รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2556
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 

สนทนาพิเศษเฉพาะคุณ Nattawee เท่านั้น





มีอะไร ให้เขียนต่อท้ายใน comment ไปเลย ๆ  เหมือน facebook เลยครับ
เมื่อจบการสนทนาแล้ว  ผมจะลบสิ่งทีสนทนาในนี้ทิ้งไป 
ถ้าคุณต้องการเก็บไว้ ของให้ save ไว้ครับ




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2556
12 comments
Last Update : 19 ธันวาคม 2560 18:31:56 น.
Counter : 3044 Pageviews.

 

เชิญเขียนต่อท้ายได้เลยครับ คุณ Nattawee

 

โดย: นมสิการ 17 ธันวาคม 2560 8:49:37 น.  

 

สวัสดีคะ คุณนมสิการ ดิฉันอยากถามเกี่ยวกับหน้าของดิฉัน มันชา เหมือนที่คุณบอกไว้ธรรมปฏิบัติเลยคะ และดิฉันอยากถามว่าต้องทำอย่างไร และที่คุณบอกว่า จิตรู้ มันอยู่ที่หน้า แล้วเราจะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตรู้ ดิฉันไม่เข้าใจ รบกวนช่วยบอกวิธีปฏิบัติอย่างไร ดิฉันจึงจะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตรู้ได้คะ ขอบคุณมากคะ

 

โดย: nattavee IP: 182.232.114.14 17 ธันวาคม 2560 10:59:02 น.  

 

จิตไปอยู่ทีใบหน้า ใบหน้าจะรู้สึกซ่า ๆ เหมือนมีพลังงานอะไรปรากฏอยู่ คนทั่วไปทีไม่ฝีกฝน ก็จะมี แต่พวกเขาจะไม่รู้ ไม่สามารถสัมผัสได้ถึงพลังงานจิตตัวนี้ เมื่อคุณสัมผัสมันได้ ก็เป็นสิ่งทีดีประการหนี่ง ขอให้สังเกตว่า ถ้าพลังงานนี้ ปรากฏอยู่ เวลาคุณมองอะไรไปข้างหน้า จะเหมือนมีอะไรนูน ๆ ปรากฏทีใบหน้าด้วย ปรากฏการนี้ เป็นปรากฏการแรก ๆ ทีนักภาวนาทีฝีกมาพอสมควรจะสัมผัสได้ครับ การฝีกฝนเช่น การนั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม เพื่อให้จิตตั้งมั่นมากขึ้น แล้วออกไปกระทบกับสัมผัสต่างๆ ในโลกของคุณ อารมณ์ปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าคุณแพ้อารมณ์ตนเอง ไม่เป็นไร ถ้าคุณชนะ ก็อย่าได้ลำพองใจ ให้ฝีกไปเรื่อย ๆ ครับ การแพ้ ชนะของอารมณ์นี้ จะเป็นประสบการณ์ให้แก่จิต เมื่อจิตเขามีประสบการมากขึ้น จิตจะมีปัญญาเพิ่มขึ้น ตั้งมั่นมากขึ้น แล้วการที่จิตไปค้างปรากฏทีใบหน้านั้น จะค่อยๆ จางลงไป เพราะจิตกระจายตัวดีขึ้นในร่างกาย ไม่กระจุกตัวทีใบหน้าอีก แต่ทั้งนี้ ต้องใช้เวลาครับ เช่น อาจเป็นปี ถึงจะมีประสบการมากขึ้นของจิต สรุปก็คือ ให้ฝีกฝนต่อไป แล้วให้จิตไปผจญภัยในโลก ให้จิตปรุงแต่งเกิด แพ้ชนะไม่เป็นไร เพื่อให้จิตมีประสบการมากขึ้นเอง แล้วอาการเหล่านี้ จะค่อยๆ เบาลง จนหายไปได้ครับ

 

โดย: นมสิการ 17 ธันวาคม 2560 11:06:37 น.  

 

ถ้าจิตเขากระจายรู้ไปทั่วกาย ทีเรียกว่า การรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ อาการนี้ ก็จะหายไปครับ ก็คือ ฝีกรู้ไปทั่วร่างกาย เช่น รู้สีกได้ถึงเสื้อผ้าทีโดนกายตั้งแต่ขา ลำตัว เท้าเหยียบพื้น หรือ รองเท้ารัดเท้า ก็รู้สีกได้พร้อมกันไป ถ้าใส่แว่นตา แว่นตาสัมผัสใบหน้า ก็รู้สีกได้พร้อมกับรู้สึกถึงการสัมผัสของเสื้อผ้าด้วย....การรู้พร้อมกันไปทั่วตัวนี้ ก็คือ การรู้สึกตัวทั่วพร้อมนั่นเอง ครับ ถ้าฝีกไป จิตมีปัญญามากขึ้น อาการจิตไปค้างทีใบหน้า ก็จะหายไปเองครับ

 

โดย: นมสิการ 17 ธันวาคม 2560 11:11:18 น.  

 

แล้วเราจะรู้ความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้นี้ได้อย่างไรคะ

 

โดย: nattavee IP: 182.232.114.14 17 ธันวาคม 2560 11:23:53 น.  

 

ที่คุณ บอกว่า (ถ้าฝีกไป จิตมีปัญญามากขึ้น อาการจิตไปค้างทีใบหน้า ก็จะหายไปเองครับ)
ขอรบกวนถามหน่อยนะคะ คือ ดิฉันสงสัยตรงคำว่า "จิตมีปัญญามากขึ้น" หมายความว่าอย่างไรคะ
ดิฉัน เป็นคนหัวไม่ไว แต่ดิฉันเป็นคนขยัน ขอเพียงบอกมา ดิฉันจะพยายามทำให้เต็มที่เลยคะ
รบกวนช่วยอธิบายหน่อยนะคะ ขอบคุณมากคะ

 

โดย: nattavee IP: 182.232.114.122 17 ธันวาคม 2560 12:25:09 น.  

 

คำถามนี้ดีครับ
พรุ่งนี้ ประมาณตอนเที่ยง ให้เข้ามาอ่านคำตอบได้ครับ

 

โดย: นมสิการ 17 ธันวาคม 2560 12:52:27 น.  

 

ถามมาว่า แล้วเราจะรู้ความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้นี้ได้อย่างไรคะ
.
ตอบ...ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนครับว่า ตัวจิตเอง จะมี 2 ส่วน
.
ส่วนแรกสุดนั้น คือ จิตทีเป็นพลังงาน จิตส่วนนี้
จะทำหน้าทีการปรุงแต่งต่างๆ ของร่างกายและจิตใจ
.
การปรุงแต่งส่วนทีเป็นร่างกายนั้น จริงๆ มีมากมาย แต่ผมจะยกตัวอย่าง
บางอย่างการทำงานของจิตส่วนนี้ เช่น
.
* การหายใจ ตรงนี้ คนมักเรียกว่า ลมหายใจ แต่จริงๆ จะเป็นการหายใจ
คนหายใจได้ เพราะกระบังลมมันเคลื่อนไหวไปมา
เมื่อกระบังลมเคลื่อนไหว
จะทำให้มีลมไหลเข้าออกได้
ดังเช่นคนทีไม่หายใจเพราะจมน้ำนาน
พนังงานแพทย์จะมากดกระบังลมให้ เพราะให้มีลมเข้าออก
แต่คนปกติ ไม่ต้องกดกระบังลม จิตพลังงานมันทำงานให้เอง
.
การย่อยอาหาร ขบวนการย่อยนี้ จิตส่วนพลังงานจะทำให้เกิดความร้อน
ในการย่อยอาหาร
.
การคิดเรื่องต่างๆ เมื่อคนคิด จิตพลังงานจะวิ่งไปทีหัวสมอง
แล้วพลังงานนี้ จะไปทำให้สมองทำงานให้มีความคิดได้
.
อารมณ์ปรุงแต่งต่างๆ เช่น โกรธ ดีใจ เสียใจ หงุดหงิด และ อื่นๆ
อารมณ์เหล่านี้ ก็คือ การทำงานของจิตพลังงาน ทีมันพุ่งขึ้นไปสู่สมอง
เช่นเดียวกัน
.
จิตส่วนทีสองนั้น ก็คือ ตัวจิตทีทำหน้าทีรู้ หรือบางคนจะเรียกว่า จิตรู้
หรือ จิตผู้รู้ ก็มี
ทีว่า รู้ ไม่ใช่ไปเห็นปลาช่อน แล้วรู้ว่า นี่คือปลาช่อนนะครับ
รู้แบบนี้ว่า ปลาช่อน จิตพลังงานจะทำหน้าที ไม่ใช่จิตผู้รู้
.
การรู้ของจิตผู้รู้ คือ รู้อาการของการทำงานของอายตนะต่างๆ
เช่น ตอนนี้ รู้ว่า ตามองเห็นวัตถุข้างหน้าได้อยู่
รู้ว่า ตอนนี้ หูได้ยินเสียงได้อยู่ แต่ไม่ต้องไปรู้ว่าเสียงอะไร
รู้ว่ากายรู้สัมผัสได้อยู่ เช่น เสื้อผ้าสัมผัสผิวหนัง
รู้ว่าลิ้นตอนนี้ รู้รสได้อยู่ แต่ไม่ต้องไปรู้ว่ารสอะไร เพียงรู้ว่าสามารถรับรู้รสได้
รู้ว่าตอนนี้ได้กลิ่นได้อยู่ แต่ไม่ต้องไปรู้ว่ากลิ่นอะไร
รู้อาการของจิตได้อยู่ เช่น ตอนนี้มีอารมณ์ปรุงแต่งหรือไม่
ตอนนี้ จิตใจสบายหรือไม่สบาย เป็นต้น
.
ทีนี้ อาการของจิตผู้รู้นี้ นอกจากรู้แบบทีเขียนไว้ข้างบนแล้ว
การรู้จะมีลักษณะว่า ตอนที่รู้มีจิตพลังงานเข้ามาผสมอยู่หรือไม่
ซึ่งการรู้ที่มีจิตพลังงานเข้ามาผสมเมื่อไร นักภาวนาจะพบอาการของจิต
ผู้รู้เป็นดวง หรือ เป็นกลุ่มพลังงานปรากฏทีใบหน้า
บางคนจะรู้สีกเหมือนทีใบหน้ามีอะไรนูน ๆ ปรากฏอยู่
หรือทีคุณรู้สีกได้ว่ามันซ่า ๆ อยู่ทีใบหน้า
นี่เพราะว่า การรู้ของจิตผู้รู้ มีจิตพลังงานเข้ามาผสมอยู่
.
ทำไมจิตผู้รู้มีจิตพลังงานเข้ามาผสมได้
ตอบ เพราะว่า การรู้ทีมีความจงใจมาก มีความตั้งใจมาก
ความจงใจมาก
ความตั้งใจมากนี่แหละ ทำให้จิตพลังงานเกิดขึ้น แล้วก็เข้าไปผสมกับจิตผู้รู้
.
เมื่อรู้ความจริงแบบนี้แล้ว
การรู้ไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้จะเป็นดังนี้
.
1..รู้ว่าในขณะนี้ จิตผู้รู้ สามารถรู้อายตนะได้มากอย่างหรือน้อยอย่างในขณะเดียวกัน
เช่น ตามองเห็นได้ไหม หูได้ยินเสียงได้ไหม กายรู้สัมผัสต่าง ๆ ทีผิวหนังได้ไหม
ถ้ากำลังกินข้าว รู้รสทีลิ้นได้ไหม ได้กลิ่นอาหารได้ไหม
ซึ่งตรงนี้ คุณสามารถสังเกตตนเองได้เลยว่า ในชีวิตประจำวันนั้น
บางที ถ้าคุณไปสนใจอย่างหนี่งอยู่เป็นพิเศษ คุณจะไม่รู้อายตนะอื่นด้วย
เช่น ขณะทีคุณกำลังอ่านคอมพิวเตอร์ คุณจะไม่รู้การสัมผัสของเสื้อผ้ากับผิวหนัง
หูอาจไม่ได้ยินเสียงรอบตัว เป็นต้น
ยิ่งถ้าคุณสนใจ ตั้งใจมากเป็นพิเศษ เช่น ตอนกำลังสนด้ายเข้าเข็มเย็บผ้า
คุณแทบจะไม่รู้อายตนะอื่นทำงานเลย นอกจากตาทีกำลังทำงานอยู่เท่านั้น
.
จิตผู้รู้ ทีเป็นธรรมชาติแท้นั้น สมควรจะรู้อายตนะได้ครบทุกอย่างในคราวเดียวกัน
เช่น ตามองเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รสได้ กายรู้สัมผัสได้ รู้อาการของจิตใจว่า
ตอนนี้เป็นอย่างไร
นี่คือ สภาวะทีควรจะเป็นของจิตผู้รู้ทีอยู่ในสภาวะแห่งธรรมชาติ
แต่ในความเป็นจริงของชีวิตคน คนมีการสนใจสิ่งอื่นอยู่เสมอจนเป็นนิสัย
ทำให้ไม่อาจรู้ธรรมชาติการรู้ของจิตผู้รู้ได้
ทำให้จิตผู้รู้นั้นสามารถรู้อายตนะพร้อมกันได้น้อยอย่างในคราวเดียวกัน
ดังเช่น การสนเข็มเย็บผ้ากับด้าย จิตผู้รู้จะรู้เพียงอย่างเดียวทีตาเท่านั้น
.
2..ไตรลักษณ์อีกอย่างของจิตผู้รู้ ก็คือ
จิตผู้รู้มีจิตพลังงานมาผสมอยู่หรือไม่ ดังทีคุณพบว่า ใบหน้าซ่า ๆ นั่นแหละ
จิตผู้รู้มีจิตพลังงานมาผสมอยู่
การทีจิตพลังงานมาผสม ผมได้อธิบายไปแล้วข้างบนว่า
เพราะมีความจงใจมาก มีความตั้งใจมากเกิดขึ้น จิตพลังงานจะเข้าผสมกับจิตผู้รู้ได้ทันที
ซึ่งมาจากเหตุอยู่ทีความตั้งใจมากนั่นเอง
.
ดังนั้น ถ้าความตั้งใจลดลงไป จิตพลังงานก็จะลดอำนาจลงไปในจิตผู้รู้
เมื่อไม่มีความตั้งใจมาก แต่มีความตั้งใจทีพอดีหรือทีเรียกว่ายังมีสติสัมปชัญญะอยู่ทีเป็นธรรมชาติ
จิตพลังงานจะไม่มีไปผสมในจิตผู้รู้
จิตผู้รู้ ก็จะมีแต่รู้ แต่ไม่มีพลังงานผสม
พลังงานซ่า ๆ บนใบหน้าก็จะหายไป
การปรากฏขึ้นของการรู้ ทีมีพลังงานผสม หรือไม่มี นี่แหละ คือ
ไตรลักษณฺ์ของจิตผู้รู้
.
อย่าไปบังคับว่า อย่าให้มีพลังงานผสม เพราะเป็นไปไม่ได้ การใช้ชีวิตอยู่ในทางโลก
ยังมีการทำงานอยู่ มีความตั้งใจอยู่ พลังงานเข้าผสมจะมีแน่ เพียงแต่แรงหรืออ่อนเท่านั้นเอง
การปฏิบัตินั้นคือว่า ถ้ามีพลังงานเข้าผสม ก็ให้รู้ได้ว่ามีพลังงานเข้าผสม
ถ้าในขณะทีไม่มีพลังงานเข้าผสม ก็รู้ได้ว่า ไม่มีพลังงานเข้าผสม
.
ผมจะยกตัวอย่างเพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติ
ตอนนี้ ฤดูหนาว อาการกำลังเย็นสบาย
คุณไปเดินเล่นในสวนดอกไม้ไป ตามองเห็นดอกไม้ เห็นแบบผ่าน ๆ ไม่ต้องไปสนใจ
อะไรพิเศษ หูได้ยินเสียงนกรอบๆ ตัว ลมเย็นพัดมาโดนตัวก็รู้ได้ จิตใจสบายๆ
เดินไปเรื่อยๆ เหมือนเดินทอดน่อง ถ้าคุณสังเกตอาการบนใบหน้าของคุณเอง
คุณจะพบว่า อาการซ่า ๆ มันลดลงไปหรืออาจหายไปเลย
แต่พอคุณมาสนใจอะไรเป็นพิเศษ
ความสามารถในการการรู้ของอายตนะทีเคยรู้หลายๆ อย่างก็ลดลงไป
อาการใบหน้าซ่า ๆ ก็จะปรากฏขึ้น
อาจปรากฏน้อยหรือมาก อยู่ทีคุณสนใจมากหรือไม่


 

โดย: นมสิการ 18 ธันวาคม 2560 7:38:06 น.  

 

ถามว่า "จิตมีปัญญามากขึ้น" หมายความว่าอย่างไรคะ
ตอบว่า...
ปัญญาของจิตจะมี 2 อย่าง คือ
.
1..ปัญญาทีจิตไม่ยึดติดสภาวะธรรมเพราะจิตมีสัมมาสมาธิตั้งมั่นอยู่
.
เมื่อคนธรรมดาโกรธ จะมีอาการโกรธเกิดขึ้น อาการโกรธนี้ ภาษาพระเรียกว่า สภาวะธรรม
ในคนธรรมดา เมื่อมีอาการโกรธ คนจะไม่เห็นสภาวะของอาการโกรธ การไม่เห็นนี้
คือ คนธรรมดาไม่มีปัญญาญาน จึงไม่เห็น เมื่อไม่เห็น จิตจะเข้าไปยึดติด ทำให้คนเข้าใจว่า
อาการโกรธเป็นของฉันทีเป็นคนโกรธอยู่ นีคือ คนทั่วไปทีไม่มีปัญญาของจิต
.
ในนักภาวนาทีฝึกฝนตามมรรค 8 หรือ ฝึกสติปัฏฐานมาได้ผลดีพอควร
จะเกิดปัญญาญาณขึ้น การเกิดขึ้นของปัญญาญาณนี้ในครั้งแรก จะอ่อนมาก
แต่ก็ดีกว่าคนธรรมดาทั่วไป ทีไม่มีเลย
.
คนทีมีปัญญาญาณนั้น คือ เขาจะเห็นสภาวะธรรมเกิดขึ้น
แล้วดับลงไปเป็นไตรลักษณ์ต่อหน้าต่อตา
และอาการไตรลักษณ์นี้ก็ปรากฏได้เร็วมาก เพียงแว๊บเดียว ก็เกิดแล้วดับไปแล้ว
แต่ก็เห็นได้จริง นี่คือลักษณะของปัญญาญาณ
.
เมื่อนักภาวนามีปัญญาญาณเกิดขึ้น เขาจะเห็นสภาวะธรรมทีแรงๆ ได้ก่อนเป็นอันดับแรก
สภาวะธรรมทีแรง ๆ ก็ได้แก่ ความคิดทีไม่ได้ตั้งใจคิด ทีมันผุดพุ่งขึ้นมาในสมอง
หรือ อารมณ์โกรธ จะเป็นอารมณ์มีสภาวะธรรมทีแรง
.
การทีนักภาวนาได้เห็นสภาวะธรรมแรงๆ ทีเกิดขึ้นในครั้งแรกหรือครั้งทีสองนี้
ถึงเห็นได้ แต่พอครั้งทีสาม สี่ ห้า เกิด ก็อาจไม่เห็นก็ได้ เพราะสภาวะธรรมทีเกิดในแต่ละครั้ง
มันมีความแรงไม่เท่ากัน บางครั้งแรงมาก บางครั้งแรงน้อย แรงมาก ๆ จะเห็นได้ง่าย
สภาวะธรรมทีแรงน้อยกว่า จะเห็นได้ยากกว่า
.
ดังนั้น นักภาวนาทีสามารถเห็นสภาวะธรรมทีแรง ๆ ได้ 1 หรือ 2 ครั้ง
ยังไม่มีความสามารถดีพอทีจะเห็นสภาวะได้ทุกครั้งทีเกิดขึ้น
เขายังต้องฝึกฝนต่อไปอยู่เช่นเดิม แต่การเห็นได้ครั้งแรก หรือ ครั้งทีสองนี่
จะทำให้เขามีปัญญาเพิ่มขึ้นในจิต 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง
การเพิ่มขึ้นของปัญญาในครั้งแรก ๆ ก็คือ การรู้จักตัวสภาวะธรรมนั่นเองว่า อาการเป็นอย่างไร
พอเขาฝีกฝนเพิ่ม ถ้ามีสภาวะธรรมเกิดอีก เขาก็อาจจะเห็นได้เพิ่มขึ้นหรืออาจไม่เห็นทุกครั้งก็ไม่เป็นไร
แต่การเห็นได้เพิ่มขึ้นนี้เมื่อใด จะทำให้เขารู้จักอาการของสภาวธรรมนั้นได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ยิ่งเห็นได้มาก ยิ่งทำให้เขารู้จักมากขึ้น นี่คือ ปัญญาทีเกิดขึ้นในจิตทีเพิ่มขึ้นของนักภาวนาเอง
.
ผมจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบ
สมมุติว่า ชายหญิงทีไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ต่อมาได้พบกันและรู้จักกันครั้งแรกไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
นี่คือ การรู้จักกันครั้งแรก ชายหญิงอาจรู้จักเพียงว่า อีกฝ่ายชื่ออะไร ทำงานอะไร บ้านอยู่ไหน
แต่นิสัยใจคอจะยังไม่รู้จักกันเลย
แต่ถ้าชายหญิงเกิดปิ๊งกัน ก็คบกันมากขึ้น พบกันบ่อยขึ้น พูดคุยกันมากขึ้น
ต่างก็จะเรียนรู้จิตใจกันมากขึ้นว่า
คนทีตนกำลังปิ๊งอยู่มีนิสัยอะไร ดีตรงไหน ไม่ดีตรงไหน นี่เพราะคบกัน พูดกันกันมากขึ้น
แต่นี่เป็นปัญญาทางโลก ซึ่งก็เหมือนกับสภาวะธรรมทีพบได้ทีเป็นปัญญาทางธรรม
พอได้พบสภาวะธรรมได้บ่อยๆ ก็จะเริ่มเข้าใจสภาวะธรรมได้มากขึ้นเช่นกัน
.
การได้พบสภาวะธรรมได้บ่อย ๆ ผลนอกจากจะเข้าใจมากขึ้นในตัวสภาวะธรรมแล้ว
กำลังของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ยังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ตรงนี้หมายความว่า ตอนแรกสุดทีพบสภาวะครั้งแรกหรือครั้งทีสอง
นักภาวนาจะมีกำลังสติสมาธิระดับหนี่งแต่ยังอ่อนอยู่
แต่พอนักภาวนาพบสภาวะธรรมมากขึ้นไปเรื่อย ๆ กำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ก็จะมีมากขึ้น การมีมากขึ้น ทำให้นักภาวนาสามารถพบสภาวะธรรมทีไม่ต้องแรงเหมือนตอนแรก
ทีพบได้ สภาวะธรรมทีไม่แรงทีพบได้ต่อจากนี้
ก็จะทำให้เพิ่มกำลังสัมมาสติสัมมาสมาธิให้มากขึ้นอีก
ยิ่งพบได้เพิ่มขึ้น กำลังสัมมาสติสัมมาสมาธิยิ่งมากขึ้นไปเรื่อยๆ
ทำให้การพบได้ของสภาวะธรรมใหม่ ๆ ทีไม่แรง หรือ มีกำลังอ่อน
ก็จะสามารถพบเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
.
2..ปัญญาทีจิตไม่ยึดติดสภาวะธรรมเพราะจิตรู้เท่าทันสภาวะธรรมทีกำลังปรากฏอยู่
.
อาการของปัญญาญาณทีเขียนไว้ในข้อ 1 นี่เหตุเพราะสัมมาสมาธิ ถึงจิตรู้จะเห็นได้เพราะมีปัญญา
แต่การสนใจสภาวะธรรมนั้นยังมีอยู่ เพราะจิตยังไม่มีปัญญาอย่างแท้จริงทีว่า การเห็นไตรลักษณ์ได้
นี่เป็นอำนาจของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่จิตยังยึดติดสภาวะธรรมได้อยู่
การยึดติดนี่ นักภาวนาจะต้องมีปัญญามากจึงจะเข้าใจได้ว่า จิตของตนยังมีการยึดติดสภาวะธรรม
ต่อเมื่อนักภาวนาเข้าใจอะไรได้เพิ่มขึ้น แต่เข้าใจได้ว่า จิตของตนยังยึดติดอยู่ เขาจะเห็นอาการยึดติด
ของจิตของตนเอง การเห็นและเข้าใจการยึดติดของจิตนี่คือ การมีปัญญาทีจิตรู้เท่าทันสภาวะธรรม
เมื่อจิตเข้าใจ จิตจะไม่ยีดติดสภาวะธรรม นี่เป็นปัญญาขั้นสูงสุดของจิตทีเข้าใจและไม่ยีดติดสภาวะธรรม
เมื่อจิตเข้าใจการยึดติด จิตจะไม่ยีดติด เมื่อจิตไม่ยีดติด นั่นคือ จิตปล่อยวางสภาวะธรรม
.
ในแง่การปฏิบัตินั้น นักภาวนาต้องพบสภาวะธรรมในข้อ 1 ไปมาก ๆ จนเกิดเอะใจได้เองว่า
ตนยังยึดติดสภาวะธรรมอยู่ เพียงเข้่าใจได้ ก็จะเข้าใจการไม่ยีดติดได้ทันที
ถ้ายังไม่เข้าใจว่ายังมีการยีดติด การยึดติดก็จะยังมีอยู่
.

 

โดย: นมสิการ 18 ธันวาคม 2560 8:13:46 น.  

 

แนะนำให้อ่านหลายๆ รอบ ทำความเข้าใจในเนื้อหา และ คิดตาม พิจารณาด้วยครับ อ่านให้เข้าใจ แล้วนำไปปฏิบัติได้ต่อไป

 

โดย: นมสิการ 18 ธันวาคม 2560 8:14:43 น.  

 

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ดิฉันได้อ่านคราวๆๆแล้วคะ แต่เดี๊ยวจะจดเอาไว้อ่านทบทวนอีกครั้งคะ ดิฉันขอรบกวนคุณอย่างหนี่งได้ไหมคะ คือ ดิฉันจะขอเรียกคุณว่า อาจารย์ ได้ไหมคะ
ดิฉันอยากเรียกคะ เพราะดิฉันได้อ่านบทความของคุณแล้วและเห็นความตั้งใจของคุณที่ตั้งใจเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อหวังจะให้คนได้อ่านและมีความรุ้ขึ้นมา เพื่อให้คนได้รู้ธรรมะขึ้นมา ให้คนมีความสุข เพราะฉะนั้น ดิฉันคิดไม่ผิดที่จะเรียกคุณว่า อาจารย์ คะ หวังว่าคุณจะอนุญาตินะคะ ขอบคุณอีกครั้งคะ

 

โดย: nattavee IP: 182.232.51.173 18 ธันวาคม 2560 12:23:23 น.  

 

รู้ มีกี่แบบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=26-03-2021&group=17&gblog=215

เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้อะไรในคืนวันตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=16-12-2019&group=17&gblog=182

 

โดย: นมสิการ 4 มิถุนายน 2564 8:07:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.