รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 

นั่งสมาธิ และ การเจริญสติ ต่างกันอย่างไร

ถ้าท่านเป็นผู้หนี่งที่กำลังสงสัยว่า ระหว่างการนั่งสมาธิ และ การเจริญสติ ต่างกันอย่างไรนั้น
ผมมีคำตอบให้ท่านครับ

ก่อนอื่น ท่านสมควรทำความเข้าใจกับคำว่า สมาธิ ก่อน เพราะสมาธินั้นจะว่าไปมีอยู่ 2 แบบ คือ สมาธิแบบฤาษี และ สัมมาสมาธิแบบพุทธ ซึ่งรายละเอียดของสมาธิทั้ง 2 แบบ ท่านสามารถอ่านได้ที่นี่     //www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=02-07-2010&group=8&gblog=53

สำหรับสมาธิแบบฤาษีนั้น เป็นสมาธิที่มีมาก่อนสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงค้นพบสัมมาสมาธิ และเจ้าชายก็ได้ไปเรียนสมาธิแบบนี้กับอาจารย์ฤาษี 2 ท่าน แล้วพระองค์ก็ทรงทราบว่า อย่างนี้ไม่ใช่ทางแห่งการพ้นทุกข์

ต่อมาเจ้าชายได้ทรงค้นพบทางสายกลางและค้นพบสัมมาสมาธิ อันเป็นสมาธิแบบพุทธที่พระองค์ได้ประกาศสอนให้เหล่าพระสาวกและพุทธบริษัทไว้ว่า สมาธิแบบนี้ คือ สมาธิที่เป็นทางแห่งการพ้นทุกข์ หรือ เรียกว่า ทางสายกลาง อันมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า มรรค 8

ถ้าท่านอ่านเรื่องของสมาธิ ใน blog ที่ผมทำ link ให้ข้างต้น ท่านจะเห็นว่า สมาธิแบบฤาษีนั้น จะมีลักษณะของการยึดติด โดยจิตไปยีดติดกับสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ส่วนสัมมาสมาธิแบบพุทธนั้น เป็นสมาธิที่ไม่ยีดติด จิตเป็นอิสระจากสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

เมื่อท่านเข้าใจเรื่องของสมาธิแล้ว ผมจะตอบคำถามของท่านต่อไป

การนั่งสมาธิแบบดูลมหายใจนั้น ถ้านักภาวนานั่งในท่านั่งสมาธิ แล้วให้จิตไปจับยึดสิ่งทีจิตไปรู้เข้า อย่างนี้เป็นสมาธิแบบฤาษี แต่ถ้านักภาวนานั่่งในท่านั่งสมาธิ แต่จิตรู้ลมหายใจ โดยที่จิตไม่ไปจับยีดลมหายใจ หรือ ไปยีดอวัยวะส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกาย อย่างนี้ คือ กำลังทำสมาธิแบบพุทธ หรือสัมมาสมาธิ

ดังนั้น จึงไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งทีท่านกำลังนั่งสมาธิหรือเห็นคนอื่นกำลังทำในท่านั่งสมาธินั้น คือ กำลังทำสมาธิแบบพุุทธ (สัมมาสมาธิ) เพราะขึ้นกับว่า ตอนที่กำลังทำสมาธินั้น จิตเป็นอิสระ หรือ จิตไปยีดติดอะไรอยู่

ส่วนการเจริญสติก็เช่นกัน การเจริญสติมักคำนี้กับการทำสมาธิที่ใช้ในแนวเคลื่อนไหว ถ้าระหว่างที่เจริญสติในแนวเคลื่อนไหว เช่น การเดินจงกรม หรือ การเคลื่อ่นมือแบบหลวงพ่อเทียน ท่านก็ต้องดูก่อนว่า ระหว่างที่เจริญสตินั้น จิตไปจับยีดที่เท้าในขณะที่เดินจงกรม หรือ จิตไปจับยีดที่มือในขณะที่ เคลือนมือหรือไม่่ หรือ ว่า จิตเป็นอิสระอยู่แล้วไปรับรู้การกระทบสัมผัสทีเท้าหรือรู้การเคลื่อนการไหวที่มือโดยไม่มีการจับยึดสิ่งใด

ผมกำลังจะชี้ให้ท่านเห็นว่า การทำสมาธินั้น ถ้าเาป็นแบบพุทธที่จิตเป็นอิสระ จะทำในรูปแบบใดก็ได้ทั้งสิ้น จะใช้ท่านั่งสมาธิ ทำยืน ท่าเดิน ท่านอน ท่าเคลื่อนไหว การรำไทเก็ก มวยจีน เต็นแอร์โรบิค หรือ อื่น ๆ ทำสมาธิแบบพุทธได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า ให้จิตเป็นอิสระอยู่และรับรู้อาการทางกาย อาการทางใจได้โดยไม่ยีดติด ก็เป็นการทำสมาธิแบบพุทธได้แล้ว

สรุปในคำถามก็คือ คำว่า การทำสมาธิหรือเจริญสติ นั้นจะต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า จิตเป็นอิสระอยู่ หรือ จิตกำลังจับยีดสิ่งใดอยู่
จึงไม่อาจบอกได้ว่า สิ่งที่ปรากฏในภาพให้คนเห็นอยู่ว่ากำลังทำสมาธินั้น เป็นการทำสมาธิทีแท้จริงหรือไม่


*****
ผลแห่งการรทำสมาธิแบบพุทธนั้น ก็คือ จิตตั้งมั่นในฐานของจิต เมื่อจิตตั้งมั่นในฐานของจิตอย่างมั่นคง จิตก็เป็นอิสระไมยีดเกาะในสิ่งใด  เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วนักภาวนาก็จะพบเห็นธรรมตามความเป็นจริง ดังมีปรากฏในพระไตรปิฏกชื่อสมาธิสูตร ว่า  ภิกษุุทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด เมื่อสมาธิจิตตั้งมั่นแล้ว จักเห็นธรรมตามความเป็นจริง

ผมกำลังจะชี้ให้ท่านเห็นอีกอย่างก็คือ จากที่ปรากฏในสมาธิสูตรในพระไตรปิฏกนั้น  เมื่อนักภาวนาทำสมาธิจิตตั้งมั่น  จะเห็นธรรมตามความเป็นจริงนั้น การเห็นธรรมตามความเป็นจริงนั้น จะมีอยู่ 3 ระดับ คือ การเห็นความแปรปรวนของขันธ์ 5 อันเป็นการเห็นความเป็นจริงในขั้นต้น และการเห็นตัวจิตที่นิ่งสงบในขั้นกลางและเห็นสภาวะแห่งสุญญตาในขั้นสูง  ซึ่งหมายความว่า ถ้าท่านกำลังทำสมาธิแบบพุทธ แล้วไปเห็นจิตใจที่หงุุดหงิด หรือจิตใจที่โกรธเคืองใคร  ไม่ได้หมายความว่า ท่านกำลังทำสมาธิที่ผิดทาง ในทำนองเดียวกัน ถ้าท่านกำลังทำสมาธิแล้วจิตใจสงบเยือกเย็น ก็ไม่ใชแปลว่า ท่านกำลังทำสมาธิที่ถูกทาง  เพราะการผิดทางหรือถูุกทางนั้น ขึ้นกับว่า จิตท่านไปยีดสิ่งที่พบเห็นหรือไม่ต่างหาก 

ถ้าจิต**ไม่ไปยีดติด**สิ่งที่ไปพบเห็นเช่น อาการจิตใจหงุดหงิดหรือจิตโกรธเคืองใคร สิ่งที่จิตไปพบเห็นนี้ คือธรรมที่เป็นปัญญาของจิต




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2555
1 comments
Last Update : 31 สิงหาคม 2555 19:07:16 น.
Counter : 3323 Pageviews.

 

เมื่อนักภาวนาฝีกสมาธิแบบจิตยีดติด ผลก็คือ การยีดติดเป็นนิสัยก็ยังมีอยู่

ถ้านักภาวนาฝีกสมาธิแบบจิตไม่ยีดติด ผลก็คือ การเปลี่ยนแปลงจิตใหม่ให้ไม่ยีดติด เมื่อจิตไม่ยีดติด จิตก็จะตั้งมั่นเป็นอิสระในฐานของจิต และจิตจะพบเห็นธรรมตามความเป็นจริง

สิ่งสำคัญก็คือ ท่านเข้าใจวิธีฝีกฝนแบบจิตไม่ยีดติดหรือไม่เท่านั้น

 

โดย: นมสิการ 31 สิงหาคม 2555 19:15:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.