รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 กันยายน 2564
 
All Blogs
 
อริยสัจจ์ข้อที่ 3 นิโรธ

1..บทความเรื่อง อริยสัจจ์ข้อที่ 3  นิโรธ เป็นความเข้าใจส่วนตัวของผู้เขียน
อาจมีความคลาดเคลื่อนจากตำสอนของพระพุทธองค์ก็ได้
ท่านทีเข้ามาอ่าน กรุณาอ่านพร้อมด้วยวิจารณญาณ อย่าได้เชื่อถือในบทความนี้
โดยไม่ไตร่ครองให้รอบครอบด้วยปัญญา

ขอความกรุณาอย่าได้นำเนื้อหาทั้งหมด หรือ ส่วนหนี่งส่วนใด
ไปอ้างอิง ณ สถานทีใด หรือ เวปไซด์ใด ไม่ว่าด้วยคำพูด หรือ ตัวอักษร
ขอบคุณครับ
.
2..นิโรธ ก็คือ ความไม่ทุกข์  แล้วสภาวะธรรมของความไม่ทุกข์นั้นเป็นเช่นไร
ถ้าจะอธิบายถึงอาการของความไม่ทุกข์นั้น ขอให้อ่านเรื่องนี้ก่อน
>>>ชื่อเรื่อง   เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้อะไรในคืนวันตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
>>>ลิงค์ทีเข้่าไปอ่านได้ที่  
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=16-12-2019&group=17&gblog=182

3...ในคืนวันตรัสรู้  พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง * เรือน * อันเป็นทีเกิดของขันธ์ 5
ที่เป็นปรมัตถสภาวะ
**เรือน**นี้ เกิดจาก **ตัวจิตส่งกระแสวิญญาณ**ออกไปทางอายตนะ
เพื่อทีจะไปรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ทีโลกภายนอก ( หมายเหตุ โลกภายนอก ก็คือ โลกสมมุติ
ทีคนเรารู้จักกันอยู่ดีอยู่แล้ว  ในโลกภายนอกนี้ ก็จะมี คน สัตว์ สิ่งของ เรื่องราวต่างๆ ทางโลก มากมาย )

เมื่อจิตส่งกระแสวิญญาณออกไปทางอายตนะ เพื่อจะรับรู้เรื่องราวของโลกภายนอก
**เรือน** ก็จะเกิดขึ้น เมื่อ **เรือน**เกิดขึ้น ขันธ์ ก็เกิดขึ้น เพราะขันธ์ อาศัย เรือน เป็นแดนเกิด
เมื่อขันธ์ เกิดขึ้น ทุกข์ ก็เกิดขึ้น เพราะ ขันธ์ คือ กองทุกข์ 
ท่านอาจจะแปลกใจว่า  ฉันก็สนใจโลกภายนอกอยู่ ทำไมฉันไม่ทุกข์ละ
ที่ท่านไม่ทุกข์ เพราะ จิตของท่านกำลังถูก โมหะครอบงำอยู่
เมื่อจิตถูกโมหะครอบงำ ท่านจะไม่รู้จักขันธ์ ไม่รู้จักทุกข์
เมื่อโมหะครอบงำจิตได้  เมื่อมีการกระทบสัมผัสเกิดขึ้นทีอายตนะ
ก็จะเกิดการปรุงแต่งขึ้น เป็นอาการของ พอใจ หรือ ไม่พอใจ เกิดขึ้น
ซี่งภาษาธรรม เรียก อาการปรุงแต่งของ พอใจ หรือ ไม่พอใจ นี่ว่า กิเลส
.
จิตทีถูกโมหะครอบงำอยู่ นีคือ ตัณหา ซี่งเป็นอริยสัจจ์ข้อที่ 2
ถ้าท่านพิจารณาบทความตอนนี้ ให้ดี  ท่านจะพบว่า
เมื่อ จิตส่งกระแสวิญญาณออกไปทีโลกภายนอก เรือนก็เกิดขึ้น 
เมื่อเรือนเกิดขึ้น ขันธ์ก็เกิดขึ้น เมื่อขันธ๋เกิดขึ้น กิเลส ก็เกิดขึ้น
เมื่อ กิเลส เกิดขึ้น ทุกข์ ก็เกิดขึ้น
ซี่งขบวยการเกิดทุกข์นี้ เกิดได้เร็วมาก เร็วยิ่งกว่า สิ่งใด ๆ 
เพียงมีกระแสวิญญาณเกิดเท่านั้น ทุกข์ ก็มาเกิดทันที

4.. ในข้อ 3 ผู้เขียนได้อธิบายถึง การเกิดของทุกข์ขึ้น
ทีเป็นทุกข์สภาวะ
แล้วอาการที่ไม่ทุกข์ละ หรือ นิโรธ เป็นเช่นไร
ขอให้ติดตามอ่านต่อไปในหัวข้อที 4 นี้

สภาวะปรมัตถธรรมของ นิโรธ นั้น จะมี 2 แบบ  คือ 
แบบที่ 1...การทีไม่มีขันธ์เกิดขึ้นเลย หรือ จะพูดว่า ไม่มี เรือน เกิดขึ้นเลยก็ได้
เมื่อใด ทีไม่มีขันธ์ เกิดขึ้น นิโรธ ก็จะหมายถึง สุญญตา 

อาการ นิโรธ แบบนี้ หรือ สุญญตา มีการสอนกันในพุทธมหายาน

แบบที่ 2... ก่อนทีผู้เขียนจะอธิบายต่อไป ผู้เขียนขออธิบายเรื่องของตัวจิตก่อน
ซี่ง ตัวจิตนั้น ถ้าจิตมีสติ สมาธิ หรือ จะเรียกว่า มีอารมณ์ของสติปัฏฐานเกิดขึ้นในจิต
ตัวจิตนั้น จะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกนั้น ผู้เขียนขอตั้งขื่อว่า จิตตัวรู้ หรือ สำนักปฏิบัติธรรมบางแห่ง เรียกจิตผู้รู้
ส่วนทีสองนั้น ผู้เขียนขอตั้งชื่อว่า จิตพลังงาน

ผู้เขียนขอเน้นย้ำว่า เมื่อใดทีท่านได้ลงมือภาวนาสติปัฏฐานได้ดีพอ
ท่านจะสามารถพบกับ จิตทั้ง 2 นี้ได้ คือ พบได้ทั้ง จิตตัวรู้ และ จิตพลังงาน
ถ้าท่านภาวนามานานนับ 10 ปี แต่ไม่เคยพบจิตทั้ง 2  เลบ ขอให้ท่านกลับไปทบทวน
การภาวนาของท่านอีกครั้ง อาจมีอะไรที่คลาดเคลื่อนไปจากสติปัฏฐานแล้ว
.
เมื่อท่านสามารถรู้จักจิตทั้ง 2 ส่วนนี้ได้
ท่านจะพบว่า **เรือน**นั้น ถูกสร้างขึ้นมาจาก จิตพลังงาน
ส่วนจิตตัวรู้ นั้น ถ้าแยกตัวออกมาจากจิตพลังงานได้ 
จิตตัวรู้ จะเป็นอิสระจากการครอบงำของจิตพลังงานได้
ซี่งก็คือ สภาวะของ นิโรธ หรือ ความไม่ทุกข์แบบที่ 2 ได้เกิดขึ้นแล้ว

ในปรมัตถสภาวะของนิโรธแบบที่ 2 นี  ตัวจิตตัวรู้ จะไม่เข้าไปอยู่ ใน**เรือน**
จะเป็นอิสระที่ออกจาก **เรือย**
เมื่อจิตตัวรู้ ไม่อยู่ที่ **เรือน** จิตตัวรู้ก็ไม่ถูกจิตพลังงานครอบงำ

กล่าวโดยสรุป นิโรธ แบบที่ 2 นี้ มี **เรือน**เกิดขึ้นได้
แต่ จิตตัวรู้ จะต้องไม่เข้าไปอยู่ใน **เรือย **แต่จะอยูนอก **เรือน**
เมื่ออยู่ในสภาะธรรมแบบนี้ จิตตัวรู้ จะเห็นไตรลักษณ์ที **เรือน**
และ จะเห็นว่า สิ่งทีเกิดทีเรือน ซี่งก็คือ ขันะ์ 5 นั้น มันไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของ ๆ เรา
ซี่งเป็๋นคำสอนของพระพุทธองค์ทีตรัสสอนให้แก่ชาวพุทธไว้ ทีสามารถอ่านพบได้
หลายแห่งในพระไตรปิฏกเถรวาท

5..ท่านทีเข้ามาอ่าน อาจมีข้อสงสัยได้ว่า แล้ว นิโรธ แบบที่ 1 หรือ แบบที่ 2 แบบใด
เกิดก่อนหลังอย่างไร หรือ คนทีได้ นิโรธ แบบที่ 1 แล้วจะได้แบบที 2 ได้หรือไม่
เรื่องนี้ ผู้เขียนขอให้ข้อสังเกตดังนี้

นิโรธ แบบที่ 1 นั้น จะเกิดด้วยการเจริญ วิปัสสนา ทีไม่่ต้องผ่าน ฌานจิต 
ผู้ทีมีนิสัยทีไม่อาจทำ ฌานจิต ได้ จะพบนิโรธ แบบนี้ได้เมื่อได้ผ่านวิปัสสนาญาณมามากพอ
แต่เนื่องด้วย ไม่ได้ทำ ฌานจิต มาก่อน การจะรักษาอาการของ นิโรธ แบบนี้ไว้ให้ยาวนาน
หลายนาที จะเป็นสิ่งทีทำได้ยาก หรือ ทำไม่ได้เลย แต่ถ้าเกิดแบบ แว๊บ ๆ สั้นๆ  เป็นระยะ ๆ 
ทีมีคำเปรียบเทียบว่า ชั่วงูแลบลิ้น หรือ ช้างกระดิกหู ก็เป็นสิ่งทีเป็นไปได้ ทีจะพบกับนิโรธแบบนี้ได้

นิโรธ แบบทีี่ 2 นั้น จะเกิดได้ในผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานทีมี ฌานจิต 
ขอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจคำว่า ฌานจิต ในนิโรธแบยนี้ให้ตรงก่อน
เพราะ ถ้าทา่นเข้าใจว่า ฌานจิต คือ การทำจิตนิ่ง
อาการ่ทำ จิตนิ่ง นี่ไม่ใช่ นิโรธ แบบที่ 2 นี้
แต่ ฌานจิตใน นิโรธ แบบที่ 2 นี้ เกิดเมื่อ จิตตัวรู้ และ จิตพลังงาน นั้น แยกตัวออก
จากกันได้เองโดยอาศัยอำนาจของจิต ทีมีพลังสมาธฺิระดับ ฌาน

ผู้ทีได้ นิโรธ แบบที่  2 นี้ เมื่อต่อไปในอนาคต เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น
ในวิปัสสนาญาณ  นักปฏิบัติ ก็จะสามารถเข้า นิโรธ แบบที่ 1 ได้เช่นกัน
แต่เนื่องด้วย เขาคือผู้ที่ได้ นิโรธ แบบที่ 2 นี้มาก่อน
แล้วต่อมา เมื่อได้ นิโรธ แบบที 1 แล้วในภายภาคหน้า
นั้น เขาจะมีอำนาจของ สัมมาญาณ ทีมีพลังระดับ ฌานจิต ทำให้เขาสามารถอยู่
ในนิโรธแบบที่ 1 ได้ยาวนานกว่า ผู้ทีไม่ได้ผ่าน ฌานจิต มาก่อน

6..ท่านทีได้เข้ามาอ่านถึงข้อนี้  สิ่งทีเขียนนี้ เป็นเพียงบทความทีอธิบาย
สภาวะธรรมของ นิโรธ 2 แบบ  แต่เพียงได้อ่าน ไม่ทำให้ท่านพบ นิโรธ ได้เลย
ไม่ว่า จะแบบใด  ท่านต้องลงมือปฏิบัติสติปัฏฐาน ให้ตรงทางก่อน
อย่าได้บิดเบี้ยวออกนอกทางแห่ง สติปัฏฐาน 
ท่านต้องเดินสติปัฏฐานให้ตรง แล้วหมั่นพบกับทุกข์  สติปัฏฐานและทุกข์นี่แหละ
เมื่อมีประสบการณ์มากพอ ท่านจะมีความก้าวหน้าในสติปัฏฐานต่อไปเรื่อยๆ 
และ ประสบการณ์เหล่านี้ จะทำให้ท่านได้พบกับ นิโรธ ต่อไปได้เอง

สรุปสั้น ๆ   

นิโรธ แบบที่ 1 หรือ สุญญตา หรือ อาการทีตัวตนได้หายไปจากโลกใบนี้
แต่อายตนะทุกอย่างยังทำงานได้อยู่ แบบ สักแต่ว่า 
ขอให้อ่านเรื่อง พาหิยะ ในพระไตรปิฏก

นิโรธ แบบที่ 2 การแยกตัวออกของ จิตตัวรู้ และ จิตพลังงาน 
โดยที่จิตตัวรู้ ไม่ถูก จิตพลังงานครอบงำ
หรือ จะพูดว่า จิตตัวรู้ เป็นอิสระจากจิตพลังงาน ก็ได้เช่นกัน

****จบเรื่อง อริยสัจจ์ ข้อที่ 3 *****



 


Create Date : 04 กันยายน 2564
Last Update : 19 มิถุนายน 2565 16:15:12 น. 0 comments
Counter : 672 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.