รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
11 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

รู้สึกตัวอย่างไรในการภาวนา

***บทความนี้เขียนขึ้นสำหรับท่านที่ปฏิบัติแบบวิปัสสนายานิก เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการฝึกฝนสำหรับคนใหม่***


เรื่องก่อนหน้าที่ได้เขียนไว้แล้ว แนะนำให้อ่านก่อนถ้าท่านยังไม่เคยอ่านมา

เรื่องที่ 1 เคร็ดวิชาการภาวนาแบบหลวงพ่อเทียน

เรื่องที่ 2 ให้รู้สึกของหลวงพ่อเทียน คือ ??

ในการภาวนาแบบวิปัสสนายานิก  ส่วนที่สำคัญมากคือเรื่อง**ความรู้สึกตัว** ใคร ๆ ก็บอกว่าให้รู้สึกตัว  แต่สำหรับนักภาวนาแล้ว ถ้ายังไปไม่ถึงระดับญาณเห็นจิตได้ การเข้าใจว่าตนเองกำลังรู้สึกตัวที่ถูกต้องแล้วก็อาจจะพลาดท่าได้อย่างง่าย ๆ เพราะว่า การที่พูดว่า *ให้รู้สึกตัว*  แต่การรู้สึกตัวจะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งสมควรทำความเข้าใจให้ดีก่อนทำการฝึกฝน

ที่ว่าการรู้สึกตัวมีอยู่ 2 ชนิดนั้น มีดังนี้ 

ชนิดที่ 1.. รู้สึกตัว แต่มีการจงใจใช้จิตทำงาน
ชนิดที่ 2..  รู้สึกตัว  แต่ไม่มีการจงใจใช้จิตทำงาน ปล่อยจิตทำงานเองตามธรรมชาติ

2 ชนิดนี้ต่างกันอย่างไร มาดูกัน

ชนิดที่ 1.. รู้สึกตัว แต่มีการจงใจใช้จิตทำงาน  เป็นจิตที่ประกอบไปด้วย * ความคิด * และ * ความอยาก *  ในตำราจะเรียกว่า จิตที่ประกอบไปด้วย ทิฐิและตัณหา

 1.1.. จิตที่ประกอบไปด้วย *ความคิด* แบบนี้ นักภาวนารู้สึกตัวก็จริง แต่ยังมีความคิดเข้าผสม ความรูุ้สึกตัวแบบนี้จะมีอยู่แล้วกับคนทั่วๆ  ไป บางท่านเรียกว่า *ความรู้สึกตัวระดับสามัญสำนึก* เป็นความรู้สึกตัวระดับการใช้งานในชีวิตประจำวัน  เช่น ในการอ่านหนังสือ พูด ฟัง ขับรถ ทำงานบ้าน หรือ อื่น ๆ   ผมจะยกตัวอย่างให้ท่านเข้าใจมากขึ้น

...การที่ท่านอ่านหนังสือแล้วรูุ้เรื่อง  ท่านฟังคนอื่นพูดแล้วเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังมา
...ท่านรูุ้ว่า คนนี้ชื่ออะไร  สัตว์อย่างนี้เรียกว่าอะไร  
...ท่านรู้ว่าทำอย่างนี้ดี ทำอย่างนี้ไม่ดี
...เวลาท่านขับรถ ท่านรูุ้ว่า อย่างนี้คือไฟแดง รถห้ามไป อย่างนี้คือไฟเขียว รถวิ่่งผ่านไปได้
และอื่นๆ อีกเป็นล้าน ๆ ที่เกิดในชีวิตประจำวันของท่านเอง

คนทั่ว ๆ ไป พอได้ยินว่า ให้รู้สึกตัว ก็จะเข้าใจว่าเป็นแบบนี้ทันที เพราะคนทั่่ว ๆ ไปเคยชินกับความรูุ้สึกตัวอย่างนี้อยู่แล้ว

1.2 จิตที่ประกอบไปด้วยความอยาก

จิตประเภทนี้ นักภาวนามือใหม่ในด้านวิปัสสนายานิกตกม้าตายไปมากแล้ว เพราะว่าไม่เข้าใจ  เป็นความอยากรู้สภาวะธรรมก็เลยไปจดจ้องสภาวะธรรม เช่น เวลาเคลื่อนมือ ก็ส่งจิตไปจดจ้องมือที่กำลังเคลื่อน หรือ เวลาเดินจงกรม ก็ส่งจิตไปจดจ้องที่เท้าเวลาเดิน  หรือ เวลาทำอาณาปนสติ ก็ส่งจิตไปจับลมที่ปลายจมูก

** ความอยากอีกประการที่คนใหม่ไม่รู้เลย ก็คือ ความอยากที่จะรู้สึกตัว โดยการไปยึดความรู้สึกตัวเอาไว้ **

เมื่ออยู่ในอาการแบบนี้ นักภาวนาจะไม่ค่อยคิด หรือ บางทีจะบอกว่า ความคิดถูุก กดอยูุ่ก็น่าจะได้  นักภาวนาจะพบแต่ความสงบของจิตใจเพราะจิตมันไม่คิด คนที่ขาดความเข้าใจ พอรู้สึกตัวแบบนี้เป็นแล้ว ก็มักจะหลงว่า ดีจริง ๆ แบบนี้ ไม่มีกิเลสโผล่มากวนใจเลย จิตใจช่างสงบเงียบดีแท้ ๆ

*******  

ชนิดที่ 2   รู้สึกตัว  แต่ไม่มีการจงใจใช้จิตทำงาน ปล่อยจิตทำงานเองตามธรรมชาติ

ลักษณะของความรู้สึกตัวแบบนี้ จะเป็นความรู้สึกตัวธรรมชาติ ที่ไม่มีการคิดเจือปน เฉย ๆ ไม่มีความอยากรู้สภาวะธรรมในขณะฝึกฝน  จิตเป็นกลางๆ  และ ผู้ภาวนาจะต้องอยู่ในอาการที่ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ไม่เครียด 
จิตประเภทนี้ เป็นจิตที่มีความว่องไวสูง (Dynamic ) ต่อการเปลี่ยนแปลงการการทำงาน และ พร้อมที่จะทำงานในทุก ๆ สภาพ และ อยู่ในสภาพที่จะรู้เห็นสภาวะธรรมได้ตามความเป็นจริง

ในคนใหม่ๆ ที่เข้ามาฝึกฝน จิตที่อยู่ในสภาพแบบนี้ซึ่งจะว่องไว ทำให้เกิดความคิดผุดขึ้นมาได้ง่ายๆ และเกิดบ่อย ๆ  นักภาวนามือใหม่ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ก็จะคิดว่า แย่แล้ว ฟุ่งซ่านแล้ว ก็เลยไปทำข้อ 1.2 ขึ้นมาทันที ด้วยการส่งจิตไปยึดอะไรไว้ เพื่อกดความคิดไม่ให้เกิด แล้วก็หลงไปว่า ดีจริงไม่คิดแล้ว แต่ว่า...มันไม่ใช่อย่างที่มือใหม่เข้าใจเลยครับว่าดี...

****
มาดูผลกันดีกว่า ว่าแต่ละแบบ ผลมันจะเป็นอย่างไร

จิตที่ประกอบด้วยความคิดนั้น จิตจะเคลื่อนออกจากฐานของจิตไปสู่ มโน  (การเคลื่อนออกจากฐานของจิตนี่คือ จิตไม่ตั้งมั่น หรือ บางท่านก็เรียกว่า ส่งจิตออกนอกฐาน )  เมื่อจิตเข้าไปใน มโน จิตก็ไม่สามารถที่จะเห็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นใน มโน ได้ หรือ พูดง่ายๆ  ก็คือ จิตไม่อาจเห็นความจริงของสภาวะธรรมที่เป็นไตรลักษณ์ได้นั่นเอง

ส่วนจิตที่ประกอบไปด้วยความอยากนั้น  ชั้นที่ห่อหุ่มจิตไว้จะหนาขึ้น ทำให้จิตไม่ว่องไวที่จะรู้สภาวะธรรม (เปรียบเหมือนคนทีใส่เสื้อผ้าไว้หลาย ๆ ชั้น ก็จะทำอะไรที่ไม่ว่องไว ปราดเปรียว )  เมื่อสภาวะธรรมเกิดขึ้น ก็ไม่อาจจะรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว 

ชั้นที่ห่อหุ้มจิตไว้นี่คือความเป็นอัตตาตัวตนว่าหนาแน่นมากหรือไม่ ถ้าห่อหุ้มไว้มาก ก็จะหนาแน่นมาก 

หมายเหตุ  ท่านที่ปฏิบัติธรรมแล้ว สามารถเห็นจิต เห็น มโน ได้แล้วด้วยตนเอง ท่านลองสังเกตดูอาการดังกล่าวได้ด้วยตนเอง

****
ในการฝึกฝนวิปัสสนายิกนั้น ท่านสมควรเข้าใจรู้สึกตัวชนิดที่ 2 แล้วก็ให้รู้สึกตัวแบบนี้ไว้ในขณะฝึกฝน  ท่านจะเดินทางในสายภาวนาไปได้ด้วยดี 
สำหรับผู้ฝึกตามแบบของหลวงพ่อเทียน นั้น ท่านเพียงรู้สึกตัวอย่างธรรมดา แล้วก็เฉยๆ  สบายๆ ผ่อนคลาย อย่าอยากรู้สภาวะธรรม เคลื่อนมือ-แล้วหยุดเป็นจังหวะ เหมือนทำเล่น ๆ อย่าทำแบบเอาเป็นเอาตาย  ถ้าท่านทำแบบนี้ ความคิดผุดมาก็สลัดมันทิ้งไป ถ้าเผลอมา ก็เริ่มใหม่  ทำเล่นๆ  ไปเรื่อยๆ  ก็จะดีขึ้นมา มีการพัฒนาของกำลังจิตขึ้นมาได้

ถ้าท่านนำไปใช้กับการเดินจงกรม ก็เดินแบบสบายๆ ผ่อนคลาย เหมือนเดินชมสวนดอกไม้ ให้มีจิตใจทีเบิกบาน




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2555
0 comments
Last Update : 13 มิถุนายน 2555 6:35:43 น.
Counter : 2566 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.