All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
กันยายน 2561
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
3 กันยายน 2561
 
All Blogs
 
*** The Equalizer 2 *** ภาพวาดพี่สาว และ กำแพงที่เปรอะเปื้อน

*** The Equalizer 2 ***






ภาคต่อของหนังฮิตปี 2014 ของผู้กำกับ Antoine Fuqua และมือเขียนบท Richard Wenk กลับมาพบกับผู้ชมหลังผ่านไป 4 ปี และแน่นอนว่า Denzel Washington ที่ควบตำแหน่งผู้อำนวยการสร้างก็กลับมาในบท Robert McCall เช่นเคย



กลับมาครั้งนี้ McCall ย้ายที่อยู่อีกครั้ง กับงานใหม่ในฐานะคนขับรถรับส่งผู้โดยสารอิสระ (สังกัด Lyft ที่ดำเนินธุรกิจคล้ายๆ Uber) โดย McCall ก็ยังคงทำตัวเป็น Equalizer (ที่แปลได้ว่า ผู้ทำให้เกิดความเท่าเทียม) เป็นศาลเตี้ยคอยช่วยเหลือผู้คนในสังคมเหมือนในภาคแรก


แต่ในครั้งนี้ McCall ต้องเผชิญกับอดีตของตนเอง ซึ่งนี่เป็นโอกาสที่ผู้ชมจะได้เข้าใจตัวละครนี้มากขึ้น



(จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)






หนังนำเสนอให้ผู้ชมทราบว่าทำไม McCall ถึงต้องย้ายออกจากบ้านตัวเองและมาคอยช่วยเหลือผู้อื่น



ส่วนหนึ่งเพราะมันช่วยเติมเต็มความว่างเปล่าในชีวิตที่ไม่ค่อยเหลือใคร หลังภรรยาตายและหลังจากต้องปกปิดตัวตนที่แท้จริงในฐานะอดีต CIA ที่ตายไปแล้ว ซึ่งคนที่รู้เรื่องนี้มีอยู่ไม่กี่คน



ตัวละคร Sam (Orson Bean) หนึ่งในลูกค้าขาประจำของ McCall ที่คอยทวงสิทธิ์ภาพวาดพี่สาวของตัวเอง ก็เป็นเหมือนภาพสะท้อนของ McCall


เราไม่สามารถทราบได้ว่าภาพวาดนั้นเป็นภาพพี่สาวของ Sam จริงหรือไม่ แต่สิ่งที่อยู่ในใจของ Sam ก็คือความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถปกป้องพี่สาวได้ในหลายๆครั้ง

และด้วยวัยไม้ไกล้ฝั่งแบบ Sam ที่ไม่เหลือใครในชีวิตมากนัก การทวงสิทธิความเป็นเจ้าของภาพของพี่สาว ก็เป็นสิ่งเติมเต็มให้ชีวิตยังมีความหมายว่าเขายังได้ทำอะไรให้ใครบางคนที่เขารัก แม้จะไม่ได้พบเจอกันแล้ว



ซึ่งไม่ต่างกับ McCall ที่สูญเสียผู้คนที่เขารักและรู้จักไปเกือบหมด แต่การช่วยเหลือผู้คนในสังคม ช่วยเติมเต็มให้เขายังมีตัวตนและมีคุณค่า อีกทั้งยังเป็นการไถ่บาปที่เคยก่อไว้ในอดีต






แต่สุดท้ายเมื่ออดีตอันเลวร้ายตามมาหลอกหลอน McCall อีกครั้ง เมื่อเพื่อนสนิทที่รู้จักตัวเขาจริงๆเพียงไม่กี่คนอย่าง Susan (Melissa Leo) ถูกฆ่าตายโดยอดีตลูกทีมของเขาเอง McCall ต้องหันไปจัดการกับอดีต เพื่อที่จะแก้ปัญหาทั้งหมด



หนังเลือกให้ตัวละคร McCall กลับไปที่บ้านที่เขาเลือกที่จะหนีออกมาหลังการตายของภรรยา เป็นสถานที่ในการจัดการกับกลุ่มตัวร้ายของเรื่องที่เป็นลูกน้องเก่าของเขา



นี่คืออุปมาอุปไมยถึงการกลับไปเผชิญหน้ากับปัญหาที่แท้จริงที่มาจากอดีต



McCall ที่เข้าใจแล้วว่าควรแก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง ก็ทำแบบเดียวกันนี้เพื่อคลี่คลายปัญหาให้ Sam

ปัญหาของ Sam ไม่ใช่เรื่องการพยายามทวงสิทธิในการเป็นเจ้าของภาพวาดที่ไม่แน่ใจว่าจะใช่ภาพพี่สาวเธอจริงหรือไม่ปัญหาที่แท้จริงของ Sam คือเรื่องที่เขาไม่สามารถปกป้องและไม่ได้พบเจอพี่สาวมานานมากแล้วต่างหาก

McCall จึงจัดการสืบหาประวัติของพี่สาว Sam แทนที่จะช่วยเขาเอาชนะเรื่องคดีแย่งสิทธิในภาพวาด

และท้ายที่สุด McCall ก็จัดการให้พี่น้องคู่นี้ได้พบกัน



นี่เองคือ Theme ของหนังที่ถูกอธิบายโดย plot รองของเรื่อง ที่ว่าด้วยการกลับไปพิจารณาถึงปัญหาที่แท้จริง แล้วเผชิญหน้ากับมัน






อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจถูกเล่าผ่านความสัมพันธ์ของ McCall และ Miles (Ashton Sanders) เด็กหนุ่มที่เช่าห้องอยู่ในตึกเดียวกัน ทั้งคู่ต้องมามีส่วนร่วมในการทำความสะอาดกำแพงของตึกที่ถูกมือดีมาพ่นสีใส่เสียจนเละเทะ


ซึ่งการพยายามแก้ไขกำแพงที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนในหนัง เป็นเครื่องมือที่หนังใช้อธิบายสภาพตัวละคร McCall ได้เป็นอย่างดี



“กำแพง” คือสัญลักษณ์แทน “สังคม”



ไม่ใช่หน้าที่ของ McCall โดยตรงในฐานะผู้เช่า ที่จะมาจัดการกับกำแพงที่เปรอะเปื้อน มันเป็นหน้าที่ของผู้จัดการบ้านเช่าที่เขาได้จ่ายเงินไปแล้ว

[ไม่ใช่หน้าที่ McCall โดยตรงในฐานะพลเมือง ที่จะมาจัดการกับความไม่ยุติธรรมของสังคม มันเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่เขาได้จ่ายภาษีไปแล้ว]



แต่ McCall ก็ยังช่วยเหลือสังคม (กำแพง) ด้วยทักษะความสามารถของตัวเอง






นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่าง McCall และ Miles ก็ช่วยทำให้ผู้ชมเห็นว่า McCall ไม่ได้แค่ใช้กำลังจัดการคนเลวเพื่อช่วยเหลือสังคม แต่มันยังรวมไปถึงการปลูกฝังความคิดที่ดีให้กับผู้คนในสังคมด้วย

ซึ่งในหนังก็คือการที่ McCall ปลูกฝังความคิดลงในหัวของ Miles ให้เปลี่ยนใจจากความพยายามที่จะเป็นเด็กในแก๊งค้ายาเสพติดให้กลับมาเรียนหนังสือ



ผลลัพธ์ในตอนจบของหนังที่ Miles ได้ลงสีแก้ไขกำแพงอันเปรอะเปื้อนให้สวยงามกว่าเดิม คืออุปมาอุปไมยที่แสดงให้เห็นผลของการปลูกฝังความคิดของ McCall ที่มีต่อ Miles จนทำให้กำแพง (สังคม) เปลี่ยนจากสภาพที่ย่ำแย่มาเป็นสภาพที่ดีขึ้น



บทบาทในฐานะ The Equalizer ของ McCall จึงไม่ใช่แค่การทำตัวเป็นศาลเตี้ยเท่านั้น

แต่ยังหมายถึงการปลูกฝังความดีให้กับสังคมอีกด้วย






ในภาคนี้หนังยังคงเล่าเรื่องราวที่เต็มไปด้วย plot รองมากมายผ่านหลายตัวละครเหมือนภาคแรก ซึ่งมันช่วยส่งเสริมให้ผู้ชมเข้าใจ ตัวละคร McCall มากขึ้น

แต่การเล่าเรื่องยังขาดความกระชับ อีกทั้งการขมวดปมของ plot รองในหนังยังทำได้ไม่ดีเท่าภาคแรก



ฉาก action ในหนังนั้น ถือว่ามีอยู่ในปริมาณเดียวกับภาคแรก (ซึ่งก็คือมีไม่เยอะ) แต่ช่วงสุดท้ายของภาคนี้เป็นการเพิ่ม scale ของฉาก action ให้ใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับภาคแรก

อย่างไรก็ตาม ความน่าตื่นเต้นและความน่าประทับใจยังถือว่าด้อยกว่าภาคแรก






The Equalizer 2 มาพร้อมประเด็นที่ดูน่าสนใจกว่าภาคแรก แม้จะไม่ได้ดีในระดับเดียวกับภาคแรกก็ตาม

ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบสไตล์ในแบบภาคแรก The Equalizer 2 ก็ถือเป็นหนังที่ไม่ควรพลาด





7 / 10




Create Date : 03 กันยายน 2561
Last Update : 3 กันยายน 2561 22:33:16 น. 1 comments
Counter : 4111 Pageviews.

 
กระทู้ที่ตั้งใน Pantip

https://pantip.com/topic/38022417


โดย: navagan วันที่: 11 พฤศจิกายน 2561 เวลา:12:28:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.