รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
ภาวนาแล้วติดขัด จะแก้ใขอย่างไรดี

ในการภาวนาเพื่อการพ้นทุกข์แนวพุทธนั้น  จุดสำคัญที่สุดที่ควรเริ่มคือ การศึกษาให้เข้าใจ  ถ้าเข้าใจแล้ว การภาวนาจะไม่มีติดขัด แต่อาจมีช้าเร็วก็แล้วแต่บารมีของแต่ละบุคคล

แต่ถ้าภาวนาแล้วติดขัด ก็แสดงว่า ยังตีโจทย์ในการภาวนาไม่แตก

แล้วอะไรเล่า ที่สมควรศึกษาให้เข้าใจ เพื่อจะได้ตีโจทย์แตก..

*** คำตอบก็คือ อริยสัจจ์ 4 ครับ ***

อริยสัจจ์ 4 คือ แก่นคำสอนในพุทธศาสนาเพื่อนำพานักภาวนาสู่การพ้นทุกข์

อริยสัจจ์ 4 กล่าวไว้ว่า ทุกข์ในรูุ้ สมุทัยคือตัณหาให้ละเสีย  นิโรธคือความไม่ทุกข์ ให้ทำให้แจ้ง  มรรคคือวิธีการปฏิบัติด้วยทางสายกลาง

ในการตีโจทย์การภาวนาน้้น นักภาวนาสมควรใช้อริยสัจจ์ 4 ทั้ง 4 ข้อทำการภาวนาพร้อม ๆ กันไป ไม่ใช่ไปทำทีละข้อ เพราะถ้าเดินพร้อมกันทั้ง 4 ข้อ นักภาวนาจะภาวนาได้ตรงทาง และ จะไม่ติดขัดอะไรเลย

แต่ที่เป็นปัญหาติดขัดกันส่วนมาก เพราะ การไม่ละตัณหา และ ตีโจทย์ทางสายกลางไม่แตก เลยปฏิบัติไม่ตรงกับอริยสัจจ์ 4

ถ้านักภาวนาต้องการ คือ มีตัณหาในการภาวนา การภาวนาจะส่งผลออกมา 2 อย่าง ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ จะไม่ใช่ทางสายกลาง

พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมเทศนากับปัญจวัคคีย์ไว้ว่า  ส่วนสุด 2 ส่วนไม่ควรเดิน คือ การทรมานตนให้ลำบาก และ การเพลินในกามสุข  แต่ให้เดินทางสายกลาง แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสสอนทางสายกลาง หรือ มรรคมีองค์ 8

ในการภาวนานั้น ส่วนสุดทั้ง 2 ที่ไม่ควรเดิน ก็คือ การทรมานตนให้ลำบากนั้น ก็คือ การฝึกจิตด้วยการกดข่มจิต บังคับจิต เพื่อให้จิตเป็นไปในสิ่งทีตนต้องการ ซึ่งก็คือ การมีตัณหาในจิตนั้นเอง

ส่วนการเพลินในกามสุข คืออาการที่จิตไหลออกจากฐาน วิ่่งไปจับยึดกับอารมณ์ต่างๆ ที่จิตไปรับรูุ้เข้า ทาง อายตนะทั้ง 6

แล้วทางสายกลางละเป็นอย่างไร....
ทางสายกลาง จิตไม่ถูกกดข่ม ไม่ถูกบังคับ จิตไม่ไหลออกจากฐานไปจับยึดอารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6  แต่จิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐานของจิตด้วยกำลังของสัมมาสมาธิ และรับรู้อารมณ์แต่ไม่จับยึดด้วยสัมมาสติ

เมื่อจับรวมอริยสัจจ์ 4 ทั้ง 4 ข้อเข้าด้วยกัน นักภาวนาเพียงรู้ทุกข์ที่ไร้ตัณหา ฝึกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  ก็เข้าทางแห่งอริยสัจจ์ 4 ที่กำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ  ทีละนิด ทีละนิด จนเมื่อจิตตั้งมั่นในฐานของจิต ก็เกิดนิโรธ หรือ นิพพาน คือ ความไม่ทุกข์

สำหรับการฝึกนั้น ทีสำคัญคือเลือก ทุกข์ให้จิตไปรู้เข้า   ซึ่งมีหลายวิธีการ หลายแนวทางของหลายๆ สำนักสอน 

แต่ที่ผมแนะนำคือ การรับรูุ้ความรูุ้สึกของกาย และ การฝึกรูุ้ จิตไหวตัว หรือ รู้ความคิด บางที่ผมก็เรียกว่า จิตกระฉอก

ท่านจะฝีกไปอย่างไรก็ได้ รูปแบบใดก็ได้แล้วแต่ท่าน เพียงฝึกรู้ความรู้สึกของกาย รู้จิตไหว ด้วยการไร้ความอยากรูุ้ ฝีกไปเรื่อยๆ  เพียงเท่านี้ ฝีกให้มาก ฝีกให้บ่อย แต่อย่าเครียด อย่าหักโหม ทำสบาย ๆ  ด้วยจิตใจที่ดี  

ท่านอย่าหวังความรวดเร็วที่จะได้ผล ท่านอย่าได้คาดหวังสิ่งใดในการฝีก ปล่อยให้ธรรมชาติเขาจัดการของเขาเอง

ในธรรมชาติแล้ว สำหรับนักภาวนามือใหม่ ถ้าท่านไม่บังคับจิตไปทำสิ่่งใด ความเผลอก็จะเกิดตามมาได้ง่าย ๆ  แต่ถ้าท่านเพียงรูุ้สึกว่า ภาวนาไป 1 ปีแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย เพียงแต่ความเผลอลดลงเท่านั้น  นี่แหละ ท่านได้ผลจากการภาวนาแล้ว

ถ้าท่านไม่เผลอ และ ไม่ได้บังคับจิต  ถ้าท่านไม่คิดอะไร เพียงอยู่เฉยๆ อย่างธรรมชาติ นี่คือจิตอยู่ในฐานแล้ว แต่เผอิญท่านยังมองไม่เห็นจิต จึงไม่ทราบว่า จิตท่านนั้นดีขึ้นแล้วจากเดิม เพราะผลการภาวนา

เมื่อท่านยังไม่เผลอ จิตใจดีอยู่ ท่านก็ไม่ตกอยูุ่ในอำนาจของกิเลส  การฝึกฝนทีทำให้ท่านเผลอลดลงก็แสดงว่า ท่านมาได้ถููกทางแล้วครับ ขอท่านเพียรฝึกต่อไปเรื่อยๆ  ความเผลอยิ่งลดลงไปเรื่อยๆ ท่านก็อิสระจากกิเลสได้มากขึ้นเรื่อย ๆ  

ขอเพียงท่านสังเกตตัวเองสักนิด ถ้าท่านเผลอน้อยลงก็จริง แต่ถ้าเมื่อไร ทีท่านเผลอ ท่านอาจพลาดท่ากิเลสได้อีก ซึ่งท่านจะเป็นอย่างนี้อย่างแน่นอน แต่ถ้าท่านสังเกตตัวเอง  เมื่อท่านพลาดท่ากิเลิสเมื่อไร ท่านสามารถหลุดออกจากการยึดครองของกิเลสได้เร็วขึ้นด้วย เช่น เดิมท่านอาจใช้เวลา 1 สัปดาห์ กว่าจะหลุดออกจากกิเลสที่ครองจิตท่านอยูุ่  แต่พอท่านฝึกมาถูก เผลอลดลง ท่านอาจใช้เวลาเพียงแค่ 1 วัน ก็หลุดออกมาได้แล้วซึ่งแต่เดิมต้องใช้ 7 วัน  แต่ถ้าท่านยิ่งฝึก ก็ยิ่งเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ต้องใช้เวลาบ่มเพาะความสามารถนี้

ชีวิตนี้สั้นนัก   ผลของการภาวนานี้ จะใช้ก็ตอนที่กำลังจะสิ้นลมลาโลกไป  ถ้าท่านวาสนาดีพอ  ท่านสามารถเข้าสู่สภาวะที่ไม่เผลอและเฉยๆ ได้ในเวลาสิ้นลมพอดี  หนทางที่ดีย่อมเป็นทางที่ท่านจะเดินทางต่อไปครับ และ มันจะสะสมไว้ เมื่อท่านได้เกิดพบคำสอนในพุทธศาสนาที่ตรงทางอีก ท่านก็เดินได้เร็วกว่าคนอื่น





Create Date : 01 กรกฎาคม 2555
Last Update : 1 กรกฎาคม 2555 18:27:19 น. 0 comments
Counter : 1813 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.