All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
21 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
*** Shin Godzilla *** นิวเคลียร์และภัยธรรมชาติเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือรัฐบาล (1)

*** Shin Godzilla ***






Godzilla ภาคใหม่จากมุมมองของผู้กำกับ/เขียนบท Hideko Anno (ที่ร่วมกำกับโดย Shinji Higushi) ถือเป็นมุมมองที่น่าสนใจ และช่วยเพิ่มความหมายเชิงสัญลักษณ์ของ Godzilla ให้ขยายไปไกลกว่าภัยธรรมชาติหรือมหันตภัยจากนิวเคลียร์


สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่าหนังเลือกที่จะเล่าผ่านมุมมองของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องหาวิธีรับมือกับ Godzilla สัตว์ประหลาดยักษ์ที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน



ดังนั้นหลายคนอาจจะเข้าใจว่านี่คงเป็นหนังการเมือง ซึ่งก็ไม่ผิด แต่นี่ไม่ใช่หนังที่ว่าด้วยการเมืองในแง่ของ “การเล่นเกมการเมือง” เพียงอย่างเดียว แต่มันว่าด้วยการเมืองในแง่ของ “การบริหารบ้านเมือง” ในวิกฤตการณ์ร้ายแรง ซึ่งญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่ต้องรับมือกับเรื่องเหล่านี้บ่อยกว่าประเทศอื่นๆในโลก







ครึ่งแรกของหนังคือการนำเสนอวิธีรับมือ Godzilla ของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อนหลายระดับ ซึ่งหนังนำเสนอในแง่มุมที่ทั้งจริงจังทั้งเสียดสีอยู่ในที


ฉากที่ทั้งจริงจังทั้งเสียดสีอันน่าจดจำอยู่ที่ฉากการ “ขออนุมัติคำสั่งยิง” ที่ถูกถ่ายทอดมาจากทหารในแนวหน้าจนมาถึงนายกรัฐมนตรีนั้นต้องผ่านคนหลายตำแหน่งหลายระดับชั้น


เอาแค่ในห้องประชุมกว่าข้อมูลจะถึงตัวนายกรัฐมนตรีได้นั้นก็ใช้คนกว่า 3 คนไปแล้ว

(คนรับสาส์นในห้องประชุมส่งข้อมูลให้ ผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศ => ผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศ กระซิบบอกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม => รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแจ้งต่อนายกรัฐมนตรี)



ทั้งที่จริงแล้วคนรับสารในห้องประชุมจะแจ้งโดยตรงถึงนายกรัฐมนตรีเลยก็ได้ หรือจะให้ผู้บัญชาการภารกิจที่แนวหน้าต่อสายตรงมาถึงนายกรัฐมนตรีเลยก็ยังได้



การตัดสินใจอย่างรอบคอบและรัดกุมคือสิ่งที่จำเป็นในการตัดสินใจที่จะส่งผลถึงชีวิตของผู้คนและความเสียหายต่อบ้านเมือง

แต่ที่ไม่จำเป็นคือระบบอาวุโสและลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนของระบบราชการ (และสังคม) ของญี่ปุ่น ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างล่าช้า







ต่างจากสิ่งที่ Rando Yagushi (Hiroki Hasegawa) รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีปฏิบัติ

Rando มักจะโพล่งข้อมูลและความคิดเห็นขึ้นมาให้นายกรัฐมนตรีฟังโดยตรง โดยไม่ผ่านหัวหน้าของเขาซึ่งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งนั่นทำให้เขาถูกตักเตือนจากบรรดารัฐมนตรีทั้งหลาย รวมถึง Hideki Akasaka (Yutaka Takenouchi) ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรี อยู่เป็นประจำ



ไม่ใช่ว่า Rando ละเลยข้อมูลก่อนตัดสินใจอย่ารวดเร็ว (ซึ่งเขาไม่มีสิทธ์ตัดสินใจอยู่แล้ว) เขาเพียงแค่เลือกที่จะลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลงไปเท่านั้น แม้มันจะเป็นการข้ามหน้าข้ามตาบรรดานักการเมืองอาวุโสทั้งหลายก็ตามที



อย่างไรก็ตาม Rando ได้โอกาสตั้งทีมพิเศษเพื่อแก้ไขสถานการณ์ขึ้นมา และกฏที่เขาให้กับลูกทีมในการประชุมครั้งแรกว่า “ถึงแม้จะแบ่งหน้าที่ตามส่วนงาน และมีหัวหน้าทีมคอยรับผิดชอบ แต่เราจะไม่มีลำดับขั้นอาวุโส ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ใครเจออะไรน่าสนใจให้มาแชร์กันได้เลย”

นี่แสดงถึงระบบการทำงานที่ต่างกับรัฐบาลญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง



ไม่นานทีมของ Rando ได้รับการติดต่อจากสหรัฐอเมริกา ผ่าน Kayoko Ann Patterson (Satomi Ishihara) ที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์ครั้งนี้


หนังยังใช้ลักษณะของตัวละคร Kayoko เพื่อแสดงให้เห็นว่า อเมริกาสนใจที่ความสามารถและความเหมาะสมมากกว่าระบบอาวุโสแบบญี่ปุ่น เพราะ Kayoko คือผู้หญิงอายุน้อยแต่มีความสามารถและเหมาะสม ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะมีบทบาทในการร่วมทีมกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่เน้นระบบอาวุโส







เมื่อหนังผ่านไปครึ่งเรื่อง เราจะพบว่าคณะรัฐบาลญี่ปุ่นถูกกำจัดไปแทบจะหมดสิ้น (บางทีบรรดาคณะรัฐมนตรีอาจจะทำงานตามขั้นตอนมากเกินไปจนหนีกันไม่ทัน)



แต่ระบบอาวุโสก็ยังคงทำงานของมันต่อไป ด้วยการแต่งตั้ง "รักษาการนายกรัฐมนตรี" ขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถและความเหมาะสมกับสถานการณ์เลยแม้แต่น้อย


เพราะรักษาการนายกรัฐมนตรีที่ถูกแต่งตั้งใหม่ก็คือ "รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร" ที่ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แถมถ้าใครจำได้ว่าช่วงแรกที่มีการประชุมรับมือกับ Godzilla นั้น รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้



เหตุผลที่มีการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรรับตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีนั้นเพียงเพราะว่า นี่คือคนที่อาวุโสที่สุดและมีตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดในพรรคที่ยังมีชีวิตอยู่ (ซึ่งเจ้าตัวเองก็ไม่อยากรับตำแหน่ง แต่ต้องจำยอมตามธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม)







ดังนั้น เราสามารถแบ่งกลุ่มตัวละครได้ 3 กลุ่ม

1. คณะรัฐบาลญี่ปุ่น

2. ทีมเฉพาะกิจของ Rando

3. Godzilla



พิจารณาที่ทีมของ Rando ในฐานะตัวละครหลักของเรื่องที่หนังวางไว้เป็นตัวเอก เราจะพบว่า

1. ทั้ง Godzilla และ รัฐบาลญี่ปุ่น ต่างก็เป็นด้านตรงข้ามของกลุ่มของ Rando เหมือนกัน (Godzilla คือศัตรูด้านตรงข้าม, การทำงานของรัฐบาลญี่ปุ่นคือวิธีการที่ตรงกันข้ามกับทีมของ Rando)



และยังพบความคล้ายคลึงเหล่านี้อีกด้วย

2. การบริหารจัดการปัญหาของรัฐบาลญี่ปุ่นเชื่องช้าเหมือนการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าของ Godzilla

3. ซึ่งสาเหตุก็เพราะขนาดที่ “ใหญ่โต” เหมือนกัน (Godzilla ตัวใหญ่จึงเคลื่อนไหวช้า, รัฐบาลองค์กรใหญ่ขับเคลื่อนงานได้ช้า)



และโดยบังเอิญ ชะตากรรมของรัฐบาลญี่ปุ่น และ Godzilla ก็คล้ายกัน

4. ทันทีที่คณะรัฐมนตรีตายยกชุด การทำงานของรัฐบาลก็แทบจะหยุดนิ่ง เช่นเดียวกับ Godzilla ที่แน่นิ่งอยู่ใจกลางเมือง

5. Godzilla ที่หยุดนิ่งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้โตเกียวเป็นเป้าของการโจมตีเพื่อกำจัด Godzilla ซึ่งนี่จะสร้างความเสียหายให้โตเกียวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความนิ่งเงียบของรัฐบาลรักษาการที่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ ทำให้ญี่ปุ่นเป็นเป้าหมายของต่างชาติในการเข้ามาแทรกแซง ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้ญี่ปุ่นทั้งทางความมั่นคงและทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้





จากความคล้ายคลึงข้างต้นทำให้สรุปได้ว่า นอกจาก Godzilla จะทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้และเป็นสัญลักษณ์ของอันตรายจากพลังงานนิวเคลียร์ (ไม่ต่างจากเวอร์ชั่นดั้งเดิมแล้ว) แต่ความหมายที่เพิ่มเติมขึ้นมาก็คือ



Godzilla คือภาพสะท้อนของระบบอาวุโสอันเชื่องช้า ที่นำพาประเทศเข้าสู่อันตราย






(บทความต่อไปจะเขียนถึงวิธีที่กลุ่มของ Rando ใช้แก้ปัญหานั้น สามารถตีความได้อย่างไรและมีแนวคิดอย่างไร)


Create Date : 21 กันยายน 2559
Last Update : 22 กันยายน 2559 17:30:55 น. 4 comments
Counter : 2822 Pageviews.

 
วิเคราะห์ได้ดีมากเลยครับ รออ่านพาร์ทต่อไปอยู่นะครับ


โดย: carlitolemic IP: 223.24.60.132 วันที่: 22 กันยายน 2559 เวลา:11:11:03 น.  

 
เดี๋ยวรีบเอามาลงครับ ตรวจทานอยู่ครับ


โดย: navagan วันที่: 22 กันยายน 2559 เวลา:18:02:54 น.  

 
กระทู้ที่ตั้งใน pantip

//pantip.com/topic/35620247


โดย: navagan วันที่: 22 กันยายน 2559 เวลา:23:21:11 น.  

 
แวะมาทักทายช่วงบ่ายครับ ดูหนังดูหนัง


โดย: สมาชิกหมายเลข 3392476 วันที่: 17 ตุลาคม 2559 เวลา:15:07:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.