All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
12 มกราคม 2559
 
All Blogs
 
*** The Hateful Eight *** ความสำคัญของกฎ

*** The Hateful Eight ***






ผลงานเรื่องล่าสุดของผู้กำกับ/เขียนบท Quentin Tarantino ที่เล่าเรื่องราวของกลุ่มคนอันหลากหลายที่ต้องมาติดอยู่ในบ้านพักกลางป่า ในฤดูหนาวของ Wyoming ในช่วงเวลาประมาณ 10 ปีหลังจากสงครามกลางเมืองของ America

(สงครามกลางเมืองเกิดในปี 1861 เมื่อรัฐฝ่ายใต้ไม่พอใจที่รัฐบาลกลางของประธานาธิบดี Abraham Lincoln มีนโยบายเลิกทาส เพราะฝ่ายใต้จำเป็นต้องใช้แรงงานทาสมากกว่าเนื่องจากเป็นสังคมเกษตกรรม สุดท้ายสงครามจบในปี 1865 ด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐบาลกลาง)



ซึ่งนอกจากจะเป็นช่วงเวลาที่ต่อมาจาก Django Unchained ผลงานของ Tarantino ชิ้นก่อนหน้าที่เล่าเรื่องในช่วง2 ปีก่อนสงครามกลางเมือง ประเด็นของหนังบางส่วนก็ต่อเนื่องมาจาก Django Unchained

สนใจอ่านบทความเก่าของผมที่เขียนถึง Django Unchained ที่ว่าด้วยการวิพากษ์วิจารณ์คนขาว ด้วยการให้คนดำมารับบทคนขาวได้ตาม link นี้ครับ

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=navagan&month=03-2013&date=21&group=2&gblog=114



จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญครับยังไม่ได้ดูแนะนำว่าอย่าเพิ่งอ่าน







เนื่องจากหนังไม่ได้เล่าตามลำดับเวลา จึงขอเล่าเรื่องย่อแบบคร่าวๆเพื่อทบทวนตามลำดับเวลาอีกครั้ง



ผู้พัน Marquis Warren (Samuel L. Jackson) อดีตทหารฝ่ายเหนือผู้ผันตัวมาเป็นนักล่าค่าหัว ขออาศัยรถม้าของ John Ruth (Kurt Russell) นักล่าค่าหัวฉายา “The Hangman” ที่กำลังพาตัว Daisy Domergue (Jennifer Jason Leigh) นักโทษหญิงเจ้าของค่าหัวหมื่นเหรียญเพื่อไปขึ้นเงินที่ Red Rock

ระหว่างทางทั้งคู่ให้ Chris Mannix (Walton Goggins) ผู้อ้างว่าจะไปรับตำแหน่งนายอำเภอคนใหม่ที่ Red Rock ร่วมเดินทางไปด้วย โดยจุดพักถัดไปก่อนถึง Red Rock คือ “ร้านของ Minnie”


ขณะเดียวกัน แก๊งโจรของ Domergue อันประกอบด้วย Bob (Demian Bichir), Oswaldo Mobray (Tim Roth), Joe Gage (Michael Madsen) และ Jody Domergue (Channing Tatum) ได้ฆ่าคนที่ร้าน Minnie ทั้งหมด ยกเว้นก็แต่ นายพล Sandy Smithers (Bruce Dern) อดีตทหารฝ่ายใต้ที่ให้ความร่วมมือ

จากนั้นทั้งหมดจึงสวมรอยเป็นแขกและพนักงานที่ร้าน Minnie เพื่อรอชิงตัว Daisy ที่กำลังจะเดินทางมาถึง







ด้วยฉากหลังและบทสนทนาในหนัง เราจะพบว่า นี่คือการวิพากษ์วิจารณ์ America ในยุคหลังสงครามกลางเมืองและการเลิกทาส ซึ่งอาจเลยมาถึงยุคปัจจุบันด้วย



Model ของหนังแบบหลวมๆ ว่ากันตั้งแต่สมัยยุคบุกเบิกที่มีการค้นพบทวีป America จากนั้นเข้ามาแย่งชิงแผ่นดินจากชนพื้นเมือง ก่อนจะสร้างชาติใหม่ แล้วเกิดปัญหาแตกแยกเป็นสงครามกลางเมือง


America = ร้าน Minnie

กลุ่มคนต่างถิ่นเข้ามายึดครอง America = คนนอกเข้ามายึดร้าน Minnie

กลุ่มคนต่างถิ่นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย = กลุ่มคนนอกที่อยู่ในร้านแยกเป็น 2 ฝ่าย






เหมือนที่ Oswaldo (ที่อ้างว่า) เป็นเพชรฆาต อธิบายถึง “ความยุติธรรม” ไว้ช่วงกลางเรื่องว่า



“เพชรฆาตที่ดึงคันโยกเพื่อแขวนคอคุณโดยปราศจากอคติ ทำมันเพียงเพราะมันเป็นแค่หน้าที่ นี่คือแก่นของความยุติธรรม แต่ความยุติธรรมที่มาพร้อมกับอคติ มันคือความสุ่มเสี่ยงที่จะไม่ยุติธรรม”


พูดให้ง่ายก็คือ การตัดสินหรือกระทำการสิ่งใดโดยปราศจากอคติ ทำมันลงไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ สิ่งนี้คือหัวใจของความยุติธรรม



"กฎ" คือสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อควบคุม และบางครั้งกฎก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรักษาความยุติธรรม


ดังนั้นเราจะพบว่าเมื่อคนต่างเชื้อชาติ ต่างความคิด ที่อยู่ในร้านของ Minnie ปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎที่พวกเขาเพิ่งตั้งขึ้นมา พวกเขาก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและปลอดภัย







แต่กฎไม่ได้หมายถึงความยุติธรรมเสียทีเดียว เพราะมันสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการละเมิดกฎได้ ถ้ารู้จักใช้กฎนั้น



เหมือนอย่างที่ ผู้พัน Warren สร้างความชอบธรรมในการฆ่า นายพล Smithers ด้วยการยั่วยุให้นายพล Smithers จับปืน แล้วยิงเขาตาย แล้วอ้างกฎหมายว่า “ป้องกันตัว”


เช่นกัน การที่ผู้พัน Warren เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายเหนือ ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาสามารถฆ่าคนขาวทางใต้ ที่เขาเกลียดชังได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย



นี่เป็นการสะท้อนคำพูดของ Oswaldo ที่บอกว่า



“ความยุติธรรมที่มาพร้อมกับอคติ มีความสุ่มเสี่ยงที่จะไม่ยุติธรรม”






John Ruth อาจไม่ใช่คนดีแต่เขาก็เคารพกฎ และเชื่อมั่นในความยุติธรรม แม้เขาจะสามารถฆ่านักโทษแล้วค่อยไปขึ้นเงินทีหลัง ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย และได้เงินเหมือนกัน ตามแบบที่ผู้พัน Warren แนะนำ


แต่ Ruth เลือกที่จะเสี่ยงชีวิต พาคนร้ายที่เขาเกลียดชังไปจัดการตามกฎหมายและความยุติธรรมที่เขาเชื่อมั่น



แม้จะมีอคติและความเกลียดชัง แต่ Ruth ก็ยังเคารพในความยุติธรรม เคารพในกฎ
นี่เองที่ทำให้ Ruth เป็นเหมือนด้านตรงข้ามกับผู้พัน Warren ในแง่ของการใช้กฎและมุมมองต่อความยุติธรรม







ตามเนื้อหาในหนัง กฎยังมีความสำคัญในการสืบค้นความจริงอีกด้วย เพราะการจะหาตัวว่าใครคือคนร้าย สามารถทำได้โดยหาว่าใครทำผิดกฎ (หรือในทางกลับกัน คนที่ทำผิดกฎก็ย่อมมีความผิดอยู่แล้วนั่นเอง)


ในหนังเราจะพบว่าผู้พัน Warren จับคนร้ายที่ฆ่าคนในร้าน Minnie ได้ เพียงดูว่าใครไม่ทำตามกฎ

ซึ่งนั่นก็คือ Bob ชาว Mexican ผู้ละเมิดกฎเหล็กของร้าน Minnie ที่มีอยู่ว่า “ห้ามหมาและคน Mexican เข้าร้าน”







การเคารพกฎยังถูกนำเสนอในฉากสุดท้าย เมื่อคนต่างสีผิว ต่างความคิดทางการเมือง อย่างผู้พัน Warren (ผิวสี, ฝ่ายเหนือ) และ Mannix (ผิวขาว, ฝ่ายใต้) สดุดีกฎหมายตามที่ Ruth เชื่อมั่นมาตลอดด้วยการประหารชีวิต Daisy ด้วยการแขวนคอ ทั้งที่จะยิงเธอทิ้งก็ทำได้ง่ายดาย



จดหมายปลอมที่ผู้พัน Warren อ้างว่า ประธานาธิบดี Lincoln เขียนถึงเขาในฐานะเพื่อนนั้นก็มีประเด็นที่น่าสนใจ


แม้ “ความเป็นเพื่อนของคนดำและคนขาว” ของประธานาธิบดี Lincoln และผู้พัน Warren จะไม่ใช่เรื่องจริง แต่เมื่อเคารพกฎที่ให้ความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคนผิวสีใดหรือชนชาติไหน ก็อาจกลายมาเป็นเพื่อนกันได้จริงๆ


เหมือนกรณี “ความเป็นเพื่อนของคนดำและคนขาว” ของ ผู้พัน Warren และ Mannix ในตอนสุดท้าย



บางทีกฎที่ยุติธรรม อาจเป็นเครื่องมือสร้างมิตรภาพได้






The Hateful Eight ยังคงเอกลักษณ์การเล่าเรื่องอันโดดเด่นของผู้กำกับ Quentin Tarantino

ประเด็นต่างๆถูกนำเสนอผ่านบทสนทนาที่คมคายแต่แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขัน



เนื้อเรื่องที่ว่าด้วยการหาตัวคนทำผิดท่ามกลางอากาศหนาวจัดในพื้นที่แคบ บวกกับงานกำกับภาพของ Robert Richardson และดนตรีประกอบของ Ennio Morricone ทำให้นึกไปถึงหนังปี 1982 อย่าง The Thing

ส่วนเรื่องราวของคนต่างความคิดในโลกสีเทา ต้องมาร่วมมือกันในตอนสุดท้ายเพื่อความยุติธรรมทำให้นึกไปถึงหนังอย่าง L.A. Confidential



นักแสดงทั้งหลายสร้างตัวละครที่ยอดเยี่ยมตามมาตรฐานของตัวละครในหนังของ Tarantino

น่าเสียดายก็ตรงที่ไม่มีใครโดดเด่นและยอดเยี่ยมเท่ากับตัวละครในหนังเรื่องอื่นของ Tarantino







แม้จะไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดของ Quentin Tarantino แต่ The Hateful Eight ยังเป็นหนังที่ยอดเยี่ยม


หนังว่าด้วยความสำคัญของกฎและความยุติธรรมที่สามารถทำให้คนต่างสีผิว ต่างเชื้อขาติ ต่างความคิด สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ แม้พวกเขาจะเกลียดกันแค่ไหนก็ตาม





9 / 10 ครับ




Create Date : 12 มกราคม 2559
Last Update : 12 มกราคม 2559 23:15:21 น. 3 comments
Counter : 4000 Pageviews.

 
เป็นหนึ่งในเรื่องที่ชอบของเควนตินเช่นกันครับ


โดย: มังกรแดง IP: 49.49.246.75 วันที่: 17 มกราคม 2559 เวลา:8:33:48 น.  

 
ส่วนผมนี่ชอบทุกเรื่อง มากน้อยต่างกันไปครับ


โดย: navagan วันที่: 17 มกราคม 2559 เวลา:13:02:09 น.  

 
กระทู้ที่ตั้งใน pantip

//pantip.com/topic/34668442


โดย: navagan วันที่: 17 มกราคม 2559 เวลา:13:04:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.