|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
หัวใจขณะพัก
"หัวใจขณะพัก" เป็นโจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 335 ผู้คิดโจทย์ คือ คุณ The Kop Civil
คำอธิบายโจทย์ (แนวทางการเขียน) เป็นการพูดถึง อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ภายใน 1 นาที โดยไม่มี การเคลื่อนไหวใดๆ เขียนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องดังกล่าว วิธีการวัดเราจะวัดเหมือนการวัดชีพจรปกติ ตำแหน่งที่ แนะนำให้วัด คือ ข้อมือ ต้นคอ ข้อพับ เวลาที่เหมาะ ที่สุด คือ หลังตื่นนอน เพราะมีแนวโน้มได้ค่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับการ วัดในขณะพักตอนอื่นๆหรือจะเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับใจเราขณะกำลังพักผ่อน หรือสภาพจิตใจขณะกำลังพักก็ได้
จากคำอธิบายโจทย์ ตะพาบ ข้างบนนี้ แยกออกเป็นสองประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ให้เขียนถึง อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักของคนเขียน ภายใน 1 นาที ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้เป็นหลักใหญ่ ประเด็นที่ 2 ให้เขียนถึง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับใจเราขณะกำลัง พักผ่อนหรือสภาพจิตใจขณะกำลังพัก
การวัดความดันหัวใจ จุดที่วัด เป็นข้อพับ ต้นคอ เป็นต้น
ประเด็นที่ 1 ฉันได้ค้นคว้ารวบรวมความรู้ จาก อินเทอร์เน็ต มาดังนี้ ค่ะ
อัตราการเต้นของหัวใจ ก็คือ ที่เราเรียกโดยทั่วไปว่า ชีพจร เป็นหนึ่ง ในสัญญาณสำคัญที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยภาวะ เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มค่าสัญญาณชีพ (Vital signs) โดยค่าที่บ่งชี้การมีชีวิตอยู่ จะประกอบด้วย 4 ค่า ได้แก่ 1.ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ) (ซึ่งเรามักจะได้ยินในละคร เมื่อตัว ละครเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงและตาย จะพูดว่า ชีพจรหยุดเต้นแล้ว หรือคนป่วยหนักตาย เขาก็จะมาจับชีพจรถ้าไม่มี การเต้นแล้ว นั่นก็คือ คนป่วยจากไปแล้ว นั่นเอง) 2.อุณหภูมิ 3.การหายใจ และ 4.ความดันโลหิต ซึ่งสะท้อนถึงการทำงานของหัวใจและระบบการไหล เวียนของเลือด เพราะค่าชีพจรจะวัดจากการ ขยายตัวและหดตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลายเป็นจังหวะตามคลื่น ความดันที่มาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ใกล้หัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่หัวใจเต้น
ถ้า ชีพจรเราปกติ หมายถึง จำนวนครั้งการเต้นของหัวใจใน 1 นาทีขณะ พัก ถ้าค่าชีพจรขณะพักต่ำ หมายถึงหัวใจแข็งแรง เพราะการสูบฉีดเลือดแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพหากหัวใจไม่แข็งแรง จะต้องบีบตัวเร็วขึ้นเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ปริมาณเท่าเดิม การวัดชีพจรขณะพัก ควรวัดตอนเช้าหลังตื่นนอนก่อน ลุกจากเตียงโดยคลำชีพจรเป็นเวลา 60 วินาที ทั้งหมด 3 ครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ย ก็จะได้ค่าชีพจรขณะพักโดยประมาณ ค่าปกติของวัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่ อยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้ง ต่อนาที หญิงตั้งครรภ์มักมีค่าชีพจรขณะพักสูงกว่าปกติ เช่น ก่อนตั้ง ครรภ์มีค่าชีพจรขณะพักอยู่ที่ 70 ครั้ง/นาที แต่เมื่อตั้งครรภ์ก็อาจมีค่าชีพจรขณะพักสูงขึ้นประมาณ 80-90 ครั้ง/นาที ชีพจรขณะพักมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันแรก หลังการออกกำลังกายหนัก เช่น การวิ่ง 10 กม. ดังนั้น อาจจำเป็นต้อง เว้นช่วงการออกกำลังกายอย่างหนัก จนกว่าชีพจรขณะพักกลับมาสู่ค่าปกติ หรือออกกำลังกายเบาลงก่อน
การวัดชีพจรจะวัดจากจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจใน 1 นาที ซึ่ง ในทุก ๆ ครั้งที่หัวใจเต้น หมายถึง หัวใจได้ทำหน้าที่ ในการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกายนั่นเอง ทำความรู้จักชีพจรขณะพักหรือชีพจรปกติ ชีพจรขณะพักหรือชีพจร ปกติ คือจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจ ใน 1 นาทีขณะพักเต็มที่ (ไม่ได้ออกกำลัง) ค่าชีพจรขณะพักต่ำ หมายถึง สุขภาพหัวใจแข็งแรง เพราะการที่มี ชีพจรต่ำแสดงถึงกล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจในแต่ละครั้ง มีประสิทธิภาพมาก ไม่จำเป็นต้องสูบฉีดเลือดบ่อย แต่ถ้าหากกล้าม เนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ร่างกายจะต้องการ การบีบตัวที่เร็วขึ้นเพื่อให้มีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายในปริมาณ เท่าเดิม ส่งผลให้มีค่าชีพจรขณะพักสูงขึ้นนั่นเอง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับชีพจร
หน่วยของชีพจรเป็น ครั้ง/นาที ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถมีชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที โดยนักกีฬาที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถมีชีพจรต่ำได้ถึง 40 ครั้ง/นาที บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพดีจะมีชีพจรขณะพักอยู่ที่ 60-80 ครั้ง/นาที ค่าเฉลี่ยของชีพจรขณะพักอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที ชีพจรขณะพักอาจถูกกระทบด้วยยาบางชนิด เช่น ยาเบตาบล็อกเกอร์ (Beta blockers) ที่ทำให้ผู้รับประทานมีชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที
ค่าชีพจรปกติในแต่ละช่วงวัย ทารกแรกเกิด – 1 เดือน ประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที 1-12 เดือน ประมาณ 80-140 ครั้งต่อนาที 12 เดือน – 2 ปี ประมาณ 80-130 ครั้งต่อนาที 2-6 ปี ประมาณ 75-120 ครั้งต่อนาที 6-12 ปี ประมาณ 75-110 ครั้งต่อนาที วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที
หากคุณมีค่าชีพจรที่แตกต่างจากนี้ และมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจสั้น วิงเวียนศีรษะ หรือหน้ามืด ควรรีบไปหาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุความผิดปกติ ไม่ควรเพิกเฉย เพราะอาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) หรือการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) ซึ่งคุณสามารถ ไปตรวจได้ที่โรงพยาบาลที่มีศูนย์ดูแลหัวใจให้บริการ
สำหรับฉัน ซึ่งอยู่ในวัยผู้ใหญ่ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ของประมาณ 60-100 ครั้ง ต่อนาที ฉันลองใช้สองนิ้วแตะที่ บริเวณคอ นับอาการเต๊นตุ๊บ ๆ ได้ ประมาณ72 ครั้งต่อ 1 นาที เรียกว่า อยู่ในเกณฑ์ปรกติ ปีหนึ่ง หมอก็ให้ไปตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 1 ครั้ง หมอบอกว่าปรกติ ประเด็นที่ 2 ให้เขียนถึง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับใจเราขณะกำลัง พักผ่อนหรือสภาพจิตใจขณะกำลังพัก ประเด็นนี้ เขียนยากนะ ความหมาย น่าจะหมายถึงความรู้สึกของเราในขณะที่ เรากำลังสบายอกสบายใจ ไม่มีอะไรมากวนใจ ให้ต้องคิด ใจเราในขณะเช่นนี้ จะเป็นเช่นใด กระมัง
ฉันเชื่อว่า ทุกคนคงต้องมีช่วงเวลาที่รู้สึกว่าใจเราได้หยุดพักผ่อนบ้าง นั่นคือ ใจเราอาจจะกังวล เมื่องานที่เรารับผิดชอบ ยังไม่เสร็จหรือยังไม่สำเร็จ แต่ว่า เมื่องานที่เรารับผิดชอบนั้นเสร็จ สำเร็จแล้วส่งมอบงานแล้ว ช่วงเวลานั้น ใจเราคงโล่ง สบายใจ เหมือนใจเราสามารถพักผ่อนได้เต็มที่เพราะ หมดกังวลใจแล้ว ก็เหมือนใจเรากำลังพักผ่อน สภาพจิตใจในขณะนี้ ก็จะสบายใจ ภาษาสมัยใหม่ ก็จะเรียกว่า ชิล ชิล นั่นเอง ฉันตีความเช่นนี้ ค่ะ
ตะพาบ เรื่อง "หัวใจขณะพัก" ที่ฉันเขียนบล็อกนี้ เขียนโดยการตีความ เป็น 2 ประเด็นซึ่งเป็นความเห็นของฉันเอง ค่ะ แยกเป็น ความรู้ และ ความรู้สึก ค่ะ หวังว่า คงให้ประโยชน์แก่คนอ่านบ้าง ค่ะ (ขอบคุณข้อมูลและภาพจากอินเทอร์เน็ต)
Create Date : 14 กันยายน 2566 |
Last Update : 14 กันยายน 2566 13:55:50 น. |
|
14 comments
|
Counter : 863 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณThe Kop Civil, คุณเริงฤดีนะ, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณปัญญา Dh, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณtoor36, คุณกะว่าก๋า, คุณkae+aoe, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณkatoy, คุณtanjira, คุณnewyorknurse |
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 กันยายน 2566 เวลา:15:04:57 น. |
|
|
|
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 14 กันยายน 2566 เวลา:16:31:16 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 14 กันยายน 2566 เวลา:21:57:06 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กันยายน 2566 เวลา:21:57:56 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 กันยายน 2566 เวลา:5:18:39 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 กันยายน 2566 เวลา:16:08:06 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 กันยายน 2566 เวลา:22:58:39 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 กันยายน 2566 เวลา:5:18:43 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 กันยายน 2566 เวลา:10:32:11 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กันยายน 2566 เวลา:6:06:41 น. |
|
|
|
โดย: tanjira วันที่: 17 กันยายน 2566 เวลา:7:19:51 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
BlogGang Popular Award#20
|
|
|
|
ฝากข้อความหลังไมค์ |
|
Rss Feed |
| Smember | | ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]
|
เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ
http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif |
|
|
|