รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 พฤศจิกายน 2564
 
All Blogs
 
การปฏิบัติธรรมตามหลักการของ อาทิตตปริยายสูตร

1..บทความเรื่อง การปฏิบัติธรรมตามหลักการของ อาทิตตปริยายสูตร  ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาโปรด ชฏิล 3 พี่น้อง ว่าด้วยเรื่อง ความเร่าร้อนของจิตใจ เมื่อมีผัสสะเข้ามากระทบทางอายตนะต่างๆ 
ในบทความนี้ จะได้นำวิธีการปฏิบัติทีเป็น รูปธรรม มาเขียนไว้ เพื่อให้นักปฏิบัติทีสนใจได้ศีกษาและทดลองปฏิบัติ ดู เพื่อความเจริญก้าวหน้าในธรรมสืบต่อไป

บทความทีเกี่ยวเนื่องกัน และ เป็นการปูพื้นฐานของการปฏิบัติธรรม ทีผมเขียนแนะนำให้อ่านก่อน คือ เรื่อง  สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการดับทุกข์ได้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=01-04-2021&group=17&gblog=216

2..ความเร่าร้อนของจิตใจ  เป็นสิ่งที มนุษย์ทุกคนมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิดมา และ สามารถสัมผัสได้กันทุกคน  ไม่ละเว้นแม้แต่คนเดียว แต่การดับอาการเร่าร้อนนี่ซิ ถ้าไม่ใช้แนวทางทีพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนเรื่อง สติปัฏฐาน ก็ไม่อาจจะดับลงไปได้

ผู้เขียนได้ทดลองและคิดแนวทางไว้ สำหรับนักภาวนาทีสนใจจะได้ทดลองปฏิบัติดู เพื่อความเข้าใจและสดวกต่อการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนได้เขียนไว้เป็นข้อ ๆ ซี่งในแต่ละหัวข้อ จะได้มีการอธิบายเพิ่มเติมในวิธีการทำให้ละเอียดลงไป เพื่อสามารถนำไปใช้ได้จริงในการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง

A....การรู้จักอาการของใจทีไม่เร่าร้อน
B...เทคนิคการตั้งชื่ออาการของใจ
C...วิธีการพัฒนาความตั้งมั่นแห่งการรู้อาการของใจ

3...หัวข้อ A...การรู้จักอาการของใจทีไม่เร่าร้อน
ถ้าท่านทีเข้ามาอ่าน จะทำแกงไก่  ท่านต้องรู้สีกก่อนว่า ไก่ นั้นมีหน้าตาลักษณะอย่างไร
นี่เป็นจุดเริ่มต้นทีสำคัญ  เมื่อท่านรู้จักอาการของใจทีเร่าร้อนอยู่แล้ว แปลกแต่จริงทีว่า น้อยคนนัก
จะรู้จักอาการของใจที่ไม่เร่าร้อน มาทำความรู้จักอาการนี้ของใจกันต่อไป

ก่อนอื่น ขอให้ท่านทำอาณาปานสติ ตามทีผู้เขียนได้เขียนไว้ในเรื่องนี้   สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการดับทุกข์ได้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ก่อน
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=01-04-2021&group=17&gblog=216

เพืยงท่านนั่งให้สบาย จะนั่งแบบใดก็ได้ บนเก้าอี้ หรือ พื้นก็ได้ นั่งอย่างใดสบายแก่ร่างกาย
ขอให้นั่งแบบนั้น เปิดพัดลมส่ายไปมา ให้โดนร่างกายได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้ว นั่งกอดอกไว้
ท่านจะสามารถรู้สึกได้ถึงการสั่นสะเทือนทีเกิดขึ้นเพราะมีการหายใจเกิดอยู่  **หมายเหตุ อย่าได้ไปรู้ลมหายใจทีปลายจมูกเด็ดขาด  แต่ให้รู้การสั่นสะเทือนทีเกิดขึ้นในร่างกายนี้ ก็พอ**

เมื่อท่านนั่งอยู่ รู้อาการสั่นสะเทือนทีเกิดขึ้นได้แล้ว ต่อไป ขอให้ท่านสังเกตอาการของจิตใจของท่านเมื่อท่านยังรู้ทีอาการสั่นสะเทือนนี้ได้อยู่ ท่านจะพบว่า
A...ในสมองของท่านจะไม่มีความคิดใด ๆ เลยในขณะทีกำลังรู้การสั่นสะเทือนอยู่
B...ใจของท่านจะเฉยๆ  สงบ ๆ  ไม่เร่าร้อน  นี่แหละคืออาการของใจทีไม่เร่าร้อน ได้เกิดขึ้นแล้ว และท่านก็สามารถสัมผัสได้แล้วว่า อาการเป็นอย่างนี้เอง

4...หัวข้อ B เทคนิคการตั้งชื่ออาการของใจ
เทคนิคนี้ ดูจะแปลก ๆ แต่ขอให้ท่านทดลองดูเองว่า ใช้ได้ประโยชน์จริงเพียงใด
เมื่อท่านสามารถรู้จักอาการของใจทีไม่เร่าร้อนได้แล้ว ตามทีได้เขียนบอกไว้ถึงวิธีการในข้อที่ 3 
ต่อไป ขอให้ท่านตั้งชื่อเรียกอาการของใจนี้ด้วยท่านเอง 
ท่านอาจตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ ตามทีท่านชอบใจ แต่ถ้าท่านนึกถึงชื่อนี้เมื่อใด ท่านจะสามารถรู้ไปถึงอาการของใจทีไม่เร่าร้อนได้ดี  
ยกตัวอย่างชื่อทีท่านอาจนำมาใช้ได้ ดังนี้
**ใจสงบเย็น
**ใจปกติ
**ใจไม่เร่าร้อน
**ใจพุทธะ
หรือชื่ออะไรก็ได้  
วิธีใช้งาน สมมุติว่า ท่านตั้งชื่ออาการของใจทีพบได้แล้วในการทำข้อ 3 แล้วท่านตั้งชื่ออาการของใจแบบนี้ว่า ใจพุทธะ  
เพียงท่านนึกถึงชื่อนี้ว่า ใจพุทธะ  อาการของใจทีท่านพบได้ ควรจะปรากฏขึ้นได้อย่างง่ายดาย
ท่านจะไม่รู้สีกอีดอัดใด ๆ เลย ใจจะเป็นอย่างทีท่านพบในข้อ 3 นี้
ถ้าท่านทำแบบนี้แล้ว สามารถรู้ลมหายใจได้ด้วย ก็ยิ่งดี แต่อย่าไปสนใจลมหายใจเด็ดขาด
เพียงรู้ได้ก็พอให้เปรียบเหมือน แม่ทีได้ยินเสียงลูกร้อง แต่ไม่สนใจในเสียงร้องนั้นเลย

การนำไปใช้งาน ทุกครั้งทีท่านต้องการพบกับอาการของใจแบบนี้ ขอให้ท่านนึกไปถึงชื่อทีท่านตั้งไว้ แล้วกลไกธรรมชาติภายในของท่าน จะทำงานให้เอง คือ ใจท่านจะไม่เร่าร้อน ถ้าสามารถรู้ลมหายใจได้ด้วย ก็ยิ่งดี ถ้ายังรู้ไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร

5..หัวข้อ C...วิธีการพัฒนาความตั้งมั่นแห่งการรู้อาการของใจ

เมื่อท่านรู้จักแล้ว อาการของใจทีไม่เร่าร้อน ท่านควรจะพัฒนาการรู้อาการของใจนี้ให้มั่นคง
ซี่งก็คือ การทำสัมมาสมาธิ ทีมีสัมมาสติไปรู้อาการของใจทีไม่เร้าร้อน
วิธีการทำนั้น ท่านไม่ควรนั่งนิ่งๆ  เฉย ๆ  เพราะถ้าทำอย่างนี้ การพัฒนาจะช้า และ ยากทีจะก้าวหน้าได้  ผู้เขียนขอแนะนำวิธีการพัฒนาเป็นขั้น ๆ ดังนี้

ขั้นที่ 1...ท่านใช้เทคนิคการตั้งชื่อตามหัวข้อที่ 4 ท่านนึกถึงชื่อนั้น อาการใจของท่านทีไม่เร่าร้อนก็จะเกิดขึ้น จากนั้น ท่านไปดูทีวี จะดูหนัง ดูข่าว ฟังเพลง หรือ อะไรก็ได้ ที่ท่านชอบ
ท่านจะพบว่า พอท่านดูทีวีปุ๊บ ท่านจะไม่สามารถรู้อาการของใจได้เลย ถ้าอย่างนี้เกิดขึ้น หมายความว่า สติ และ สมาธิ ของท่าน อ่อนแอมาก ๆ  

ท่านอย่าได้กังวลใจในเรื่องการอ่อนแอนี้  ให้ท่านนึกชื่อทีท่านตั้งไว้ แล้ว อาการของใจก็จะปรากฏขึ้น แล้ว ท่านก็ไปดูทีวีใหม่  แล้วท่านก็จะเผลอ ไม่รู้อาการใจอีก ท่านก็ทำใหม่วนเวียนไปเรื่อย ๆ 
ท่านจะพบว่า ในสัปดาห์แรก ท่านจะพบว่า สติ สมาธิ ของท่านแย่มาก 
แต่ถ้าท่านไม่ท้อ ฝีกฝีกไปเรื่อยๆ   เวลาผ่านไป เป็นเดือน ท่านจะพบว่า ท่านจะสามารถรู้อาการของใจได้นานขึ้นไปเอง เมื่อดูทีวีไปด้วย นี่คือ การพัฒนาได้เกิดขึ้นแล้ว

การฝีกในขั้นที่ 1 นี้ เป็นการฝีกสมาธิ ทีต้านทานตัณหาที่เกิดจากผัสสะทีเข้ามาทางอายตนะ

หมายเหตุ ท่าน*อย่า*ได้เข้าใจว่า จิตทีพัฒนาแล้ว ต้องนิ่งสงบ ไม่มีความคิด นั่นมันเป็นสมาธิฤาษี สมาธิพุทธไม่ใช่แบบนี้ สมาธิพุทธ นั้น คือ ความมั่นคงตั้งมั่นแห่งการรู้อาการในสติปัฏฐาน จะนึกคิดก็ได้ แต่ยังรู้อาการในสติปัฏฐานได้อยู่ เหมือนท่านดูทีวี ท่านจะนึกคิดได้ตามเรื่องราวในทีวีทีท่านดู แต่ท่านควรรู้อาการของใจไปด้วยในขณะทีดูทีวี นี่คือ การมีสมาธิแบบพุทธ จะเป็นแบบนี้

ขั้นที่ 2...เมื่อท่านฝีกขั้นที่ 1 ได้ค่อนข้างดี ท่านจะพบตัวเองเลยว่า ตัวท่านได้เปลี่ยนแปลงจิตใจไปแล้ว ท่านจะทำงาน ทำหน้าทีทางโลก ด้วยอาการใจทีไม่เร่าร้อนมากขึ้น ความเร่าร้อน ฉุนเฉียวในใจ จะหดหายไปมากทีเดียว แต่ก็ยังมีได้อยู่ แต่จะไม่หนักเหมือนเดิม 
การฝีกระดับที่ 2 นี้ เป็นการฝีกทียากกว่าขั้นที่ 1  ท่านจะฝีกก็ได้ หรือ ไม่ฝีกก็ได้ แต่ถ้าต้องการการพัฒนาทีแข็งแรงมากขึ้น ผู้เขียนก็แนะนำให้ท่านฝีกดู

การฝีกขั้นที 2 นี้ เป็นการฝีกการต้านทานแรงดึงดูดทีเกิดจากการใช้จิตทีหนักหน่วง

การฝีกขั้นนี้ ท่านใช้จิตทีหนักหน่วง เช่น ถ้าต้องยกของหนัก เช่น ยกกิ่งไม้หนักให้พ้นทาง
ตอนท่านออกแรงยกของหนัก ท่านจะพบว่า ท่านจะไม่สามารถรู้อาการของใจได้ มันจะหายไปทันทีทีท่านออกแรงอย่างหนักหน่วง ท่านฝีกไปเรื่อยๆ  จนวันหนี่ง ท่านจะพบได้ว่า ขณะทีท่านออกแรงหนัก ท่านก็ยังรู้อาการของใจได้พร้อมกันไปด้วย นีแสดงว่า ท่านมีการพัฒนายิ่งขึ้นกว่าเดิม

6...สิ่งทีเขียนในนี้ ถ้าสามารถรู้อาการของใจทีไม่เร่าร้อนได้ เมื่อท่านทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต
ถ้าท่านทำไปเรื่อยๆ  วันหนี่ง ท่านจะมี ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นได้เอง
ถ้าท่านมี ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นแล่ว  ซี่งการมี ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้น จะสามารถพัฒนาต่อไปในการรู้อาการของใจ พร้อมกับ การมี ญาณ ในการรู้ได้ด้วย

การรู้ด้วย ญาณ จะปราณีตมากกว่า เพราะมีการเห็นได้ด้วย  ท่านจะเข้าใจกลไกของจิตใจของท่านมากขึ้นกว่าเดิม อันเป็น ปัญญาระดับสูงในพุทธศาสนา
ยิ่งท่านเห็นกลไกของจิตใจมากขึ้นเท่าใด ท่านจะมีปัญญาในพุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น
ความสงสัยต่าง ๆ ก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ จากทีท่านได้เห็นกลไกของจิตใจนี้ด้วยตนเอง

*****จบ*****











 


Create Date : 04 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2564 9:25:36 น. 0 comments
Counter : 821 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmcayenne94, คุณกิ่งฟ้า


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.