รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2559
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 ตุลาคม 2559
 
All Blogs
 

การฝีกจิตด้วยการดูทีวีพร้อมรู้กายไปด้วย

ขอให้ดูจากทีเป็นสภาวะธรรมของจิตในขณะทีฝีกฝนการดูทีวีพร้อมรู้กายไปด้วย


การฝีกดูทีวีพร้อมรู้กายไปด้วย เป็นการฝีกสัมมาสมาธิให้จิตตั้งมั่นสำหรับมือใหม่ในด้านการภาวนา

ในคนทั่วไปทีเข้าสู่วงการภาวนานั้น จิตของคนเหล่านี้จะคุ้นเคยกับการไปรู้อยู่ทีโลกภายนอก เพราะมีกามตัณหาเป็นตัวดีงจิตไปยีดติดสรรพสิ่งทีโลกภายนอก

ในการฝีกสัมมาสมาธินั้น เราต้องฝีกจิตให้กลับสู่ฐานเดิม ซี่งฐานเดิมของจิตอยู่ที อายตนะ (ในภาพเป็นเส้นประ)

หมายความว่า ถ้าเรานั่งอยู่แล้วรู้ก้นสัมผัสกับทีนั่ง นั่นแปลว่า จิตได้เข้าไปอยู่ในฐานแล้ว เพราะการสัมผัสของร่างกายนั่น ก็คือ อายตนะ
พอเรานั่งแล้วรู้สีกไปทีก้นทีสัมผัสกับทีนั่งสัก 5 นาที จิตจะสงบและอยู่ในฐาน
แต่เป็นสมถะ เพราะว่า เรามีความตั้งใจเจือปนอยู่

ทีนี้ หลังจากทำสมถะ 5 นาทีด้วยการรู้สัมผัสทีก้นกับทีนั่ง พอเรามองไปทีทีวีเท่านั้น
สำหรับมือใหม่แล้ว จิตทีเคยอยู่ทีฐานทีสัมผัสทีก้นอยู่ ก็จะไหลออกไปทีตัวทีวีทันที นี่เป็นเพราะสัมมาสมาธิของคนใหม่ยังไม่อ่อนแอมาก ไม่มีแรงต้านทานการมองดูทีวี
จะสังเกตว่า ถ้าฝีกใหม่ๆ พอตาไปดูทีวี การรู้สีกทีก้นสัมผัสกับทีนั่งก็จะหายไปทันทีเช่นกัน ตรงนี้ ภาษาการภาวนา เรียกว่า จิตไหลออก

ในการฝีกนั้น เราเริ่มต้นจากการทำสมถะด้วยการนั่ง ดังทีกล่าวมาข้างต้นแล้ว
พอดูทีวี เราจะเผลอง่าย เราต้องการให้เผลอครับ การเผลอนี้แสดงว่า จิตวิ่งจากฐานทีอายตนะออกไปทีตัวเครื่องทีวี

พอเราเผลอคือ ไม่รู้การสัมผัสของก้นกับทีนั่ง เราควรเริ่มทำสมถะใหม่ แล้วดูทีวีใหม่
ทุกครั้งทีรู้ว่าเผลอ ให้เริ่มใหม่ทุกครั้งแบบนี้

ในการฝีกฝน เราต้องการให้เผลอครับ ดังนั้น อย่าไปทำอะไรไม่ให้เผลอเด็ดขาด
ทีเผลอเพราะกำลังสัมมาสติ สัมมสมาธิยังไม่ดีพอ ทีนี้ พอเราเผลอบ่อยๆ จิตจะมีประสบการณ์เรื่องเผลอดีขึ้นเอง กล่าวคือ เราฝีกไปสักระยะหนี่ง เช่นสัก 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน ใหม่ ๆ จะพบว่า จะเผลอง่ายมาก พอฝีกไปสักระยะ จะพบว่า การเผลอถีงจะเกิดง่ายอยู่ก็จริง แต่การไม่เผลอทีจิตไปรู้การสัมผัสทีก้นจะรู้ยาวนานขึ้น
ถ้าใครได้แบบนี้ แสดงว่า จิตเริ่มมีประสบการณ์มากขึ้นแล้ว

พอจิตมีประสบการณ์มากขึ้น เรายังฝีกเหมือนเดิม อย่าได้ไปทำอะไรไม่ให้เผลอนะครับ
พอทำสมถะเสร็จ ดูทีวี ขอให้เป็นธรรมชาติทีสุด เผลอได้ไม่เป็นไร พอเราฝีกไป จิตรู้สัมผัสทีก้นกับทีนั่งนานขึ้นกว่าเดิมแล้ว ถีงจะนานขึ้นเพียง 10 วินาที ก็เถือว่ามีผลแล้ว ซึ่งเทีบบกับตอนฝีกใหม่ ทีแทบจะเผลอทันทีทีดูทีวี

การทีเรารู้สัมผัสของก้น 10 วินาทีแล้วดูทืวีด้วยใจทีเป็นธรรมชาติ นีแสดงว่า จิตเรามีสัมมาสมาธิ 10 วินาที พอฝีกต่อตัวเลข 10 วินาที ก็จะค่อยๆ พัฒนาตัวขึ้นเอง เป็น 15 เป็น 20 เป็น 25... นีคือ การเผลอค่อย ๆ ลดลงไป ไม่เผลอหรือมีสมาธิค่อยๆ มากขึ้น

ทีนี้ พอการมีสมาธิเริ่มมากขึ้น แต่ยังเผลออยู่ เราต้องปล่อยให้เผลอนะครับ ห้ามไปทำอะไรไม่ให้เผลอ เราฝีกไปเช่นเดิม ทำสมถะรู้ก้นสัมผัสทีนั่ง 5 นาทีแล้วไปดูทีวี
ถ้าเราฝีกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ วันหนีง เราจะพบอาการได้ 2 แบบกล่าวคือ

แบบที 1..เราอาจจะพบว่า เห็นอะไรสักอย่างหนี่งพุ่งออกจากทางตาไปดูทีวีแว๊บหนี่ง ซี่งเกิดเร็วมาก ยิ่งกว่าสายฟ้าแล๊บ เสียอีก
นั่นแหละครับ ตัวจิตเขาไหลออกทางตา คุณเห็นได้แล้ว นี่แสดงว่า ดวงตาเห็นธรรมของคุณค่อย ๆ พัฒนาเพิ่มขึ้น

แบบที 2...คุณอาจพบว่า มีอะไรสักอย่างหนี่ง พุ่งขึ้นภายในร่างกายไปสู่ทีศรีษะ
นีคือ ตัวจิตทีตอนแรกกำลังรู้สัมผัสทีก้นอันเป็นสมถะ พอคุณดูทีวี จิตนั้นถูกแรงตัณหาดีงให้วิ่งไปสู่ศรีษะเพื่อสร้างขันธ์ ปรุงแต่งในด้านความคิด เพราะการดูทีวี จะมีการคิดเกิดขึ้น แต่ตอนทีคุณนั่งรู้ก้นสัมผัสทีนั่ง ยังไม่มีความคิด
การพบได้ของแบบที 2 ก็บ่งบอกถีงการพัฒนาขึ้นของดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน

การพบสภาวะธรรมแบบที 1 หรือ แบบที 2 นี้ ห้ามไปสนใจมองเด็ดขาด
เรามีหน้าทีฝีกให้เป็นธรรมชาติ กล่าวคือ ตอนแรกทำสมถะ 5 นาที รู้ก้นสัมผัสทีนั่ง
แล้วดูทีวีต่อทันทีด้วยความเป็นธรรมชาติของตัวเราเอง ทำอย่างนี้ เผลอได้ให้เผลอไป
แล้วจะรู้สภาวะธรรมแบบที 1 / 2 ขึ้่นมาเอง เมื่อฝีกไปได้สักระยะหนี่ง

การเห็นสภาวะธรรมทั้งแบบที 1 / 2 อาจะเป็นว่า พบได้แค่ครั้งเดียว สองครั้ง แล้วก็ไม่เกิดอีก ไม่เป็นปัญหาครับ ฝีกต่อไปแบบเดิมเรื่อยๆ แล้วต่อไป เวลาที่จิตมีการปรุงแต่งเกิด เช่นมีอารมณ์โกรธ จิตจะสามารถเห็นพลังงานโกรธนี้ได้ พอจิตเห็นเท่านั้น
พลังงานโกรธก็จะดับสลายไปทันทีเป็นไตรลักษณ์ การเห็นพลังงานโกรธได้เป็นครั้งแรกแบบนี้ ก็แสดงว่า จิตมีการพัฒนากำลังสติ สมาธิ และเริ่มมีดวงตาเห็นธรรมปรากฏขึ้นแบบอ่อน ๆ ได้แล้ว ขอให้ฝีกต่อไป ถีงมีเผลอก็ไม่เป็นไร ทำแบบเดิมไปเรื่อยๆ แล้วจิตจะพัฒนาตัวต่อไปเรื่อยๆ เอง

ทีผมเขียนมาข้างต้น คือ หลักการและเหตุผลทีใช้ในการฝีกด้วยการดูทีวีพร้อมรู้กายไปด้วย วิธีการนี้ จะไม่เหมือนกับสิ่งทีมักสอนกันในการภาวนา คือ การทำจิตนิ่ง นั่งสมาธิให้นาน ๆ ผมไม่สอนแบบนี้ครับ ผมลองมาแล้ว มันไม่ได้ผลครับวิธีแบบนี้

ทีนี้อาจมีคำถามว่า สิ่งทีผมสอนนี้ มีคนทีฝีกตามทีผมสอนแล้วได้ผลไหม
ผมตอบได้ว่า มีครับ มีหลายคนด้วยกัน

อาจมีคำถามมาว่า วิธีการฝีกแบบนี้ ถ้าฝีกไปเรื่อยๆ จะได้ผลถีงระดับไหนได้
ผมบอกได้ว่า การฝีกแบบนี้ ทีได้ผลถีงระดับไหนก็คือ
การเผลอแทบจะหมดเกลี้ยงไปเลย เพราะจิตมีประสบการณ์เรื่องเผลอมามาก
และสามารถดับสภาวะธรรมทีร้าย ๆ เช่นความโกรธได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
กล่าวคือ พอความโกรธเกิดปุ๊บ จิตจะเห็นได้ทันที แล้วความโกรธก็ดับลงไปเป็นไตรลักษณ์อย่างรวดเร็วได้ ซี่งคนทีฝีกแบบนี้สัก 2 ถีง 3 ปีจะได้ถีงสภาวะธรรมแบบทีผมกล่าวนี้ได้ คือ เผลอแทบไม่มี ดับอารมณ์โกรธได้รวดเร็วมาก และจิตมีความสามารถเห็นไตรลํกษณ์ของการปรุงแต่งได้ดี แสดงว่าดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว

อาจมีคำถามอีกว่า เมื่อฝีกได้ถีงระดับทีว่าแล้ว ยังต้องฝีกแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะถีงนิพพานได้หรือไม่
ผมบอกได้ว่า การฝีกแบบนี้ สมควรฝีกต่อไปเรื่อยๆ ได้ แต่ท่านจะต้องไปเรียนรู้ด้านปัญญาเพิ่มเติมครับ การรู้ด้านปัญญา บวกกับการเห็นสภาวะธรรมด้วยดวงตาเห็นธรรม ของท่านเอง จะทำให้ท่านเข้าใจสภาวะธรรมต่างๆ ได้
และจะเข้าใจนิพพานได้ในทีสุด
ส่วนท่านจะได้นิพพานหรือไม่
ผมไม่กล้าพยากรณ์ครับ

ผมหวังว่า บทความนี้ จะทำให้ท่านทีกำลังฝีกแบบทีผมว่านี้ และยังไม่ได้ผลใด ๆ
จะได้ทบทวนความเข้าใจว่า การฝีกนั้นควรทำอย่างไรจึงจะได้ผล




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2559
2 comments
Last Update : 7 พฤษภาคม 2560 16:26:17 น.
Counter : 2279 Pageviews.

 

ถ้าท่านทีฝีกดูทีวี พร้อมรู้กายไปด้วย
พบว่า การฝีกแบบนี้ ค่อนข้างยาก
ขอให้อ่านการฝีกเพิ่มเติมข้างล่างนี้ครับ
ขอบคุณครับ
6 สิงหาคม 2561
.
การฝีกสมาธิ ก็เพื่อต้านทานการแรงดูดเกาะติดของจิตตสังขาร
.
การฝีกนั้น ผมได้แนะนำการดูทีวี ซี่งจะตรงต่อการต้านทานการดูด
ของจิตตสังขารได้ดี แต่ต้องฝีกทุกวัน ฝีกบ่อย ๆ แต่ไม่ต้องฝีกนานในแต่ละรอบ เช่น ฝีกรอบละ 10 นาที แต่ฝีกวันละ 3 รอบหรือมากกว่า จะดีมาก
หมายเหตุ ไม่ต้องฝีกนานในแต่ละรอบ เพราะฝีกนานจะเครียด
เมื่อเครียด ไม่มีประโยชน์ทีจะฝีกต่อไป
.
หลักการนั้น ท่านต้องทำสมาธิเป็น ฌาน เบื้องต้นก่อน โดย
การรู้ความรู้สีกทีสัมผัสแผ่นหลัง หรือ รู้ทีก้นทีสัมผัสพื้นทีนั่งอยู่ เมื่อนั่งอยู่กับทีนั่ง
.
ผมเน้นว่า รู้สีกถีงการสัมผัส ไม่ใช่ไปจ้องแผ่นหลัง หรือ จ้องทีก้น
ให้นั่งทำ ฌาน เบื้องต้นสัก 3 นาที แล้วก็ประคองรู้ความรู้สีกสัมผัสทีหลังนี้ไว้ จากนั้น ให้ใช้ตามองไปทีทีวี ถ้าตามองทีวี ทีกำลังเปิดอยู่
ก็ให้ดูทีวีแบบสบาย ๆ ก่อน อย่าเพิ่งตั้งใจดูทีวีนัก ให้ดูแบบเล่น ๆ
ไม่ต้องสนใจดูทีวีมากนัก แต่ประคองรุ้สีกสัมผัสทีแผ่นหลังไปด้วยในขณะดูก่อน ถ้า รู้ความรู้สีกสัมผัสหลังไม่ได้ ให้กลับมาเริ่มใหม่ งดดูทีวีก่อน แล้วมาทำ ฌาน เบื้องต้นใหม่ทีเขียนไว้ข้างบน
.
เมื่อท่านทำทุกวันสัก 3 เดือน ท่านจะรู้สีกสัมผัสแผ่นหลังได้นานขี้น ในขณะดูทีวีไปด้วย
เมื่อท่านเริ่มเก่งขึ้นบ้าง ก็ให้เพิ่มน้ำหนักการดูทีวี ให้ตั้งใจการดุทีวีเพิ่มขึ้นอีกหน่อย พอท่านเพิ่มน้ำหนักดูทีวี ท่านจะพบว่า ท่านจะหลุดการรู้สีกสัมผัสทีแผ่นหลังมากขึ้นอีก เหมือนคนฝีกใหม่ อีกครั้ง
แต่ถ้าฝีกไปอีก แบบนี้ ท่านจะชำนาญขึ้นอีก
เมื่อชำนาญขึ้น ก็ให้เพิ่มน้ำหนักในการดูทีวีอีก
ให้ทำแบบนี้ต่อไป จนท่านสามารถ ดุทีวีแบบปกติได้และรู้สัมผัสทีหลังได้ดีด้วยพร้อมกันไป
ถ้าท่านได้แบบนี้ จิตท่านจะมีแรงต้านทานการดูดของจิตตสังขารได้พอสมควรแล้ว เมื่อจิตตสังขารเกิด แล้ว ไม่สามารถตูดจิตผููู้้รู้ได้

จิตผู้รู้ จะเห็นจิตตสังขาร เกิดแล้วดับลงไปเป็นไตรลักษณ์ได้เอง
เมื่อท่านเห็นไตรลักษณ์ไม่กี่ครั้งท่านจะเข้าใจได้เองว่า
จิตตสังขารไม่ใช่ตัวตนของเรา
การเห็นจิตตสังขารเป็นไตรลักษณ์บ่อย ๆ จะทำให้เพิ่มกำลังของสมาธิได้ดีขึ้นอีกด้วย
.
หมายเหตุ
1..ถ้าในตอนฝีก ถ้าท่านเปิดพัดลมให้ส่ายไปมา
โดนตัวบ้าง ไม่โดนบ้าง ก็จะช่วยการฝีกมีประสิทธิภาพดีขึ้นมากกว่า
การไม่ได้เปิดพัดลมส่ายไปมา
2..ท่านควรเข้าใจว่า จิตตสังขาร มีระดับความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งรุนแรงน้อย ท่านฝีกไม่กี่ครั้ง ก็พบเป็นไตรลักษณ์ได้ แต่บางครั้งรุนแรงมากกว่า ท่านก็พ่ายแพ้ได้ การพ่ายแพ้ การชนะทีสลับไปมานี้เป็นธรรมดาของการต่อสู้กับจิตตสังขาร แต่ถ้าท่านฝีกไปเรื่อยๆ ท่านจะชนะมากกว่าแพ้ ขอให้ท่านฝีกไป จนเกิดอาการอย่างหนี่งขึ้นในใจท่าน
ก็พอ ท่านไม่กลัวจิตตสังขารอีกต่อไป ถีงจะแพ้บ้างในบางครั้ง แต่ถ้าไม่กลัวมันแล้ว ก็คือ สมาธิใช้การได้ค่อนข้างดีแล้ว
3..เมื่อท่านทำหมายเหตุ 2 ได้ดีแล้ว ต่อไป ขอให้กลับมาเน้นทีฝีกสติ
ครับ การฝีกสติ จะทำให้พบจิตตสังขารได้เร็วขึ้นและจะพบจิตตสังขารทีซ่อนเร้นอยู่อย่างแนบเนียนได้ดีขึ้น
.

 

โดย: นมสิการ 6 สิงหาคม 2561 19:07:25 น.  

 

อีกบทความของการฝีกดูทีวี
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=14-12-2017&group=17&gblog=165

 

โดย: นมสิการ 3 กันยายน 2561 5:28:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.