รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
รู้แบบจิตไหลออก

เรื่องที่จะเขียนนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและชวนให้เกิดการทะเลาะได้มากครับ เพราะแต่ละสำนักจะมีวิธีการสอนที่ต่าง ๆ กันไป ซึ่งผมไม่ขอเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย  แต่สิ่งที่ผมจะเขียนนี้  ผมเขียนขึ้นสำหรับท่านนักภาวนาที่สนใจแนวทางที่ผมเขียนไว้พิจารณาเอาเองด้วยปัญญา  อย่าได้เชื่อผมครับ แต่ผมแนะนำให้พิสูจน์

ในสติปัฐาน 4 นั้นได้กล่าวถึงสิ่ง 4 สิ่ง โดยย่อก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเรื่องนี้นักภาวนารู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร  แต่สิ่งหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ คือ วิธีการรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น รู้อย่างไร จึงจะได้ผลที่ตรง ขอให้ดูจากภาพข่างล่างนี้

ตำแหน่งในการรับรู้ของคนนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 3 จุดใหญ่ ๆ 

จุดที่ 1. เป็นภาพสี่เหลี่ยมสีเหลือง
คนทั่วๆ  ไปจะรู้ที่จุดนี้ เช่นการมองวัตถุต่าง ๆ รถ ผู้คน สัตว์ สิ่งของต่างๆ  พอคนที่ไม่ได้ฝีกฝนมองสิ่งเหล่านี้ ผลก็คือ จิตจะไหลออกไปจับยึดสิ่งต่างๆ ทันที ดังลูกศร  B ที่แสดงไว้

จุดที่ 2. เป็น มโน (ภาพวงกลมสีเขียว )
มโน นี้ คนทั่ว ๆ ไป ไม่รู้จักครับ เพราะมองไม่เห็น แต่มันจะอยู่ข้างหน้าคนเรานี่เอง ไม่ห่างนักแต่ไม่ติดชิดกับใบหน้า (อย่าไปหาว่า ห่างกี่นิ้ว ผมบอกไม่ได้ครับ )

อาการต่างๆ ของคน เช่น เจ็บปวด อารมณ์ต่างๆ เช่นดีใจ เสียใจ ความคิด จะปรากฏอยู่ใน มโน นี้

พอเกิดอาการต่างๆ ขึ้น จิตจะไหลเข้าไปใน มโน ดังลูกศร A และยิดติดอยู่ใน มโน นี้ ทำให้คนทั่วๆ เข้าใจว่า ฉันคิด ฉันดีใจ ฉันเสียใจ ฉันเจ็บปวด และ อื่นๆ  ที่เป็นฉันไปหมด

จุดที่ 3.ก็คือ ร่างกายของคนเรานี่เอง จากนอกสุดไปถึงภายในร่างกาย การรู้ร่างกายมักจะเป็นแบบเพ่ง หรือ เรียกว่า เพ่งกาย
หรือ บางคนก็เรียกว่า ย้อนกลับมาดูกาย แต่จะพูดอย่างไรก็ตาม จิตจะไหลเข้าไปอยู่ในกาย ดังลูกศร C

การรู้แบบจิตไหลทั้ง 3 แบบ เป็นจิตไหลออกทั้งสิ้น จิตไม่อยู่ในฐาน
แต่ช้าก่อน..ท่านทีคิดจะทักท้วงผมในเรื่องแบบที่ 3 โปรดทำใจเป็นกลางและอ่านต่อไปก่อน

ผมเข้าใจครับว่า การรู้แบบที่ 3 มีการสอนกันมากว่าให้ดูกาย ให้รู้กาย ซึ่งเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่คนสอนเขาพูดไม่ผิดครับ แต่คนเรียนมักเข้าใจผิด เพราะการรู้กายแบบที่ 3 มีทั้งทีเป็นการรู้แบบจิตไหลออก และการรู้ที่ถูกต้องแบบสติปัฏฐาน 4 
ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ต่างกัน โดยในสติปัฏฐาน 4 จะเป็นการระลึกรู้ด้วยสัมมาสติ ไม่ใช่การรู้แบบจิตไหลออกจากฐานเข้าไปในกาย

ผมกำลังชี้ให้ท่านเห็นจุดมักพลาดของนักภาวนาที่ไม่ได้ทำความเข้าใจกับสติปัฏฐาน 4 อย่างถ่องแท้ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา

การรู้แบบสติปัฏฐาน 4 อาตาปี สัมปชาโน สติมา นั้น ไม่ใช่รู้แบบจิตไหลออก แต่เป็นการรู้แบบจิตอยู่ในฐานของจิต และเป็นการระลึกรู้เอา หรือ จะพูดง่ายๆ  ก็ได้ว่า ให้รู้สึกเอา

อาจมีคำถามออกมาว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า ตอนนี้กำลังเป็นแบบอาตาปี สัมปชาโน สติมาหรือไม่..
คำตอบง่าย ๆก็คือ ขอให้นักภาวนาสังเกตตัวเองว่า จิตใจมีความอยากรู้สิ่งใดหรือไม่ หรือ เฉยๆ อยู่  มีความรู้สึกตัวทีเป็นธรรมชาติหรือไม่  จิตใจสบาย ๆ หรือไม่ หรือเครียดอยู่  ตามองเห็นได้อยู่ไหม หูได้ยินได้อยู่ไหม เวลามีลมพัดมายังรู้สึกได้อยู่ไหม

ถ้าท่านตอบตัวเองว่า  ใช่ จิตใจกำลังสบายๆ เฉยๆ ไม่มีการอยากรู้สิ่งใด ไม่เครียด ตามองเห็นได้แบบสบาย ๆ หูได้ยินเสียงได้อยู่ ถ้ามีลมมากระทบกายก็รู้สึกได้อยู่  นี่แหละครับ จิตมันอยู่ในฐานแล้ว แต่ท่านยังมองไม่เห็นจิต ก็เลยไม่รู้

ในสติปัฏฐาน 4 กายานุปัสสนาบรรพแรก ได้กล่าวถึงว่า นั่งก็รู้ว่านั่ง เดินก็รู้ว่าเดิน นอนก็รู้ว่านอน อ่านแล้วเหมือนง่ายๆ  ครับ แต่ความจริงไม่ง่ายเลย เพราะคนใหม่ๆ  ถ้านั่งอยู่ถ้ารู้ว่านั่ง ก็เป็นการเพ่งกายว่ากำลังนั่ง เป็นต้น นี่ก็จิตไหลออกเช่นกันครับ  ในการภาวนานั้น มือใหม่ต้องทำการฝึกสัมมาสติ จนจิตมีกำลังตั้งมั่น จิตจะแผ่กว้างออกที่เป็นไปเอง เมื่อจิตแผ่กว้างออกแล้ว จิตจะไประลึกรู้ได้เองว่า นั่งก็รู้ว่านั่ง ถ้าเป็นแบบนี้ จิตไม่ไหลออก แต่เป็นการระลึกรู้เพราะจิตมีกำลังและแผ่กว้างแห่งการรู้ออกไปเอง
เห็นความต่าง และ ความเข้าใจผิดกันไปใหมครับ

ในการภาวนานั้น ขอให้นักภาวนา ฝึกรู้แบบจิตไม่ไหลออกจากฐาน ฝีกไปมาก ๆ เข้า จิตจะมีกำลังตั้งมั่นในฐานมากขึ้น เมื่อเกิดญาณเห็นจิตได้ภายหลัง นักภาวนาจะเข้าใจและมองเห็นจิตไหลออกไปดังภาพได้เวลาภาวนาแบบต่างๆ กัน และ จะเข้าใจการภาวนาที่ตรงในสติปัฏฐานสูตรอย่างแท้จริงว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา เป็นอย่างไร





Create Date : 03 กรกฎาคม 2555
Last Update : 3 กรกฎาคม 2555 9:36:14 น. 1 comments
Counter : 2783 Pageviews.

 
ผมขอแนะนำนักภาวนาทีฝีกรู้กาย ให้อ่านทบทวนเรื่องนี้ให้เข้าใจให้ดี ระหว่างรู้กายแบบเพ่ง และ การใช้สติระลึกรู้กายว่า ต่างกันอย่างไร

การฝึกที่ตรงสติปัฏฐาน 4 จะส่งผลทื่ตรงต่อการดับทุกข์ของนักภาวนาและได้ผลออกมาได้ในที่สุด


โดย: นมสิการ วันที่: 3 กรกฎาคม 2555 เวลา:9:43:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.