รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
สนทนากับเจ้าของ Blog 5 - ห้องนี้ปิดแล้ว ขอให้ใช้ห้องที่ 6

ท่านทีจะสนทนา เชิญได้ครับ


Create Date : 05 สิงหาคม 2554
Last Update : 13 ธันวาคม 2554 4:04:48 น. 78 comments
Counter : 1167 Pageviews.

 
ใครมีคำถามก็ถามเลยครับเพราะบอร์ดเงียบนานแล้ว


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.206.169.118 วันที่: 15 สิงหาคม 2554 เวลา:18:44:24 น.  

 
อนุโมทนาและขอบพระคุณคะ


โดย: Nim IP: 124.121.135.9 วันที่: 15 สิงหาคม 2554 เวลา:19:31:39 น.  

 
ในบทความต่าง ๆ ที่ผมเขียนไว้ค่อนข้างครบถ้วนสำหรับความรู้ในการฝึกฝนแล้ว โดยเฉพาะ กฏ 3 ข้อ และ การรู้แบบไม่ยึดติดแบบ Bird eye view หรือ ที่ผมเรียกอีกอย่างว่า รู้แบบลอย ๆ ถ้าใครอ่านแล้วเข้าใจ และลงมือฝึกฝนไปเรื่อย ๆ แบบไม่หวังผล ความก้าวหน้า ก็จะค่อยๆ ปรากฏขึ้นให้ประจักษ์เอง กล่าวคือ การแยกตัวออกมาของจิตรู้ กับสิ่งที่ถูกรู้

ตอนนี้ ผมยังไม่มีอะไรจะเพิ่มเติม ประมาณปลาย ๆ ปี ผมจะจัดกิจกรรมอีก เพื่อเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย แล้วผมจะประกาศให้ทราบต่อไปครับ

แนวทางของพระพุทธองค์ อาตาปี สัมปชาโน สติมา
ไม่ใช่ทำให้จิตนิ่งนะครับ แต่ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิเพื่อการรู้เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง

ดังนั้น เมื่อฝึกไป ยิ่งไปพบกับสภาวะต่าง ๆที่ตนเองไม่พอใจ เช่นอารมณ์เสียต่าง ๆ นั้นแหละคือครูที่ดียิ่ง ที่จะทำให้นักภาวนามีการพัฒนาการที่ดีเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าฝึกไป เจอแต่ นิ่ง นิ่ง นิ่ง และ นิ่ง อย่างนี้ความก้าวหน้าจะไม่เกิดนะครับ ควรดูว่า เราฝึกไปแล้วกดอะไรหรือเปล่า เพ่งอะไรหรือเปล่า จึงมีแต่นิ่ง คนอื่นอาจจะว่าดี แต่ว่า นี่ผิดทางนะครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 15 สิงหาคม 2554 เวลา:19:35:31 น.  

 
สวัสดีครับ คุณนมสิการ

หลังจากที่ได้ปฏิบัติตามกฏ 3 ข้อมาได้ 6 เดือน(มี.ค. - ส.ค.) รู้สึกว่ายามที่ตัวเองรู้สึกตัวอยู่ใจ(จิต)จะรับรู้อาการทางกายได้รวมทั้งความคิดความจำได้อดีต ความโลภ โกรธ หลง(ผิด)เข้าใจผิดคิดเข้าข้างตัวเอง ลักษณะรวม ๆ คือรู้ได้ไวขึ้น(รวมกับว่าใจมันว่าง ๆ ยามรู้สึกตัว แล้วใจมันกระเพื่อมยามโดนกระทบ หรือใจมันแขว่งไหวไปกับความคิดความจำ โกรธ ฯลฯ) และจะละได้เร็วขึ้นทุกที ๆ แต่ยังไม่เห็นดวงจิตเด่นชัดรู้สึกได้แค่อาการวูบวาบแถว ๆ ใบหน้า ลิ้นปี่ยามที่โกรธ และจางคลายเบา ๆ ยามความโกรธหายไป อาการตามกระทู้ 3.1, 3.2, 3.3 รู้สึกได้ถึงการเพ่ง การเผลอ อาการว่าง ๆ ของใจ ขออนุญาติถามข้อสงสัยครับ

1. การโกรธที่เกิดได้เร็วมากและรุนแรง แต่ตัวเองก็รู้สึกและเห็นนะว่าตัวเองกำลังโกรธจัด(มีอาการวูบวาบทั้งศรีษะเลือดสูบฉีดพล่านไปหมด) ส่วนสลัดได้เร็วช้าขึ้นกับสภาวะใจในขณะนั้น ๆ ว่ารู้เท่าทันได้เร็วช้าแค่ไหน รู้ทันได้ดีก็จะมีสติละมันได้เท่าทัน
2. ยามนอนก็ปล่อยใจให้ว่างและรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆ จนหลับไป แต่ก็เหมือนว่าไม่ได้หลับไปเพราะมีนิมิตให้เห็นจนกระทั่งตื่นลืมตาและจำนิมิตได้ไม่ครบถ้วนเลย แต่ก็ไม่รู้สึกเพลียอะไร ในนิมิตนั้นรู้สึกได้สองขณะพร้อมกันคือเราไปเล่นเองและตัวเรานั่งมองตัวเราเองในนิมิต ซึ่งรู้สึกได้บ่อยทุกคืนในช่วงเดือนหลังนี่ ไม่ทราบว่ามีความผิดปกติไหมครับ
3. บางทีการรู้สึกตัวจะรับรู้ไปที่ลิ้นปี่ และจะเจ็บจิ๊ดมากยามที่รู้สึกได้ พยายามสังเกตุตัวเองว่าได้ไปเพ่งลิ้นปี่หรือเปล่าได้คำตอบว่าเป็นได้ทั้งสองแบบคือทั้งเผลอไปจับลิ้นปี่ และไม่ได้จับลิ้นปี่แต่ใจมันไปรับรู้เอง ไม่ทราบว่าผิดปกติอะไรไหมครับ
4. การที่ใจยังเห็นตามกระทู้ 3.1, 3.2, 3.3 นั้นให้คงการปฏิบัติแบบนี้ตามกฏ 3 ข้อไปเรื่อยไม่เปลียนใช่ไหมครับ

ขอคำชี้แนะเพื่อการปฏิบัติต่อไปครับ ขอบคุณครับ
หนุ่ม


โดย: หนุ่ม IP: 113.53.49.67 วันที่: 15 สิงหาคม 2554 เวลา:21:16:02 น.  

 
ที่เล่ามานั้น ถูกต้องแล้วครับ มันจะเดินไปแบบนั้น การที่เราฝึกฝนด้วยกฏ 3 ข้อ ทำให้เราเห็น เราเข้าใจ อาการทางจิตใจได้ดีขึ้นแล้วการ.ควบคุม.ทางจิตก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งจะรู้ได้ก็คือ มันหยุดได้เร็วขึ้นนั้นเอง ส่วนจะเพ่งไปบ้าง หลงลืมไปบ้าง นี้ไม่ต้องไปกังวลใจ มันจะเป็นอย่างนั้นเองเช่นกัน แต่ว่า อย่าไปตั้งใจเพ่งจนเกินเลย คือ เพ่งตลอดเวลาจนเป็นนิสัยเพื่อให้จิตมันนิ่ง ถ้าเพ่งตลอดแบบนี้ ผิดทางครับ

การที่เราเห็น เรารู้อารมณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ได้บ่อยขึ้น จะทำให้มีการทำลายชั้นของกิเลสที่หุ้มห่อจิตให้บางลง บางลง ทีละนิน ทีละหน่อย เมื่อชั้นของกิเลสถูกทำลายให้บางลง ด้วยการเห็นและหยุดมันได้เร็วขึ้น ต่อไป เมื่อชั้นของกิเลสมันบางลงไปถึงระดับหนึ่ง จะเห็นความว่างได้เอง
โดยขอการเห็นได้เองนี้ จะเห็นการเห็นที่เรามักจะไม่ตั้งใจมองมัน แต่มันแว๊บไปเห็นเอง แล้วจะเราจะเข้าใจเองว่า อ๋อ ความว่างมันเป็นอย่างนี้เอง
แต่ใหม่ๆ พอเห็นแล้ว มันจะหายไปอีก เพราะกำลังสัมมาสมาธิยังไม่ดีพอ ก็ยังต้องฝึกต่อไปอีก เห็นอารมณ์ต่าง ๆ ของเราอีก เพื่อเพิ่มกำลังสัมมาสมาธิต่อไปอีก พอกำลังสัมมาสมาธิเพิ่มมากขึ้นอีก เราก็จะเห็นความว่างได้มากขึ้น บ่อยขึ้น แต่ยังเป็นแบบมา ๆ หาย ๆ ได้ ก็ขอให้ฝึกต่อไปอีก แล้วเราจะเห็นได้นานขึ้นต่อไปเลื่อย ๆ นี่คือการพัฒนาการทางจิตใจครับ

ที่ทำมาถูกทางแล้ว ขอให้เดินอย่างนี้ต่อไป อย่าไปเปลี่ยนแปลง ดัดแปลงอะไร ขอเพียงเดินตามกฏ 3 ข้อแล้วเห็นอาการทางจิตใจบ่อย ๆ นั้นแหละครับ ถูกทาง ถ้าไปทำอะไร เพื่อไม่ให้อาการทางจิตใจเกิด นั้นแสดงว่า ผิดทางนะครับ ขอให้ระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย


โดย: นมสิการ วันที่: 16 สิงหาคม 2554 เวลา:5:36:41 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่มาสนทนาธรรมกันครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 49.48.190.242 วันที่: 16 สิงหาคม 2554 เวลา:19:17:32 น.  

 
ตอนนี้ผมเริ่มเห็นสัญญาและความคิดได้บ่อยขึ้น (สัญญาจะเป็นคำพูดเหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่มันเหมือนนึกขึ้นมาได้เพียวๆ ไม่ได้มีการคิดเข้าไปในนั้น) แต่จะไม่ได้ทันเห็นตอนมันเกิดหรือดับในทันที คือเหมือนพอรู้มันแล้วก็จบ แสดงว่าสติกับสมาธิผมยังอ่อนอยู่ด้วยใช่ไหมคับ เหมือนกับมันมาจากความว่างเปล่าแล้วหายไปกับความว่างเปล่าเช่นเดิม แต่จะมีบางครั้งนานที เห้นความคิดมันดับไปเหมือนทีวีที่ปิดเครื่องน่ะครับแบบนี้ คือทันเห็นมันดับไปพอดีรึป่าว

****
ที่เล่ามาดีนะครับ แต่กำลังสัมมาสติยังอ่อนอยู่ ยังต้องฝึกฝนต่อไป แต่แสดงได้ถึงว่ามีการพัฒนาการที่ดีขึ้นบ้างแล้ว อาการมันจะเป็นอย่างนั้นเอง คือ ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง สลับไปสลับมา แต่การไม่ทันนี้ ต่อเมื่อฝึกฝนต่อไปขึ้น สัมมาสติจะไวมากขึ้น ทำให้ทันได้มากขึ้น แต่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกด้วย ให้มีการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ว่าจะได้เร็วดังใจคิดนะครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 17 สิงหาคม 2554 เวลา:8:02:14 น.  

 
สวัสดีครับ คุณนมสิการ
อาตาปี สัมปชาโน สติมา ตามกฏ 3 ข้อ
พักหลังนี่ผมรู้สึกว่าตัวเองเคร่งเครียดเพ่งมากกว่ารู้สึกตัวเบา ๆ บางครั้งเพ่งมากจนเจ็บ(ลิ้นปี่) ร้าวแถบหลังศรีษะ ไม่ทราบว่าพอมีคำแนะนำในการจัดการอย่างไรได้บ้างครับ

หนุ่ม


โดย: หนุ่ม IP: 61.19.90.30 วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:11:44:15 น.  

 
ขอขยายความเรื่องความเครียดครับ
เครียดเพราะเผลอบ่อย คล้ายว่าเริ่มรู้สึกตัวได้บ่อยขณะที่คิดไปแล้ว(ไม่ทันขณะมันเริ่มคิด) แล้วละทิ้งมัน
เครียดเพราะเพ่งเกินไป ราวกับว่าพอกายรู้สึกว่าเบา ๆ ชาไปทั้งตัว ความคิดมันลอยมา ๆ หยุด ๆ ต่อ ๆ กันไปทำให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นอะไรทำไมคิดมากอย่างนี้แล้วกลายเป็นการเพ่งที่ต้องการให้มันละทิ้งความคิดไป
อธิบายไม่ถูกครับ แต่ไม่ถึงกับปวดหัวแค่รู้สึกร้าว ๆ ลิ้นปี่ และแถวหลังศรีษะ (ร้าวคือไม่โล่งไม่เบาไม่ชาแต่เหมือนตื้อ ๆ ตัน ๆ ยังไรไม่ทราบครับ)


โดย: หนุ่ม IP: 61.19.90.30 วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:12:12:47 น.  

 
เครียดเพราะเผลอบ่อย เลยไปเพ่งเพื่อไม่เผลอ

อย่างนี้ผิดนะครับ มันจะเเผลอก็ช่างมัน เดียวมันก็ไม่เผลอ ให้มันเป็นธรรมชาติ สลับไปสลับมาแบบนี้ครับ เผลอ-ไม่เผลอ-เผลอ-ไม่เผลอ อย่าได้กังวลกับการเผลอมากไป

การที่เผลอ-ไม่เผลอ-เผลอ บ่อย ๆ จะทำให้เรายังเผลออยู่ก็จริง แต่เวลาเผลอมันจะหดสั้นลงไปเรื่อย ๆ แต่ก็ยังเผลออยู่ได้อีก ซึ่งอย่าไปกังวลกับอาการเผลอมากเกินไป

การที่ไม่เผลอเลยนั้น มีได้จริง แต่มันจะเป็นสภาวะที่ได้ฝึกฝนมาจนชำนาญมาก ๆ แล้ว ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นจริง เราจะไม่ใส่ใจกับอาการเผลอนั้นอีก ซึ่งแปลกดีเหมือนกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:16:59:46 น.  

 
ผมจะเขียนเรื่องอธิบายให้ละเอียด รออ่านครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:17:18:09 น.  

 
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2011&date=23&group=15&gblog=46


โดย: นมสิการ วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:19:37:39 น.  

 
อาจารย์ มีทำหนังสือรวมเล่มออกมาไหมคะ

อยากจะขอบ้าง ^ ^


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:19:54:11 น.  

 
อาจารย์คะ อยากให้ช่วยอธิบาย+ยกตัวอย่าง
ที่เป็นการดูธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
แบบตอนที่อธิบายวิธีเคลื่อนไหวมือของหลวงพ่อเทียน
ที่บอกว่าเป็นการดูธาตุลม ที่บล็อกนี้อะคะ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2011&date=19&group=15&gblog=37

อยากเข้าใจธาตุอื่นด้วยอะคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:20:37:51 น.  

 
ผมไม่มีพิมพ์หนังสือครับ อ่านได้จากในเวปครับ

ในปรมัตถ์ธรรมนั้น ร่างกายคนประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม

อาการของดิน คือ ความแข็ง ความอ่อน เช่น เมื่อเราสัมผัสไปที่ลำตัว จะมีความรู้สึกแข็ง รู้สึกอ่อน ของร่างกาย นั้นคือ การเป็นธาตุดิน

อาการของน้ำ จะสัมผัสไม่ได้ แต่จะเป็นการเชื่อมประสานให้ติดกัน ดังเช่น กระดูกที่เป็นแท่ง เป็นก้อน นี่เป็นการเชื่อมประสานของดินกับน้ำให้ติดกัน ดังเช่น ผงปูนซิเมนต์ เมื่อประสานกับน้ำ ก็จะเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมา

อาการของไฟ คือ อุณหภูมิ ในร่างกายมีอุณหภูมิ จับร่างกายก็รูุ้สึกได้ถึงอุณหภูมินั้น คำว่าไม่ใช่เพียงร้อน แต่เป็นอุณหภูมิ ถึงแม้ว่าร่างกายเย็น ก็เป็นไฟเช่นกัน เพราะเป็นอุณหภูมิ

อาการของลม คือ อาการที่มีการเคลื่อนการไหว เช่นในขณะเดิน ร่างกาย แขน ขาจะเคลื่อนไหว นั้นเพราะมีการเคลื่อนที่ของลมภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้

ในการฝึกแบบหลวงพ่อเทียน หรือ การเดินจงกรม จะมีการเคลื่อนไหว เช่นมือที่เป็นแบบหลวงพ่อเทียน หรือ เช่นเท้าในขณะเดินจงกรม เมือมีการเคลื่อนไหว ในขณะที่เรารู้สึกตัว เราก็รับรู้ถึงอาการเคลื่อนไหวได้ นั้นคือการรู้ลม อ่านดูเรื่องนี้ประกอบครับ

หลักการเบื้องต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบชาวบ้าน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2009&date=02&group=1&gblog=83

การหายใจ ทำไมถึงเป็นลม หายใจเป็นลมเพราะการหายใจคือการเคลื่อนไหวลองกองลมและเคลื่อนไหวของกระบังลมบริเวณทรวงอก
ถ้าเรานั่งกอดอก แล้วจะรู้สึกได้ถึงการกระเพื่อม กระเพื่อมของทรวงอก นั้นคือการรู้ลม


โดย: นมสิการ วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:23:17:57 น.  

 
ขอบพระคุณมากๆคะ

สิ่งนี้จะนำไปสู่ ที่เขาเรียกว่า การแยกธาตุแยกขันธ์ ได้ใช่ไหมคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:10:30:50 น.  

 
แยกธาตุแยกขันธ์ นั้นเป็นเพียงภาษาพูด
ในการภาวนาจริง เราเพียงรู้สึกถึงก็พอ ไม่ต้องไปรู้ด้วยว่า นี่คือลมนะ นี่คือดิน นี่คือไฟนะ และก็ไม่ต้องไปสนใจว่า นี่คือการแยกธาตุแยกขันธ์อีกด้วย

การรู้ความจริงของจิต รู้จากสิ่งที่จิตสัมผัสได้จริง โดยที่ไม่ต้องแปลความหมาย

เช่น เราเดินไปเหยียบเศษแก้วเข้า จิตรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้ว แค่นี้ก็พอแล้วครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:12:12:43 น.  

 
ไม่ค่อยเข้าใจอะคะ

จริงๆแล้วการแยกธาตุแยกขันธ์ นี่หมายถึงอะไรหรอคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:13:06:36 น.  

 
การแยกธาตุแยกขันธ์ นี่หมายถึงอะไรหรอคะ
ต้องไปถามคนพูดครับว่าแปลว่าอะไร ผมไม่รู้จักคำนี้เหมือนกัน

ที่ผมกำลังจะอธิบายที่ว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ รู้แบบไม่ต้องคิดครับ มันจะเป็นการรู้ที่บริสุทธิเหมือนเด็กทารก ที่เขารู้ แต่ไม่ว่าสิ่งที่รู้นั้นคืออะไร เช่น ถ้าเขาหิว เขาจะร้อง แต่เขาไม่รู้ว่า อาการที่เขากำลังรู้สึกนี้ นี้คนทั่ว ๆ เขาเรียกว่า หิว แต่เด็กเขาก็รู้สึกได้


โดย: นมสิการ วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:16:15:42 น.  

 
ขอบคุณมากคะ มาขอเก็บความรู้ไปเรื่อยๆ แฮะๆ
ฉันไม่ค่อยมีความรู้อะคะ อาศัยฟังทางโน้นทีทางนี้ที
จับโน่นชนนี้กันเอง ผลออกมาเลยมึนๆ ^_^! นิดหน่อย
อย่าถือสาเลยนะคะ

ขอบคุณมากนะคะที่ให้คำแนะนำ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:16:51:26 น.  

 
อย่างที่แนะนำนะครับ ใครพูดแล้วเราไม่เข้าใจ ถามคนพูดไปเลยครับ
จะได้กระจ่างแจ้ง

ไม่ถือสาเลยครับ คุณเข้ามาถาม นี่ก็คือจุดมุ่งหมายที่ผมจะแบ่งปัน เผอิญสิ่งที่คุณถาม ผมไม่ทราบ ก็เลยช่วยอะไรไม่ได้ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:18:05:50 น.  

 
ขอบคุณอาจารย์มากคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:10:03:23 น.  

 
อาจารย์คะดิชั้นจำไม่ได้ว่าอ่านหัวข้อไหน คืออาจารย์บอกว่าถ้าเพ่งในมโนไม่ผิด แต่ถ้าเพ่งปรมัตถ์ผิด อันนี้ถ้าดิชั้นเพ่งในมโนนี่ไม่ผิดใช่ป่ะคะ แต่มันเพ่งไม่ได้ตลอดอ่ะคะ แต่ถ้าอาจารย์ไม่เคยเขียนไว้ดิชั้นก้อขออภัยคะ


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.21.94 วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:23:14:45 น.  

 
ผมเคยเขียนไว้ว่า เพ่งใน .มโน. ไม่ผิด
แต่ผมไม่เคยเขียนว่า เพ่ง ปรมัตถ์ ผิด

การเพ่ง มโน คือ การมองเข้าไปในตัวจิตใจจริง ๆ
เพราะทุกสิ่งล้วนเกิดใน.มโน.ทั้งสิ้น

คนที่จะเพ่งใน .มโน. ได้นั้น จะต้องรู้จัก.มโน.มาก่อน เคยเห็น.มโน.มาก่อน เขาจึงจะเพ่งได้ แต่ถ้าไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้จัก เขาจะเพ่ง.มโน.ไม่ได้ เพราะถ้าเขาไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้จัก สิ่งที่เขาเพ่ง จะเป็นความว่างที่เป็น อรูป เช่น ความว่างของอากาศ เช่น ลองกางนิ้่วมือออกดูครับ จะมีความว่างระหว่างนิ้วมือ นี่คือ อรูป แต่ไม่ใช่ มโน

มโน จะเห็นได้สัมผัสได้ด้วยญาณ ถ้าญาณยังไม่เกิดจะสัมผัสไม่ได้เลย
เมื่อเกิดญาณแล้ว สิ่งทีนักภาวนาจะเห็นได้คือ 2 โลก คือ โลกของ.มโน. อันเป็นปรมัตถ์ธรรมที่เกิดใน.มโน.นั้น และ โลกปรกติของคนเราที่มีคน มีสัตว์ นี่คือ โลกของสมมุติ

ซึ่งคนธรรมดาจะรู้จักแต่โลกของสมมุติ แต่ไม่รู้จักโลกของ.มโน.



โดย: นมสิการ วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:8:06:05 น.  

 
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ สงสัยอยู่ว่าตัวเองบางทีไปดูอะไรอยู่หรือเปล่านะคะ กลัวว่าจะหลงทางเลยต้องมาถามอาจารย์เรื่อยๆ อาจารย์อย่าเพิ่งเบื่อนะคะแหะๆ

แล้วบางทีการที่เรารับสัมผัสทางหู ตาจมูก ลิ้น กาย นี่แล้วมันมีไรไม่รู้อ่ะคะเหมือนไหลมาอยู่ข้างหน้าเราอ่ะคะ แล้ว พอข ้างหน้ามันเกิดไหวๆ เหมือนพลังงานวูบ ๆอ่ะคะ แล้วจะเกิดเสียงบ้างภาพบ้างนี่ อันนี้ดิชั้นมาถูกทางป่ะคะอาจารย์


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.241.193 วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:15:40:54 น.  

 
อาจารย์คะแล้วเราจะเห็นมโนได้บ่อยๆหรือเปล่าคะ คือตอนนี้ไม่ได้เห็นอิกแล้วอ่ะคะ ดิชั้นคงไปเพ่งไรไม่รู้ละคะเนี่ย แต่ตอนที่เห็นมโนที่อาจารย์เคยบอกรู้สึกเหมือนมันไม่ใช่โลกที่อยู่ตอนนี้เลยคะเหมือนอิกโลกจริงๆ เหมือนอะไรไม่รู้ลอยๆอยู่ตรงหน้า


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.241.193 วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:15:47:39 น.  

 
แล้วบางทีการที่เรารับสัมผัสทางหู ตาจมูก ลิ้น กาย นี่แล้วมันมีไรไม่รู้อ่ะคะเหมือนไหลมาอยู่ข้างหน้าเราอ่ะคะ แล้ว พอข ้างหน้ามันเกิดไหวๆ เหมือนพลังงานวูบ ๆอ่ะคะ แล้วจะเกิดเสียงบ้างภาพบ้างนี่ อันนี้ดิชั้นมาถูกทางป่ะคะอาจารย์

***
ถูกหรือไม่ ให้ดูตรงทีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นอะไรก็ตาม คุณอย่าได้ตามมันไป อย่าได้ติดใจมัน ให้สลัดมันออก เพื่อให้เป็นอิสระ แต่อย่าไปห้ามมันไม่ให้เกิด ให้มันเกิดบ่อย ๆ นะดี แต่ทุกครั้งที่เกิด ให้สลัดมันทิ้งไป ให้ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วผลมันจะออกมาอีกหนึ่ง คือ จิตจะมีกำลังมากขึ้น และ เป็นอิสระด้วยพลังของจิตเอง


โดย: นมสิการ วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:16:50:59 น.  

 
วเราจะเห็นมโนได้บ่อยๆหรือเปล่าคะ คือตอนนี้ไม่ได้เห็นอิกแล้วอ่ะคะ ดิชั้นคงไปเพ่งไรไม่รู้ละคะเนี่ย แต่ตอนที่เห็นมโนที่อาจารย์เคยบอกรู้สึกเหมือนมันไม่ใช่โลกที่อยู่ตอนนี้เลยคะเหมือนอิกโลกจริงๆ เหมือนอะไรไม่รู้ลอยๆอยู่ตรงหน้า

****
ถ้าสิ่งทีคุณเห็นคือ มโน จริง ๆ ก็นับว่าดีมาก ผมไม่ทราบว่า มันคือ มโน จริง ๆ หรือไม่ ตัวคุณเท่านั้นจะรู้เองว่าใช่หรือไม่

จากตัวผมเอง เมื่อผมพบ มโน ใหม่ ๆ นั้นปรากฏ ว่า การเห็น มโน นั้นจะพลุบ ๆ โผล่ ๆ คือ เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง บางคร้้งก็ไม่เห็นเป็นเดือน ๆ ทีเดียว บางครั้งก็เห็นนานมาก ๆ เป็นอาทิตย์ ไม่ยอมหายไปก็มี

ที่สำคัญ คือ การเห็น มโน คือ ความตั้งมั่นของจิต อย่าไปเพ่งมันเพื่อให้มันอยู่นาน ๆ แต่สิ่งที่คุณควรทำ คือ ฝึกให้จิตมีพลังตั้งมั่น แล้วพลังตั้งมั่นนั่นแหละ จะทำให้เห็น มโน ได้นาน ถ้าตั้งมั่นมาก ๆ จะเห็นนานและมันจะไม่หายไปไหนเลย คือ เห็นตลอดเวลาทีเดียว


โดย: นมสิการ วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:16:55:03 น.  

 
ขอบพระคุณคะอาจารย์ อย่าตามมันไปคำนี้ทำให้เข้าใจได้เพิ่มอิกคะ จะพยายามฝึกให้มากที่สุดที่จะทำได้คะ แต่บางทีก็มีเบื่อคะว่าเมื่อไรจะจบภารกิจสะที(ท่าจะอิกไกล) เข้ามาดูว่าอาจารย์อัพบล๊อคเรื่อยๆอ่ะคะ


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.241.193 วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:18:42:16 น.  

 
ถ้าฝึกได้ที่แล้ว เวลาเราทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีิวิตประจำวัน มันก็คือการฝึกอยู่ในตัวนั้นเอง ซึ่งหมายความว่า ฝึกแบบไม่ต้องฝึก

จบกิจ คือ เข้าใจหมด ไม่สงสัยอีกแล้ว ถ้ายังมีอะไรสงสัย ยังไม่จบกิจครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:19:37:12 น.  

 
อ่อ คะ บางทีก้อคิดอยู่เหมือนกันว่าถ้ามานั่งฝึกนี่เหมือนไปเพ่งเลยคะอาจารย์ เลยลองไม่นั่งฝึกดู ลองรู้ในชีวิตประจำวันเอาอ่ะคะ ตอนนี้ก้อนั่งรู้สึกตัวอยู่ มันจะเป็ฯเหตุผลให้ขี้เกียจหรือป่าวคะ5555


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.241.193 วันที่: 1 กันยายน 2554 เวลา:22:17:05 น.  

 
เกียจคร้านหรือไม่ ตัวเราเองทีจะรู้ได้ ไม่มีใครหลอกตัวเองได้ครับ

การรู้ในชีวิตประจำวันนี้ดีมากครับ เพราะจะเป็นธรรมชาติมาก เหมาะสำหรับคนที่ได้ฝึกมาแล้วพอสมควร เพราะกำลังจิตเขาพอมีบ้างแล้ว แต่ถ้ากำลังจิตไม่มีเลย การรู้ในชีวิตประจำวันจะลำบากยากเย็นอย่างยิ่ง


โดย: นมสิการ วันที่: 2 กันยายน 2554 เวลา:7:56:58 น.  

 
มันก้อไม่เหมือนฝึกแล้วก้อไม่เหมือนขี้เกียจอ่ะคะอาจารย์แต่มันจะรู้สึกตัวอยู่เรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ยังไม่รู้ตลอดอ่ะคะ ยังเผลอๆอยู่


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.241.193 วันที่: 2 กันยายน 2554 เวลา:19:18:12 น.  

 
เผลอต้องมีแน่นอนที่สุด ถ้าไม่เผลอเลย จะมี 2 แบบ คือ ผู้ที่ฝึกถึงทีสุดแล้ว จะไม่เผลอ แต่เป็นการไม่เผลอที่เป็นธรรมชาติด้วยจิตที่เปี่ยมล้นแล้วซึ่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ

กับอีกแบบหนึ่ง คือ ผู้ที่ยังไม่ถึงที่สุด แล้วพยายามทำให้ไม่เผลอ เช่นพยายามไปทำอะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นเพื่อไม่ให้เผลอ


การเผลอนั้น ใหม่ๆ จะเผลอมาก แต่ถ้าเผลอแล้วรู้ตัวไป กลับมาใหม่ด้วยความรู้สึกตัว ไปอย่างนี้เรื่อยๆ การเผลอก็จะมีเวลาสั้นลงไปเรื่อย ๆ เอง


โดย: นมสิการ วันที่: 3 กันยายน 2554 เวลา:7:25:43 น.  

 
ขออนุญาตแจ้งข่าวค่ะ จะมีงานหลวงพ่อเทียน วันที่ 13 กันยายนนี้ที่วัดสนามใน หลวงพ่อสมบูรณ์ มาพำนักที่วัด วันที่ 10 -20 กันยายนนี้ค่ะ


โดย: เสือสุมาตรา IP: 203.113.0.205 วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:16:34:31 น.  

 
ขอบคุณครับที่แจ้งข่าว


โดย: นมสิการ วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:18:11:08 น.  

 
อ.นมสิการคะ

ช่วงนี้มีความรู้สึกไหวๆ แถวใต้ท้ายทอย(เหนือก้านคอ)บ่อยๆ
ยิ่งเวลาขยับมือกำ-แบบ จะรู้สึกวูบวาบแถวนี้ตามจังหวะที่มือขยับ
แถมเด่นกว่าความรู้สึกที่มือ

แบบนี้ปฏิบัติได้มาถูกทางหรือเปล่าคะ

อนุโมทนาและขอบคุณมากคะ


โดย: Nim IP: 110.169.143.26 วันที่: 14 กันยายน 2554 เวลา:22:43:32 น.  

 
อย่าไปจ้องมันนะครับ มันจะวูบวาบไปก็ช่างมัน ดีแล้วครับ ที่รู้สึกถึงได้

ขอให้สังเกตว่า อาการวูบวาบนี้ บางครั้งจะแรง บางครั้งจะเบา บางครั้งก็หายไปได้เช่นกัน อย่าไปทำอะไรเพื่อให้มีอยู่ตลอดเวลา ปล่อยให้มันเป็นธรรมชาติ

บางครั้งจะวูบวาบบริเวณใบหน้าแทน บางครั้งก็วูบวาบทั่วทั้งศรีษะเลยทีเดียว บางทีก็วูบวาบทั้งตัวก็มีได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:6:32:45 น.  

 
ถ้าไม่เหนมันวุูบวาบอะไรเท่าไหร่เลยมันผิดหรือป่าวครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 49.48.189.248 วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:17:08:58 น.  

 
แต่ผมพอรู้รวมๆเป็นบ้างแล้วครับเหมือนมันลอยๆอยู่ แต่ไม่รู้ไปจงใจรู้รึป่าว ดูเหมือนผมจะช้ากว่าใครเลย


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 49.48.189.248 วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:17:15:31 น.  

 
ไม่วูบวาบก็ไม่ผิดครับ อยู่ที่จังหวะของการภาวนา ตอนนี้ไม่วูบวาบ สักวันก็วูบวาบได้ พอวูบวาบแล้วก็หายไปได้เช่นกัน อย่าได้กังวลกับเรื่องไปช้ากว่าใคร เพราะการกังวลแบบนี้เป็นความอยาก ซึ่งเราต้องตัดมันทิ้ง แล้วจึงจะก้าวหน้า อย่าลืมที่ว่า เราภาวนาเพื่อละตัณหาให้สิ้นซาก

การรู้ลอย ๆ แต่ไม่วูบวาบก็ใช้ได้ ไม่ผิดครับ เพียงรู้สึกธรรมดาเท่านั้น อย่าไปจงใจรู้ในสิ่งที่เราต้องการ ถ้ามีโอกาศ เดือน พฤศจิกายน ไปร่วมกิจกรรมด้วยกันซิครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:18:10:09 น.  

 
ขอบคุณครับ^^


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 49.48.189.248 วันที่: 15 กันยายน 2554 เวลา:18:27:59 น.  

 
ผมเรียนถามว่า เราต้องมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ดูรูปนาม ในมโนทวารใช่ไม่ครับ ของผมคือ ทุกข์บางตัวที่เรียนรู้ ไม่ว่าความกลัว ความโกรธ มันจะหดสั้นเข้าๆ บางทีมันก็ไม่เกิดเลย จิตตั้งอยู่เป็นธรรมดาได้มากขึ้น จิตอยากจะรู้อะไรก็เรื่องเขา บางครั้งรู้กับหลงใกล้เคียงกัน แต่ก็รู้อยู่ แต่กรณีตัณหาแรงๆ มันก็ทุกข์ในมโนทวารทันที หากยุ่งก็ทุกข์หนัก หากดูเฉยๆมันจะจางหายไปอย่างเบาๆนุ่มนวล อยากเรียนถามว่า หากเรามีจิตตั้งมั่นได้นานๆ ภพชาติจนถึงทุกข์ก็ไม่มี คือการไม่เกิดของรูปของนามใช่หรือเปล่าครับ อันนี้คือทางเดินที่ถูกต้องน่ะครับ เพระว่าผมเรียนรู้กับทุกข์ได้อย่างดีทีเดียว แล้วมันจะเริ่มเขย็ดขยาดที่จะทำให้ตัวมันทุกข์ แส่อีกโดนอีก เราศึกษาอย่างนี้ไปเรื่อยๆใช่ไม่ครับ ขอบคุณครับ
อีกอย่าง ที่เห็นเป็นดวงๆ ใช่สิ่งที่ผมเห็นหรือเปล่า คือเมื่อก่อนเป็นมาก แต่เดี๋ยวนี้นานๆครั้ง มันจะลอยออกจากหน้า แล้วเหมือนสเก็ดไฟ ดับไปเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็ไม่ได้สนใจมันมาก
อีกเรื่องหนึ่ง ผมก็ทำตามที่ท่านสอน/แนะนำ มาเสมอ วันหนึ่งระลึกกาย ระลึกถึงความปรกติในมโนทวาร(เห็นพร้อมๆกัน) จู่ๆก็วูบ ตัวจิตพุ่งขึ้นไป เห็นแต่ไม่ใช่โลกแน่ไวมาก พยามระลึกหากายแต่ไม่มีกายให้ระลึก ก็เลยระลึกเข้ามาตัวที่มันพุ่งเหาะนั้นแหล่ะ สัักแป๊ปหนึ่งก็กลับเข้าสู่กายปรกติ แปลกมาก แต่ก็พยายามให้มันผ่านไป รู้แล้วละเลย แต่ก็เขียนมาถามเผื่อไว้เป็นความรู้ครับ


โดย: ทางเดียวกัน IP: 118.172.54.246 วันที่: 25 กันยายน 2554 เวลา:21:06:19 น.  

 
อ่านคำตอบได้ที่นี่ครับ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=26-09-2011&group=15&gblog=54


โดย: นมสิการ วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:6:59:05 น.  

 
หัดนั่งสมาธิด้วยตนเอง อาศัยฟังธรรมจากครูบาอาจารย์และหนังสือ พอจะเห็นความคืบหน้าบ้าง ส่วนมากจะเป็นนิมิต และเกิดปิติตัวโยกค่อนข้างแรง ซึ่งทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติ เมื่อวานได้ฟังเทปบรรยายของพระปฏิบัติ แนะนำให้พิจารณากายานุสติ และสติปฐาน 4 คือใช้ปัญญาแทนที่จะใช้สมาธิอย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่หนทางบรรลุ จึงต้องการจะปฏิบัติแบบนั้น พิจารณาดูกายตนเอง แต่จำหน้าตัวเองก็ไม่ได้ ไม่เห็นอะไรเลย มืดไปหมด เลยไม่รู้จะทำอย่างไร ช่วยแนะนำด้วยค่ะ


โดย: บ้านอมยิ้ม IP: 124.121.3.54 วันที่: 9 ตุลาคม 2554 เวลา:20:49:56 น.  

 
การปฏิบัตินั้น ต้องอาศัยความเข้าใจก่อน จึงจะปฏิบัติได้ตรง
ถ้าไม่เข้าใจ ปฏิบัติไปก็ไม่ตรง

ให้ download เสียงกิจกรรมครั้งที่ 1 ไปฟังก่อน

//www.4shared.com/audio/A2nobdvQ/31-10-53_full.html

วิธีการ download
1. เข้า Link ข้างต้น
2. กดปุ่มสีฟ้า "ดาวน์โหลดเดียวนี้ ไม่พบ virus ใด ๆ" แล้วรอเวลานาฬิกาที่หมุนไปที่หน้าจอต่อไป
3. กดปุ่ม ."ดาวน์โหลดไฟล์เดียวนี้". แล้ว Save ลงในที่ต้องการ

*****

ถ้าคุณมีเวลา ให้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดในวันที่ 20 พฤศจิกายน ดูรายละเอียดที่นี่
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2011&date=18&group=14&gblog=6



โดย: นมสิการ วันที่: 10 ตุลาคม 2554 เวลา:4:39:33 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: บ้านอมยิ้ม IP: 110.169.181.62 วันที่: 10 ตุลาคม 2554 เวลา:20:13:48 น.  

 
อาจารย์คะ มันจะมีที่ๆนึงที่จิตไปรู้แล้วมันรู้สึกเหมือนกับเราอยู่ในตัวอะไรไม่รุ้ มองดูกายนี้เหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอมนะคะ เมือก่อนจะเป็นแวบๆ แต่ถ้าเด๋วนี้ตั้งใจไปรู้ตรงจุดนั้นก้อจะเห็นกายนี้ใจนี้เป็นสิ่งแปลกปลอมนานขึ้นหน่อย ไม่ใช่ตัวเรา แต่ถ้าตั้งใจไปรู้นี่จะรู้ไม่นานคะเพราะว่าต้องไปทำงาน ที่ต้องเกี่ยวกับคน แล้วจิตจะอยู่ไม่ได้ตลอด จึงไม่บังคับ ปล่อยให้จิตไปรู้เอง แล้วตอนนี้บางทีถ้าจิตไปรู้เองจะเหมือนเรามองดูกายนี้เคลือนไหวอ่ะคะ เมื่อก่อนอาจจะรู้สึกใกล้ๆกับกายนี้แต่ตอนนี้บางทีก้อรู้สึกว่ามันห่างๆ จากกายนี้ไป เหมือนอยู่สูงขึ้นไปแล้วมองลงมานะคะ เอ่อ อธิบายยากจัง - -' สภาวะธรรมเนี่ย

ตรงจุดนี้มันคืออะไรคะ ฐานจิตหรือป่าว อันนี้เดาเอาคะ

เคยได้รู้สึกตอนจิตนิ่ง หรือจิตเงียบ เหมือนที่อาจารย์เคยเขียนไว้ในบล๊อกอ่ะคะ ตอนหลังมาเปิดเพลงเบาแล้วจิตไม่ค่อยไหว ต้องเปิดดังๆ (แต่ดังมากไม่ได้ค่ะสามีไม่ชอบ) ก็รู้สึกว่ามันยังต่างจากที่อธิบายข้างบนอ่ะคะ


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.22.246 วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:14:36:37 น.  

 
ที่เล่ามานั้น ใช่ฐานของจิตครับ แต่ว่า....
คุณอย่าได้บังคับให้มันไปอยู่ตรงนั้น แต่ให้ฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิไป แล้วให้มันไปอยู่ได้เอง

การเกิดปัญญาของจิตนั้น จะเกิดเพียงแว๊บสั้น ๆ สั้นเพียงกระพริบตาเท่านั้น ซึ่งสภาวะแบบนี้ จะเกิดเองทั้งสิ้น ถ้ามีการบังคับจิตให้ไปอยู่โน่นอยูุ่นี่ละก็ ถึงแม้ว่าจะเห็นสภาวะ แต่ไม่เกิดปัญญาของจิตจริงครับ

ในอริยสัจจ์ 4 พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นี่แหละครับ คือแก่นแท้ของการปฏิบัติ การเห็นสภาวะธรรมต่าง ๆ นั้น ก็เพื่อให้รู้จักครับ (ซึ่งก็คือ ทุกข์ให้รู้ นั่นเอง ) เมื่อรู้จักแล้ว ก็ละทิ้งเสีย การละทิ้งสภาวะนี้ หมายความว่า สภาวะได้สลายตัวลงไป พระพุทธองค์ก็ทรงสอนอีกว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นสมควรหรือที่ว่าเป็นเรา เป็นของเรา <<<< ส่วนนี้อ่านดี ๆ นะครับ อ่านหลาย ๆ รอบ เพราะนี่คือแก่นการปฏิบัติจริง ๆ มันจะเป็นแบบนี้ และก็ตรงเป๊ะกับคำสอนของพระพุทธองค์เสียด้วยซิครับ การที่จิตเห็นว่า สภาวะเป็นไตรลักษณ์ แล้วจิตเกิดปัญญาแว๊บเดียวเท่านั้น จิตก็จะเข้าใจเองว่า นั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ ๆ เรา

เราอย่าไปติดใจสภาวะว่า ต้องเห็นโดยไปทำมันขึ้นมา ขอให้เป็นไปตามธรรมชาติ เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง นี่คือธรรมชาติ แล้วแว๊บเดียวที่จิตเกิดปัญญาจะเกิดขี้นมาเอง <<< สิ่งเหล่านี้ นักภาวนาพลาดมามากครับ คือไปฟังครูบาอาจารย์แล้วไม่มีโอกาสได้ถาม ก็เข้าใจเอง ตีความเอง พยายามไปทำสภาวะขึ้นมา เช่น เดินช้า ๆ เคลื่อนตำแหน่งจิตไปมาเพื่ออยากเห็นสภาวะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็ดีอยู่ แต่เป็นสมถะครับ การปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระเท่านั้น จิตจะรู้แจ้งได้เอง

อ่านแล้วคงไม่งงนะครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:19:08:53 น.  

 
ผมแถมให้คุณแม่ลูกสองอีกนิด

ตัวจิตรู้นั้น ตำแหน่งของฐาน มันจะเคลื่อนไปมานะครับ ถ้ารู้สภาวะล้วน ๆ ไม่มีการคิดของขันธ์ มันจะอยู่ที่หนึ่ง แต่ถ้ามีการคิดของขันธ์ ก็จะอยู่อีกที่หนึ่ง แต่ถ้าเป็นสุญญตา มันจะไม่มีตัวจิตนะครับ มีแต่การรู้อย่างเดียว

คุณจะเห็นว่า การเคลื่อนจิตไปตามใจที่ต้องการ เป็นสมถะ และถ้าเคลื่อนอยู่แต่ตรงนั้น ไม่ปล่อยจิตไปตามธรรมชาติ นักภาวนาก็จะไม่เห็นไตรลักษณ์ของจิตตามความเป็นจริง แล้วนักภาวนาผู้นั้น ก็จะตันอยู่ตรงนั้น ไม่ก้าวหน้าไปต่อ


โดย: นมสิการ วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:19:23:04 น.  

 
ขอบพระคุณคะอาจารย์ เคยคิดเหมือนกันว่าทำไมสภาวะการรู้แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน จริงๆมันอยู่คนละที่กันนี่เอง

เมือ่คืนก่อนจะนอน รู้สึกได้อิกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราไปเพ่งที่จะรู้ การรู้นี้จะแคบ แต่ถ้าเราปล่อยแล้วรู้สึกตัวสบายๆ การรู้นี้จะกว้าง จะเห็นตัวเราไม่ใช่เราทันทีคะ เหมือนที่อาจารย์สอนเสมอๆว่า ให้รู้สึกตัวสบายๆอ่ะคะ


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.22.246 วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:4:14:34 น.  

 
เพ่งแล้วแคบ นี้แหละครับ อัตตา / ความคิด / จิตสร้างขันธ์ ทั้งนั้นครับ

คุณเห็นอาการแคบได้แล้ว ต่อไป เมื่อพบอาการแคบ ก็ปล่อยสบาย ๆ แล้วรู้สึกตัวธรรมดา อาการแคบก็จะหาย กลายเป็นรู้กว้างๆ ให้ฝึกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่า อาการแคบ ยังต้องมี เพราะเราต้องทำงาน ต้องคิดโน่นคิดนี่อยู่เสมอ

ซึ่งหมายความว่า ในยามที่ไม่ทำงาน ไม่ต้องคิดงาน ก็ฝึกแบบรู้กว้างๆ เข้าไว้ ถ้าในยามที่ทำงาน มันจะแคบก็ต้องปล่อยมันไปอย่างนั้น อย่าไปกังวลใจใด ๆ


โดย: นมสิการ วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:9:12:49 น.  

 
ใช่เลยค่ะอาจารย์ ถ้าจะต้องใช้ความคิด หรือเกิดอารมณ์ต่างๆ แล้วไปยึดมันเป็นรู้แคบๆไปเลยอ่ะคะ แต่พอปล่อยมันหรือว่าหมดเวลายึดมัน จะเป็นรู้กว้างอ่ะคะ


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.22.246 วันที่: 18 ตุลาคม 2554 เวลา:16:06:41 น.  

 
มีเวลาว่างเช้า2ชม.บ่าย3ชมจะฝึกอย่างไรในรูปแบบดีชอบการเดินจงกรมแต่ยังยังสงสัยว่าให้จับความรู้สึกที่เท้ากระทบพื้นหรือการตึงของกล้มเนื้อหรืออย่างไรดีหรือมีวิธีใดโปรดชี้แนะด้วย กราบขอบพระคุณอาจารย์ครับ


โดย: มือใหม่ IP: 223.206.137.154 วันที่: 23 ตุลาคม 2554 เวลา:11:28:49 น.  

 
ถ้าชอบเดิน ก็เดินครับ

การเดินนั้น เพียงเดินตามธรรมชาติด้วยความรู้สึกตัวธรรมดา ไม่ต้องอยากรู้อะไร แต่ให้จิตเขารู้เอง

เมื่อรู้สึกตัวอยู่ ถ้ามือใหม่จริง ๆ อาจจะรู้สึกได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็ไม่เป็นไร
ที่ว่ารู้สึกได้นี้หมายความว่า การรู้สึกถึงทุก ๆ อย่างที่เราไม่เจาะจงที่จะรู้ แต่ก็รู้ได้เองเพราะการมีความรู้สึกตัว

เอาง่าย ๆ ตอนที่คุณกำลังอ่านที่ผมตอบคุณอยู่นี่ คุุณลองเอามือลูบหลังมืออีกมือซิครับ แล้วตาก็อ่านไปด้วย คุณยังรู้สึกถึงการลูบหลังมือได้ใช่ใหมครับ ให้รู้สึกแบบนั้น

เวลาเดินจงกรม ความรู้สึกส่วนใหญ่จะตกที่ การกระทบของเท้าที่เดิน และ การสั่นไหวของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการเดิน เวลาฝึกอย่าได้เจาะจงว่า ให้ไปรู้ที่เท้ากระทบ หรือ ให้ไปรู้ที่กล้ามเนื้อสั่นไหว เมื่อรู้สึกตัวอยู่ จิตจะไปรู้ที่เท้ากระทบก็ได้ ไปรู้ที่กล้ามเนื้อสั่นไหวก็ได้ และรู้สลับไปสลับมาระหว่างเท้ากระทบ และ กล้ามเน้ือสั่นไหวก็ได้เช่นกัน ทั้งหมดใช่ได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า อย่าไปเจาะจงที่จะรู้สิ่งใด แต่รู้ได้ในทุกสิ่่งที่จิตไปรู้ถึงเอง

ไม่งงนะครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 23 ตุลาคม 2554 เวลา:19:09:33 น.  

 
ผมอพยพแล้วครับ น้ำกำลังมาแถวบ้าน กำลังขึ้นมาเรื่อย ๆ

ถ้ามีคำถามเข้ามา ผมอาจไม่เข้ามาตอบสักระยะ เพราะที่ไปใหม่ ที่ชลบุรี
อาจไม่มีอินเตอร์เนทใช้

เรื่องกิจกรรมครั้งที่ 3 ให้เข้ามาอ่านอีกครั้งวันทีี่ 19 พ.ย. ว่าจะจัดหรือเลื่อน

ถ้าผมไม่ได้เขียนอะไรไว้เลย ให้เป็นว่า เลื่อนไปก่อนนะครับ

สวัสดีครับ ทุกท่าน


โดย: นมสิการ วันที่: 30 ตุลาคม 2554 เวลา:9:39:10 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: 30 ธันวา IP: 125.27.57.246 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2554 เวลา:18:41:08 น.  

 
สวัสดีคะ

ไม่แน่ใจอาจารย์เคยเขียนเรื่องนี้ไปแล้วหรือยัง
แต่อยากรบกวนอาจารย์ ช่วยแนะนำ
ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ทางเพศคะ

ไม่รู้ว่าเรื่องความรู้สึกทางเพศนั้นเกิดจากจิตที่ไม่ตั้งมั่นพอหรือเปล่าคะ
แล้วเราควรจะทำยังไงดีเวลาเกิดความรู้สึกแบบนั้น
เอามาใช้เจริญสติได้ไหมคะ

ขอบพระคุณมากคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 26 พฤศจิกายน 2554 เวลา:20:50:09 น.  

 
อ่านเรื่องอารมณ์ทางเพศได้ที่นี่ครับ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=27-11-2011&group=15&gblog=68


โดย: นมสิการ วันที่: 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา:6:21:40 น.  

 
เข้าไปอ่านแล้วคะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา:9:04:34 น.  

 
เรียนถามคุณนมสิการ
ติดตามบล็อคมาสักพักแล้วค่ะ ขอเรียนถามดังนี้นะคะ
เมื่อเรามีสติอยู่กับกายและใจได้บ่อยขึ้น ๆ จิตมีสมาธิ ปราศจากนิวรณ์ (หมายความว่าไม่มีความคิดเข้าแทรก) จิตรู้อยู่อย่างสบาย ๆ เบา ๆ อยู่กับกายและใจ โดยจะเป็นอิริยาบถทั้งสี่ หรือเมื่อมีความคิดแว้บเข้ามาก็ตาม การตามดูตามรู้ในลักษณะนี้ทำให้จิตตั้งมั่น มีปีติเกิดตามมา
อยากถามว่าเราจะเรียกจิตที่ดำเนินไปนี้เป็นฌานจิตได้หรือไม่ ในความรู้ของคุณมนสิการ หมายความว่าเราไม่ได้มีการตรึก หรือที่เรียกว่าวิตก และก็ไม่ได้ต้องประคองจิต เป็นวิจาร จิตทำงานเองเสียส่วนใหญ่ เมื่อแว้บออกไปนอกกายใจ เราก็รู้ตาม
อีกอย่างเวลาปฏิบัติ ดิฉันถนัดดูกายโดยความเป็นธาตุ คือไม่มีสัณฐาน มีแต่สภาวะ โดยเฉพาะเวลาทำสมาธิ รู้สึกว่าจะชำนาญกว่าดูลมหายใจ คือดูได้ แต่ความเบาของลมทำให้ลงภวังค์ได้ง่าย
ขอคำแนะนำว่าดิฉันควรต้องพิจารณาอะไร หรือว่าแค่รู้เฉย ๆ ก็พอ
การที่เจริญสติอยู่เสมอ ๆ หรือว่าจิตเกาะอยู่กับกาย กับใจอยู่เสมอนั้น ก็กั้นกิเลสได้พอสมควร ทำให้อยุ่เป็นสุขมากขึ้น เห็นสิ่งรอบตัวเป็นเรืองธรรมดา ธรรมชาติ ที่จิตยอมรับได้
กราบขอบพระคุณค่ะ หวังว่าจะได้รับความกรุณา


โดย: วชิรญานี IP: 58.9.197.167 วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:16:34:48 น.  

 
ตอบคุณ วชิรญานี

1..อยากถามว่าเราจะเรียกจิตที่ดำเนินไปนี้เป็นฌานจิตได้หรือไม่

ตอบ..ผมจะตอบในแง่ของสัมมาฌาน หรือ องค์ฌานเพื่อการตรัสรู้เพื่อพ้นทุกข์ ในความเห็นของผม การมีสติระลึกถึงขันธ์ 5 ยังไม่ได้ถึงระดับฌานครับ ในการถึงระดับฌานได้นั้น จะต้องเห็น มโน หรือ ไม่ก็เห็น ตัวจิตรู้ ตัวใดตัวหนึ่ง หรือ เห็นทั้ง มโนและจิตรู้ พร้อมกันทั้ง 2 ตัวก็ได้

2..อีกอย่างเวลาปฏิบัติ ดิฉันถนัดดูกายโดยความเป็นธาตุ คือไม่มีสัณฐาน มีแต่สภาวะ โดยเฉพาะเวลาทำสมาธิ รู้สึกว่าจะชำนาญกว่าดูลมหายใจ คือดูได้ แต่ความเบาของลมทำให้ลงภวังค์ได้ง่าย

ตอบ การดูกายในความเป็นธาตุ ที่มีแต่สภาวะนั้นถูกต้องครับ ผมก็แนะนำให้รู้แบบนี้ เพียงแต่วา นักภาวนาต้องเข้าใจความเป็นธาตุว่า คือ อะไร อย่างเช่น การรู้ลมหายใจ ความเป็นธาตุลม คือ การสั่นการไหว การสั่นสะเทือน
ถ้ารู้ลม ให้หัดรู้การไหว การสั่นสะเทือนครับ อย่าไปรู้อาการลมเบาหรือลมหาย ถ้าเราระลึกรู้ด้วยสัมมาสติถึงความเป็นธาตุลม ให้ระลึกรู้ลมไปเรื่อยๆ ถ้าลมเบา ลมหาย ไป ให้หยุดแล้วตั้งต้นใหม่ครับ อย่าให้ลมหาย เพราะเราต้องการสัมมาสมาธิ การรู้ลมด้วยความเป็นธาตุุ คือ รูุ้อยู่ว่ามีการสั่นสะเทือนอยู่เสมอ ๆ อย่างนี้ จะเกิดสัมมาสมาธิแล้วจิตจะตั้งมั่นได้ ซึ่งจะดีกว่าที่ไม่มีลมให้ดูนะครับ

3..ขอคำแนะนำว่าดิฉันควรต้องพิจารณาอะไร หรือว่าแค่รู้เฉย ๆ ก็พอ

ตอบ ผมแนะนำครับว่าให้รู้เฉย ๆ ไม่ต้องไปคิดพิจารณาอะไรทั้งสิ้น เพราะการคิดพิจารณานั้น จิตจะทำงานเป็นความคิดหรือจิตตสังขารขึ้น ถ้ากำลังสัมมาสมาธิยังไม่ดีพอ จิตรู้จะวิ่งออกไปยังจิตตสังขารได้ ถ้าเรารู้เฉย ๆ รู้แบบไม่คิด จิตจะคงอยู่ทีฐานของจิต ฝึกให้จิตอยู่ที่ฐานของจิตจนชำนาญแล้วจิตจะตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิได้ครับ

ลอง เปิด youtube ดูการบรรยายครั้งที่ 1 ผมมีอธิบายวิธีการปฏิบัติแบบการรู้กายด้วยความเป็นธาตุอยู่ในนั้นครับ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=11-2010&date=06&group=14&gblog=2


โดย: นมสิการ วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:18:08:36 น.  

 
ขออนุโมทนากับคุณ นมสิการ

ขอบคุณครับ






โดย: สุรชัย IP: 118.173.180.52 วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:22:50:11 น.  

 
กราบขอบพระคุณค่ะ
มีประโยชน์อย่างยิ่ง จะลองทำดูแล้วขออนุญาติมารายงานค่ะ


โดย: วชิรญานี IP: 58.9.187.140 วันที่: 7 ธันวาคม 2554 เวลา:8:40:53 น.  

 
สวัสดีครับคุณนมสิการ
ได้ปฏิบัติตามกฏ 3 ข้อมาได้เก้าเดือนกว่าแล้วเริ่มเผลอน้อยลง ๆ พอสังเกตุได้ว่ารู้แบบแคบ(ผมจะรู้สึกร่างกายร้อน หน้าตัวแดงมาก) และแบบกว้าง(สบายๆ ไม่ตึงที่อวัยวะใดเลย) ต่างกันอย่างไรแบบหยาบ ๆ ได้ สองสามวันที่ผ่านมานี้รู้สึกว่าตัวเองตื่นตัวตลอดเวลาในยามหลับกลางคืน ราวกับว่าตื่นอยู่ในความฝัน หรือรู้สึกตื่นตัวรับรู้สิ่งรอบตัวได้จนลุกขึ้นตอนเช้า(เสียงรถวิ่ง เสียงหมาเห่า ฯลฯ)
พยายามทั้งปล่อยใจให้สบาย ๆ เพื่อจะหลับให้ได้ก็ไม่ได้ผล ก็ลองลืมตา(บนที่นอนในความมืด) แล้วสังเกตุอาการทางใจไปเรื่อย ๆ มองความคิดที่เข้าๆออกๆในหัวไม่มีหยุด ซึ่งบางคืนก็เผลองีบหลับไปได้ แต่เมื่อคืนกลับไม่ได้ผลมันตื่นตัวตลอดเวลาเลยครับ อยากรบกวนคุณนมสิการแนะนำด้วยครับว่าผมควรจัดการกับอาการของผมที่ชอบจะตื่นตัวเวลาจะนอนได้อย่างไร
ขอบคุณครับ


โดย: Num IP: 61.19.90.30 วันที่: 7 ธันวาคม 2554 เวลา:12:47:35 น.  

 
ปัญหานอนไม่หลับนั้น สาเหตุหลัก ก็คือ เกิดพลังงานค้างที่บริเวณศรีษะ วิธีแก้ไขนั้น ผมขอให้คุณลองดังนี้

1..การฝึกฝน ขอให้ฝึกต่อไปแบบเดิม ฝึกเล่น ๆ ผ่อนคลายให้มาก ๆ

2..ก่อนการนอน ผมขอให้คุณลองอย่างนี้ครับ เนื่องจากพลังงานค้างที่บริเวณศรีษะนั้น เราจะลบมันทิ้งไป โดยใช้สมถะช่วย

วิธีการก็คือ เมื่อจะนอนให้รับรู้อาการทางกายอย่างเดียว จะคล้าย ๆ กับว่า เราไปสนใจที่กายอย่างเดียวก็ได้

ซึ่งมีหลายวิธี

A.....//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11051859/Y11051859.html#2

วิธีนี้ก็ดีครับ ของคุณต้นแมกโนเลีย รับรู้การสัมผัสที่กายเวลานอน
ขึ้นอยู่ักับว่า คุณต้องการฝึกเพื่ออะไร

1. เพื่อการเจริญสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
2. เพื่อให้จิตสงบนิ่งอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ถ้าวัตถุประสงค์เพื่อการเจริญสติ รู้สึกตัว รู้เนื้อ รู้ตัว ตามข้อที่ 1
สามารถทำได้ในทุกท่า เช่น นอน ยืน นั่ง เดิน และอิริยาบถย่อยๆ
เป็นการฝึกฐานกายชนิดหนึ่งค่ะ

นอนในท่าที่สบายๆ บนพื้นแข็งๆ ไม่หลับตา หัวคิ้วไม่ขมวด ปล่อยแขนข้างลำตัว
สัมผัสความรู้สึกไปที่แผ่นหลังทั้งแผ่น ความรู้สึกที่แนบแน่นกับพื้น ไม่กำหนดอะไร หรือ บริกรรม
ให้รู้สึกไปตามธรรมชาติ อาจรู้สึกที่ท้องพอง หรือ ยุบ สลับบ้างก็ได้ค่ะ
แต่การสัมผัสความรู้สึกที่แผ่นหลัง จะตรึงความรู้สึกอยู่กับกายได้ง่ายกว่า เพราะเนื้อที่สัมผัสมันแยะ
การจับลมหายใจ มันแผ่วไปสำหรับมือใหม่ที่จะทำให้จิตอยู่กับตัว
เมื่อเริ่มรู้สึกว่าใจลอยไปคิดไม่อยู่กับกาย ก็ให้พลิกตัว ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา แล้วสัมผัสกับความรู้สึกขณะตะแคง
อาการพลิก อาการตึง อาการขยับ หรือจะเอาแขนกวาดไปตามพื้น แล้วรับสัมผัสของอาการต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
ทุกครั้งที่ขยับ จะดึงความรู้สึกที่ไหลไปกับความคิด ให้กลับมาสู่เนื้อตัวได้ค่ะ

ลองทำดูซีคะ เบื้องต้นคือ คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย
ออกจากความคิดได้บางขณะที่รู้สึกตัว
ความเครียดลดลงได้แยะเลย

และถ้าคุณทำประจำสม่ำเสมอ ทำถี่ๆ
ผลที่ตามมา คือ สติและความรู้สึกตัวจะติดตัวไปในอิริยาบถอื่นๆ ด้วย


ถ้าสนใจการฝึกแบบนี้ ขอเชิญหลังไมค์

จากคุณ : ต้นแมกโนเลีย
เขียนเมื่อ : 11 ก.ย. 54 06:54:44

B.....หรือว่าจะเพิ่มการหายใจก่อนข้อ A ก็ได้ ให้ทำสัก 20 ที คือ หายใจเข้าแรง ๆ ยาว ๆ พยายามหายใจเข้าไปลึก ๆ กลั่นไว้สักครู่หนึ่ง แล้วปล่อยลมออกตามธรรมชาติ ตอนปล่อยลมออก ไม่ต้องกลั้นลม ให้ออกได้ตามปรกติ
ทำอย่างนี้ ใหม่ ๆ จะรู้สึกอึดอัดเพราะไม่ชิน แต่ถ้าทำชิน ร่างกายจะได้อ๊อกซิเจนมากขึ้น ดีต่อสุขภาพ และ จิตจะไหลลงจากศรีษะไปบริเวณท้องหรือ ลำตัว ซึ่งต่ำลงไปกว่าศรีษะ ทำให้พลังงานที่ศรีษะคลายตัวลงไป เมื่อทำข้อนี้เสร็จ ก็ไปทำข้อ A ต่อไป จนหลับไป

วิธี A + B เป็นสมถะ แต่ก็ช่วยให้จิตคลายตัว ทำให้การนอนได้ดีขึ้น

ลองดูครับ ได้ผลอย่างไร บอกผมด้วยครับ



โดย: นมสิการ วันที่: 7 ธันวาคม 2554 เวลา:18:46:43 น.  

 
สวัสดีครับคุณนมสิการ
จากการลองทำตามคำแนะนำเมื่อคืนนี้โดยเมื่อจะนอนให้รับรู้อาการทางกายอย่างเดียว ด้วยวิธี A รู้สังเกตุแต่อาการที่แผ่นหลังกระทบที่นอน และเพิ่มการกำแบมือเข้าไปให้อาการทางกายเด่นการอาการทางใจ(ความคิด, การตื่นตัวซาบซ่านที่ศรีษะ) ก็ได้ผลครับจากเริ่มด้วยการลืมตาทำสักพักตาจะเริ่มปิดเกิดอาการง่วงหลับไปไม่รู้ตัวจนไม่ได้ยินเสียงคาราโอเกะข้างบ้านเลยจนเวลาตีสองเค้าปิดร้าน แต่สักพักมีเสียงหมาที่บ้านเห่านานมากก็ตื่นตัวขึ้นมาอีกที่นี่ก็ลองใช้วิธี A เหมือนเดิมแต่เอาไม่อยู่แล้วการตืนตัวที่ศรีษะเด่นชัดมากมันรู้สึกซาบซ่้านไปทั่วคล้าย ๆ มีความสว่างเหมือนแสงที่กระทบผิวน้ำยิบยับช้า ๆ ครับ(อธิบายยากครับ) เลยใช้วิธี B หายใจลึก ๆ + กลั้น + ปล่อย ก็ช่วยให้อาการซาบซ่านหายไปรู้สึกโล่งในศรีษะก็กลับมาใช้วิธี A คือรู้สึกทางกายต่อครับก็มีเคลิ้มหลับไปสลับก็การตื่นตัวเป็นระยะจนตื่นตอนหกโมงเช้าครับ
จะลองใช้วิธีที่คุณนมสิการแนะนำและสังเกตุตัวเองไปเรื่อย ๆ ครับ แต่อาการนี่ดีอย่างที่ไม่ทำให้รู้สึกง่วงนอนในที่ทำงาน

ขอบคุณครับ


โดย: หนุ่ม IP: 61.19.90.30 วันที่: 8 ธันวาคม 2554 เวลา:8:07:27 น.  

 
สวัสดีครับคุณนมสิการ ผมมีข้อสงสัยอยากจะถามดังนี้นะครับ
1.การที่เราฟังเทศน์นี่ถือว่าเรากำลังรู้สึกตัวอยู่ไหมครับ คือปกติผมฟังจากmp3
2.ต่อจากข้อ1นะครับ เราจำเป็นต้องลูบหลังมือเพื่อเพิ่มความรู้สึกตัวอย่างที่คุณเคยบอกไหมครับ
3.ถ้าผมปฏิบัติโดยการใช้อาณาปานสติ คือหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ สลับกับการลูบหลังมือ หรืออะไรต่างๆที่คุณเคยสอนไว้ เพื่อไม่ให้จำเจเกินไปนี่ เพราะบางทีเหมือนเราจะลูบตลอดก็ไม่ได้ใช่ไหมครับ แต่อย่างน้อยก็ขอเจริญสติในแต่ละวันให้มากที่สุด ถือว่ายังถูกหลักอยู่ไหมครับ
4.คือส่วนใหญ่แล้ว ผมใช้การพลิกฝ่ามือคว่ำ หงายไปเรื่อยๆ ประยุกต์แทนที่คุณเคยบอกในเว็บ นี่ถือว่าถูกตามหลักไหมครับ
5.การปฏิบัติที่คุณเคยทำแล้วผิดมาตลอดหลายสิบปีนั้น เป็นยังไงหรอครับ คือบางทีผมใช้หลักลมหายใจเข้าออก ก็ไม่อยากผิดพลาดอย่างที่คุณเคยบอกไว้
6.ตอนนี้คุณยังได้ติดต่อกับคุณKoknam อยู่ไหมครับ ไม่ทราบว่าคุณทั้งสองคนปฏิบัติตามเส้นทางเดียวกันไหมครับ

บางคำถามอาจถ้าอาจดูไร้สาระ ล่วงเกินไปบ้าง ก็ต้องขอโทษล่วงหน้าด้วยนะครับ แล้วก็ขอบคุณล่วงหน้าด้วยครับ


โดย: ชาย IP: 124.121.57.249 วันที่: 10 ธันวาคม 2554 เวลา:12:04:58 น.  

 
อีกข้อนึงนะครับ เวลาเราดูทีวี หรืออะไรประเภทนี้ คือไม่อยากเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เราจะทำการเจริญสติไปด้วย นี่จะได้ผลเหมือนกันไหมครับ


โดย: ชาย IP: 124.121.57.249 วันที่: 10 ธันวาคม 2554 เวลา:12:10:43 น.  

 
ตอบคุณชาย

1..เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับคนฟังครับ เพราะบางคนอาจไม่รู้สึกตัว บางคนก็รู้สึกตัวได้ สำหรับคนทั่ว ๆ ไป ที่เขาฟังแบบจดจ่อมาก ๆ ถ้าอย่างนี้จะไม่รู้สึกตัว แต่ถ้าบางคนฟังแบบสบาย ๆ คือว่า รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ในขณะเดียวกันก็รู้สภาวะไปด้วย อย่างนี้ก็ฟังอย่างรู้สึกตัว

2..ผมแนะนำว่า ควรทำครับ เพราะการลูบหลังมือแล้วฟังไปด้วย จะทำให้ได้ความรู้สึกตัว และจังหวะที่รู้สึกถึงการลูบ ยังเป็นสัมมาสติอีกด้วย ใหม่ๆ คุณอาจฟังไม่รู้เรื่อง ถ้าลูบหลังมือไปด้วย ก็ไม่เป็นไรครับ ถือว่า ฟังเล่น ๆ ไม่ต้องจริงจัง แต่ถ้าคุณฝึกลูบหลังมือไป ฟังไปบ่อย ๆ อีกหน่อย ก็จะฟังรู้เรื่องได้มากขึ้น มากชึ้น เรือย ๆ แถมยังมีสัมมาสติในระหว่างฟังอีกด้วย

3..ถูกหลักหรือไม่ อันนี้ตอบยาก เพราะขึ้นกับคนครับ
ถ้าคุณฝึกอาณาปานสติ ผมแนะนำว่า คุณอย่าไปสนใจว่า นี่ลมเข้า นี่ลมออก แต่ให้สนใจถึงอาการหายใจจะดีกว่า เช่นอาการไหว ๆ กระเพื่อม กระเพื่อม แถวท้อง แถวหน้าอก

ถ้าคุณจะลูบมือไปด้วย รับรู้อาการไหว ๆ เนื่องจากการหายใจไปด้วย อย่างนี้ก็ได้เช่นกันครับ ถ้าคุณทำได้และรู้สึกได้ถึงการลูบ รู้สึกถึงการไหว ๆ จากการหายใจ พร้อมกันไปในคราวเดียวกัน อย่างนี้จะดีมากเลยครับ แต่ถ้าคุณยังรู้สึกพร้อมกันไม่ได้ ก็เอาทีละอย่างก็แล้วกัน เดียวจะเครียด จะยิ่งแย่

3A..สำหรับคนที่เขาฝึกมาจนชำนาญ เขาจะรู้สึกได้เองหลาย ๆ อย่างในคราวเดียวกัน เช่น ไหว ๆ กระเพื่อมๆ จากการหายใจ ถ้าลูบมือก็รูุ้สึกได้ ในขณะเดียวกัน ก้นนั่งเก้าอี้ ยังรู้สึกได้อีกถึงการสัมผัสทีก้น และ รู้สึกถึงอืน ๆ ได้อีก ซึ่งอาการรู้สึกได้หลาย ๆ นี่แหละครับ คือ สัมมาสติ ที่ไม่มีการยึดติดกับสิ่งใด คนที่ภาวนาชำนาญจะรู้สึกได้แบบนี้ครับ

4..การจะพลิกฝ่ามือ คว่ำหงาย หรือ ลูบหลังมือ หรือ อะไรก็แล้วแต่ สำคัญอยู่ทีว่า คุณรูุ้สึกได้หลาย ๆ พร้อมกันหรือไม่ ถ้าได้ ก็ใช้ได้ครับ
ลองอ่านข้อ 3A ซ้ำอีกทีครับ เรื่องรู้หลาย ๆ อย่าง

5..ที่ผมผิดมี 2 อย่างครับ คือ พยายามที่จะรู้สภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ต่อเนื่อง และ การจ้องที่ไม่รู้่ตัวว่าจ้อง เรื่องการจ้องทีไม่รูุ้ตัวว่าจ้อง
เพราะผมไม่เข้าใจเรื่องของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ พอผมเข้าใจแล้ว ผมก็เลยจ้อง เลิกอยากรู้สภาวะให้ต่อเนื่อง

6..ผมรู้จักคุณ koknam ครับ แต่ 2 ปีหลังนี้ที่ผานมา ผมไม่เคยติดต่อกับเขาอีก
ได้ข่าวเพียงว่า เขาออกจากวัดสนามในแล้ว แต่ไปอยู่ไหน ผมไม่ทราบครับ
เท่าที่ผมทราบ คุณ koknam ดูจะเคร่งครัดกับแนวทางหลวงพ่อเทียนมาก
แต่ผมประเภทไม่เคร่งครัด ผมพยายามหาแนวทางที่เหมาะกับตัวผมเอง
การยกมือแบบหลวงพ่อเทียน ผมก็ไม่ค่อยชอบเท่าใดครับ แต่ถ้าเข้าใจแล้ว วิธีการยกมือแบบหลวงพ่อเทียนนี่สุดยอดในการฝึกฝน แต่ถ้าเข้าใจก่อนจึงจะได้ผลดี ถ้าไม่เข้าใจ ก็หลงทางได้ง่าย ๆ ครับ

ผมชอบแนวทางที่สามารถประยุกต็เข้ากับชีวิตประจำวันพร้อมกันไป ผมจะไม่ชอบนั่งยกมือนาน ๆ หรือ เดินจงกรมนาน ๆ ผมทำในรูปแบบ นิด ๆ หน่อย ๆ เท่านั้น แต่ผมพยายามจะฝึกในชิวิตประจำวันให้มาก

7..เรืองดูทีวี ผมแนะนำว่า ควรฝึกไปด้วย เช่นดูทีวีไป ลูบหลังมือไป
ในประสบการณ์ของผม ผมพบธรรมในขณะดูทีวีถึง 2 ครั้งด้วยกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 10 ธันวาคม 2554 เวลา:19:00:59 น.  

 
ขอถามอีกนะครับ หลายๆคนผมว่าคงอยากทราบพอสมควร
1.อาจาย์ฝึกด้วยวิธีนี้มานานแค่ไหนแล้วครับ
2.แล้วมันมีจุดเริ่มต้นแรกไหมครับ หลังจากการเปลี่ยนมาปฏิบัติด้วยวิธีนี้ ที่แสดงให้อาจารย์เห็นว่า นี่แหละเป็นทางเริ่มต้นสู่การดับทุกข์ได้จริงๆ
3.อย่างผมนี่ คือคนที่จะปฏิบัติตามแนวทางของอาจารย์ พอจะบอกได้ไหมครับว่า สิ่งใดที่เป็นจุดเริ่มต้นแบบข้อ 2 ของอาจารย์ว่า เอ้อ! เรามาถูกทางแล้วเนอะ
4.การฝึกทีวัดนี่จะดีกว่า ได้ผลกว่าไหมครับ มันอาจดีตรงที่สถานที่ อะไรต่างๆ ทำให้เราไม่ต้องคิดมาก
5.อาจารย์คิดว่า การเข้าสู่เพศบรรชิตนี่ จะสามารถเข้าถึงธรรมได้ง่ายกว่าไหมครับ
ปล.ถ้าคำถามไหนไม่สมควร ผมต้องขอโทษล่วงหน้าด้วยนะครับ^^


โดย: ชาย IP: 124.121.192.200 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:15:59:16 น.  

 
อีกคำถามนึงนะครับ
นานไหมครับ หือใช้เวลากี่เดือน กี่ปีหรอครับ กว่าที่อาจารย์จะเห็นตัวกิเลส ที่มันหลุดออกมา คืออยากจะทราบพอเป็นแนวทางเพื่อที่จะได้รู้ตัวเองว่า เรากำลังมาถูกทางหรือไม่
ผมนี่สงสัยเยอะจังเลย = ="


โดย: ชาย IP: 124.121.192.200 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:16:03:09 น.  

 
1..ถ้านับถึงวันนี้ ผมฝึกวิธีนี้มา 6 ปีแล้วครับ
2..ผมอ่านหนังสือธรรมมามาก ถ้านับเป็นเล่ม ก็คงได้เป็นหมื่นเล่มก็มัง เพราะผมสนใจธรรมมาร่วม 30 ปีแล้ว ตอนแรกผมฝึกแบบสายวัดป่า บริกรรมพุธโธ ผมฝึกแบบนี้มานานร่วม 20 ปี แต่ไม่ work สำหรับผม
คุณ koknam พาผมเข้าหาเส้นทางหลวงพ่อเทียน ผมก็ฝึกแบบไม่รู้เรื่องอีกเช่นกัน อ่านหนังสือหลวงพ่อเทียน ฟังCD ก็ยังไม่เข้าใจ เผอิญวันหนึ่ง ผมกำลังเดิน ๆ อยู่ พลันก็เกิดอาการ จิตแยกตัวออกมา ผมเห็นชัดครับว่า จิตและสิ่งทีถูกรู้มันคนละตัวกัน ผมก็เลยรู้ว่า นี่มาถูกทางแล้ว แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจอะไรอีกมาก แต่ก็ฝึกแบบมั่ว ๆ ลองผิดลองถูกเอง จึงเสียเวลาไปนานเหมือนกัน
3..ก็คงเป็นอาการที่จิตแยกตัวออกมาครับ นี่เป็นด่านแรกที่นักภาวนาที่ได้ผลจะต้องพบ ถ้าจิตไม่แยกตัวออกมา นียังไม่ได้ผลครับ
พอจิตแยกตัวออกมา เราจะเห็นได้เองครับว่า จิตนี่เหมือนเป็นผู้ดู ผูุ้เห็น และมีอีกสิ่งหนึ่งที่ถูุกเห็นอยู่ จิตมันเห็นอย่างเดียว เห็นนิ่ง ๆ อย่างนั้นแหละ การแยกตัวครั้งแรกของผม เกิดเพียงเสี้ยววินาทีเดียวเท่านั้น แต่ผมก็รู้ได้ว่า มันแยกตัวออกมาแล้ว
4..ส่วนตัว ผมไม่ชอบฝึกทีวัด เพราะวัดมีกฏเกณฑ์หลาย ๆ อย่าง และมีคนอื่นอยู่ฝึกด้วย ผมชอบฝึกที่บ้านเองมากกว่า มันเป็นอิสระ ผมจะใส่เสื้อผ้าแบบไหนก็ได้ ถอดเสื้อฝึกก็ยังได้ แต่ในวัดทำไม่ได้ ทั้งนี้คงเป็นความชอบของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน
5..ผมไม่คิดว่า เพศบรรชิตทำให้เข้าถึงธรรมได้ง่าย ผมเคยไปนอนวัดป่ามาก่อน ผมเห็นวัดมีกฏระเบียบหยุมหยิมที่ผมไม่ชอบเลย
โดยส่วนตัว ผมคิดว่า การเป็นอิสระไม่มีอะไรบังคับ นี่จะทำให้เข้าถึงธรรมได้ง่ายกว่า
6..คำว่า กิเลส คือ อาการจิตปรุงแต่ง อย่าไปเหมาว่าจะต้องเป็นกิเลส อะไรที่เป็นจิตปรุงแต่ง ถ้าจิตแยกตัวออกมาก็ใช้ได้ทั้งนั้น อย่างเช่นความคิดก็เป็นจิตปรุงแต่งเช่นกัน แต่โดยสมมุติ คนไปตั้งเองว่า กิเลส คือ อย่างนี้ อย่างนี้ ความดี คืออย่างนี้ อย่างนี้ แต่โดยปรมัตถ์ มันจะเหมือนกันครับ คือ เป็นจิตปรุงแต่ง ที่จิตที่แยกตัวออกมาแล้วไปเห็นได้ นี่ก็ใช้ได้ทั้งนั้น

กิเลส ไม่สำคัญเท่าตัณหาครับ เราฝึกสัมมาสติ เพื่อสร้างสัมมาสมาธิให้ตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่นด้วยสัมมาสมาธิ ตัณหาก็จะแพ้ พอกิเลสโผล่มา มันจะสลายไปเองเป็นไตรลักษณ์ กิเลสมันทำอะไรเราไม่ได้เลย ถ้าเรามีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ

***
ในช่วงฝึกฝน ผมนี่เป้นคนช่างสงสัยมากเช่นกัน แต่พอผมเข้าใจแล้ว ก็หมดสงสัย จริง ๆ ธรรมนี่ง่ายมากครับ สมมุติคุณเข้าไปในดิสโก้เทค ที่มีเสียงดัง ฟังไม่รู้เรื่อง มีแสงสีต่าง ๆ แว๊ปไปแว๊ปมา เพียงคุณสัมผัสเสียง แสง ก็เท่านั้น ไม่ต้องไปคิดอะไรเลย แค่นี้เองคือธรรมขั้นต้น แต่พอเห็นจิตเป็นสุญญตา ก็เข้าใจแจ่มแจ้งในอริยสัจจ์ได้เอง มันง่ายจริง ๆ และไม่ต้องทำอะไรด้วย เพียงแต่มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิเท่านั้น ทุกอย่างมันจะเดินของมันเอง และ คนที่เป็นนักภาวนาก็ไม่ต้องไปสนใจด้วยว่า จะรู้อะไรหรือไม่
เพราะจิตเพียงเห็นสภาวะ ก็เข้าใจได้ด้วยตัวของจิตเองแบบไม่ต้องแปลอะไรออกมาเลย

แต่คนไม่เข้าใจ พอได้ยินเสียง ก็พยายามหาว่า นี่เสียงอะไร ดังมาจากไหน มีความหมายว่าอะไร พอเห็นแสง ก็พยายามหาว่า แสงที่เห็นมีสีอะไรบ้าง แสงมันมาจากไหน สีไหนมีมากกว่าสีไหน นี่คนทีไม่เข้าใจจะเป็นอย่างนี้ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:18:37:26 น.  

 
-อยากถามเพิ่มเติมว่า ที่ท่านเรียกว่าจิตอยู่ที่ฐานนั้น หมายความว่าจิตที่เป็นผู้รู้ อยู่กับฐานที่ท่านเรียกว่า มโน ใช่หรือเปล่าคะ
-ขนะที่จิตอยู่ที่ฐานของจิตนั้น หมายความว่าจิตอิ่มอยู่ในอารมณ์ ไม่ได้อยากหาอารมณ์อื่นอีก (ในขนะนั้น) ใช่ไหม เป็นอาการที่เหมือนกับจิตผู้รู้ย้อนมาอยู่กับที่ตั้งของจิต ลักษณะทางกายภาพจะเกิดอาการวูบ สงบลง เหมือนโลกหยุด มีแต่ผู้รู้เด่นอยู่ อย่างนี้ใช่ไหมคะ แต่ก็ตั้งอยู่ไม่ได้นาน ผู้รู้ก็ออกไปรับอารมณ์อื่นอีก แต่ส่วนมากก็เป็นอารมณ์ที่อยู่ในกาย และไม่มีการปรุงแต่งเป็นสังขาร หมายความว่ายังไม่มีความคิดเข้าแทรก อาการแบบนี้มักเกิดขึ้นในอิริยาบถนอนปฏิบัติค่ะ
-การปฏิบัติแบบดูกว้าง ๆ ให้รู้ตัวอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่เจาะจงรู้ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพ่งอารมณ์ เพราะการดูแบบแคบหรือจ้องนี้คือถูกตัณหาเข้าครอบงำแล้วใช่ไหมคะ
-การปฏิบัติแบบนี้ คืออยู่กับชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำแบบรูปแบบ หรือเข้าสำนัก (แต่ต้องไม่ละความเพียร) ทำให้ตัดกิเลสได้จริงเหรอคะ
-ดิฉันก็ชอบดูจิตไปด้วย นั่งดูทีวีไปด้วย บางครั้งก็รู้เรื่อง บางครั้งก็ไม่รู้เรื่อง แต่จะย้อนมาดูว่าจิตเป็นอย่างไร เช่นดูกีฬา เคยเชียร์คนที่เราชอบ เมื่อก่อนเวลาเขาแพ้จะใจเต้นแรง แต่ตอนหลัง ๆ กลับวางเฉยได้ ดิฉันก็ใช้วัดการปฏิบัติของตัวเองไปด้วย แต่ไม่ได้ทำบ่อย เพราะคิดว่าที่จริงกิเลสก็เอาไปกินแล้วด้วย เพราะอยากดูจึงดู แต่จะไม่ดูหนังละครเลย ไม่ติดรายการอะไร ๆ เลยค่ะ การดูกีฬา หรือดูข่าว จะเห็นจิตได้ง่าย เห็นว่าจิตเกิดอาการชอบไม่ชอบ จากการไปรับอารมณ์

ขอแลกเปลี่ยนและคำแนะนำนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ


โดย: วชิรญานี IP: 61.90.83.130 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:18:51:13 น.  

 
1..-อยากถามเพิ่มเติมว่า ที่ท่านเรียกว่าจิตอยู่ที่ฐานนั้น หมายความว่าจิตที่เป็นผู้รู้ อยู่กับฐานที่ท่านเรียกว่า มโน ใช่หรือเปล่าคะ

ตอบ.. ไม่ใช่ครับ ฐานของจิตไม่ใช่ มโน ครับ และถ้าจิตตั้งมั่น จิตจะไม่วิ่งไปที่ มโน ด้วยครับ แต่จิตจะเห็น มโน และสภาวะธรรมต่าง ๆ ที่อยู่ใน มโน นี่คือสภาวะของนักภาวนาที่ยังไม่ถึงที่สุดนะครับ จะเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าของนักภาวนาที่ถึงที่สุดแล้ว จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนแบบนี้

2A..-ขนะที่จิตอยู่ที่ฐานของจิตนั้น หมายความว่าจิตอิ่มอยู่ในอารมณ์ ไม่ได้อยากหาอารมณ์อื่นอีก (ในขนะนั้น) ใช่ไหม

ตอบ.. ไม่ใช่ครับ จิตไม่มีอิ่ม ไม่มีหิวครับ นั้นเป็นภาษาทางโลก แต่ทีจิตตั้งมั่นอยู่ในฐานเพราะจิตเป็นสัมมาสมาธิครับ อาการสัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นกับจิต จิตจะนิ่งอยู่ที่ฐาน ไม่วิ่งไปที่ มโน ไม่วิ่งไปที่อายตนะ ไม่วิ่งไปที่จิตปรุงแต่ง แต่เห็น มโน เห็นอายตนะ เห็นจิตปรุงแต่งได้ โดยเห็นเป็นสิ่งที่ถูกรู้
ถูกเห็น

2B เป็นอาการที่เหมือนกับจิตผู้รู้ย้อนมาอยู่กับที่ตั้งของจิต ลักษณะทางกายภาพจะเกิดอาการวูบ สงบลง เหมือนโลกหยุด มีแต่ผู้รู้เด่นอยู่ อย่างนี้ใช่ไหมคะ

ตอบ.. ไม่มีวูบครับ ไม่มีโลกหยุด โลกก็ยังเดินไปตามทางของโลก ส่วนจิตผู้รู้เด่นอยู่และเป็นอิสระนี่ใช่ครับ

2C แต่ก็ตั้งอยู่ไม่ได้นาน ผู้รู้ก็ออกไปรับอารมณ์อื่นอีก แต่ส่วนมากก็เป็นอารมณ์ที่อยู่ในกาย และไม่มีการปรุงแต่งเป็นสังขาร หมายความว่ายังไม่มีความคิดเข้าแทรก อาการแบบนี้มักเกิดขึ้นในอิริยาบถนอนปฏิบัติค่ะ

ตอบ.. ที่เป็นอย่างนี้ คือ จิตยังไม่เป็นสมาธิที่ตั้งมั่นครับ เมื่อจิตยังไม่เป็นสมาธิที่ตั้งมั่น จิตจะไหลออกจากฐานเข้าไปยึดกับสภาวะธรรม ถ้าจิตยังไม่ตั้งมั่นพอ ไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในอิริยาบทนอนปฏิบัติ มันเกิดได้ทุกอิริยาบท

ในทำนองเดียวกัน ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วในคนที่เขาฝึกมาดีแล้ว ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบทไหน จิตก็จะตั้งมั่นของมันอย่างนั้นเสมอ โดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไรเลย ไม่ต้องนั่งสมาธิด้่วย มันก็ตั้งมั่นอย่างนั้นได้เองอยู่เสมอ

3..-การปฏิบัติแบบดูกว้าง ๆ ให้รู้ตัวอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่เจาะจงรู้ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพ่งอารมณ์ เพราะการดูแบบแคบหรือจ้องนี้คือถูกตัณหาเข้าครอบงำแล้วใช่ไหมคะ

ตอบ สำหรับคนที่กำลังฝึกอยู่ จะเป็นอย่างนั้นครับ พอจ้องอะไรสักอย่าง ตัณหาจะดึงจิตให้ไหลออกจากฐานทันที

แต่สำหรับคนที่เขาชำนาญ เขาจะจ้องอะไร จิตเขาก็ยังเป็นสัมมาสมาธิที่ตัณหาไม่สามารถทำอะไรเขาได้

ดังนั้น ในการฝึกฝนสำหรับคนใหม่ ผมจึงแนะนำอย่าได้จ้องสิ่งใด เมื่อไม่จ้องก็จะเห็นอะไรได้กว้าง ๆ เอง นี่ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ตอนนี้ไม่ได้จ้องอยู่นะ แต่ถ้าเกิดเห็นแคบลงเมื่อไร นี่แสดงว่า ไปจ้องแล้วครับ ผมบอกเทคนิคให้เพื่อให้นักภาวนารู้ได้ด้วยตนเองว่า กำลังจ้องอยู่หรือไม่ได้จ้องอยู่

4..-การปฏิบัติแบบนี้ คืออยู่กับชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำแบบรูปแบบ หรือเข้าสำนัก (แต่ต้องไม่ละความเพียร) ทำให้ตัดกิเลสได้จริงเหรอคะ

ตอบ..อย่าไปคิดตัดกิเลส แต่ให้สร้างสัมมาสมาธิ เพื่อชนะตัณหา เพราะถ้าชนะตัณหา กิเลสมันจะสลายไปเองเป็นไตรลักษณ์ให้เราเห็นเอง

การปฏิบัติแบบนี้ ใหม่ ๆ จะยากลำบากสักหน่อย เพราะคนใหม่มักคุ้นเคยทางโลกในทางจ้อง จึงยังต้องมีการฝึกฝนในรูปแบบอยู่ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยแบบไหม่ก่อน เพราะถ้าคุ้นเคยแบบใหม่ได้พอสมควร การมีความเพียรในขีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ดี เพราะธรรมจะเห็นได้จริงๆในชีวิตประจำวันนี่เอง

จากที่ผมปฏิบัติ ธรรมที่ผมเห็นจะมาจากในขณะที่อยู่ในชีวิตประจำวันทั้งนั้น ผมไม่เคยเห็นธรรมในขณะที่กำลังฝึกฝนในรูปแบบเลยแม้แต่ครั้งเดียว

5..-ดิฉันก็ชอบดูจิตไปด้วย นั่งดูทีวีไปด้วย บางครั้งก็รู้เรื่อง บางครั้งก็ไม่รู้เรื่อง แต่จะย้อนมาดูว่าจิตเป็นอย่างไร เช่นดูกีฬา เคยเชียร์คนที่เราชอบ เมื่อก่อนเวลาเขาแพ้จะใจเต้นแรง แต่ตอนหลัง ๆ กลับวางเฉยได้ ดิฉันก็ใช้วัดการปฏิบัติของตัวเองไปด้วย แต่ไม่ได้ทำบ่อย เพราะคิดว่าที่จริงกิเลสก็เอาไปกินแล้วด้วย เพราะอยากดูจึงดู แต่จะไม่ดูหนังละครเลย ไม่ติดรายการอะไร ๆ เลยค่ะ การดูกีฬา หรือดูข่าว จะเห็นจิตได้ง่าย เห็นว่าจิตเกิดอาการชอบไม่ชอบ จากการไปรับอารมณ์

ตอบ..ที่คุณเขียนมานั้นเป็นการเขียนแบบตำราครับ แต่ถ้าคุณปฏิบัติแบบนั้นอยู่ ผมแนะนำว่า อย่าไปทำอย่างนั้นครับ
ถ้าคุณดูทีวี คุณก็ดูไปธรรมดาครับ ไม่ต้องไปย้อนดูจิตว่าเป็นอย่างไร เพราะการย้อนดูจิตนี่เป็นการจงใจที่มีการกระทำที่จะดูอยู่ ธรรมมันไม่เกิดเป็นปัญญาให้คุณเลยครับ

แต่ว่า ถ้าคุณดูทีวีอยู่ ดูไปเรื่อย ๆ แต่อย่าจดจ้องในทีวีมาก รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง นี่แหละครับดี เพราะถ้าคุณทำอย่างนี้ โอกาสที่จิตจะสะดุดธรรมทีมันเกิดขึ้นมาเองในขณะดูทีวีนั้นจะมีอยู่ การสะดุุดธรรมแบบนี้แหละครับ จึงจะเป็นปัญญาให้แก่คุณได้

ธรรมนั้นเกิดตลอดเวลาครับ เพียงแต่ว่า นักภาวนายังไม่ไปสะดุดมันเข้า เพราะอาจมีความจงใจที่จะเห็นที่จะดูุสภาวะ หรือ จงใจที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเราเคยฝึกฝนสัมมาสติ สัมมาสมาธิมาก่อน โอกาสที่นักภาวนาจะไปสะดุุดธรรมเข้าจะมีมากกว่าผู้ทีี่ไม่เคยฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิมาเลย

การสะดุดธรรมนั้น จะเกิดเพียงแว๊บเดียวไม่ถึงวินาที แต่จิตจะเข้าใจได้เอง
การสะดุดธรรมแบบนี้ จึงจะมีผลในทางปัญญาให้แก่นักภาวนาครับ

การสะดุดธรรมนี่ ก็บังคับไม่ได้ด้วยครับ เพียงแต่ทำตัวให้เป็นธรรมชาติเข้าไว้ แล้วโอกาสสะดุดธรรมนี้จะมีได้เสมอ



โดย: นมสิการ วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:19:41:44 น.  

 
ขอบพระคุณที่กรุณาตอบอย่างรวดเร็วค่ะ

อีกนิดนึงค่ะ เมื่อเป็นสัมมาสมาธิแล้ว ก็ปล่อยให้จิตดำเนินไปเองเลยใช่ไหมคะ เราแค่รู้อย่างเดียว


โดย: วชิรญานี IP: 61.90.83.130 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:20:54:07 น.  

 
คุณว่ายน้ำเป็นไหมครับ หรือ ไม่ก็ขับรถยนต์เป็นไหมครับ หรือ ไม่ว่าพูดภาษาต่างประเทศเป็นไหมครับ

อาการของสัมมาสมาธิเมื่อเป็นแล้ว ก็ไม่ต้องไปใส่ใจมันเลยครับ ไม่ต้องทำอะไรเลย ถึงเวลาจะใช้งานมันจะทำงานของมันเอง อย่างตัวอย่างข้างบน ถ้าคุณว่ายน้ำเป็น ถ้าคุณยังไม่ใช้งาน คุณก็ไม่ต้องไปทำอะไร พอคุณตกน้ำเท่านั้น คุณก็จะว่ายได้เองทันที เหมือนคุณพูดภาษาต่างประเทศได้ เวลาคุณอยู่กับคนไทย คนก็พูดไทย พอคุณจะพูดภาษาต่างประเทศ คุณก็พูดได้เองทันที

จะเห็นว่า ตอนคุณไม่ได้ใช้งานในการว่ายน้ำ ในการพูดภาษาต่างประเทศ ความรู้เหล่านี้ ไม่รู้อยู่ที่ไหน คุณหามันก็ไม่พบซะด้วย สัมมาสมาธิมันจะคล้าย ๆ แบบนั้น เวลาไม่ใช้งาน ก็ไม่รู้มันอยู่ไหน แต่เวลาที่มันจะเดินของมันเอง มันโผล่มาซะงั้นละโดยที่เราไม่ต้องไปสั่่งมันเลย

อีกอย่างหนึ่ง คำถามที่ว่า เมื่อเป็นสัมมาสมาธิแล้ว ปล่อยจิตให้เดินไปเอง อย่างนี้ถูกครับ แต่ที่ว่าเราเพียงรู้อยู่เท่านั้น อันนี้ผมต้องขยายความให้ฟัง ที่ว่า เพียงรู้อยู่เท่านั้น เราไม่ต้องทำนะครับ แต่จิตเขาจะรู้ของเขาเอง จะพูดง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านก็คือ เวลามีสัมมาสมาธิแล้ว เราจะเพียงรู้สึกตัวที่แผ่ว ๆ เบา ๆ เท่านั้นแต่เป็นแบบนี้อยู่ตลอดเวลา ไม่ได้ใส่ใจด้วยว่าเรากำลังรู้อยู่หรือไม่ ซึ่งก็คือธรรมชาติของจิตเอง

คุณลองนั่งเฉยๆ ธรรมดา รู้สึกตัวธรรมดา ไม่ต้องอยากรู้อะไร ไม่ต้องไปคิดอะไร ตามองเห็นไปไกล ๆ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ถ้าลมหนาวพัดมาก็รู้สึกถึงได้ รูุ้พร้อมกันหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน นี่คืออาการตอนเป็นสัมมาสติ แต่ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องได้ตลอดนาน ๆ ก็เป็นสัมมาสมาธิ จะเห็นว่ามันก็คือสภาวะที่แสนธรรมดาของคนนั่นเอง


โดย: นมสิการ วันที่: 12 ธันวาคม 2554 เวลา:6:02:47 น.  

 
ห้องนี้ปิดแล้ว ขอให้ใช้ห้องที่ 6 ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 13 ธันวาคม 2554 เวลา:4:03:56 น.  

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.