bloggang.com mainmenu search












คนที่ชอบซื้อของทางเน็ต สมควรอ่านให้ดีดี.....

มีคนเขียนโพสนี้มาให้ทุกท่านครับ

(มาทราบทีหลังว่า คนเขียนโพสนี้คือ

Boonlong Noragitt

ผู้พิพากษา ที่ศาลอาญาธนบุรี ครับ)

ท่านใดมีปัญหาข้อกฎหมาย

สามารถถามท่านได้โดยตรงนะครับ

https://www.facebook.com/boonlong.n/

posts/1165769496769977?hc_location=ufi

วันนี้ขอดราม่าเล็กๆ แต่มีสาระ

ผมไม่ค่อยมีเวลา ชอบนั่งซื้อของทางเน็ต

เป็นอย่างนี้ตั้งแต่ในไทยยังไม่มีการขายของทางเน็ต

 ได้แต่ซื้อใน eBay มาสิบกว่าปีก่อน

 ตอนนี้ไทยเรามีการขายของทางเน็ตกันเพียบ

 ผมก็ซื้อตามปกติ และไม่เคยมีปัญหาอะไรเลย

จนกระทั่งได้ไปซื้อของจากค่ายดังของเยอรมัน

 บริษัท ล. โฆษณาในทีวีน่าเชื่อถือ

ในครั้งสุดท้ายที่ซื้อ

 ปรากฏว่าสั่งของ ๒ ชิ้น ๆ ละ ๙๐๐ บาท

 พอมาส่งเราก็จ่ายเงินไป ๑,๘๐๐ บาท

 เปิดกล่องดูมีของแค่ชิ้นเดียว แถมใบส่งของเป็นคนอื่น

 แต่ของอย่างเดียวกัน ผมก็ถ่ายรูปของในกล่อง

 พร้อม Delivery Note ส่งให้ดู

 เจ้าหน้าที่รับปากว่าจะติดต่อในทันที....

เงียบหายไปสามวัน มีคนจากบริษัทอะไรไม่รู้

โทรมาสอบถาม ผมก็เล่าเรื่องแล้วก็...เงียบ

หายไปอีก ๑๐ วัน ก็มีเจ้าหน้าที่ บริษัท ล. โทรมา

แล้วก็...เงียบหายไปอีก ๕ วัน

 ก็มีเจ้าหน้าที่โทรมาอีก ผมเลยบอกว่า

"ผมเป็นผู้บริโภคที่ดี

 จ่ายเงินก่อนเห็นสินค้า (ตามกฎของคุณ)

 ได้เงินผมไปแล้วสินค้าได้ไม่ครบ เพราะคุณส่งผิด

 เวลาผ่านเป็นเดือนยังไม่เรียบร้อย

 แค่ส่งของให้ผมอีกชิ้นมันยากหรือครับ

 ความผิดของคุณทำไมผมต้องมารับกรรมนั้นด้วย

 ผมให้เวลา ๗ วัน เกินจากนั้นไปเจอกันในศาล"

 เจ้าหน้าที่ก็วางสายไปอย่างไม่พอใจ

 เพราะได้ยินเสียงแข็ง ๆ ของผมที่เริ่มมีอารมณ์

เย็นวันที่ ๗ ผมก็นั่งพิมพ์ภาพที่ถ่ายส่งให้ดูตอนเปิดกล่อง

 หลักฐานอย่างอื่นไม่มีอะไรเลย

เช้าวันรุ่งขึ้นเดินไปศาลแขวง

ในเขตที่ผมนั่งสั่งซื้อหน้าคอมทางอินเตอร์เน็ต

 พูดยากจัง 555 ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือบ้านผมนั่นเอง

 เพื่อให้เจ้าพนักงานศาลช่วยจัดการให้

เริ่มเข้าสาระครับ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคบัญญัติให้

ต้องมีเจ้าพนักงานศาล ทำหน้าที่ร่างฟ้องให้ผู้บริโภค

เรียกกันว่า "เจ้าพนักงานคดี"

 ช่วยค้นหาหลักฐานทางทะเบียนของจำเลยให้

 กรณีนี้คือหนังสือรับรองบริษัท

 ศาลจะนัดเร็วครับ ประมาณ ๓๐ วันได้เจอกัน

 ไม่เสียค่าธรรมเนียม ไม่ยุ่งยากอะไรเลย

 เพราะกฎหมายนี้สร้างเพื่อคุ้มครอง

ใครครับ....แน่นอน ผู้บริโภค

เจ้าพนักงานศาลร่างคำฟ้องให้ผมเสร็จเรียบร้อย

โดยไม่ต้องมีทนายความ

ให้ผมลงชื่อในเอกสารหลายอย่าง

 แล้วพาไปยื่นที่เคาเตอร์รับฟ้อง

ได้วันนัดเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

หลังจากได้รับคำฟ้องผมแล้ว

บริษัท ล. โทรหาบอกจะคืนเงิน ๙๐๐ บาท

 ผมบอกว่าตอนนี้จะตกลงอะไรให้ไปคุยกันในศาล

 เลยได้ส่งอีเมล์ให้ผม บอกว่า

ได้รับของที่ผมส่งคืนแล้ว ๒ ชิ้น ผมก็เริ่มฉุนเล็กน้อย

 จะเอามาเป็นทริกในคดีหรือเปล่าว่าผมคืนของเอง

 ไว้เจอกัน ส่งสองสามครั้ง

 แถมส่งข้อความมือถืออีกต่างหาก

 ทีอย่างนี้ดำเนินการรวดเร็วฉับไวในทันที

ในวันศาลนัด ทางบริษัท ล. เตรียมทนายความ

ที่จ้างจากนอกบริษัท ล. นิติกรของบริษัท

 และผู้จัดการ เตรียมเอกสารมาปึกใหญ่

 ศาลถามว่าคุณไม่ส่งของใช่ไหม เขาก็ขอไกล่เกลี่ย

ในห้องไกล่เกลี่ย ผู้จัดการก็ขอโทษ

ทนายเริ่มรู้ว่าผมเดินไปตรงไหน

 ทนายความในและนอกห้องพิจารณา

ก็ทักทายยกมือไหว้

 เรียกท่าน หน้าบัลลังก์ก็รู้จัก พอรู้สถานะเรา

การพูดคุยก็ง่ายขึ้นเยอะ

 ทนายความไม่โย้เย้เรื่องมากตามสไตล์

 ในที่สุดก็ยอมตามฟ้องทุกประการ

 จ่ายเงินคืนให้ผม ๙๐๐ บาท

พร้อมค่าเสียเวลาค่าโมโหอีก ๒๐,๐๐๐ บาท

หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ๑๕ วัน

 แถมคูปองลดราคามาอีก ๑,๐๐๐ บาท

ผมก็เอาเงินที่ได้ไปทำบุญ

อยากให้รู้ว่า.....

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคนั้น

 บัญญัติไว้สำหรับผู้บริโภค

ไม่ต้องมีทนายความ

ไม่ต้องหาหลักฐานของฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจ

 มีเจ้าพนักงานศาลร่างคำฟ้องให้เรียบร้อย

 แถมหากต้องสืบพยาน ศาลถามให้

 ไม่ต้องรู้อะไรมากครับ แค่รู้ว่าเราเสียหาย

 เสียเปรียบอย่างไร คุ้มครองไม่ว่าเรื่องการซื้อขาย

การให้บริการ สินค้าไม่ดี ไม่มีคุณภาพ

ส่งของไม่ครบ สินค้ามีปัญหากับเนื้อตัวร่างกาย

 เรียกว่าได้หมด แถมหน้าที่นำสืบตามที่เราฟ้อง

ตกกับฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจ

ที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และค่าส่งหมายเลย

 สรุปง่าย ๆ ไม่เสียสักบาทแล้วกัน

 คนไทยยังรู้เรื่องนี้น้อย

 แถมยังยอมเสียเปรียบอย่างไม่น่าเชื่ออีกจำนวนมาก

หากเราโดนกระทำและเสียหาย

การนิ่งเฉย คือการทำลายระบบ

 เพราะเราไม่ต่อต้านผู้ไม่สุจริต

 กลับสนับสนุนให้เขาเหิมเกริม

กล้าปฏิบัติแย่ๆ กับลูกค้าอีกนับจำนวนไม่ถ้วน

การกระทำของผมในครั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท

 แต่ทำให้เขาไม่กล้าไปปฏิบัติแย่ ๆ

กับประชาชนอีกจำนวนมาก นั่นคือสิ่งที่ผมชนะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ








ขอบคุณที่มา fb.Kraisorn Chairojkanjana

Create Date :01 กุมภาพันธ์ 2561 Last Update :1 กุมภาพันธ์ 2561 9:58:47 น. Counter : 1386 Pageviews. Comments :2