รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
23 เมษายน 2564
 
All Blogs
 
ลักษณะอาการของสัมมาสมาธิเป็นเช่นไร

1.....บทความเรื่อง < ลักษณะอาการของสัมมาสมาธิเป็นเช่นไร > บทความนี้เป็นความเข้าใจส่วนตัวล้วน ๆ   ท่านทีเข้ามาอ่าน แนะนำให้อ่านด้วยวิจารณญาณ และใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง เพื่อความเจริญในธรรมสืบต่อไป
2....สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิทีเกี่ยวเนื่องกับสติปัฏฐาน 4 เมื่อเกี่ยวเนื่องกับสติปัฏฐาน 4  ก็คือ สัมมามรรค อันเป็น ข้อที่ 4 ในอริยสัจจ์ 4
3....สิ่งทีจะนำมาแสดง จะแสดงเป็นรูปธรรม ให้ผู้อ่านได้เห็นเป็นภาพและเข้าใจได้ว่า คำว่า สัมมาสมาธิ นี้มีลักษณะอาการอย่างไร  ขอให้ดูจากภาพข้างล่างนี้ ประกอบ


.
ตามภาพ ลักษณะอาการของสัมมาสมาธฺิ จะมี 2 แบบ ซึ่งทั้ง 2 แบบ เกิดขึ้นจากเหตุที่ สมาธิมีความตั้งมั่นอย่างพอเพียง ซึ่งอาการทั้ง 2 แบบนี้ จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อที่ 4 และ ที่ 5
.
4...ลักษณะอาการของสัมมาสมาธิแบบที่ 1 (ขอให้ดูจากภาพส่วนทีอยู่ด้านบน   )
แบบนี้ นักปฏิบัติธรรม ตามองค์มรรคจะสามารถพบได้ก่อนแบบที่ 2  
ในแบบที 1 นี้  เมื่อนักปฏิบัติเกิดเผลอขึ้น ทุกข์จะเกิดขึ้นก่อน แล้ว จิตตัวรู้ ทีมีกำลัง
สัมมาสมาธิทีตั้งมั่นพอเพียงทีสามารถต้านทานแรงดึงดูดของทุกข์ได้ (แรงดึงดูดนี้ ภาษาธรรมก็คือ ตัณหา )  จิตตัวรู้ จะหลุดออกจากทุกข์ทีเกิดขึ้น แล้ว จิตตัวรู้ จะไปเห็น ทกข์ เป็นสิ่งหนี่ง
ทีเกิดขึ้น ทีอยุู่ ห่าง ๆ  ออกมา  เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่หนี่ง ทุกข์นั้น ก็จะดับสลายไปเป็นไตรลักษณ์ได้เอง
ขบวนการของสมาธิแบบนี้ จะเกิดขึ้นเองเท่านั้น นักปฏิบัติไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เลย
อาการหลุดออกแบบนี้ คนทีพบได้ก็มีอยู่ แต่จำนวนไม่มากนัก นักปฏิบัติธรรมทียังไม่เคยพบ
กับการหลุดออกแบบนี้เกือบทั้งหมด จะไม่เข้าใจคำว่า ไตรลักษณ์ ในพุทธศาสนาเลย
ต่อเมื่อ สามารถพบกับการหลุดออกได้เพียงครั้งเดียว ก็จะเข้าใจคำว่า ไตรลักษณ์ ได้ทันที
.
ขออธิบายเพิ่มเติม นักปฏฺิบัติทียังมีประสบการณ์น้อย และ กำลังสัมมาสมาธิยังไม่แข็งแรงมากนัก
การหลุดออกจากทุกข์ทีเกิดขึ้น จะพบว่า บางครั้งก็หลุดออกได้ บางครั้งก็หลุดออกไม่ได้
นี่เป็นอาการปกติทีนักปฏิบัติจะพบแบบนี้เอง เพราะกำลังสัมมาสมาธิยังไม่ตั้งมั่นมากพอ

เมื่อนักปฏิบัติได้พบกับทุกข์ไปบ่อยๆ  แล้วเกิดการหลุดออกได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็ตาม ความตั้งมั่นของสัมมาสมาธิ ก็จะมีมากขึ้นเองไปเรื่อย ๆ  เอง นี่คือ กุญแจสำคัญทีว่า สัมมาสมาธิ เพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร 
นักปฏิบัติทียังไม่มีประสบการณ์การภาวนามากพอ มักจะเข้าใจว่า การเพิ่มกำลังของสัมมาสมาธินั้น คือ การนั่่งทำสมาธิอยู่ในทีเงียบๆ  ไร้การรบกวนใด ๆ นี่เป็นการเข้าใจทีคลาดเคลื่อน
การทำดังกล่าว นักปฏิบัติจะพบได้แต่ความสงบ แต่กำลังของสมาธิไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยวิธีการดังกล่าว 
.
5...ลักษณะอาการของสัมมาสมาธิแบบที่ 2 (ขอให้ดูจากภาพส่วนทีอยู่ด้านล่าง  )
สัมมาสมาธิแบบนี้ จะเกิดได้เมื่อ นักปฏิบัติต้องผ่าน สัมมาสมาธิแบบที่ 1 มาแล้วอย่างโชกโชน
( เน้นย้ำว่า อย่างโชกโชน ไม่ใช่แค่ครั้งหรือสองครั้ง แต่ต้องเป็นนับหลายร้อยครั้งขึ้น ๆ )
เมื่อ นักปฏิบัติ มีประสบการณ์สัมมาสมาธิแบบที่ 1 นับหลายร้อยครั้งแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจในอาการของทุกข์ และ การไม่ทุกข์ได้  เมื่อเกิดความเข้าใจได้ นักปฏิบัติก็จะรู้ว่า 
ในชีวิตประจำวัน หรือ ในขณะทีกำลังทำงานทางโลกอยู่  ให้ สัมมาสติ ไประลึกรู้
ทีอาการแห่งสติปัฏฐาน (กาย / เวทนา / จิต / ธรรม ) ซี่งจะระลึกรู้ หมวดใดหมวดหนี่งในสติปัฏฐาน
ก็ได้ หรือ ระลึกรู้ได้ หลายหมวดพร้อมกันก็ได้ ซึงขึ้นกับประสบการณ์ความเข้าใจของตัวนักปฏิบัติเอง และ กำลังสัมมาสมาธิของตนเองว่าตั้งมั่นได้มากเพียงใด
การอยู่ในอาการสัมมาสมาธิแบบที่ 2 นี้ ไม่ใช่ของง่าย นักปฏิบัติต้องใช้ความเพียรในการฝีกฝน
อย่างต่อเนื่อง ฝีกฝนไปเรื่อยๆ  จนวันหนี่ง ก็สามารถอยู่ในสภาวะอาการแบบนี้ได้เป็นอย่างดี
.
อาการของสัมมาสมาธิแบบที่ 2 นี้ เมื่อเกิดขึ้นเมื่อใด ทีนักปฏิบัติอยู่ในลักษณะแบบนี้
ทุกข์จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหลุดจากอาการสัมมาสมาธิแบบนี้เมื่อใด ทุกขืก็จะเกิดขึ้นได้ แต่ ถึงทุกข์เกิดขึ้น ก็จะเข้าไปสู่ อาการของสัมมาสมาธิแบบที่ 1 ทีนักปฏิบัติมีประสบการณ์ผ่านมาแล้ว
.
6..แนะนำอ่านเรื่อง
ความเป็นอิสระของจิต  https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=17-04-2021&group=17&gblog=220


Create Date : 23 เมษายน 2564
Last Update : 30 พฤษภาคม 2564 16:14:44 น. 0 comments
Counter : 983 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.