รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
1 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
สภาวะธรรมนั้นไม่เที่ยง

บทความนี้ลงใน fb เมื่อ  22 พฤษภาคม 2555

เวลานักภาวนาฝึกฝนไป ใหม่ๆ มักจะไม่มีปัญหาอะไร แต่พอนักภาวนาเริ่มมีชั่วโมงบินมากขึ้น ก็จะพบกับสภาวะธรรมบางอย่างได้ ทีนี้ละ ปัญหาจะตามมาทันที ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นไปได้ ...

เพราะความเคยชินทางโลก ที่ยังเข้าใจในความเที่ยงแท้อยู่ พอนักภาวนาพบสภาวะธรรม ก็เกิดความอยากได้สภาวะธรรมอย่างนั้นให้คงอยู่ พอเกิดความอยากขึ้นมา ก็ผิดหลักของอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 2 ทันที ผลก็คือ การภาวนาเริ่มถดถอย รู้สึกหนัก ๆ มึน ๆ เหมือนคนไม่สดใส ถ้านักภาวนาพบกับสภาวะดังกล่าว ไม่สดใส มึน ๆ หนัก ๆ ละก็ ไม่ต้องไปทำอะไร เพียงทิ้งตัณหาความอยาก เดียวมันก็สดใสใหม่เอง
การภาวนานั้น เราต้องรู้ทุกข์หรือรู้สภาวะธรรมด้วยการไร้ตัณหา นี่คือหลักใหญ่ในการภาวนาให้ตรงทาง มันเหมือนมีเป้าหมาย 2 เป้าหมาย คือ การรู้ทุกข์หรือรู้สภาวะ และ การไร้ต้ณหา นักภาวนาต้องรวม 2 เป้าหมายเข้าด้วยกันให้เป็นเป้าหมายเดียวเท่านั้น คือ รู้ทุกข์และไร้ตัณหาด้วย

การรู้กาย รู้อาการทางกาย ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหานักในการรู้ทุกข์ด้วยการไร้ตัณหา แต่ปัญหาของการรู้กายของนักภาวนาคือมักจะชอบคิด นักภาวนามักจะได้ยินได้ฟังมาว่า ให้ภาวนาแล้วเห็นว่า กายนี้ไม่ใช่เรา พอนักภาวนาลงมือภาวนา ก็พยายาม พยายาม และ ก็พยายาม ไปมองว่า กายนี้ไม่ใช่เรา มันเป็นซะอย่างนี้ ซึ่งถ้านักภาวนาทำอย่างนี้ ก็ไม่ตรงแล้วครับ ถึงแม้ว่าจะมองออกว่ากายนี้ไม่ใช่เรา มันก็เจือด้วยความคิดเข้าผสม ซึ่งยังเป็นจินตมยปัญญา ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา

พอนักภาวนาเริ่มเห็นจิต เห็น มโน นี่ยิ่งแย่กว่าเห็นกาย เพราะการเห็นจิต เห็น มโน นั้น ใหม่ๆ มันจะล่อให้งงมาก เดียวมา เดียวหายไป นักภานาก็อยากให้มันมาบ่อย ๆ ก็ลงมือไปจ้องเอา นี่ก็เสร็จตัณหาอีก ในการภาวนานั้น ส่วนของสภาวะธรรมนั้น เราจะรู้อะไรก็ได้ จะไม่รู้ยังได้เลย ขอเพียงแต่ว่าให้ดำเนินไปตามกฏ 3 ข้อเท่านั้น ที่เรารู้ทกข์ด้วยการไร้ตัณหา การไม่รู้สภาวะธรรมนั้นอาจเกิดได้ แต่ถ้าเราดำเนินไปด้วยกฏ 3 ข้ออยู่ เดี๋ยวสภาวะธรรมมันก็จะปรากฏเองอีกครั้ง แล้วก็หาย เดี๋ยวก็มา เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ 

ความเป็นจริงของสภาวะธรรมนั้น มันจะมา มันก็ไป ไม่ใช่เรื่องเราเลย ถ้ามันมา เราเห็น เราก็เฉย ถ้ามันไป เราก็เห็นว่ามันหายไป เราก็เฉยอีก เราทำหน้าทีรู้ทกข์ด้วยการไร้ตัณหาไปเรื่อย ๆ สภาวธรรมมันจะพลุบๆ โผล่ ๆ อย่างไร ช่างมัน ปล่อยให้จิตมันเห็นความไม่เที่ยงแท้เอง แล้วจิตจะมีปัญญาสะสมไว้ พอได้จังหวะดี ๆ มันจะเปิดปัญญาทีหนึ่ง โผล่งออกมาให้เรารู้เพียงเสี้ยววินาที นั่นแหละ ของดี ที่นักภาวนาจะได้แล้ว มันจะเป็นอย่างนี้ การโผล่งปัญญาของจิต นี่เป็นภาวนามยปัญญา ผลที่ตามมา คือ การเปลี่ยนแปลงของจิตเอง จิตมีปัญญามากขึ้น ซึ่งหมายความว่า การปล่อยวางจะดีขึ้น และ ความรู้สึกตัวจะตั้งมั่นมากขึ้นไปตามลำดับขั้น ซึ่งผลอย่างนี้ จะไม่ได้มาด้วยจินตมยปัญญาเลย

ผลของการภาวนานั้น คือ รู้ทุกข์ด้วยการไร้ตัณหา แต่การรู้ทุกข์นั้น มีอยู่ 2 ระดับ คือ รู้ด้วย *สัมมาสติ * ซึ่งกล่าวถึงการรู้ขันธ์ 5 ด้วยสัมมาสติ ในสติปัฏฐาน 4 และ อีกระดับคือ การรู้ด้วย*ปัญญาญาณ* หรือ การเห็น จิต เห็น มโน ได้ 

การเข้าถึงปัญญาญาณได้ ก็ต้องผ่านการเข้าถึงสติปัฏฐาน 4 มาก่อนอย่างโชกโชน การเข้าถึงสติปัฏฐาน 4 ได้ ผลคือการปล่อยวางในขันธ์ แต่การเข้าปัญญาญาณได้ คือ การหลุดจากอวิชชา แต่ผลทั้ง 2 อย่างล้วนต้องไม่มีตัณหาเข้าแทรก การภาวนาจึงจะไปได้ด้วยดีครับ พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า สิ่งใดไม่เที่ยง ควรแล้วหรือที่จะยึดถือว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นของเรา



Create Date : 01 มิถุนายน 2555
Last Update : 7 มิถุนายน 2555 8:29:16 น. 0 comments
Counter : 1458 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.