รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
ในการปฏิบัตินั้น ถ้าไม่ค่อยทุกข์ จะไปคิดเรื่องทุกข์ได้ไหม

คำว่า ทุกข์ ในการภาวนานั้น จะตรงกับ ทุกข์อริยสัจจ์ในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1 ซึ่งความหมายในทุกข์อริยสัจจ์นั้น มันไม่ใช่ทุกข์แบบทีคนไทยเข้าใจกัน

ทุกข์ในภาษาไทย ทีคนไทยเข้าใจกัน คงไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะเข้าใจกันอยู่แล้วว่า มันคือ อาการไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

แต่ทุกข์ในการภาวนานั้น คือ พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้จักทุกข์อริยสัจจ์ ซี่งหมายความว่า ทุกข์ที่เกิดจาก**การเข้าไปยีดถือ**อาการทั้งหมดของกาย อาการทั้งหมดของใจ ว่า สิ่งเหล่านั้น เป็นตัวฉัน เป็นของฉัน

อาการทั้งหมดของกาย และ อาการทั้งหมดของใจ นั้น จะมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.อาการทีเป็นทุกข์ (คืออาการที่ไม่น่าพอใจ ) 2. อาการที่เป็นสุข (คำว่าสุข คือ อาการทีน่าพอใจ ) 3. อาการที่ไม่สุขไม่ทุกข์ (คืออาการที่ไม่สามารถทำให้เราสุขได้หรือ ไม่สามารถทำให้เราทุกข์ได้ ก็คือ รับรู้การสัมผัสแล้วไม่เกิดอาการสุขหรือทุกข์ขึ้น )

ขอให้ท่านอ่านความหมายของทุกข์ทีคนไทยใช้กัน และ ทุกข์อริยสัจจ์ ให้เข้าใจว่า ต่างกันอย่างไร

ถ้านักภาวนารู้สีกไม่ค่อยมีทุกข์(แบบภาษาไทย) ก็ดีอยู่แล้ว นักภาวนาไม่ต้องไปนีกถึงเรื่องทุกข์ใจขึ้นมา
เพราะมันจะทำให้เราไม่สบายใจไปเปล่า ๆ ถ้าไม่สบายใจ จิตใจก็เศร้าหมองอีก ซี่งเป็นสิ่งทีควรหลีกเลี่ยง

ถ้านักภาวนาไม่มีทุกข์(แบบภาษาไทย) นับว่าเป็นโอกาศทอง ที่นักภาวนาจะใช้เวลาที่ไม่มีทุกข์นี้ โดยการฝีกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เพื่อให้เกิดสมาธิจิตตั้งมั่นขึ้น เพราะเมื่อจิตตั้งมั่น จิตของนักภาวนาจะเห็นอาการแห่งกาย อาการแห่งใจได้ว่า อาการเหล่านั้น มันไม่ใช่ของฉัน ไม่ใช่ตัวฉัน ซี่งการฝีกก็แล้วแต่ความถนัดของนักภาวนา จะเดินจงกรม จะดูลมหายใจ จะขยับมือแบบหลวงพ่อเทียน หรือ จะเล่นโยคะ ออกกำลังกาย หรือ อะไรก็ได้ทั้งสิ้น เพราะถ้าเข้าใจการฝีกสัมมาสติละก็ ใช้อะไรก็ได้ ฝีกได้ทั้งนั้น

ในการฝีกฝนทีจิตใจไม่มีทุกข์(แบบภาษาไทย) และฝีกอย่างถูกต้องที่ตรงตามคำสอนในสติปัฏฐาน 4 ที่ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา จะเป็นสิ่งทีจะนำพาให้นักภาวนาเข้าสู่เส้นทางแห่งองค์มรรคได้เป็นอย่างดี


Create Date : 30 ตุลาคม 2555
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 9:42:58 น. 1 comments
Counter : 2677 Pageviews.

 
ท่านทีต้องการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 25 พ.ย.2555 เวลา 13-16 น. กรุณาลงชื่อได้แล้วครับ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=10-2012&date=17&group=14&gblog=12


โดย: นมสิการ วันที่: 30 ตุลาคม 2555 เวลา:9:43:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.