HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
25 พฤศจิกายน 2553

จะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานมี competency ตัวนั้นแล้ว

เรื่องของการใช้ Competency เข้ามาในการบริหารงานบุคคลนั้นเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน หลายๆ บริษัทต่างพากันหยิบเอาเรื่องของ competency มาใช้ บ้างก็ช่วยกันทำขึ้นมา บ้างก็ไปหาที่ปรึกษาเข้ามาช่วยในการจัดทำ พอวางระบบเสร็จก็ถึงคราวที่จะต้องเอาระบบนี้ไปใช้งานจริง ปัญหาต่างๆ ก็เริ่มเกิดขึ้นทันที

ปัญหาหลักในการเอาไปใช้งานก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานแต่ละคนของเรานั้นมีระดับของความสามารถใน Competency แต่ละตัวอยู่ในระดับใด ส่วนใหญ่ก็ให้ผู้จัดการเป็นคนรับหน้าที่ในการประเมินพนักงานของตนเองว่าแต่ละคนนั้นมีระดับ competency ในระดับใด และตรงกับที่คาดหวังไว้หรือไม่ เรื่องของการประเมินนี้เองที่เป็นเรื่องที่ยากเอาการอยู่เหมือนกัน เพราะต้องอาศัยดุลยพินิจแบบผู้บริหารมืออาชีพจริง ในการที่จะบอกว่าพนักงานแต่ละคนมี competency แต่ละตัวในระดับใด

ปัญหาในทางปฏิบัติก็คือ หัวหน้าบางคนไม่สามารถประเมินได้เลย บางคนก็ประเมินเข้าข้างลูกน้องแบบเต็มๆ เพราะกลัวลูกน้องจะไม่เก่ง บางคนก็ลำเอียงประเมินลูกน้องที่ตนเองไม่ค่อยชอบแบบต่ำๆ ไว้ก่อน สุดท้ายปัญหาก็จะคล้ายๆ กับเรื่องของการประเมินผลงานพนักงาน แต่การประเมินผลงานถ้าเราใช้ตัวชี้วัดผลงานที่ชัดเจนบางครั้งก็ยังสามารถช่วยให้ปัญหาในการประเมินหมดไปได้ แต่เรื่องของ Competency นี่สิครับ เป็นเรื่องของความรู้สึกล้วนๆ เลย ก็เลยยิ่งทำให้ผู้จัดการแต่ละคนรู้สึกไม่ค่อยอยากประเมินเท่าไร

อีกปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ผู้จัดการมักจะคิดเอาเองว่า ถ้าส่งพนักงานไปฝึกอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Competency ตัวนั้นแล้ว ก็แปลว่าพนักงานคนนั้นมี Competency ตัวนั้นเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ถูกต้องนะครับ คนที่มี competency นั้นๆ จะต้องแสดงพฤติกรรมนั้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือลับหลัง ก็จะต้องมีพฤติกรรมนั้น โดยไม่ต้องสั่ง ไม่ต้องควบคุม แต่เป็นการแสดงออกมาจากตัวของพนักงานเอง นี่แหละครับ แปลว่า พนักงานคนนั้นบรรลุ Competency นั้นๆ เรียบร้อย

การที่จะให้ผู้จัดการสามารถประเมิน Competency ของพนักงานได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ผู้จัดการและหัวหน้างานทุกคนจะต้องเข้าใจมิติพฤติกรรมของ competency แต่ละตัวอย่างชัดเจน บางบริษัทต้องหาพนักงานที่เป็นตัวอย่างของ Competency ตัวนั้น มาเป็นตัวช่วยให้ผู้จัดการและหัวหน้างานพิจารณาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อีกวิธีหนึ่งที่มีหลายองค์กรเริ่มนำมาใช้กันในการประเมิน competency ให้แม่นยำยิ่งขึ้น ก็คือ การให้ผู้จัดการ และหัวหน้างานของหน่วยงานอื่นที่มีโอกาสร่วมงานกับพนักงานคนนั้น เข้ามาช่วยประเมินด้วย คล้ายๆ กับการใช้ 360 องศา ด้วยวิธีนี้ก็จะช่วยลดอคติของหัวหน้างานลงไปได้ พร้อมทั้งยังได้รับมุมมองและความเห็นจากบุคคลอื่นที่ได้เคยทำงานร่วมกันมากับพนักงาน ว่าพนักงานคนนั้นเรียกได้ว่ามี Competency ตัวนั้นๆ บางหรือไม่ ถ้ามี ควรจะมีอยู่ในระดับใด

อย่างน้อยก็ช่วยทำให้ผู้จัดการและหัวหน้างานมีข้อมูลจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการตัดสินใจประเมินพนักงานของตนเองได้อย่างแม่นยำขึ้น เพื่อสุดท้ายพนักงานคนนั้นก็จะได้รับการพัฒนาที่ตรงจุดมากขึ้นครับ




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553
3 comments
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 6:45:39 น.
Counter : 1534 Pageviews.

 

สวัสดีครับ แวะมาทักทายครับ

 

โดย: MaFiaVza 25 พฤศจิกายน 2553 9:37:21 น.  

 

ขอบคุณที่เอามาฝากค่ะ

 

โดย: นาฬิกาสีชมพู 25 พฤศจิกายน 2553 12:02:07 น.  

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ

 

โดย: กิ่งลีลาวดี 25 พฤศจิกายน 2553 17:04:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]