รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ

บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวจากที่ได้พบเห็นเองในการปฏิบัติมา
นำมาเขียนเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่พบมาเอง
ผมไม่รับประกันความถูกต้องทั้งหมดในเนื้อหา
ท่านที่ปฏิบัติมาแนวทางอื่น อาจพบไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ผมพบอย่างไรผมก็เขียนอย่างนั้น ถ้าท่านว่าผมผิด ผมก็ไม่ขอโต้แย้งท่านครับ
ผมเพียงฝากไว้ ให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเองด้วยปัญญา
*******************************
เรื่องสมาธิตามตำรา ก็จะมีกล่าวไว้ว่า มีอยู่ 2 ประเภท

คือ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ

แต่คำว่า สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ ต่างก็เป็นเพียงคำสมมุติแทนอะไรสักอย่างหนึ่ง
ถ้าไม่เข้าใจในเนื้อหาว่าอย่างไร จึงเป็นสัมมา อย่างไร จึงเป็นมิจฉา
แต่ถ้าไปถามใคร ๆ เขาก็มักจะตอบกันว่า ฉัน/ผม/หนู/ ทำสัมมาสมาธิกันทั้งนั้น
เพราะใคร ๆ ต่างก็รังเกียจ มิจฉาสมาธิ กัน แต่จริงๆ เป็นมิจฉาหรือสัมมา กันแน่
ดูกันต่อไป

ผมจะพูดเรื่อง มิจฉาสมาธิ ก่อน เพราะง่ายต่อการเข้าใจ

** มิจฉาสมาธิ (บางท่านจะเรียกว่า สมาธิจดจ่อ) คือ สมาธิที่ไม่เกื้อหนุนต่อการพ้นทุกข์ทางใจอย่างเด็ดขาด แต่อาจใช้สำหรับการพ้นทุกข์ทางใจได้เป็นครั้งคราว ด้วยการกดข่มภาวะแห่งจิตใจ
ที่กำลังปวดร้าวนั้น แต่ถ้ากดข่มไม่สำเร็จ จิตใจที่ปวดร้าว ก็จะเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุน
แรงมากกว่าปรกติ เพราะมีพลังแห่งการกดดัน กดข่มบังคับอยู่ แต่ถ้ากดข่มสำเร็จ
ก็จะลดอาการปวดร้าวใจได้ชั่วคราว แต่แล้ว อาการปวดร้าวใจ ก็จะกลับมาอีก
ถ้าเหตุแห่งการปวดร้าวนั้นยังอยู่

สมาธิแบบฤาษีั ก็จะเข้าข่ายมิจฉาสมาธิเช่นกัน

ลักษณะของมิจฉาสมาธิ คือ การที่จิตจอจ่อเข้าไป .ยึดติดแนบแน่น.กับอะไรสักอย่างหนึ่ง
อย่างจงใจที่จะให้เข้าไปยึด ยิ่งยึดแนบแน่นมากดังกาวตราช้างที่ไม่ยอมหลุดเลย
ก็เป็นมิจฉาสมาธิที่แข็งแกร่งมาก

ท่านเคยเห็นปลาท่องโก๋ไหมครับ ปลาท่องโก๋ จะมาเป็นคู่ ที่ยึดติดกัน
นั่นแหละครับ ยึดแบบปลาท่องโก๋ คือ ซึกหนึ่งของปลาท่องโก๋ จะเป็นจิต
อีกซึกหนึ่งจะเป็นวัดถุที่ยึดติดกัน

มาพูดกันในแง่การปฏิบัติธรรม แบบใดคือปลาท่องโก๋

ถ้าท่านดูลมหายใจ ก็มักจะมีคนมาเขียนในอินเตอร์เนทบ่อย ๆ (ผมเห็นประจำไม่เคยขาด
กับเรื่องนี้ ) ให้ส่งจิต ไปรับรู้ลมหายใจ ที่ปลายจมูก
ในกรณีนี้ จิต คือปลาท่องโก๋ ท่อนหนึ่ง ไปเกาะติดยังปลายจมูก ซึ่งเป็นปลาท่องโก๋อีกข้างหนึ่ง

ถ้าท่านเดินจงกรม ก็มักมีคนมาเขียนบอกว่า ให้ส่งจิตไปจับขาที่กระทบพื้น
จิต คือ ปลาท่องโก๋ ท่อนหนึ่ง ขาก็ปลาท่องโก๋อีกท่อนหนึ่ง

นี่คือ การยึดติดเพื่อให้เป็นสมาธิแบบมิจฉา ครับ

ทำไมผมจึงว่า นี่คือ มิจฉาสมาธิ...
ต้องย้อนดูจุดมุ่งหมายก่อนว่า เราปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์
จะพ้นทุกข์ได้ันั้น จิตต้องเป็นอิสระ ไม่มีการยึดติดต่อสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น
แล้วการที่ฝึกสมาธิแบบปลาท่องโก๋ มันเป็นการยึดติดหรือไม่ครับ
ถ้าเป็นการยึดติด มันก็คือ มิจฉาสมาธิ ครับ

มิจฉาสมาธิ ไม่ใช่ว่า ไม่ดี มันดีสำหรับงานทางโลก
ที่ต้องทำกิจกรรมอะไรโดยมีความตั้งใจจดจ่อกับงาน
แต่ว่า มันไม่ดี สำหรับงานทางธรรมเพื่อการพ้นทุกข์
ซึ่งงานทางธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ท่านต้องใช้ สัมมาสมาธิ
ซึ่งผมจะได้กล่าวต่อไป

*** สัมมาสมาธิ คือ สมาธิแบบพุทธ ที่ใช้สำหรับการพ้นทุกข์
มันจะตรงข้ามกับมิจฉาสมาธิ ซึ่งผมจะยกให้เห็น

มิจฉาสมาธิ .. ยึดติดกันระหว่าง จิต และ สิ่งที่จิตไปยึด
สัมมาสมาธิ .. ไม่ยึดติดกันระหว่าง จิต และ สิ่งที่จิตไปรับรู้

มิจฉาสมาธิ .. จงใจให้มีการยึดติดกัน เป็นความต้องการ
สัมมาสมาธิ .. ไม่มีความจงใจที่จะรู้ แต่เป็นการรู้ได้เองของจิต

ผมจะยกตัวอย่างทางโลก เพื่อท่านจะได้เข้าใจลักษณะของการไม่ยึดติด
กันของ จิต และ สิ่งที่จิตไปรับรู้ให้ท่านเห็น

ถ้าท่านอยู่ในบ้านท่าน ท่านจะเห็น เพื่อนบ้านของท่าน ได้ยินเสียงที่มาจากเพื่อนบ้านของท่าน
ท่านก็เห็นได้ ได้ยินได้ จากที่ท่านอยู่ในบ้านท่านนั้่นแหละ โดยที่ท่านไม่ต้องเข้าไปที่บ้านของเื่พื่อนบ้านเลย นี่คือ การรับรู้ที่อยู่ห่างออกจากสิ่งที่ถูกรู้ อาการสัมมาสมาธิ จะเป็นแบบนี้ รู้แบบห่าง ๆ จากสิ่งที่ถูกรู้ ไม่เกาะติดกันแบบปลาท่องโก๋

ท่านเห็นความต่างกันแล้วใช่ใหมครับว่า การรู้แบบสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ มันต่างกัน
ตรงนี้เอง คือ
รู้แบบติดกันเป็นปลาท่องโก๋ คือ มิจฉา
รู้แบบห่างกัน คือ รู้แบบสัมมา

แล้วในการปฏิบัติละ จะทำอย่างไร ให้รู้แบบสัมมาได้
ง่้ายมากครับ ขอเพียง ท่านรู้สึกตัวเท่านั้น ไม่ต้องส่งจิตไปรับรู้อะไรที่ปลายจมูก
ไม่ต้องส่งจิตไปรับรู้อะไรที่ขาที่สัมผัสพื้น เพียงท่านรู้สึกตัว เฉย ๆ ไม่ต้องอยากรู้อะไร
ท่านจะรับรู้ได้เองอย่างสัมมา เพราะกลไกแห่งจิต เขาทำงานนี้ได้อยู่แล้ว

ท่านลองเดินดูก็ได้ครับ เพียงรู้สึกตัว เดินแบบธรรมดาเป็นธรรมชาติ ท่านจะรับรู้การสัมผัสได้
เวลาเดิน จะรับรู้ได้เบา ๆ มันจะเป็นอย่างนั้นเอง

ทีนี้ลมหายใจละ ลมหายใจ จะยากหน่อย เพราะมันอ่อนมาก ท่านต้องช่วยนิดหนึ่ง
ขอให้ท่านนั่งกอดอก รู้สึกตัว เฉย ๆ ท่านจะรู้สึกได้ถึงอาการกระเพื่อม กระเพื่อม ไหว ๆ
ได้ นี่คือลมหายใจ

***** นี่สำคัญ ****
การรับรู้แบบสัมมา นั้น ขอให้ท่านสังเกต การรับรู้นี้จะเบา ๆ ไม่มีตำแหน่ง มันจะลอยๆ
รู้ว่ามีการรู้ แต่ไม่รู้ว่า อยู่ที่ไหน

แต่ถ้าท่านยังเป็นมือใหม่ ท่านอาจรู้ที่มีตำแหน่งได้ เช่น เดิน ก็รู้สึกที่ขาถึงการสัมผัสว่าอยู่ที่ขา
อย่างนี้ ก็ไม่ผิด แต่ท่านอย่าส่งจิตไปทีจับที่ขาก็แล้วกัน

แต่ถ้าท่านฝึกมามาก ๆ ท่านจะรู้สึกได้เอง ว่า มันจะลอย ๆ ไม่มีจมูก ไม่มีมือ ไม่มีขา เลย
ไม่มีร่างกายเสียด้วยซ้ำไป มันมีแต่รู้ที่เบา ๆ แต่ไม่มีตำแหน่งที่อยู่

มาดูรูป เพื่อความเข้าใจกันระหว่าง มิจฉา และ สัมมา





จากในภาพ ท่านจะเห็นความต่าง

ขอให้ท่านที่เป็นมือใหม่ ศึกษาเรื่องมิจฉา และ สัมมา
ให้เข้าใจ ท่านจะปฏิบัติไม่ผิด เมื่อปฏิบัติไม่ผิด
ผลก็จะเกิดตามมาที่ถูกคือ จิตรู้ ท่านจะแยกตัวออก
มาได้จากการฝึกแบบสัมมาครับ

ท่านอ่านมาแล้ว ท่านลองพิจารณาตัวเองซิครับ
ท่านกำลังทำสมาธิแบบสัมมา หรือ แบบมิจฉา กันแน่

หมายเหตุ ท่านที่สังกัดหมู่คณะ ท่านอ่านได้ ศึกษาได้
แต่อย่านำไปถกเถึยงกันในสำนัก ท่านอาจโดน
ขับไล่ออกจากสำนักได้ง่าย ๆ ครับ ในฐานะกบฏสำนัก

********
เรื่องท้ายบท

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงเรียนสมาธิกับดาบสทั้ง 2 คน
จนได้สมาบัติแปดแล้ว พระองค์ทรงพบว่า ในยามที่ทรงสมาธิอยู่
จิตใจจะมีความสงบและมีความสุข แต่เมื่อไม่ได้ทรงสมาธิอยู่
จิตใจก็ยังหวั่นไหวได้ เมื่อพระองค์ทรงพบแบบนี้ ก็ทรงทราบ
้ด้วยปัญญาว่า สมาธิแบบที่ทรงเรียนนี้กับอาจารย์ทั้ง 2 ยังไม่ใช่
หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง

พระองค์ก็ทรงลาจากอาจารย์ทั้ง 2 เพื่อแสวงหาทางต่อไป

ในวันเพ็ญ เดือน วิสาขะ เจ้าชายทรงระลึกถึงตอนเยาว์วัย ในวันแรกนา
ที่พระองค์ทรงเจริญอาณาปานสติ พระองค์ทรงระลึกได้และได้เจริญ
อาณาปานสติจนกระทั้งสำเร็จพบหนทางแห่งความเป็นอริย

พระพุทธองค์ทรงทราบมาก่อนว่า สมาธิแบบใดที่เกื้อหนุนต่อการเป็นอริย
แบบใดไม่ใช่ เพียงให้ความสงบสุขเป็นครั้งคราวเท่านั้น แล้วจึงประกาศ
คำสอนนี้ออกไปและเรียกสมาธิแบบที่ทรงค้นพบว่า สัมมาสมาธิ


****
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537




Create Date : 02 กรกฎาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:08:35 น. 26 comments
Counter : 5751 Pageviews.

 
ทดสอบ


โดย: นมสิการ วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:19:09 น.  

 
เมื่อก่อนก้อทำสมาธิค่ะ แต่มารู้ตอนหลังว่าทำผิดเลยไม่ทำ เปลี่ยนมารู้สึกตัวแทน แต่ก้อยังไม่พัฒนาเท่าไหร่หรอกค่ะ
ขอให้เจริญในธรรมนะค่ะ


โดย: nawiya วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:30:33 น.  

 
ยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้เป็นเบื้องต้นครับ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว (เมื่อปฏิบัติจะรู้ได้เอง) ว่าเราจะรู้สึกว่าไม่มีตัว ไม่มีจมูก มีเพียงผู้รู้คือสติ ซึ่งนั่นคือจิตเราได้พัฒนาไประดับหนึ่งแล้ว
คุณเข้าใจถูกเพียงครึ่งเดียว


โดย: lek IP: 221.128.72.70 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:56:32 น.  

 
ตอบคุณ nawiya

คุณเข้าใจแล้ว เมื่อได้ลงมือฝึกฝน จะมีความก้าวหน้าเองทีละนิด
ทีละหน่อย แต่คุณอาจไม่เข้าใจก็ได้ว้่ามีการพัฒนาขึ้นมาบ้างแล้ว

เรื่องแบบนี้ มันไม่เหมือนถนนที่มีป้ายบอกระยะทางไว้ตลอด ทำให้เข้าใจได้ว่า ไปถึงไหนแล้ว

อย่างไร ก็ขอให้หมั่นฝึกฝนต่อไปเรื่อย ๆ อย่าได้ย่อท้อ


โดย: นมสิการ วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:15:16 น.  

 
ขอโทษน่ะค่ะ ขอแย้งนิดนึงค่ะ ที่คุณnawiyaบอกว่า "เมื่อก่อนก้อทำสมาธิค่ะ แต่มารู้ตอนหลังว่าทำผิดเลยไม่ทำ" ....การทำสมาธิไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดน่ะค่ะ สมาธิมีความสำคัญในการปฎิบัติธรรม... เพื่อให้จิตตั้งมั่น และยังเป็นการพักผ่อนไปในตัว แม้จะทำความรู้สึกตัว ก็ยังต้องทำสมาธิในลักษณะที่เป็นสมถะเหมือนกัน....ทุกครูบาอาจารย์ยังเน้นเรื่องการทำสมาธิ (สมถะ) ควบคู่กันไปค่ะ


โดย: เพื่อนธรรม IP: 180.180.76.226 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:33:38 น.  

 
สวัสดีวันศุกร์แห่งชาติ....วันนี้เรามีความสุขเบิกบานมากเป็นพิเศษ...อ่านข้อความแล้ว ดีนะ....วันจันทร์มาอ่านต่อ ขอบคุณมาก ๆ เลย....ขอให้มีความสุขความเจริญในธรรมนะ


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:52:44 น.  

 
สวัสดีครับ คุณเพื่อนธรรม + คุณ nawiya
ผมคิดว่า คงเป็นจริตของแต่ละบุคคลนะครับ

อยากตัวผมนี่ สมัยก่อนโน้นนานมาแ้ล้ว ผมทำสมาธิแบบฤาษีอยู่
ผมเข้าใจครับว่า สุขในสมาธิแบบฤาษีนี่สุขแบบสุดยอด หาที่เปรียบไม่ได้เลย

แต่เมื่อผมมาเจริญสัมมาสติแล้ว ในปัจจุบัน ถ้าผมต้องการทำำสมาธิแบบฤาษีอีก ผมจะรู้สึกที่หนักมากทั้งกายทั้งจิต รู้สึกได้ถึงความไม่สบายและไม่อยากทำแบบนั้นอีก แต่ถ้าผมจะพักจิต ผมไปพบวิธีหนึ่ง ทีีผมก็อธิบายวิธีการปฏิบัติไม่ได้
เพราะเขียนออกมาเป็นหนังสือไม่ได้ ไม่รู้จะอธิบายอย่้่างไรดี ผมจะใช้วิธีหลบจิตเข้าไปสู่ความว่าง ซึ่งมันจะเหมือนผมมีบ้าน 2 หลัง บ้านหลังหลบจิตไปสู่ความว่างนี้ ผมจะใช้เฉพาะตอนที่ผมจะพักจิตเท่านั้น อาการหลบแบบนี้ มันเหมือนตัวหายหมด ไม่เหลืออะไรเลย
ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร แต่ก็สบายไปอีกแบบ และก็ไม่หนักด้วยครับ
แต่ไม่สุขแบบสมาธิแบบฤาษีครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:03:52 น.  

 
ที่บอกว่า

วิธีหลบจิตเข้าไปสู่ความว่าง

อยากทราบจังว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง
อยากฝึกจังเลย



โดย: pintip IP: 118.174.28.30 วันที่: 3 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:46:17 น.  

 
ตอบคุณ pintip

ผมไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้เลยครับ ไม่รู้จะพูดอย่างไร
การพบนี้ ก็พบโดยบังเอิญ มันจะคล้าย ๆ กับว่า มีจุด ๆ หนึ่ง
ถ้าจิตเราวิ่งไปอยู่จุดนี้ มันจะมีอาการอย่างนั้นได้เอง โดยในสภาพแบบนั้น เราจะไม่ตัวตนอยู่ มีแต่สภาวะของการรู้ปรมัตถ์เท่านั้น ตาก็มองเห็นได้ หูก็ได้ยินได้ รู้ตัวทุกอย่าง แต่จิตมันไม่คิดไม่ปรุงอะไรเลย

ทีนี้ พอเรารู้วิธีว่า จะให้จิตไปอยู่จุดนี้ได้อย่างไร พอจะพัก ผมจะวิ่งจิตไป จุดนี้ทันทีด้วยเวลาเสี้ยววินาทีเท่านั้น ก็ได้แล้ว

ต้องขออภัยจริง ๆ ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 4 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:48:30 น.  

 
ขออนุญาตยกคำอธิบายบางตอนมาอ้างอิง

แล้วในการปฏิบัติล่ะ จะทำอย่างไร ให้รู้แบบสัมมาได้
ง่้ายมากครับ ขอเพียง ท่านรู้สึกตัวเท่านั้น ไม่ต้องส่งจิตไปรับรู้อะไรที่ปลายจมูก
ไม่ต้องส่งจิตไปรับรู้อะไรที่ขาที่สัมผัสพื้น เพียงท่านรู้สึกตัว เฉย ๆ ไม่ต้องอยากรู้อะไร
ท่านจะรับรู้ได้เองอย่างสัมมา เพราะกลไกแห่งจิต เขาทำงานนี้ได้อยู่แล้ว

ท่านลองเดินดูก็ได้ครับ เพียงรู้สึกตัว เดินแบบธรรมดาเป็นธรรมชาติ ท่านจะรับรู้การสัมผัสได้
เวลาเดิน จะรับรู้ได้เบา ๆ มันจะเป็นอย่างนั้นเอง

ทีนี้ลมหายใจละ ลมหายใจ จะยากหน่อย เพราะมันอ่อนมาก ท่านต้องช่วยนิดหนึ่ง
ขอให้ท่านนั่งกอดอก รู้สึกตัว เฉย ๆ ท่านจะรู้สึกได้ถึงอาการกระเพื่อม กระเพื่อม ไหว ๆ
ได้ นี่คือลมหายใจ

***** นี่สำคัญ ****
การรับรู้แบบสัมมา นั้น ขอให้ท่านสังเกต การรับรู้นี้จะเบา ๆ ไม่มีตำแหน่ง มันจะลอยๆ
รู้ว่ามีการรู้ แต่ไม่รู้ว่า อยู่ที่ไหน

แต่ถ้าท่านยังเป็นมือใหม่ ท่านอาจรู้ที่มีตำแหน่งได้ เช่น เดิน ก็รู้สึกที่ขาถึงการสัมผัสว่าอยู่ที่ขา
อย่างนี้ ก็ไม่ผิด แต่ท่านอย่าส่งจิตไปทีจับที่ขาก็แล้วกัน

แต่ถ้าท่านฝึกมามาก ๆ ท่านจะรู้สึกได้เอง ว่า มันจะลอย ๆ ไม่มีจมูก ไม่มีมือ ไม่มีขา เลย
ไม่มีร่างกายเสียด้วยซ้ำไป มันมีแต่รู้ที่เบา ๆ แต่ไม่มีตำแหน่งที่อยู่

^
^

แล้วแน่ใจได้อย่างไรว่า การสอนแบบนี้ไม่หลงทาง

การรู้แบบสัมมานั้นมันฝึกให้เป็นไม่ได้หรอก

การรู้ตรงนี้ มันง่ายๆ และเป็นธรรมชาติ ยกตัวอย่าง ให้คุณไปยืนตากแดดตอนเที่ยงวันสัก 10 นาที และเอาสุนัขไปตากแดดพร้อมๆ กัน ต่างคนต่างก็รู้อะไร ๆ จะรู้อย่างไร ปรุงแต่งคิดต่อหรือไม่ มันก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นของจิต

แม้ว่าคุณจะเรียกว่า รู้แบบเข้าไปยึด ซึ่งคุณบอกว่ามันผิดติดกันเป็นปลาท่องโก๋ เป็นการรู้แบบมิจฉา นี่แสดงว่า คุณยังไม่เข้าใจ ธรรมชาติของจิตที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะเลย คุณไปบังคับ ปรับแต่งมันไม่ได้หรอก ถ้าทำเช่นนั้น ก็เท่ากับว่า คุณกำลังกระทำอะไรเพื่อให้เป็นอะไรบางอย่าง นั่นเป็นการยึดแบบไม่รู้ตัวแล้ว



และยิ่งที่คุณกล่าวในย่อหน้านี้ ยิ่งไปกันใหญ่
V
V

***** นี่สำคัญ ****
การรับรู้แบบสัมมา นั้น ขอให้ท่านสังเกต การรับรู้นี้จะเบา ๆ ไม่มีตำแหน่ง มันจะลอยๆ
รู้ว่ามีการรู้ แต่ไม่รู้ว่า อยู่ที่ไหน

ขออภัยหากเขียนแย้ง และไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่ เพราะเห็นว่าคุณยังไม่เข้าใจอะไร ก็เลยอยากแชร์

สักวันเมื่อคุณเข้าใจในธรรมอย่างถ่องแท้ ให้คุณลองกลับมาอ่านสิ่งที่คุณเขียนในวันนี้


โดย: ผู้ไม่รู้ IP: 58.8.41.211 วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:31:47 น.  

 
ไม่เป็นไรครับ คุณผู้ไม่รู้ ไม่ต้องขออภัย
คุณเขียนมาเพื่อชี้แนะ ผมก็เปิดกว้างครับ
ผมบอกไว้ข้างบนแล้วว่า
ผมจะไม่โต้แย้งกับใครในเรื่องการปฏิบัติ
ผมพบอย่างไร ผมก็เีขียนอย่างนั้น
คุณว่าผมผิด ผมก็ไม่แย้ง ไม่โต้เถียงใด ๆ ทั้งสิ้น

แต่ผมติงนิดเดียวว่าคุณน่าจะลงชื่อคุณนะว่าคุณชื่ออะไร
เพราะืใช้ชื่อว่า ผู้ไม่รู้ นี่มันกว่างและใช้กันมากเหลือเกิน
เผื่อวันหน้า คุณมาอ่าน blog ผมอีก ผมจะได้จำได้ว่า
อ๋อเป็นคุณคนเดิมที่เข้ามา comment ผมใน blog เรื่องนั้นเรื่องนี้

อย่างชื่อคุณ lek ทีเข้าเขียนโต้แย้งผมข้างบน ผมก็เปิดทิ้งไว้ ใช้ชื่อเฉพาะก็จะดี


โดย: นมสิการ วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:23:42 น.  

 
ยังไงก็ จุดหมายเดียวกัน ครับ

ถึงวิธีต่างกัน

วิธีไหนเป็นยังไง ก็ต้องลองปฏิบัติกันดูล่ะครับ

ขอ อนุโมทนา สำหรับความรู้ จากทุกๆท่านครับ


โดย: fatnomore IP: 202.137.151.2 วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:38:32 น.  

 
ปฏิบัติแนวนี้มาประมาณหนึ่งปีเศษ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ตาก็มองเห็น หูก็ได้ยิน ตัวก็รู้สึก คิดอะไร จิตก็รู้ แต่สักพักร่างกายข้างล่างเหมือนไม่มีตัวตน แต่ก็ต้องกลับมาสู่สภาพเดิม เนื่องจากพระอาจารย์จะกลับ เพื่อนบอกว่านั่งอย่างนี้มาสักสองชั่วโมงครึ่งได้แล้ว และแปลกใจว่าวันนี้ทำไมไม่ลุกไปเดินจงกรมเลย หลังจากนั้นมาก็ไม่เป็นสภาพนั้นอีกเลย มาคิดดูวันนั้นสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยมาก คนไม่พลุกพล่าน กรุณาให้ความเห็นด้วยค่ะ


โดย: คนแก่ใฝ่ธรรม IP: 124.122.74.117 วันที่: 23 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:39:22 น.  

 
ตอนนั้นจิตเป็นสมาธิครับ จึงเกิดอาการนี้ขึ้น
อย่าไปคาดหวังว่า จะให้เป็นอย่างนั้นอีก
เพราะว่า สมาธินี้ก็เป็นไตรลักษณ์ คือ มันไม่เที่ยง มันแปรปรวน
มันไม่ใช่เรา นั้นเอง

ที่สำคัญคือว่า คุณได้พบความไม่เทียง ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้แล้ว

คนโดยมาก ที่คุ้นเคยกับเรื่องทางโลก
มักจะคาดคิดอย่างนี้เสมอ คือ ว่า พอไำด้แล้ว
ก็จะได้อีก เลยคาดหวังในใจ แต่การคาดหวังแบบนี้
ยิ่งเป็นผลลบในการปฏิบัติครับ

ขอให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ อย่าไปคาดหวังว่าจะได้แบบนั้นอีก

เมื่อคุณสร้างเหตุให้ตรง คือ ปฏิบัติไปอย่างต่อเนื่อง ได้ก็ได้
ไม่ได้ก็ไม่ได้ แต่ทั้งได้และไม่ได้ ก็คือประสบการณ์ให้กับจิต
อัีนเป็นภวนามยปัญญาในกาลข้า่งหน้าครับ

แนะนำอ่าน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=16&group=8&gblog=62


โดย: นมสิการ วันที่: 23 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:55:43 น.  

 
ขอขอบพระคุณที่ให้คำแนะนำอันมีค่าค่ะ เป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติอย่างยิ่ง ได้นำวิธี ตาเห็น หูได้ยิน และกายรู้สึก ไปปฏิบัติ รู้สึกว่าความคิดน้อยลง ทำให้สติจับได้ดีขึ้น ผลดีจากการปฏิบัติแนวหลวงพ่อเทียน ทำให้ความโกรธลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ ให้อภัยคนมากขึ้น และแผ่เมตตาให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องฝืนใจอะไร ในอนาคตหากมีข้อขัดข้องใด ขอความกรุณารบกวนเรียนปรึกษาคุณนมสิการด้วยนะคะ


โดย: คนแก่ใฝ่ธรรม IP: 115.87.70.167 วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:30:16 น.  

 
การสร้างประโยชน์ให้ คือ จุดมุ่งหมายของ blog นี้ครับ
มีอะไรให้ช่วยเหลือในแง่การปฏิบัติ ถ้าผมรู้ ผมยินดีเสมอ


โดย: นมสิการ วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:34:50 น.  

 
ขอบคุณนะคะ

คือเราน่ะทำสมาธิแล้วมันรู้สึกตัว มันไม่เคยไม่รู้สึกตัวเลย
ก็เลยสงสัยว่าเราทำนี่มันใช่หรือเปล่า 555

เพราะอยากจะหัดทำฌาน ก็ไม่รู้ว่ามันเข้าได้หรือเปล่า เพราะมันก็รู้สึกตัวอยู่ตลอด คือรู้สึกทั้งตัวแบบที่คุณบอกมา พอถึงจุดที่นิ่งหน่อย ก็อาจจะพบว่าร่างกายหายไป มีอาการเบาทั้งตัว จนหายไป จิตจะมาอยู่ที่กลางอก หรือบางทีก็ขึ้นมารับอยู่บริเวณศรีษะ

ทีแรกก็คิดว่ายังเข้าได้ไม่ลึกพอ

แต่ตัวเองยังผ่านเวทนาไปไม่ได้สักที นั่งไปสัก 1 ชั่วโมงมีเวทนากล้า ยังผ่านไม่ได้ บางทีก็ยืดขาออกนิดนึง แต่ก็คิดว่ายังอยู่ในสมาธิ อย่างนี้ก็จะนั่งได้อีกสักครึ่งชั่วโมง
เลยไม่รู้ว่าอันนีสัมมาสมาธิหรือเปล่า


โดย: ธัมมทีโป IP: 125.27.221.14 วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:9:47:57 น.  

 
ตอบคุณ ธัมมทีโป

1. ถ้ารู้สึกตัวตัวอยู่ และ ยังรู้ได้หลาย ๆ อย่างผ่านทางอายตนะในคราวเดียวกัน เช่น หูได้ยิน กายรู้ความรู้สึกได้ เช่นลมพัดมาโดนก็รู้ อย่างนี้ก็เป็นสัมมาสมาฺธิ

2.สัมมาสมาธิ ก็๋เป็นถึงระดับฌานได้เช่นกัน เมื่อนักภาวนาเห็นจิตที่นิ่งสงบได้ ไม่หายไปไหน หรือ เห็นความไม่มีของจิตที่เคยอยู่่
ทีแล้วจิตได้หายไป จิตที่เห็นมันจะอยู่ตรงไหนก็แล้วแต่สภาวะของนักภาวนาเอง เช่นอยู่ที่ศรีษะ อยู่ท้ายทอย หรือ อยู่ในลำตัว
ถ้าการเห็นจิตนี้ ยังเห็นได้เฉพาะในขณะที่ปฏิบัติตามรููปแบบอยู่
ก็เป็นสิ่งทีดีสำหรับการเริ่มต้น แต่ขอให้ปฏิบัติฝึกฝนต่อไป แล้วการเห็นจะเห็นได้ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ ไม่ว่าทำอะไรก็เห็นอยู่อย่างนั้นแหละ
ไม่ได้เห็นเฉพาะตอนที่กำลังปฏิบัติตามรูปแบบ

3.นั่งสมาธิแล้วเกิดเวทนากล้า ไม่ผ่านด่านเวทนา แสดงว่า จิตเข้าไปยึดกับเวทนาแล้ว ขณะนั้นไม่เป็นสัมมาสมาธิ เพราะจิตไปยึดติดกับเวทนา

ในความเห็นส่วนตัว ผมไม่สนับสนุนการปฏิบัิติให้เกิดเวทนากล้าเช่นนี้
เพราะเป็นการทำตัวให้ลำบาก ไม่เดินทางสายกลาง
ถ้านั่งสมาธิ ก็นั่งไป แต่พอรู้ว่าจะไม่ไหว ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบท
จะได้ไม่เกิดเวทนากล้าแบบนี้
อันนี้คงแล้วแต่ความพอใจของแต่ละบุคคลครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:12:22:29 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ตอบให้ทันใจจังเลย

คือหลายๆ อย่างที่ตัวเองเป็นมันเป็นระบบอัตโนมัติ จากครูบาอาจารย์ท่านเมตตามา เราก็เลยต้องมาทวน มาเรียนรู้วิจัยว่าอะไรมันเป็นอะไร ก็ต้องอาศัยผู้รู้ที่เมตตาให้สอบถามได้ ซึ่งหายากจังค่ะ อ่านบล็อกคุณทั้งบล็อกแล้วคิดว่าทางเดียวกันเลยกล้าถาม

แสดงว่าการที่เรามีเวทนา จนถึงจุดที่จิตลงไปยึดแล้ว เราก็ยืดขาออก แล้วก็นั่งต่อไป ไม่ถึงต้องเริ่มใหม่ แต่ลดระดับลงมานิดนึงแล้วก็ไปต่อ แสดงว่าเป็นการจัดการปัญหาไปเอง..

ที่จริงลึกๆ แล้วดิฉันก็ไม่ค่อยชอบเวทนา ครั้งนึงมีเสียงดังในใจว่ากายในกาย จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็ไปถามอาจารย์ท่านบอกว่าเป็นสิ่งที่เราต้องเดินไป ก็ยังสงสัยว่าทำไมเวทนาในเวทนาหายไป

พอปฏิบัติไปถึงจุดนึงก็รู้สึกว่า เรายังผ่านเวทนาไปไม่ได้ เลยเข้าสมาธิไม่ได้ลึกหรือเปล่า ตกลงเราก้าวหน้าหรือเปล่าอะไรทำนองนั้นค่ะ และใครๆ เขาว่าต้องผ่านให้ได้
ก็เลยใช้วิธียืดเวลาไปจนถึงจุดที่ทนไม่ได้ ก็เปลี่ยนอริยาบถ เขาว่ากันว่าถ้าเข้าฌาน 4 แล้วจะไม่มีเวทนา ไอ้เรามันก็เลยอยากรู้ว่าทำไง เป็นเหตุให้สงสัยต่อว่าที่เราทำน่ะมันฌานไหน (ถ้าถามอาจารย์ สงสัยท่านจะบอกให้ออกไประเบียงเลย หุหุ)

และก็สงสัยต่อว่าเข้าสมาธินานกับไม่นานนี้ ผลของมันจะมีความแตกต่างกันไหม.. เพราะว่าที่เป็นอยู่นี่มันก็รู้สึกตัว นิ่งขึ้น แล้วก็ตกลงมา แล้วก็ไต่ระดับใหม่ นิ่งเบา แล้วก็ตกลงมา วนเวียนอยู่เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปอย่างนี้..

จะว่าบ้าก็ได้ค่ะ อยากลองสมาธิแบบฤาษีดู แต่สงสัยจะทำไม่ได้ คุณนมสิการใจดี คงไม่ว่าที่เราคิดบ้าๆนะคะ

คือนิสัยมันชอบรู้ ยังเลิกไม่ได้ แต่ไม่ยึดเกาะค่ะ ก็ทำๆไปไม่เอาอะไรเป็นคำตอบสุดท้ายแหละ..


โดย: ธัมมทีโป IP: 125.27.221.14 วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:18:27:40 น.  

 
คุณธัมมทีโป คงมีนิสัยคล้ายผม คือ ชอบลองเล่นโน้นเล่นนี่
อาจารย์ฺสอนอย่างนี้ ไม่เอาตาม เล่นไปเล่นมา
คนประเภทผมนี้ ผมเคยได้ยินมาจากพระรูปหนึ่ง ท่านบอกว่า
เป็นพวกฐานใหญ่ หมายความว่า ชอบเล่นหาประสบการณ์แปลก ๆ
คนพวกฐานใหญ่จะดีที่มีประสบการณ์มาก เพราะลองผิดลองถูกมามาก
แต่ข้อเสีย คือ จะบรรลุธรรมช้า แต่จากประสบการณ์ที่เล่นมา
พอใครมีปัญหาอย่างไร ก็จะรู้ว่า ผิดตรงไหน ถูกตรงไหน เพราะเล่นมามาก
พวกที่ไม่ชอบเล่น จะเรียกว่า ฐานเล็ก คือ ทำอย่างเดียวกับที่สอน
พวกนี้จะบรรลุเร็ว แต่ประสบการณ์น้อยกว่าพวกฐานใหญ่

เรื่องก้าวข้ามเวทนา มันจะเป็นอย่างนี้ครับ นี่จากประสบการณ์ของผมเอง

ที่ข้ามเวทนาไม่ได้ เพราะจิตยังยึดกับวิญญาณขันธ์อยู่ครับ พอเกิดเวทนา
วิืญญาณขันธ์มันจะไปรับรู้เวทนา แต่มันจะดึงจิตไปด้วย ทำให้จิตไปจับเวทนานั้น ทำให้เกิดเวทนากล้า จะเป็นว่า ฉัีนเจ็บจริง ๆ ความเจ็บนี่เป็นของฉัน

แต่ที่่ผมฝึกสัมมาสมาธิด้วยความรู้สึกตัวไปมาก ๆ
สัมมาสติที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝน จะทำให้จิตออกห่างจากวิญญาณขันธ์
เมื่อจิตออกห่างจากวิญญาณขันธ์เมื่อไร พอเกิดเวทนา วิญญาณขันธ์รู้เวทนาเกิด แต่้จิตนั้นมันห่างจากวิญญาณขันธ์แล้ว จิตก็จะเพียงรู้ว่ามีเวทนา แต่ไม่เข้าไปผสมยึดกับเวทนานั้น เวทนามีแต่จิตจะไม่ทุกข์เลย
คล้าย ๆ กับเรามองบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้ แต่เราไม่ได้อยู่ในบ้านนั้นเลย
เราเห็น เรารู้สึกร้อนจากเปลวไฟ แต่ไม่ทุกข์ใจไปกับการไฟไหม้นั้น

ไม่ต้องถึงฌาน 4 ครับที่จิตไม่ยึดเวทนา แต่ต้องถึงระดับฌานขั้นต้น ๆ ถึงจะไม่ยึด สัมมาสมาธิถ้าฝึกถึง เวทนาผ่านได้แน่ ๆ ครับ
อย่าไปทรมานกายอย่างนั้นเลยครับ มันไม่ดีแน่นอน ผมมีประสบการณ์ที่เลวร้ายมาก่อนกับการพยายามจะผ่านเวทนาจากการนั่งสมาูธิแบบฤาษี
ผมไปไม่รอดครับ ขา่เืกือบเสีย แต่มาฝึกสัมมาสติ รู้สึกตัว สบาย ๆ นี่กลับได้ครับ

เรื่องสมาธิลึกแบบฤาษี ผมเคยฝึกมาก่อน ผมเคยได้ครับ ตัวหายหมด
แต่ไม่มีประโยชน์ครับ เพราะพอออกจากสมาธิ ก็จะเหมือนเดิมทุกอย่าง
แต่สัมมาสติ สัมมาสมาธินี่ซิครับ ของชัวร์ พอฝึกได้ มันจะเป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นนานมากในชิวิตประจำวันก็ยังมีสติอยู่เสมอ ไม่ใช่ได้เฉพาะเวลาฝึกทำเท่านั้น

มีอะไรคุยกันได้ครับ ถ้าผมรู้ก็บอกให้ แต่ถ้าไม่รู้ ผมก็จะบอกว่าผมไม่รู้ในเรื่องนั้นเรื่องนี้


โดย: นมสิการ วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:19:01:24 น.  

 
ไปลองแล้วค่ะ พอจะเข้าใจแล้ว

โดยทำสติให้แน่นๆ หน่อยแล้วอยู่กับผู้รู้ เออ..จริง ความคิดจรหรืออะไรต่างๆ ค่อยๆ แผ่วลง จนเบาบางมาก

เวลามีเสียงกระทบ ก็รู้ แต่ว่าอยู่กับผู้รู้.. อ๋อ..เป็นอย่างนี้เอง..เข้าใจล่ะ

เวทนามีแต่อยู่กับผู้รู้ ก็เหมือนกับอย่างอื่นคือมันแผ่วๆ ลงไป

แสดงว่าเมื่อก่อนคอยรู้สึกตัวอยู่ แต่มันรู้สึกทั้งตัวเลย แสดงว่าจิตวิ่งไปทางโน้นทีทางนี้ทีรอบๆ ตัว เข้านอกออกใน เลยไม่รวมเสียที...

อย่างนี้นี่เอง.. ขอบคุณค่ะคุณนมสิการ มารายงานผลแต่เช้าเลย..

ลองทำดูแบบนี้ทำให้เห็นความสำคัญของสติ แบบชัดๆ เลย..

ประกอบกับได้อ่านวิธีฝึกสมาธิของหลวงพ่อคำดี ทำให้เข้าใจมากขึ้น มันมีตรงที่เกี่ยวกับปัญหาเก่าของเรา ก็เลยแก้ปัญหาได้ ที่ผ่านมาเหมือนเล็งเป้าอย่างเดียว ไม่นิ่งเสียที
แบบว่าเป้าซ้อนกันไปมา แต่ไม่ซ้อนทับกันอย่างสิ้นเชิง..

ขอบคุณและอนุโมทนาด้วยอีกครั้งนะคะ ไปทำต่อ มีคำถามค่อยมาถามใหม่ค่า


โดย: ธัมมทีโป IP: 125.27.221.14 วันที่: 19 สิงหาคม 2553 เวลา:3:37:26 น.  

 
โดนมากๆ คับ กับประโยคนี้

***** นี่สำคัญ ****
การรับรู้แบบสัมมา นั้น ขอให้ท่านสังเกต การรับรู้นี้จะเบา ๆ ไม่มีตำแหน่ง มันจะลอยๆ รู้ว่ามีการรู้ แต่ไม่รู้ว่า อยู่ที่ไหน



โดย: ramai IP: 125.25.144.5 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:16:26:21 น.  

 
คุณ ramai

ถ้าคุณจับการรู้แบบลอย ๆ นี้ได้แล้ว ผมขออนุโมทนา
ฝึกแบบลอย ๆ นี้ไปเรื่อย ๆ ครับ อย่าเปลี่ยนนะครับ
ถึงที่หมายได้เร็วเลยละ

คนที่ไม่รู้จักเรื่องนี้ จะยังงมอยู่อีกนาน จนกว่าเขาจะพบสิ่งนี้ในการปฏิบัติ การปฏิบัติของเขาจึงจะก้าวหน้าต่อไปได้


โดย: นมสิการ วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:16:57:19 น.  

 
สวัสดีครับ
ผมได้อ่านบทความของคุณ นมสิการ แล้วผมประทับใจมากๆเลยครับ เป็นแนวทางเดียวกับที่ผมพยายามฝึกมา5-6ปี แต่เหมือนกับ
ผมรู้สึกเคว้งคว้างกับแนวการฝึกที่ไม่มีครูบาอาจารย์ไม่มีผู้รู้มาให้
คำแนะนำ แล้ววันนี้ผมก็ได้เจอแนวการฝึกแบบนี้จริง ผมขอเรียกว่าการฝึกแบบจิตทำงาน ที่ผ่านมา5-6ปีทำให้ผมพัฒนาไปได้ไม่มากนักดังเหตุผลข้างต้นทำให้จิตเผลอไปตลอดแล้วกลับมาฝึก
ไหม่เมื่อมันมีความทุกข์ วันนี้ผมขอเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาธรรมะ ในรูปแบบในบล็อกของคุณนมสิการตลอดไปนะครับ


โดย: จิตทำงาน IP: 125.26.79.39 วันที่: 24 ธันวาคม 2553 เวลา:10:53:16 น.  

 
ขออนุโมทนา การปฏิบัติแบบสัมมาสมาธิ อีกคนด้วยนะครับ ผมจะตั้งใจปฏิบัติด้วยคนนะครับ


โดย: weera IP: 111.84.242.245, 82.145.211.127 วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:10:06:03 น.  

 
ขออนุโมทนา การปฏิบัติแบบสัมมาสมาธิ อีกคนด้วยนะครับ ผมจะตั้งใจปฏิบัติด้วยคนนะครับ


โดย: weera IP: 111.84.242.245, 82.145.211.127 วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:10:06:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.