bloggang.com mainmenu search










“นักปฏิบัติ ๔ ประเภท”

พวกเราที่มาปฏิบัติธรรมกันนี้

เป็นผู้ที่ปฏิบัติที่มีความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน

 มีความฉลาดมากน้อยต่างๆ กัน

มีกิเลสตัณหามากน้อยต่างๆ กัน

การปฏิบัติของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกันคือ

 ผู้ปฏิบัตินี้จะมีอยู่ ๔ ประเภทด้วยกัน

ประเภทที่ ๑ ก็คือผู้ที่ปฏิบัติง่ายและบรรลุเร็ว

 คือพวกที่ปฏิบัติง่ายก็คือพวกกิเลสบาง

 มีอุปสรรคน้อยในการปฏิบัติ อุปสรรคก็คือนิวรณ์ต่างๆ

เช่นกามฉันทะ ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรส

ความง่วงเหงาหาวนอน

ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

 ความโกรธ อาฆาตพยาบาท

 และอันสุดท้ายความง่วงเหงาหาวนอน

 ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท

ความลังเลสงสัยและกามฉันทะ นี่ คือกิเลสหรืออุปสรรค

ที่ขวางกั้นผู้ปฏิบัติให้ปฏิบัติได้ง่ายหรือปฏิบัติได้ยาก

 ถ้ามีนิวรณ์มีกิเลสมาก

 ก็จะปฏิบัติได้ยากทำใจให้สงบได้ยาก

ส่วนพวกที่บรรลุเร็วคือเป็นผู้ที่มีความฉลาดในความคิด

 ผู้สามารถพิจารณาเห็นไตรลักษณ์

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้อย่างชัดเจนและง่ายดาย

ก็จะทำให้บรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็ว

 ถ้าสามารถพิจารณาธรรมต่างๆ

ให้เห็นว่าเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นอสุภะ

 ถ้าพิจารณาเห็นได้ง่ายดายก็จะบรรลุได้อย่างรวดเร็ว

 แต่ก่อนที่จะบรรลุได้อย่างรวดเร็ว

ก็ต้องปฏิบัติให้ใจสงบให้ได้ก่อน

ถ้าใจไม่สงบยังไม่สามารถ ที่จะเข้าสู่ระดับปัญญาได้

ยังต้องต่อสู้กับนิวรณ์คือกามฉันทะ

ความอยากเสพรูปเสียงกลิ่นรส

ความง่วงเหงาหาวนอนหรือความเกียจคร้าน

ความฟุ้งซ่าน ความโกรธ เกลียด

เคียดแค้นอาฆาตพยาบาท ที่เป็นอุปสรรค

ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องทำลายให้ได้ก่อน

 ถึงจะเข้าสู่ความสงบได้ แต่การปฏิบัติเพื่อให้ใจสงบนี้

ยากง่ายก็อยู่ตรงที่ว่ามีอุปสรรค

คือนิวรณ์ ๕ ประการนี้มากน้อยเพียงไร

ถ้ามีมากก็จะปฏิบัติยาก

เหมือนกับการ ที่เราจะไปทำสงครามทำศึก

 ถ้ามีคู่ต่อสู้ข้าศึกศัตรูมีจำนวนมาก

ก็จะยากต่อการที่จะเอาชัยชนะ

ถ้าข้าศึกศัตรูมีจำนวนน้อยก็จะง่ายต่อการที่จะเอาชัยชนะ

ชัยชนะของเราก็คือความสงบของใจ

 การที่ใจเราจะสงบได้เราต้องทำลายนิวรณ์ทั้ง ๕ นี้

คือกามฉันทะ ความลังเลสงสัย

ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

 วิจิกิจฉา ความโกรธเกลียด อาฆาตพยาบาท

แล้วก็ความง่วงเหงาหาวนอน

 ความฟุ้งซ่านคิดไม่หยุดไม่หย่อน

นี่คือสิ่งที่จะทำให้การปฏิบัติยาก ถ้าเรามีนิวรณ์น้อย

 เช่นแทนที่จะมี ๕ อาจจะมีแค่ตัวเดียว

เช่นความง่วงเหงาหาวนอน

สมมุติแล้วถ้าเรารู้จักวิธีแก้ ความง่วงเหงาหาวนอนนี้ก็คือ

ไปอยู่ที่น่ากลัวหรืออดอาหาร

ก็จะช่วยทำลายความง่วงเหงาหาวนอนได้

ก็จะไม่มี อุปสรรคในการที่เราจะเดินจงกรม

นั่งสมาธิเพื่อทำใจให้สงบ

อันนี้เป็นเหตุที่จะทำให้การปฏิบัตินั้นยากหรือง่าย

ผู้ที่ไม่มีนิวรณ์หรือมีนิวรณ์น้อยก็จะปฏิบัติง่าย

จะทำใจให้สงบได้ง่าย พอใจสงบแล้วถ้ามีความฉลาด

 ที่เห็นไตรลักษณ์ได้อย่างรวดเร็ว

 เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เห็นอนัตตา เห็นอสุภะ

ถ้าเห็นได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว

ก็จะบรรลุได้อย่างรวดเร็ว คือประเภทที่ ๑

 พวกที่มีความฉลาดแล้วก็มีนิวรณ์น้อย

ก็จะเป็นพวกที่รู้เร็วปฏิบัติง่าย

พวกที่ ๒ คือพวกตรงกันข้าม

พวกที่รู้ช้าและปฏิบัติยาก พวกนี้ก็คือปัญญาทึบไม่ฉลาด

 พิจารณาไตรลักษณ์ไม่เป็น พิจารณาอนิจจังไม่เป็น

พิจารณาทุกขังไม่เป็น พิจารณาอนัตตาไม่เป็น

พิจารณาอสุภะไม่เป็น มองอย่างไรก็มองไม่เห็นอสุภะ

มองอย่างไรก็ไม่เห็นอนิจจัง มองอย่างไรก็ไม่เห็นทุกขัง

 มองอย่างไรก็ไม่เห็นอนัตตา

 พวกนี้เรียกว่าเป็นพวกปัญญาทึบแล้วก็มีกิเลสหนา

คือมีนิวรณ์มากมีกามฉันทะ มีวิจิกิจฉา

 มีความง่วงเหงาหาวนอน มีความฟุ้งซ่าน

 มีความโกรธเกลียดเคียดแค้นอาฆาตพยาบาท

แต่ถ้ามีสิ่งเหล่านี้อยู่ภายในใจ

จะทำให้การทำใจให้สงบนี้เป็นไปได้อย่างยากเย็น

 ถ้ามีอย่างนี้พวกนี้เรียกว่า เป็นพวกที่ปฏิบัติยาก

 และบรรลุช้า ส่วนอีก ๒ พวกก็อยู่กลางๆ

คือ พวกที่ ๓ นี้เป็นพวกที่มีกิเลสหนาแต่มีความฉลาดแหลมคม

 เวลาจะทำใจให้สงบนี้ต้องฟันฝ่ากับนิวรณ์ต่างๆ

 เพราะมีนิวรณ์มากก็เลยทำให้ปฏิบัติยาก

แต่พอสามารถทำใจให้สงบได้แล้ว

ก็จะทำให้บรรลุได้อย่างรวดเร็ว

เพราะมีความฉลาดในทางปัญญา

มองเห็นอนิจจังได้อย่างง่ายดาย

มองเห็นทุกขังได้อย่างง่ายดาย

มองเห็นอนัตตาได้อย่างง่ายดาย

มองเห็นอสุภะได้อย่างง่ายดาย

 พวกนี้จึงเป็นพวกที่ ๓ คือเป็นพวกที่ปฏิบัติยาก

เพราะมีนิวรณ์มาก แต่พอฟันฝ่านิวรณ์ได้ทำใจให้สงบได้แล้ว

 ก็จะบรรลุได้อย่างรวดเร็ว เป็นพวกที่รู้เร็วแต่ปฏิบัติยาก

พวกที่ ๔ ก็เป็นพวกที่นิวรณ์ไม่มาก

ปฏิบัติง่ายไม่มีนิวรณ์มาคอยขัดคอยขวาง

สามารถทำใจให้สงบได้ อย่างง่ายดาย

นั่งสมาธิ ๕ นาที ๑๐ นาที จิตก็รวมลงเข้าสู่สมาธิ

พวกนี้เรียกว่าปฏิบัติง่ายเพราะไม่มีนิวรณ์

 นิวรณ์ก็คือกามฉันทะ ความอยากเสพ

รูปเสียงกลิ่นรสไม่มี ความเกียจคร้าน

ความง่วงเหงาหาวนอนไม่มี

 ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไม่มี

ความโกรธ เกลียด เคียดแค้นอาฆาตพยาบาทไม่มี

 ความฟุ้งซ่านไม่มี ไม่คิดมาก

คิดอยู่แต่พุทโธๆ เพียงอย่างเดียว

 นี่แสดงว่าเป็นพวกที่มีกิเลสบางมีนิวรณ์น้อย

หรือไม่มีเลย เวลานั่งสมาธิ ๕ นาที

 จิตก็รวมเข้าสู่ความสงบได้

พวกนี้เรียกว่าเป็นพวกที่มีนิวรณ์น้อยมีกิเลสบาง

เป็นพวกที่ปฏิบัติง่าย ปฏิบัติให้ใจสงบง่าย

 แต่มาช้าตรงที่ขั้นปัญญา เป็นปัญญาทึบ

คือมองไม่เห็นอนิจจัง มองไม่เห็นอนัตตา

มองไม่เห็นทุกขัง มองไม่เห็นอสุภะ

ก็เลยไม่สามารถบรรลุธรรมได้

 มีความสงบมีสมาธิแต่ไม่มีปัญญาหรือปัญญาทึบ

ต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างมากๆ

กว่าจะเห็นอนิจจัง กว่าจะเห็นอนัตตา

 กว่าจะเห็นทุกขัง กว่าจะเห็นอสุภะ

พวกนี้ก็เป็นพวกที่ ๔ พวกที่ที่ปฏิบัติง่ายแต่รู้ช้าบรรลุช้า

นี่คือลักษณะของผู้ปฏิบัติ ๔ ประเภทด้วยกัน

ประเภทที่ ๑ ก็รู้เร็วและปฏิบัติง่าย

พวกที่ ๒ ปฏิบัติยากรู้ช้า

 พวกที่ ๓ ปฏิบัติยากแต่รู้เร็ว

และพวกที่ ๔ ปฏิบัติง่ายแต่รู้ช้า

ขึ้นอยู่ที่ปัญญาและกิเลส กิเลสก็คือนิวรณ์

 ถ้ามีนิวรณ์มากการปฏิบัติก็จะยาก

 ถ้ามีนิวรณ์น้อยการปฏิบัติก็จะง่าย.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...........................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙

“นักปฏิบัติ ๔ ประเภท”






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ

Create Date :31 สิงหาคม 2559 Last Update :31 สิงหาคม 2559 12:56:13 น. Counter : 1535 Pageviews. Comments :0