รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 ธันวาคม 2563
 
All Blogs
 
อาการเบื่อหน่ายที่เป็นโทสะ และ นิพพิทา ต่างกันอย่างไร

1..เบื่อหน่ายทีเป็นโทสะ นั้น จะเป็นอาการเบื่อหน่ายทีเกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลก เช่น เบื่อคน เบื่อสัตว์  เบื่อสิ่งของ เบื่อระบบงาน และสารพัดเบื่อในเรื่องราวทางโลก 
อาการเบื่อหน่ายทางโลกนี้ จัดเป็น โทสะ คือ ไม่อยากได้ เป็นการผลักออก ต้องการหนีห่าง
*
อาการเบื่อหน่ายทางโลก จะมีสาเหตุมาจาก  สิ่งนั้น ๆ  ไม่ได้ดั่งใจ ของตน 
เมื่อไม่ได้ดั่งใจหลาย ๆ ครั้ง ก็กลายเป็นอาการเบื่อหน่ายในสิ่งนั้น หรือ คนนั้นขึ้นมา
*
2..นิพพิทา 
นิพพิทา นั้น ก็เป็นความรู้สึกเบื่อ  แต่จะเป็นการเบื่อทีแปลกจากข้อ 1 ทีเป็นเบื่อทีเป็นโทสะ แต่นิพพิทา นั้น เป็นความรู้สีกเบื่อ แต่ไม่รู้ว่า เบื่ออะไร 
การเกิดขึ้นของ นิพพิทา นั้น จะเกิดใน นักภาวนา ทีผ่านการเจริญวิปัสสนามาพอสมควรแล้ว รู้จักไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งได้แล้ว 
.
ทำไม นักภาวนาทีผ่านการเจริญวิปัสสนามาพอสมควร จึงเกิดนิพพิทา ขึ้นได้ ?
ขอให้ดูภาพประกอบ เพื่อความเข้าใจ

นักภาวนาทีจะเจริญวิปัสสนาได้นั้น  ตัวจิตตัวรู้้ จะต้องมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ทีฐานของจิต
แล้ว ตัวจิตส่งกระแสจิตออกไป รับรู้ เรื่องราวทางโลกต่างๆ  
แต่ถ้าเมื่อใด ที่ ตัวจิตตัวรู้ ไม่ส่งกระแสจิตออกไปรับรู้เรื่องราวทางโลก
ตัวจิตตัวรู้ จะเกิดอาการนิพพิทาขึ้น ซึ่งใน นิพพิทา ทีเกิดนั้น จะประกอบด้วย 2 สภ่าวะธรรมที่เกิดอยู่พร้อมกัน  คือ
1..ความรู้สีกเบื่อ
2..อาการของจิตประภัสสร
แต่ ความรู้สีกเบื่อ เป็นรูป ทีมีความแรงมาก จนจิตตัวรู้ ทีไม่ได้ส่งกระแสจิตออกไปภายนอก จะไปรู้ทีอาการเบื่อนี้ขึ้น  เมื่อจิตไปรู้ทีอาการเบื่อนี้ ก็ไม่อาจรู้อาการของจิตปรเภัสสรได้
ทำให้นักปฏิบัติ ไม่อาจพบจิตประภัสสรได้ แต่จะไปพบกับความรู้สีกเบื่อแทน
แต่ถ้าเมื่อใด ที นักปฏิบัติ หลุดออกจากการรู้อาการเบื่อ นี้ได้ จิตจะไปไปพบกับ อาการของจิตประภัสสร ได้ทันที 
..
ในพระไตรปิฏก เถรวาท ได้เขียนไว้ว่า 
เมื่อ เบื่อหน่าย ( หรือ เกิด นิพพิทา ขึ้น ) ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้น ย่อมรู้ว่า หลุดพ้น
ซึ่งตรงนี้ หมายความว่า จิตตัวรู้หลุดจากการไปรู้อาการเบื่อ แล้วไปพบกับอาการของจิตประภัสสร ขึ้นมาได้
หมายเหตุ  จิตประภัสสร ก็คือ จิตเกษม  อันเป็น มงคล ตัวสุดท้ายในมงคล 38
*
3..บทความนี้ เป็นความเห็นส่วนตัว  ไม่จำเป็นต้องไปเหมือนกับ นิพพิทา ของท่านใด
 


Create Date : 26 ธันวาคม 2563
Last Update : 26 ธันวาคม 2563 18:43:46 น. 0 comments
Counter : 1221 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.