รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
31 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
รู้สึกตัว รู้กาย หรือ รู้ความคิด ปฏิบัติอย่างไรกันแน่

ถ้าท่านนักภาวนาได้ลงมือภาวนามาได้สักระยะหนึ่ง ท่านจะมีคำถามหนี่งผุดขึ้น นั้นคือเกิดความลังเลสงสัยว่า การภาวนานั้น สมควรจะเน้นเรื่องการรู้สึกตัว หรือ เน้นรู้การรู้กาย หรือ เน้นเรื่องการรู้ความคิด มันอย่างไรกันแน่

ข้อสงสัยแบบนี้ ผมก็เคยเกิดมาก่อน ผมก็ได้เคยถามนักภาวนารุ่นพี่ ซึ่งผมก็ได้คำตอบมาจากเขาอย่างหนึ่ง แต่พอผมภาวนาไป ผมก็มีความเห็นไม่เหมือนกับรุ่นพี่คนนี้ ซึ่งผมเชื่อว่า ถ้าท่านไปถามใครต่อใคร คงได้รับตำตอบที่หลากหลาย ดังนั้น ผมจึงขอแสดงความเห็นของผมดังนี้

ในการภาวนานั้น สามารถที่จะแบ่งได้เป็น 2 ระดับ และ ใน 2 ระดับนี้จะมี 3 แบบ ดังนี้

ระดับที่่ 1 ระดับเริ่มต้นและอยู่ในขั้นการพัฒนากำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ระดับที่ 2 ระดับของผู้ที่มีกำลังสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นแล้ว

ในระดับที่ 1 นั้น สามารถแบ่งวิธีการภาวนาได้เป็น 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 แบบสมถยานิก
แบบที่ 2 แบบวิปัสสนายิก

สำหรับแบบสมถยานิกนั้น ผมจะไม่กล่าวถึง ไม่ใช่ว่าแบบนี้ไม่ดี แต่เป็นเพราะว่า การภาวนาแบบสมถยานิก ต้องมีผู้รู้จริง ๆ คอยดูแลอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นจะพลาดง่าย และ ถ้าเกิดพลาดชึ้นมา โอกาสที่จะสติแตกเป็นไปได้ง่าย

สำหรับแบบวิปัสสนายานิกนั้น คือ แบบที่ผมนำเสนอใน blog ของผมนี้

ในการภาวนาทั้ง 2 แบบ จุดมุ่งหมายของการฝึก คือ การแยกตัวออกของจิตจากสิ่งที่ถูกรู้ กลายเป็นสภาวะแห่งของคู่ คือ มีจิตผู้รู้ และ สิ่งที่จิตไปรู้เข้า

ถ้าถามว่า ทำไมต้องให้จิตแยกออก คำตอบก็คือ ถ้าจิตไม่แยกออก จะไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้
ผมเคยอ่านข้อเขียนของนักภาวนาบางท่าน เขียนไว้ว่า การที่จิตแยกตัวออกเป็นจิตผู้รู้ จะมาจากการภาวนาแบบสมถยานิกเท่านั้น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การภาวนาทั้งสมถยานิกและวิปัสสนายานิกจะต้องฝึกฝนจนจิตแยกตัวออกทั้ง 2 แบบ จึงจะเกิดวิปัสสนาได้

เมื่อเกิดการแยกตัวนั้น จิตจะตั้งอยู่ที่ฐานของจิต ซึ่งอยู่ที่กาย (ไม่ใช่ลึกเข้าไปภายในกาย)

การภาวนาแบบวิปัสสนายานิกนั้น เพียงแต่รู้สึกตัวโดยที่จิตใจยังเป็นปรกติอยู่เท่านั้น
จิตก็แยกตัวออกแล้ว เพียงแต่ว่า นักภาวนามือใหม่จิตยังไม่มีกำลังพอที่จะตั้งอยู่ที่ฐานได้เสมอ ๆ
และยังไม่เกิดญาณ จึงไม่อาจเห็นสภาพแบบนี้ได้

พอนักภาวนามือใหม่ เมื่อเกิดผัสสะขึ้น จิตก็จะไหลออกจากฐานวิ่งไปจับที่ผัสสะทันที

ดังนั้น การฝึกฝนเพื่อให้มีสติและสมาธิที่จิตตั้งมั่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อจิตแยกตัวออก

ในการฝึกฝนนั้น สำหรับคนใหม่ๆ นั้นโดยการฝึกให้รับรู้ผัสสะอะไรก็ได้ที่ไม่แรงนัก (เพราะถ้าเป็นผัสสะที่แรง จิตจะสู้แรงดึงดูดของตัณหาไม่ได้ ก็จะไหลออกจากฐานของจิตไป)
เพื่อฝีกฝนไปอย่างถูกวิธีให้จิตตั้งมั่นได้พอเพียง ซึ่งผัสสะที่ดีในการฝึกและเป็นผัสสะที่ไม่แรงนัก ที่ดีก็คือ การฝึกรู้กาย เพราะในการรู้ความคิดนั้นเป็นสิ่งที่แรงพอควร มือใหม่ไม่อาจต้านทานแรงดึงดูดของตัณหาได้ หรือ การฝึกรู้เวทนา ถ้าเป็นทุกข์เวทนาก็แรงเกินไป สู้แรงดึงของตัณหาไม่ได้อีก ครั้น สุขเวทนาหรืออุเบาเวทนา มือใหม่ก็รู้ไม่ได้อีก ดังนั้น มือใหม่จะใช้ความคิดหรือเวทนาในการฝึกฝนจึงเป็นไปได้ยากลำบากกว่าการรู้กาย ต่อเมื่อจิตมีพลังความตั่งมั่นมากขี้น ทีจะสามารถรับรู้อาการของจิตปรุงแต่งหรือความคิดได้แล้ว จิตก็จะสามารถตั้งมั่นได้เองเมื่อจิตปรุงแต่งหรือความคิดเกิดขึ้น

มาดูขบวนการฝึกให้ลึกลงไปสักหน่อย..

ถ้านักภาวนารู้สึกตัวอย่างรุนแรง โดยพุ่งเน้นไปที่การรู้สึกตัวเพียงอย่างเดียว
ผลก็คือ จิตนั้นแยกตัวออกก็จริง แต่ความรุนแรงที่ต้องการความรู้สึกตัวมันจะเกิดพลังงานขึ้นใน มโน ทำให้นักภาวนารู้สึกหนักและไม่เป็นธรรมชาติ และจิตไม่สดใส
และผลที่ตามออกมา คือ จิตจะรู้สึกนิ่งๆ ไม่มีกิเลส ไม่มีความคิดเกิด ทำให้นักภาวนาบางคนที่ไม่เข้าใจดีพอ จะเข้าใจว่า สภาวะแบบนี้ช่างดีจริงๆ ไม่มีกิเลส ไม่มีความคิด เกิดเลย
**จิตที่ไปสร้าง มโน นั้น แสดงว่า จิตนั้นไม่ตั้งอยู่ในฐานของจิต นี่คือผลเสียอีกประการหนี่ง**
อย่าลืมว่า ในการภาวนานั้น เราต้องการให้จิตตั้งมั่นอยู่ในฐานของจิต การที่จิตไปนิ่งอยู่นอกฐาน
นี่ก็แสดงว่า มันเกินเลยไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะรู้สึกว่าดีว่าไม่มีกิเลสเกิด แตก็เป็นแบบที่กดเอาไว้

การใช้ความรู้สึกตัวเป็นตัวนำนั้น นักภาวนาสมควรใช้กฏ 3 ข้อที่ผมให้ได้ก็คือ
รู้สึกตัว ด้วยอาการที่ผ่อนคลาย สบาย ๆ อย่าอยากรู้อะไร แต่ขอให้จิตเขารู้เอง
แต่การฝึกแบบนี้ ผลก็คือ เบา ถ้าจิตยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น นักภาวนาจะรู้กายได้เป็นอย่างดี
(การรู้กาย ขอให้ดูในวิดิโอกิจกรรมครั้งที่ 3 มีอธิบายไว้แล้ว )
ถึงแม้ว่า นักภาวนาจะรู้กาย แต่จะมีความคิดผุดออกมาบ่อย ๆ ซี่งนักภาวนาที่ไม่เข้าใจ
ก็จะบอกว่า การภาวนาแบบกฏ 3 ข้อไม่ดีเพราะมีความคิดผุดบ่อย ๆ เลยทำให้จิตมันฟุ่ง

จิตมันฟุ่งก็จริง ถ้านักภาวนารู้ว่าจิตฟุ่ง โดยไม่หลงตามไป นี่ก็ใช้ได้ครับ
เพียงไม่หลงตามไปเท่านั้น จิตที่ฟุ่งก็หยุดเอง แต่ว่า เดียวมันจะมาใหม่อีก
ก็ไม่เป็นไร มาใหม่ก็หยุดเองใหม่ได้ และ การมา ๆ หยุด ๆ อย่างนี้ซิครับ
เป็นของดี ที่เป็นการฝึกฝนสติ และ ให้เกิดจิตตั้งมั่นขึ้นได้ต่อไป

ถ้าไปห้ามไม่มีจิตฟุ่งเลย นี่ซิ โดยการไปกดข่มจิตเอาไว้ เช่นการรู้กายอย่างหนักแน่น จิตจะสงบ ไม่ฟุ่งก็จริง แต่เป็นว่าจิตไปยึดกาย ในการรู้กายที่หนักแน่น จิตผู้รู้จะวิ่งกลับลึกเข้าไปภายในกาย ซึ่งก็เกินเลยไป เมื่อจิตวิ่งกลับลึกเข้าไปในกาย ผลคือความสงบ จิตปรุงแต่งต่าง ๆ จะไม่เกิด
ซึงเรื่องนี้ มีคำสอนออกมาเช่นกันของบางสำนัก ผมไม่อยากจะโต้แย้งทะเลาะกับใคร ขอให้ท่านพิจารณาเอาเองด้วยปัญญาของท่านเอง

ในการฝึกฝนนั้น เพียงใช้ความรู้สึกตัวนำที่ผ่อนคลาย นักภาวนาจะรู้กายได้เองทันที เพราะจิตทำหน้าที่ของเขาเองอย่างนั้น แต่ถ้าเมื่อไรที่จิตมันคิด นักภาวนาจะไปรู้ที่จิตคิด ซึ่งใหม่ๆ อาจจะหลงตามจิตคิดไปก็ได้ แต่ถ้านักภาวนาเกิดหลงตามจิตคิดไป ถ้าเกิดรู้ว่าหลงไป จะกลับมาจับที่กายอีกทีก็ได้ หรือว่า จะกลับมาให้รู้สึกตัวที่หนักแน่นก็ได้ ถ้าทำอย่างนี้ จิตคิดจะหายไปเอง
เมื่อจิตคิดหายไปแล้ว ให้กลับมารู้สึกตัวที่สบาย ๆ ผ่อนคลายอีกครั้งหนึ่ง อย่าได้ค้างไว้ที่การรู้กายที่หนักแน่น หรือ รู้สึกตัวที่หนักแน่น

แต่ถ้านักภาวนาที่ภาวนาชำนาญพอ และมีจิตทีแยกตัวทีตั้งมั่นพอสมควรแล้ว
ถ้ามีจิตคิดขึ้น เขาจะเห็นจิตคิดได้โดยไม่หลงไปเลย และ จิตคิดก็จะสลายตัวลงไปเป็นไตรลักษณ์อย่างรวดเร็ว

สรุปก็คือ การฝึกฝนนั้น ให้นำด้วยความรู้สึกตัวแต่ต้องผ่อนคลาย สบาย ๆ ซี่งปรกติ นักภาวนาถ้าอยู่แบบนี้ จะรู้กายได้อยู่แล้ว และจะมีความคิดผุดมาได้เป็นระยะ ๆ ถ้าความคิดเกิด โดยธรรมชาติ จิตก็จะหยุดรู้กายนิดหนึ่งแล้วไปรู้ความคิดแทน ถ้าความคิดดับไปแล้ว ก็ให้มาอยู่ที่ความรู้สึกตัวที่ผ่อนคลายต่อไป

ถ้าความคิดไม่ยอมดับ ให้รู้กายให้แรงขึ้น หรือ จะรู้สึกตัวให้แรงขึ้นก็ได้ แล้วความคิดจะดับไปเอง เมื่อความคิดดับลงไปแล้ว ก็กลับมาอยู่ที่ความรู้สึกตัวที่ผ่อนคลายต่อไป

ส่วนการภาวนาระดับ 2 สำหรับผู้มีสมาธิทีตั้งมั่นแล้วนั้น ผมจะไม่เขียนถึงในตอนนี้ครับ

********

สำหรับนักภาวนาบางท่านที่ภาวนามาได้สักระยะหนึ่ง จะพบอาการหนึ่งคือ จะเห็นเหมือนไฟแฟลตกล้องถ่ายรูปสว่างแวบขึ้นมาแว๊บหนึ่งแล้วหายไป แสงที่โผล่มานี้คือ แสงของจิต ทีมันทะลุ เปลือกอวิชชาและโมหะออกมา นักภาวนาเห็นได้ ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่บอกท่านว่า จิตท่านมีกำลังพอสมควรแล้วทีแสงจิตมันทะลุออกมาแบบนั้น แต่ถ้าเห็นแล้วก็อย่าอยากเห็นมาก ๆ เห็นบ่อย ๆ การเห็นสภาวะนั้น ไม่ว่าสิ่งใด ขอให้เป็นไปเองโดยธรรมชาติ อย่าไปอยาก เพราะถ้าอยาก ก็ไม่ตรงตามคำสอนของอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 2 ที่ว่า ตัณหาให้ละเสีย



Create Date : 31 พฤษภาคม 2555
Last Update : 7 มิถุนายน 2555 8:26:02 น. 5 comments
Counter : 3563 Pageviews.

 
ตอนนี้ฝึกรู้สึกตัวอยู่ แต่กำลังสติยังไม่แข็งแรงพอที่จะตั้งมั่น เพราะจิตยังคิดอยู่ พอรู้ตัวความคิดก็ดับไป แต่ความคิดเกิดตลอด พอคิดอีก ก็รู้สึกตัว ความคิดก็ดับ แต่บางครั้งไม่ค่อยเข้าใจว่ารู้สึกตัวแบบผ่อนคลาย สบายๆหรือไม่ ไม่ได้ทำในรูปแบบเลย (เดินจงกลม หรือสร้างจังหวะ) แต่จะทำในชีวิตประจำวันเลย ไม่ทราบว่าคุณนมสิการมีอะไรแนะนำไหมคะ
ขอบคุณค่ะ


โดย: ไตรโสภณ IP: 202.57.143.213 วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:11:06:45 น.  

 
ถ้าได้อย่างที่เล่ามา คือ พอความคิดเกิด ก็รู้สึกตัว แล้วความคิดก็ดับไป แต่มีความคิดเกิดบ่อย ๆ ต้องดูเงื่อนไขดังนี้ครับ

1..ที่ว่า พอความคิดเกิด ก็รู้สึกตัว ตรงจุดนี้ ถ้าเกิดอย่างรวดเร็วดี ถือว่าใช้ได้แล้วครับ แต่ถ้าเป็นว่า นานพอสมควร กว่าจะรู้สึกตัว ถ้าเป็นอย่างนี้ ผมแนะนำให้ฝึกในรูปแบบด้วย

2.ที่ว่ารู้สึกตัวแบบสบาย ๆ จะคล้าย ๆ กับว่า เวลาคุณไปท่องเที่ยวตากอากาศ ไม่มีอะไรต้องทำเลย เพียบพัก่ผ่อน จะรู้สึกสบาย ๆ ก็คือ ให้รู้สึกแบบนั้น

เพราะเมื่อคนรู้สึกตัว คนจะทำอะไรก็ได้ เช่น อยากโน่น อยากนี่ คิดโน่น คิดนี่ ถ้าเป็นอย่างนี้ ที่ต้องทำ ก็ไม่ใช่สบาย ๆ ละครับ

ในคนส่วนมากหลาย ๆ คน ก็อยู่กับความเครียด ความวิตกกังวล ถ้าอย่างนี้ ก็ไม่สบาย นะครับ ต้องผ่อนคลายลง การภาวนาจึงจะไปได้ดีครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:13:37:52 น.  

 
ขอบพระคุณคะอาจารย์ ทำให้เห็นแนวทางที่ ชัดเจนในการปฎิิบัิติต่อคะ


โดย: Nim IP: 58.11.200.129 วันที่: 1 มิถุนายน 2555 เวลา:1:00:16 น.  

 
กราบสวัสดีครับ ก็ไม่ได้เข้ามาคุยกับอาจารย์เสียตั้งนาน ความจริงช่วงนี้ผม รู้สึกได้ถึง การรู้ตัวที่ผ่อนคลาย ว่าเป็นอย่างไร เบาๆ นุ่มๆ กว้างๆ ขันธ์ก็อยู่แบบลอยๆ ควมคิดก็มีอยู่เรื่อยๆ แต่มันเหมือนอยู่ไกลมาก กระซิบเบาๆ ไม่เหมือนเดิมแบบพรายกระซิบเลย สั่งโน้นสั่งนี้ ทำยังกะเราเป็นทาส แต่ก็มีอาการที่มันผุดขึ้นมาในใจ หนักบ้าง เบาบ้าง บางครั้งก็นาน บางครั้งแป๊ปเดียว ได้แต่เห็นมัน เพราะว่าเข้าไปใกล้มันไม่ได้(ทุกข์จะเพิ่ม) บางครั้งก็มีสาเหตุ บางครั้งก็ไม่มีสาเหตุ แต่ความทุกข์ภายนอก ละได้ไวอย่างน่าอัศจรรย์ โดยไม่ต้องเจตนาละ อาศัยใจรู้อย่างเดียว บางครั้งนั่งใกล้ต้นไม้ เหมือนเรากลืนกับต้นไม้ ไม่เกาะไม่เกี่ยว ก็แปลกดี ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ สุดยอดจริงๆ รู้ตัวอย่างนี้แล้ว หากมีอะไรที่ทำด้วย กรรม หรือเจตนา มันเหมือนติดสัญญาณเตือนภัยไว้ในใจเลยครับ ทุกข์ครับ เดือดร้อนครับ ทำให้ที่เคยปากหมา กลายเป็นปากน้อยลง พูดน้อยลง และกล้ายืนยันด้วยว่า ช่องทางนี้ทางเดียว ที่จะสามารถทำใ้ห้คนที่คิดว่าเป็น อุลตร้าแมน ต้องมากลายเป็นคนธรรมดาๆ คือมันรู้จักทุกข์ได้ดี มีอะไรแนะนำเพิ่มเติม กรุณาด้วยน่ะครับ ขอบพระคุณครับ


โดย: ทางเดียวกัน IP: 118.172.29.93 วันที่: 1 มิถุนายน 2555 เวลา:11:46:04 น.  

 
ที่เล่ามาก็ดีแล้วครับ ให้รู้ทุกข์ไปเรื่อย ๆ แบบรุ้ห่างๆ อย่างที่เล่ามา อย่าไปจับยึดในทุกข์ เมื่อทุกข์มีมาเรื่อย ๆ และ เรารู้แบบไม่จับยึด ผลก็คือ กำลังแห่งสัมมาสมาธิจะตั้งมั่น และกำลังสัมมาสติจะว่องไวมากขึ้น โดยขอให้เป็นไปเอง อย่าไปตั้งใจทำให้ว่องไว

เมื่อสัมมาสติว่องไวมากขึ้นไปเรื่อยๆ ต่อไปจะรู้ได้ไว ผมยกตัวอย่างคล้ายๆ คนจมูกไว พอมีกลิ่นนิดเดียว ก็จับได้ว่ามีกลิ่น แต่สัมมาสติ ถ้าไว ถ้าเริ่มจะทุกข์ เพราะจิตเริ่มไหว จะจับการไหวตัวได้ โดยขอให้เป็นการจับได้ที่เป้นธรรมชาติ

ทุกอย่างขอให้เป็นธรรมชาติเข้าไว้ อย่าไปทำอะไร เพียงแต่ขอให้รู้ทุกข์ให้มาก ๆ โดยรูุ้แบบห่างๆ เท่านั้น

ตอนนี้ มีคนที่เดินตามผมเขียนใน blog หลายคน มารายงานผล ผมอ่านแล้ว ก็รูุ้สึกดีใจในความก้าวหน้าของพวกเขาเหล่นั้นมาก ไม่เสียใจเลยว่า เสียเวลาเขียน blog ไป 5 ปี ได้คนเหล่านี้มาเป็นคนรู้ธรรมชาติได้บ้างแล้ว


โดย: นมสิการ วันที่: 1 มิถุนายน 2555 เวลา:13:09:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.