HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
2 พฤศจิกายน 2553

ช่วงประเมินผลงานปลายปีมาอีกรอบแล้ว

ช่วงนี้ผมได้รับทราบความต้องการของทางฝ่ายบุคคลอย่างมากมายในเรื่องของการประเมินผลงาน ส่วนใหญ่ก็จะให้เข้าไปช่วยเรื่องที่จะทำอย่างไรให้หัวหน้างานประเมินผลงานลูกน้องอย่างเป็นธรรมที่สุด โดยหลายบริษัทก็ให้เข้าไปช่วยบรรยายเรื่องของการประเมินผลงานให้กับเหล่าบรรดาผู้จัดการทังหลาย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ใช้ความรู้นี้ในการประเมินผลงานลูกน้องตนเองให้เป็นธรรมที่สุด

ผมเชื่อว่าผู้จัดการทุกคนทราบและเข้าใจเรื่องของการประเมินผลงานเป็นอย่างดี ว่าอะไรคือผลงานที่แท้จริง และควรจะประเมินผลงานลูกน้องของตนเองอย่างไรให้เป็นธรรม แต่ทำไมเขาถึงไม่ยอมประเมินให้เป็นธรรมล่ะครับ เท่าที่ผมลองทำ workshop เพื่อสอบถามว่าเหล่าบรรดาผู้จัดการคิดอย่างไรกับเรื่องของการประเมินผลงานประจำปี ก็ได้คำตอบออกมาดังนี้ครับ

1. เสียเวลาทำงาน
2. เป็นงานของฝ่ายบุคคล ไม่ใช่งานของตนในฐานะผู้จัดการหรือหัวหน้างาน
3. ประเมินไปก็ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไร สุดท้ายก็ขึ้นเงินเดือนนิดเดียว
4. ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารงาน และควบคุมงานของหัวหน้า
5. ฝ่ายบุคคลควรจะหาวิธีการประเมินผลงานที่ยุติธรรมมาใช้ในบริษัท

บริษัทของท่านพบเจอกับปัญหาเหล่านี้บ้างหรือไม่ครับ ผมคิดว่า 90% ของบริษัทในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องของการประเมินผลงานประจำปีแน่นอนครับ

วิธีการแก้ไขปัญหาของการประเมินผลงานดังกล่าว มีอยู่ทางเดียวเท่านั้น ก็คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติของหัวหน้างาน และผู้จัดการทุกคนในบริษัท ให้มองการประเมินผลงานเป็นเรื่องของการพัฒนาฝีมือพนักงาน ประเมินเพื่อที่จะค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน และพัฒนาผลงานของพนักงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลประเมินที่ตรงไปตรงมา และนำเอาผลการประเมินนั้นมาพัฒนาพนักงานต่อๆ ไป

แต่ถ้าหัวหน้างานไม่คิดแบบนี้ สิ่งที่จะออกมาก็คือ หัวหน้างานก็จะให้คะแนนผลงานพนักงานแบบเอาใจเป็นพิเศษ เพราะกลัวลูกน้องจะเกลียดที่ประเมินผลงานออกมาไม่ดี ก็เลยไม่กล้าที่จะให้คะแนนผลงานแบบตรงไปตรงมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลยในการประเมินผลงาน

พอผมมีโอกาสได้เข้าไปให้คำแนะนำแก่เหล่าบรรดาผู้จัดการทั้งหลาย เชื่อมั้ยครับ ว่าเขาทำท่าทาง และส่งสัญญานมาหาผมแบบว่า เขารู้เรื่องนี้ดีมาก เรื่องของการประเมินผลงานน่ะ เขารู้ดี เพราะลงมือประเมินทุกปี แล้วก็มีปัญหาทุกปี แถมยังบอกอีกนะครับว่า การประเมินผลงานที่ดีน่ะจะต้องดูที่ผลงาน และจะต้องประเมินอย่างเป็นธรรมที่สุด

ผมก็นั่งสงสัยว่า ทั้งๆ ที่รู้แบบนี้แล้ว ทำไมถึงไม่ทำซะล่ะครับ รู้อยู่ว่าอะไรเป็นธรรม อะไรไม่เป็นธรรม แต่กลับทำซะเอง มันก็เลยทำให้ระบบประเมินผลงานของบริษัทรวนหมดเลย เชื่อมั้ยครับ ผมถามเขาว่า ทั้งๆ ที่รู้แบบนี้แล้วทำไมถึงไม่ประเมินให้มันเป็นธรรมล่ะครับ คำตอบที่ได้มาก็คือ “ผมประเมินเป็นธรรม แต่หน่วยงานอื่นประเมินไม่เป็นธรรม แล้วแบบนี้ผมจะประเมินแบบเป็นธรรมไปทำไม” คิดซะแบบนี้ ระบบประเมินผลงานของบริษัทก็ไม่มีทางแจ้งเกิดแน่นอนครับ

ผมมักจะย้ำเสมอว่า ในการแก้ไขระบบการประเมินผลงานพนักงานให้เป็นธรรมที่สุดนั้น จะต้องแก้ไขที่ทัศนคติของหัวหน้างานเป็นหลักเสียก่อน ถึงแม้ว่าเราจะนำเอาระบบตัวชี้วัดผลงานมาใช้ เอาระบบที่มีข้อมูลชัดเจนมาใช้ แต่ถ้าทัศนคติหรือมุมมองของหัวหน้างานหรือผู้จัดการยังเป็นแบบเดิมๆ ปัญหาเรื่องการประเมินผลก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ดีครับ

การแก้ไขปัญหานี้จะต้องทำกันทั้งระบบ ฝ่ายบุคคลฝ่ายเดียวไม่สามารถทำได้ครับ จะต้องร่วมมือกับเหล่าบรรดาผู้จัดการทุกฝ่ายในองค์กร เวลาผมแก้ไขปัญหาเรื่องการประเมินผลงานของบริษัทต่างๆ ผมมักจะทำเป็น Workshop แล้วก็ให้ผู้จัดการลองคิดถึงปัญหาเรื่องนี้ แล้วคิดหาทางแก้ไข ผลที่ได้นั้นออกมาเป็นแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนมากเลยครับ จากนั้นก็จะมีบางคนพูดขึ้นมาว่า “มันเป็นไปไม่ได้หรอก” ผมก็จะย้ำไปว่า เป็นไปได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับพวกท่านที่เป็นผู้จัดการนี่แหละครับว่าจะเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้กันหรือไม่

เพราะมัวแต่คิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ สุดท้ายก็เลยเป็นไปไม่ได้จริงๆ




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2553
0 comments
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2553 6:08:53 น.
Counter : 1122 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]