้งแต่ต้นเรื่องจนกลางเรื่อง แต่ในตอนสุดท้ายบทหนังก็เปิดโอกาสให้เธอทำได้แค่อาละวาดเป็นวิญญาณร้ายเท่านั้น



หลังจากเน้นความสมจริงในรูปแบบ Mockumentary มาจนเกือบจบเรื่อง ในตอนสุดท้ายการมีอยู่ของตากล้องกลับกลายเป็นส่วนที่ทำลายความสมจริงนั้นลง ด้วยความพยายามขายฉากสยองขวัญทางกายภาพโดยไม่จำเป็น

(เช่นฉากที่ตากล้องควรวิ่งหนีไปซะ หรือไม่ก็พบจุดจบแบบที่ควรจะเป็น แต่ก็หนังยัดเยียดฉากสยดสยองเข้ามาผ่านการกระทำของตากล้องได้แบบไม่เนียนเอาเสียเลย ไม่ว่าจะเป็นการพยายามถ่ายภาพต่อ หรือการแพนกล้องถ่ายความสยดสยองในเวลาที่ไม่ควร)





อันที่จริงการกำเนิดขึ้นของหนังเรื่องนี้เองก็มี concept เดียวกับเนื้อหาของมัน
เพราะมันแป็นการเอาบทภาพยนตร์ของ Na Hong-jin (วิญญาณ) มาดัดแปลงแล้วถ่ายทอด (เข้าทรง) ให้เป็นเรื่องราวตามความเชื่อของไทย (ร่างทรง)

คล้ายกับการอันเชิญวิญญาณที่เป็นบทหนังฉบับเกาหลี มาอยู่ในร่างทรงที่เป็นค่านิยมแบบไทย (แต่ยังมีประเด็นที่เป็นสากล)



อีกอย่างที่คล้ายกันก็คือ (ความรู้สึกส่วนตัว)

ในช่วงแรกที่ดูก็คิดไปว่ามีตัวละครตากล้องเพียงคนเดียวที่มาเก็บภาพของมิ้งและนิ่ม แต่สุดท้ายกลายเป็นว่ามีตากล้องหลายคน

ซึ่งก็สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่ดูไปในช่วงแรกก็คิดว่ามีผีร้ายเข้าสิงมิ้งแค่ตัวเดียว แต่สุดท้ายกลายเป็นว่ามีผีหลายตัว






โดยภาพรวมแล้ว "ร่างทรง" เป็นหนังที่มอบประสบการณ์ที่น่าจดจำในแบบที่ยากจะลืม


แม้ร่างทรงจะมีจุดด้อยที่ทำให้หนังไปได้ไม่สุดอย่างที่ควรจะเป็น

แต่แค่นี้หนังก็เป็นความระทึกขวัญที่น่าประทับใจ ในแบบที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ






8 / 10





Create Date : 02 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2564 20:04:31 น. 9 comments
Counter : 2892 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**, คุณอุ้มสี, คุณnewyorknurse, คุณกิ่งฟ้า, คุณSertPhoto


 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 3 พฤศจิกายน 2564 เวลา:9:22:43 น.  

 
ขอบคุณคุณ **mp5** มากครับ


โดย: navagan วันที่: 3 พฤศจิกายน 2564 เวลา:22:15:31 น.  

 
เป็นหนังที่อุ้มไม่คิดจะดูเลยค่ะ
อิอิอิ
ไม่ได้แต่ไม่ชอบหนังแบบนี้ค่ะ
อ่านทุกคำเลยค่ะ
วิจารณ์แบะวิเคราะห์หนัง
ได้ยอดเยี่ยม


โดย: อุ้มสี วันที่: 5 พฤศจิกายน 2564 เวลา:18:53:14 น.  

 
แวะมาชม ร่างทรง ค่ะ เป็นหนังที่น่าดูอีกเรื่องนะคะถ้าเราอยากรู้แค่ความเชื่อและภาพของผี วิญญาณที่น่ากลัว

วิจารณ์เนื้อเรื่อง ฉาก และกรถ่ายทำได้ดีค่ะ

มีความสุขวันจันทร์นะคะ



โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 8 พฤศจิกายน 2564 เวลา:11:05:03 น.  

 
ขอบคุณคุณอุ้มสี กับคุณกิ่งฟ้า ที่เข้ามาอ่านครับ


โดย: navagan วันที่: 9 พฤศจิกายน 2564 เวลา:22:35:07 น.  

 
วิจารณ์ได้ละเอียดดีมากครับ


โดย: SertPhoto วันที่: 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา:7:50:53 น.  

 
ขอให้รวยและปังปูลิเย่นะคะ
แฮปปี้แฮปปี้
ตลอดปีและตลอดไป
สุขสันต์วันเกิด
และลาทีปีเก่าสวัสดีปีใหม่ค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 29 ธันวาคม 2564 เวลา:10:36:12 น.  

 
สวัสดีปีเสือนะคะ
ขอให้ปีนี้เป็นทีของเสือของคุณค่ะ
มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 1 มกราคม 2565 เวลา:12:02:14 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับ


โดย: SertPhoto วันที่: 2 มกราคม 2565 เวลา:0:21:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.